May 16, 2024   8:55:48 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ฟันธง...มาแล้วค้าบบบ
 

Toon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 973
วันที่: 15/03/2007 @ 11:03:40
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ที่มา : วีระชัย ครองสามสี

หัวคอลัมน์ : Global Effects เก็งกำไรหุ้นเล็ก DE MME ASIMAR

ตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบจากการดิ่งลงของตลาดหุ้นสหรัฐเกือบ 2% จากความกังวลต่อการผิดนัดชำระของตลาดผู้กู้ในตลาดจำนองสำหรับผู้กู้ทีมีความน่าเชื่อถือต่ำ และยอดค้าปลีกเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นน้อย ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่เทขายหุ้นจากความวิตกกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจ และปัญหาของกลุ่มการเงินที่ลงทุนในธุรกิจจำนอง โดยกลุ่มธนาคารปรับตัวลดลงมากที่สุด นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์ยังคาดบัญชีเดินสะพัดไตรมาส 4/49 ขาดดุล 2.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบจากไตรมาส 3/49 กอปรกับประเด็นที่สหรัฐเตรียมหารือกับบรรดาประเทศสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติในช่วงสุดสัปดาห์นี้เกี่ยวกับการคว่ำบาตรอิหร่าน ก็ถือเป็นอีกแรงกดดันที่ทำให้ตลาดสหรัฐไม่น่าขยับไปไหน ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าเดือน เม.ย. ลดลง 98 เซนต์ ปิดที่ 57.93 DPB จากความกังวลต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ทำให้ตลาดคาดการณ์ถึงความต้องการใช้พลังงานที่ลดลง ต่างๆ เหล่านี้ยิ่งล้วนเป็นประเด็นที่หนักหนาสาหัสที่ทำให้การปรับตัวของตลาดสหรัฐในรอบนี้กระทบต่อตลาดหุ้นในย่านเอเชียให้ปรับตัวลงอย่างถ้วนทั่วหน้า โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่เจอพิษจากการ Short Yen Position อย่างที่เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ ต้องเรียกได้ว่าปัจจัยภายนอก ถือเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัจจัยในประเทศ ซึ่งจะต้องจับตามองผลการประชุมของคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มีมติสนับสนุนการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ ควบคู่กับนโยบายการเงิน โดยสนับสนุนให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก ในขณะที่ยอดการจัดเก็บรายได้ในช่วง 5 เดือนของปีงบประมาณ 2550 แม้รัฐบาลจะจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการเล็กน้อย แต่รายได้ที่มาจากภาษีสำคัญๆ เช่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายติดต่อกันหลายเดือน แสดงถึงการชะลอตัวลงทางเศรษฐกิจอย่างเห็นๆ ทางด้านค่าเงินบาทที่เดินหน้าแข็งค่าขึ้นแตะ 35.07บาท/ดอลล่าร์สหรัฐ (แข็งค่าสุดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997) แข็งค่าชนิดที่ว่าเย้ยฟ้าท้าดิน ไม่ยี่หล่ะต่อมาตรการกันเงินทุนสำรอง 30% สำหรับเงินลงทุนในระยะสั้น ซึ่งดูเหมือนธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะมีมาตรการใดๆ ออกมาในขณะนี้ เพราะยังมองแค่ว่าเป็นการแข็งค่าที่เกิดจากความกังวลใจของกลุ่มผู้ส่งออกที่ถือเงินดอลล่าร์อยู่เกรงว่าค่าเงินบาทจะยิ่งแข็งค่าขึ้นอีกจึงชิงขายล่วงหน้า ยังไม่เกิดจากการเก็งกำไรของกลุ่มเงินทุนนอกที่ไหลเข้ามา Hedge Fund ทำให้อดคิดไม่ได้ว่าแบงก์ชาติเราที่ผ่านมา เข้าไปแทรกแซงค่าเงินนั้นผิดพลาดหรือไม่ อย่างเมื่อวานที่ทีมเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจได้วิจารณ์ไว้น่าสนใจว่า การปกป้องและการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทของแบงก์ชาติเปรียบเทียบกับแบงก์ชาติอื่น 11 ประเทศ ได้แก่ ฮังการี แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ป่น จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน และฮ่องกง พบว่าประเทศเหล่านี้ดำเนินวิธีการแทรกแซงค่าเงินในช่วงที่ค่าเงินแข็งและเงินทุนไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก แตกต่างจากประเทศไทยโดยใช้การลดอัตราดอกเบี้ยทันทีในระดับที่มากพอควบคู่ไปกับการซื้อเงินตราต่างประเทศและเปิดให้เงินทุนไหลออกทันเวลาทำให้ประสบความสำเร็จในการทำให้เงินไม่แข็งค่าขึ้น หรืออ่อนค่าลงในเวลาต่อมา อีกทั้งยังได้กำไรจากการแทรกแซงค่าเงิน ในขณะที่ไทยไม่ได้ลดอัตราดอกเบี้ยทันที และทีแย่กว่านั้นคือแบงก์ชาติกลับขาดทุนจากการแทรกแซงค่าเงินที่แข็งขึ้น คราวนี้เราคงต้องได้แต่รอติดตามนโยบายและแนวการบริหารของทีมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะรัฐมนตรีคลังคนใหม่ว่าจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร ที่จะทำให้ประเทศไทยหลุดจากบ่วงปมวิบากกรรมเศรษฐกิจช่วงนี้ไปได้ สำหรับทางด้านเทคนิค SET INDEX มีความเสี่ยงที่ต้องระวังหากยืน 670 จุดไม่ได้อาจจะปรับตัวลงทดสอบ low เดิมที่ 665 จุด แต่ถ้ายืนเหนือได้อาจจะเด้งทดสอบ 675 จุดทางเทคนิค อย่างไรก็ตาม การเกิด Rebound จะเป็นในลักษณะเพื่อลง เพราะแนวโน้มหลักของตลาดเป็นขาลง

กลยุทธ์การลงทุน : ถือเงินสดยังไม่ควรเพิ่มพอร์ต แต่เน้นรอซื้อเมื่อปรับตัวลงมาบริเวณ 665 ? 660 จุด เนื่องจากตลาดยังขาดปัจจัยบวก แถมปัจจัยเสี่ยงมีล้อมด้านทั้งภายนอกและภายใน จึงแนะนำให้เก็งกำไรหุ้นขนาดเล็กเช่น DE มีแนวรับที่ 0.75 บาท มีแนวต้านที่ 0.81 บาท MME มีแนวรับที่ 2.90 บาท มีแนวต้านที่ 3.06 บาท ASIMAR มีแนวรับที่ 0.90 บาท มีแนวต้านที่ 0.96 ? 0.98 บาท[/size:d3173dcd2f">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com