May 16, 2024   6:14:43 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > หุ้นไทยไม่ได้ไม่เสีย DTAC เข้า SET แทน UCOM
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 20/03/2007 @ 22:33:36
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ตลาดหุ้นไทยไม่ได้ไม่เสีย แม้ "ซิคเว่" ประกาศดัน DTAC เข้าเทรดในตลาดหุ้นไทยใน Q2/50 ควบคู่ไปกับตลาดหุ้นสิงคโปร์ ก่อนแปรสภาพ UCOM เป็นบริษัทลูก พร้อมโยกออกจากตลาด เหตุเป็นการทดแทนซึ่งกันและกัน ด้านนักวิเคราะห์มองต่างมุม ทั้งเห็นว่าแผนนี้ยุติธรรมสำหรับผู้ถือหุ้นรายย่อย UCOM ที่จะได้ถือหุ้น DTAC แทน จึงปรับเพิ่มคำแนะนำจาก ถือ เป็น ซื้อเก็งกำไร และบางรายเห็นว่า DTAC อาจเสี่ยงประเด็นนอมินี

* บอร์ด UCOM ไฟเขียวถอนหุ้นออกจากตลาดฯ
เช้าวันที่ 20 มีนาคม 2550 ดีเดย์ที่ นายปรีย์มน ปิ่นสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน บริษัท ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) (UCOM) ได้เปิดเผยมติคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 2/2550 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550 ว่า ได้อนุมติในหลักการต่อแผนการปรับโครงสร้างการถือ หุ้นที่จัดทำและจะดำเนินการโดยบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC)

โดยมีแผนดำเนินการหลักๆ ดังต่อไปนี้ คือ DTAC จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทจากผู้ถือหุ้นของบริษัท ซึ่งในการนี้ DTACได้เสนอที่จะชำระค่าหุ้นของบริษัทเป็นหุ้นที่ออกใหม่ของ DTAC ในอัตราหุ้นที่ออกใหม่ของ DTAC 1.95 หุ้น ซึ่งมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 2 บาทต่อหุ้นของบริษัท 1 หุ้น ซึ่งมีมูลค่าตราไว้หุ้นละ 10 บาท (หรือหากคำนวณอัตราส่วนการแลกหุ้นก่อนการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้นของ DTAC จาก 10 บาทเป็น 2 บาทอัตราการแลกหุ้นจะเท่ากับ หุ้นที่ออกใหม่ของ DTAC 0.39 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาทต่อหุ้นของบริษัท 1 หุ้น ซึ่งมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท) โดยจะไม่มีการชำระค่าตอบแทนในรูปตัวเงิน

* DTAC จะทำเทนเดอร์ UCOM

ทั้งนี้ มติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ จะดำเนินการลดทุนแบบเฉพาะเจาะจง โดยการตัดหุ้นจำนวน 847,692,965 หุ้น ซึ่งมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 2 บาท ที่บริษัทเป็นผู้ถือและ DTAC จะทำคำเสนอซื้อหุ้นของบริษัทเพื่อเพิกถอนจากตลาดหลักทรัพย์ทันที หลังจากหุ้นของ DTAC ได้ดำเนินการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จนเสร็จสิ้นแล้ว และ DTAC จะดำเนินการลดทุนจดทะเบียนไปพร้อมกันกับการทำคำเสนอซื้อหุ้นของบริษัทดังกล่าว อย่างไรก็ดี DTAC คาดว่าจะดำเนินการลดทุนจดทะเบียนให้เสร็จสิ้นก่อนที่การทำคำเสนอซื้อหุ้นของบริษัทฯ จะได้มีการดำเนินการจนเสร็จสิ้น

ที่ประชุมคณะกรรมการได้มีมติอนุมัติในหลักการต่อการเพิกถอนหุ้นของบริษัทจากการ เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และที่ประชุมคณะกรรมการได้มีมติอนุมัติในหลักการต่อการให้ความยินยอมของบริษัทต่อการลดทุนของ DTAC แบบเฉพาะเจาะจง โดยการตัดหุ้น DTAC จำนวน 847,692,965 หุ้น ซึ่งมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 2 บาท ที่บริษัทเป็นผู้ถือ (อนึ่ง DTAC จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้น DTAC จากหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 2 บาท) โดยที่ DTAC ได้เสนอที่จะชำระเงินให้แก่บริษัทเนื่องจากการลดทุนแบบเฉพาะเจาะจงดังกล่าวเป็นจำนวนเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้น DTAC ที่จะมีการลดทุน ซึ่งมีจำนวนเท่ากับ 1,695,385,930 บาท

* ชี้ UCOM ขาดคุณสมบัติการเป็นบริษัทจดทะเบียน
สำหรับเหตุผลและข้อเท็จจริงของการขอถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เนื่องจากในปัจจุบัน บริษัทมีรายได้หลักจากการลงทุนในหุ้นสามัญของ DTAC ดังนั้น บริษัทจึงมีสถานะเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้น (บริษัท Holding) ในบริษัทอื่นซึ่งเป็นบริษัทที่มีการประกอบกิจการ (บริษัทแกน) ตามนัยข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ที่ บจ/ร 01-00 เรื่องการรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน พ.ศ.2544 ซึ่งตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทแกนเป็นบริษัทที่มีการ ลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น DTAC บริษัทแกนดังกล่าวจะต้องไม่เป็นบริษัทจดทะเบียนและบริษัท Holding จะต้องถือหุ้นในบริษัทแกนดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทแกน มิฉะนั้น บริษัท Holding จะถูกถือว่าขาดคุณสมบัติในการ เป็นบริษัทจดทะเบียน

ในการนี้ DTAC จึงได้เสนอทำคำเสนอซื้อหุ้นของบริษัททั้งหมดจากผู้ถือหุ้นของบริษัทเพื่อเพิกถอนหุ้นของบริษัทจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขสถานะที่บริษัทขาดคุณสมบัติในการดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวข้างต้น โดย DTAC จะดำเนินการออกหุ้น สามัญเพิ่มทุนจำนวน 169,538,593 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท (หรือ 847,692,965 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 2 บาท ภายหลังการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้) โดยหุ้นสามัญที่ออกใหม่ทั้งหมดจะจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท เพื่อเสนอแลกเปลี่ยนกับหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทที่ถืออยู่โดยผู้ถือหุ้นของบริษัทโดยไม่มีสิ่งตอบแทนเป็นเงินสด

ด้วยอัตราการแลกหุ้น 1 หุ้นสามัญของบริษัท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ10 บาท แลกได้ 0.39 หุ้นของ DTAC มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท (หรือ 1 หุ้นสามัญของบริษัท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท แลกได้ 1.95 หุ้นของ DTAC ภายหลังการเปลี่ยนมูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้นคงเหลือหุ้นละ 2 บาท) ซึ่ง UCOM ได้กำหนดวันประชุมชี้แจง (Presentation) ในวันที่ 20 เมษายน 2550 และกำหนดวันประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2550 ในวันที่ 30 เมษายน 2550 โดยกำหนดปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเพื่อสิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2550 เวลา 12.00 น. จนกว่าการประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะแล้วเสร็จ


 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 20/03/2007 @ 22:35:00 :
* "ซิคเว่" คาดนำ DTAC เข้า SET ไม่เกิน Q2/50 ระดมทุนขยายเครือข่าย
นายซิคเว่ เบรคเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร DTAC กล่าวว่า คาดว่าจะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ไม่เกินไตรมาส 2/50 หรือประมาณปลายเดือนมิ.ย. 2550 แต่ทั้งนี้คงต้องรอการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ก่อน หลังจากนั้นอีก 1-2 เดือนจะถอน UCOM ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยไม่เกินไตรมาสที่ 3/2550
โดยแผนจะดำเนินการดังกล่าวประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก โดยจะเริ่มแตกพาร์ DTAC ตามอัตราส่วน 1:5 หลังจากนั้นจะเสนอขายหุ้น IPO เป็นจำนวน 222 ล้านหุ้น และในขั้นตอนที่สอง หลังจากดีแทคได้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลท.แล้ว บริษัทจะเสนอซื้อหุ้นของ UCOM ทั้งหมด โดยแลกกับหุ้นดีแทคที่ออกใหม่ เมื่อกระบวนการนี้เสร็จสิ้นลง UCOM จะกลายเป็นบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลท. และมีสถานะกลายเป็นบริษัทลูกของดีแทค

โดยดีแทคจะออกหุ้นไอพีโอทั้งหมด 222 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 2 บาท โดยจะเป็นหุ้นใหม่ 82 ล้านหุ้น และหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมของ UCOM จำนวน 140 ล้านหุ้น และหลังจาก DTAC เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว ก็จะมีการออกหุ้นใหม่อีก 864 ล้านหุ้น ที่พาร์ 2 บาท เพื่อรองรับการแลกหุ้นกับ UCOM ที่ถือใน DTAC

ทั้งนี้ คาดว่าจะได้เงินระดมทุนจากการนำ DTAC เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประมาณ 6-7 พันล้านบาท หากคำนวณจากราคาหุ้น DTAC ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ในปัจจุบัน โดยในขณะนี้ราคาหุ้น DTAC อยู่ที่ระดับประมาณ 4.3 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเม็ดเงินที่ได้จากการระดมทุนก็จะนำไปใช้ในการขยายเครือข่าย

* เพิ่มมาร์เก็ตแคปให้ตลาดฯ 7 หมื่นลบ.
อย่างไรก็ดี หากแผนการนำ DTAC เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว จะส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าตลาดหรือมาร์เก็ตแคปให้กับตลาดหุ้นไทยอย่างมีนัยสำคัญ โดยเมื่อคำนวณจากราคาปัจจุบันของ DTAC แล้วจะเพิ่มมูลค่าให้ตลาดฯ ประมาณ 70,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ดีแทคเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่มีการจดทะเบียนในตลาดฯ ในรอบ 4 ปี นับแต่ปี 2546 เป็นต้นมา

ทั้งนี้ เมื่อได้จดทะเบียนในตลาดฯ แล้ว DTAC จะได้รับการลดหย่อนภาษีรายได้นิติบุคคล 5% ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี ส่วนหุ้นของ DTAC ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX-ST) ดีแทคมีแผนจะคงไว้เหมือนเดิม ซึ่งจะส่งผลดีให้ DTAC เป็นบริษัทไทยแห่งแรกที่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งสองตลาด (Dual Listing)

* ยันต่างชาติถือ DTAC เท่าเดิม 49%

นายซิคเว่ กล่าวต่อว่า หลังจากนำหุ้น DTAC เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว สัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติยังอยู่ในระดับ 49% เท่าเดิม เพราะจะกระจายหุ้นไอพีโอให้กับนักลงทุนสถาบันและรายย่อยภายในประเทศ ทั้งนี้ สัดส่วนการถือหุ้นหลังจากดีแทคเข้าซื้อขายฯแล้วจะเป็น เทเลนอร์ ถือลดลงเหลือ 33.4% จากเดิมถือ 34.6% ในขณะที่หุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์มีลัดส่วนลดลงหลือ 15.8% จากเดิมถือ 16.4% ส่วน TOT และ CAT ถือลดลงเหลือ 5.7% จากเดิมถือ 5.9% และ UCOM ถือหุ้นเหลือ 35.7% จากเดิม 43.1% ซึ่งหลังจาก UCOM พ้นจากการเป็นบริษัทฯจดทะเบียนฯแล้วจะกลายเป็นบริษัทที่ถือหุ้นโดยดีแทค 100% ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นไม่เปลี่ยนแปลงและไม่เกิดไดลูชั่นเอฟเฟกแต่อย่างใด

* ย้ำเทเลนอร์ ลงทุนยาว
นายซิคเว่ กล่าวย้ำด้วยว่า เทเลนอร์ ยักษ์ใหญ่ธุรกิจสื่อสารจากประเทศนอร์เวย์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน UCOM ถือได้ว่าเป็นนักลงทุนระยะยาว ซึ่งไม่มีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทย ขณะเดียวกัน ยังเชื่อว่าจะสามารถฟื้นตัวได้แน่นอน
ทั้งนี้ แม้ว่าในช่วงนี้ภาวะเศรษฐกิจรวมถึงตลาดหุ้นจะไม่ค่อยดีนัก แต่ DTAC ยังยืนยันที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะการที่ DTAC เป็นบริษัทขนาดใหญ่ เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งหากยังยืนยันเข้าจดทะเบียนก็ถือว่าจะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ รวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ไม่มีความกังวลใน พ.ร.บ.ต่างด้าว เพราะมองว่าเป็นบริษัทในประเทศไทย ควรที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยด้วย อีกทั้งยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งในและต่างประเทศ

* มีฟรีโฟลท 2 ตลาดรวม 25%
ด้านนายวิกรานต์ ปวโรจน์กิจ กรรมการผู้จัดการ บล.กสิกรไทย ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน ในการนำ DTAC เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย เปิดเผยว่า ภายหลังจาก DTAC เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย จะมีจำนวนหุ้นหมุนเวียนทั้งสิ้น 25% ของทุนจดทะเบียน แบ่งเป็นจำนวนหุ้นหมุนเวียนในตลาดหุ้นไทย 9.4% และจำนวนหุ้นหมุนเวียนในตลาดหุ้นสิงคโปร์ 15.8% ซึ่งไม่ขัดกับเกณฑ์ฟรีโฟลทของตลาดหลักทรัพย์ เพราะถ้าหาก DTAC จดทะเบียนทั้งสองตลาด ก็สามารถนับฟรีโฟลทรวมกันได้

ทั้งนี้ ข้อดีของการจดทะเบียนสองตลาด คือ ราคาหุ้นจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สมมติว่าถ้าราคาหุ้นดีแทคในไทยต่ำกว่าราคาหุ้น DTAC ในสิงคโปร์ นักลงทุนก็จะเข้าซื้อราคาหุ้นดีแทคในไทย ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับสิงคโปร์ ทั้งนี้ ราคาไอพีโอของดีแทค ที่จะจดทะเบียนในไทย จะเทียบเคียงกับดีแทคในสิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 140 บาท

"คาดว่าหุ้นแทคในไทยไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง เพราะ 9% ของมาร์เก็ตแคป 70,000 ล้านบาท ก็ถือว่าเป็นจำนวนที่สูง" นายวิกรานต์ กล่าว

* กิมเอ็ง ชี้ราคาเป็นธรรมกับรายย่อย แนะซื้อเก็งกำไรระยะสั้น
ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ออกบทวิเคราะห์หุ้น UCOM โดยระบุว่า ด้วยราคาหุ้น TAC ในตลาดสิงค์โปร์ 4.14 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อวานนี้ และการคิดส่วนลด 10-20% ราคาเหมาะสมของหุ้น UCOM จะอยู่ระหว่าง 45.20-50.90 บาท เราอ้างอิงส่วนลดตรงกลางที่ 15% ได้ราคาเหมาะสมใหม่ 48.0 บาท/หุ้น

ทั้งนี้ มองว่าแผนดังกล่าวค่อนข้างยุติธรรมต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย โดยผู้ถือหุ้น UCOM จะเปลี่ยนเป็นถือหุ้น TAC แทนหลังจากแผนนี้ เราจึงมองว่ามีโอกาสสูงที่แผนนี้จะได้รับการอนุมัติ ด้วยราคาหุ้นปัจจุบันมีส่วนต่าง 15% จากราคาเหมาะสมใหม่ของเรา จึงปรับเพิ่มคำแนะนำจาก ถือ เป็น ซื้อเก็งกำไร

* ยูไนเต็ด แนะให้ขาย UCOM เมื่อราคาสูงขึ้น
ขณะที่ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) แนะนำ ?ขาย UCOM เมื่อราคาสูงขึ้น? ใกล้ราคาเหมาะสมตามวิธี NAV คิดลด 10% ที่ 51.11 บาท โดยมองผลกระทบที่จะเกิดขึ้นว่า แม้รายละเอียดดังกล่าวจะทำให้ทางออกของการเข้าซื้อขายของหุ้น TAC ใน SET ชัดเจนขึ้นและคิดมูลค่าเทนเดอร์ของ UCOM เบื้องต้น อ้างอิงราคาปิดและอัตราแลกเปลี่ยนวานนี้ ได้ที่หุ้นละ 56.2 บาท (Upside 35.4%) อย่างไรก็ตาม เรากลับมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องการถือครองหุ้นของต่างชาติใน TAC ที่อาจเกินกว่า กม. กำหนดที่ 49.0%

* ธนชาต แนะถือ UCOM รอเทนเดอร์ฯ

ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ธนชาติ มีความเห็นว่า ราคา DTAC ที่ตลาดสิงคโปร์ปิดที่ 4.14 เหรียญสหรัฐ/หุ้นวานนี้ และเช้านี้ซื้อ-ขายที่ 4.34 เหรียญสหรัฐ/หุ้น และ adjusted price หลังแตกพาร์จะเป็น 0.86 เหรียญสหรัฐ/หุ้น (หรือราว 30.38 บาท หากใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ 35 บาท/เหรียญสหรัฐ) หากใช้ swap ratio ที่ 1 (UCOM): 1.95 (DTAC) จะเท่ากับ implied price สำหรับ UCOM ที่ราว 59.24 บาท/หุ้นซึ่งมี premium จากราคาปัจจุบันราว 20%

แต่เนื่องจาก P/E ของตลาดไทยที่มี discount จากตลาดสิงคโปร์ราว 15% จึงน่าจะทำให้ราคา adjusted swap price ของ UCOM อยู่ที่ราว 50.35 บาท จึงน่าจะเป็นราคาที่ fairly valued แล้ว การเก็งกำไรต่อจากนี้อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

สำหรับราคา PO น่าจะมีส่วนลดจากราคา DTAC ในตลาดสิงคโปร์ หากใช้ส่วนลดราว 20% จากราคาในตลาดฯ จะเท่ากับราว 23.18 บาท/หุ้น และจะทำให้ DTAC ได้เงินจากการนำหุ้น 140 ล้านหุ้น (จากเดิมที่ถือโดย UCOM) มาขาย (ก่อนค่าใช้จ่าย) ราว 3.2 พันล้านบาท ทั้งนี้ DTAC คาดว่าเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้น PO (สุทธิ) น่าจะอยู่ที่ 2.12 พันล้านบาท โดยรายงานว่าราคา PO น่าจะมีส่วนลดจากราคาเฉลี่ยในปัจจุบันในตลาดสิงคโปร์เกิน 10%

ทั้งนี้ ภายหลังการ swap หุ้น & การขายหุ้น PO จะทำให้ Telenor Asia เพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน DTAC จาก 32.6% ในปัจจุบัน เป็นราว 42.1% ส่วน Thai Telco Holdings (Telenor ถือหุ้นโดยตรง 49% ที่เหลืออีก 51% น่าจะเป็น nominees) จะเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น DTAC จาก 2% ในปัจจุบัน เป็นราว 22.9% และทำให้สัดส่วนการถือหุ้นโดย Telenor Asia + Thai Telco Holdings ใน DTAC อยู่ที่ราว 65% ส่วนนักลงทุนที่มีหุ้น UCOM อาจถือรอเพื่อทำ tender offer ส่วนนักลงทุนที่จะเข้ามาซื้อใหม่น่าจะมี upside ที่จำกัด
[/color:361bf6fd95">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com