May 16, 2024   2:25:26 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > 10หุ้นต่างชาติจ้องลุย - ชอบ 3 คุณสมบัติโตดี ปันผลเด่น ถูก
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 12/04/2007 @ 10:02:12
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

10 หุ้น DELTA TCAP PTTCH SCC HANA TTA MAJOR LH ATC และ TOP ติดโผราคาทะยาน รับแรงซื้อนักลงทุนต่างชาติ หลังกลับมามีมุมมองเชิงบวก ใส่เงินซื้อหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องเดือนเม.ย. บล.นครหลวงไทยชี้หุ้นเด่นมี 3 คุณสมบัติโดนใจ ฐานะการเงินมั่นคงให้อัตราตอบแทนปันผลมากกว่า 5% แนวโน้มธุรกิจโตดีปีนี้ต่อเนื่องปีหน้า และราคาหุ้ต่ำกว่าพื้นฐานที่เหมาะสมไม่น้อยกว่า 15%

นักลงทุนต่างชาติเริ่มมีมุมมองในเชิงบวกกับตลาดหุ้นไทยมากขึ้น และได้เริ่มทะยอยเข้ามาซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือนเม.ย.จนถึงวันที่ 10 เม.ย. พบว่าต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยไปแล้ว 8,494.39 ล้านบาท ขณะที่ล่าสุดวานนี้(11เม.ย.)ซื้อสุทธิเพิ่มอีก... ล้านบาท รวมยอดซื้อสุทธิรวมกันเป็น

บริษัทหลักทรัพย์นครหลวงไทย ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ได้ทำการศึกษาการซื้อขายของโบรกเกอร์ต่างชาติจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ JPM CLSA CS UBS TMBMACQ PHATRA DBSพบว่านักลงทุนต่างชาติมีมุมมองต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยดีขึ้น โดยปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติมีมูลค่าสุทธิรวมกัน 36,041 ล้านบาท มีสัดส่วนเฉลี่ย 40% ของมูลค่าซื้อขายต่อวันเพิ่มจากปี 2549 สัดดส่วนเฉลี่ยอยู่ที่ 32%

นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า โบรกเกอร์ต่างชาติมีการซื้อกระจายตัวมากขึ้น และมีการสลับการเป็นผู้ซื้อ-ผู้ขาย โดยปัจจุบัน UBS ซึ่งเคยเป็นผู้ซื้อสุทธิกลับมาเป็นผู้ขายสุทธิในเดือนมี.ค.-เม.ย.ในขณะที่ JPM ซึ่งเป็นผู้ขายสุทธิกลับกลายมาเป็นผู้ซื้อสุทธิ

รายงานของบล.นครหลวงไทย JPM และ CLSA เป็น 2 โบรกเกอร์ต่างชาติที่มีมูลค่าซื้อสุทธิสูงสุดในช่วงเดือนเม.ย.หลังจากที่ JPM ติดอันดับเป็นผู้ขายสุทธิมาตลอดในช่วง 3เดือนก่อนหน้านี้ ขณะที่ PHATRA UBS และ CS กลายเป็นผู้ขายสุทธิในเดือนเม.ย.

โดย UBS TMBMAQ CS และ CLSA เป็นโบรกเกอร์ที่มีมูลค่าซื้อสะสมสุทธิในปี 2550โดย UBS มีมูลค่าซื้อสะสมถึง 1.6 หมื่นล้านบาท สอดคล้องกับกาปรับเพิ่มน้ำหนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยในเดือนม.ค. ส่วน JPM และ PHATRA ยังคงมีมูลค่าสะสมเป็นผู้ขายสุทธิ

"JPM CLSA และ CS เป็นโบรกเกอร์ต่างชาติ 3 รายที่มีมูลค่าขายสุทธิในเดือนธ.ค.มากที่สุด หลังธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการกันสำรอง 30% ดังนั้นการกลับมาซื้อสุทธิของโบรกเกอร์ทั้ง 3 แห่งถือเป็นสัญญาณในเชิงบวก แสดงให้เห็นถึงมุมมองต่างชาติที่ดีขึ้น"บทวิเคราะห์บล.นครหลวงไทย ระบุ

นอกจากนี้ประเมินว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ JMP PHATRA และ DBS จะกลายเป็นผู้ซื้อสุทธิในเดือนเม.ย.ขณะที่ UBS มีโอกาสเป็นผู้ขายสุทธิ

บล.นครหลวงไทย ระบุด้วยว่า การกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติส่งผลดีกับหุ้นขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มพลังงานและธนาคาร โดยเฉพาะ 10 หุ้นที่มี 3 คุณสมบัติเด่นประกอบด้วยฐานะการเงินมั่นคงมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลมากกว่า 5% แนวโน้มธุรกิจเติบโตได้ดีในปี 2550-2551 และราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่เหมาะสมไม่น้อยวก่า15%

สำหรับหุ้นที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วย DELTA TCAP PTTCH SCC HANA TTAMAJOR LH ATC และ TOP

10หุ้นอัตราตอบแทนปันผลดีหุ้น กำไรสุทธิ อัตราตอบแทนปันผล
(ล้านบาท) (%)DELTA 2,014 8.23TCAP 1,888 6.89PTTCH 15,918 6.29SCC 29,132 6.10HANA 2,214 5.84TTA 3,580 5.80MAJOR 2,422 5.77LH 4,590 5.32ATC 7,566 4.92TOP 15,097 4.89ที่มา: บล.นครหลวงไทย





 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 12/04/2007 @ 10:21:13 :
จับความเคลื่อนไหวหุ้นไทยตลอดทั้งสัปดาห์ ลมหายใจแผ่ววอลุ่มเบาบางเหมือนปุยนุ่น รายย่อยเผ่นหนีพร้อมใจขายหุ้นตุนเงินเที่ยวสงกรานต์กันหมด แต่หลังค้นตัวเลขยอดซื้อขายนักลงทุนรายกลุ่ม และแรงซื้อบิ๊กล็อต ยังพอให้ใจชื้น เพราะฝรั่งยังเดินหน้าซื้อสุทธิทั้งสัปดาห์ หุ้นบิ๊กแคปมีแรงซื้อสะสมตลอด เน้นหนักกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และพลังงาน ชี้ชัดทิศทางตลาดสัปดาห์หน้า หุ้นบิ๊กแคปจะฟื้นชีพกลับมาคึกคักเหมือนได้น้ำใหม่ ด้านนักวิเคราะห์เชื่อรายย่อยหวนกลับสร้างสีสัน กลุ่มแบงก์มีแววคว้าตำแหน่งผู้นำตลาด เพราะเข้าช่วงใกล้ประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/2550

จากการสำรวจการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติมีการซื้อสุทธิเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเดือนมี.ค.ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิไป 1,280 ล้านบาท ขณะที่เดือนเมษายน (ตั้งแต่วันที่ 2-11 เม.ย.) นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิไป 8,1217 ล้านบาท โดยรวมตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิไปแล้วกว่า 38,753 ล้านบาท

ส่วนเฉพาะในสัปดาห์นี้ที่วอลุ่มบางแทบขาดใจ จะเห็นได้ว่า นักลงทุนต่างชาติยังคงทยอยซื้อแบบเก็บเล็กผสมน้อยอย่างไม่สนรายย่อยที่พากันขายตุนเงินไปเที่ยวไปสงกรานต์ โดยเปิดมาในวันแรกของสัปดาห์นี้(9เม.ย.) ซื้อสุทธิ 412 ล้านบาท และในวันที่ 10 เมษายน ซื้อสุทธิ 203 ล้านบาท และล่าสุด 11 เมษายน ยอดซื้อสุทธิพุ่งขึ้นมาอีก 1,924 ล้านบาท

ขณะที่การทำรายการซื้อขายหลักทรัพย์บนกระดานใหญ่ (BIG LOT) ในสัปดาห์นี้ที่ภาวะตลาดเงียบเหงาท่ามกลางมูลค่าการซื้อขายเบาบาง แต่ยังคงมีแรงเก็บหุ้นบิ๊กแคปในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ นำโดย หุ้นธนาคารกสิกรไทย KBANK จำนวน 1.15 ล้านหุ้น มูลค่ารวม 79 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 67.50 บาท ,ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB จำนวน 1 ล้านหุ้น มูลค่ารวม 71 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 71 บาท และธนาคารกรุงเทพ ในกระดานต่างประเทศ BBL-F จำนวน 176,000 หุ้น ราคาเฉลี่ย 118 บาท มูลค่ารวม 21 ล้านบาท

ส่วนกลุ่มพลังงานนำโดยหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) PTT รวม 1.91 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 211 บาท มูลค่ารวม 403 ล้านบาท ,บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) PTTEP รวม 1.96 ล้านหุ้น มูลค่ารวม 179 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 91.50 บาท และบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)ในกระดานต่างประเทศ EGCOMP-F รวม 146,000 หุ้น มูลค่ารวม 15 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 105 บาท

สัปดาห์หน้าหุ้นแบงก์นำตลาด
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ (11 เม.ย.2550) ยังคงปรับตัวขึ้นตามแรงซื้อของนักลงทุนต่างประเทศในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์และพลังงาน เช่นเดียวกับหุ้นที่ตอบรับในเชิงบวกต่อทิศทางดอกเบี้ย เช่นกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้าง และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยปรับอัตราลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.50%

?หุ้นบิ๊กแคปยังดันตลาดทั้งกลุ่มแบงก์ น้ำมันรวมถึงหุ้นที่ตอบรับผลบวกจากการลดดอกเบี้ย เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมองว่าแรงซื้อดังกล่าวยังคงเป็นของนักลงทุนต่างชาติ?นักวิเคราะห์กล่าว

ทั้งนี้คาดว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะมีการซื้อขายคึกคักมากขึ้นในสัปดาห์หน้าเนื่องจากจะเป็นสัปดาห์แรกที่หุ้นในกลุ่มธนาคารจะมีการทยอยประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2550 ออกมาเป็นกลุ่มแรก ซึ่งจากการพิจารณาธนาคารทั้ง 6 แห่งได้แก่ BAY ,BBL ,KBANK ,KTB ,SCB และ TMB คาดว่าจะรายงานกำไรสุทธิในไตรมาส 1/2550 รวม 19,576 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 4/2549 ที่ผ่านมาซึ่งรายงานขาดทุนสุทธิรวม 11,517 ล้านบาท

เนื่องมาจากในไตรมาสดังกล่าวหลายธนาคารมีการตั้งสำรองในจำนวนที่สูงตามเกณฑ์ IAS 39 ขณะที่ไตรมาส 1/2550 คาดว่าทุกธนาคารจะกลับมาตั้งสำรองในระดับปกติ จึงทำให้ภาระในการตั้งสำรองโดยรวมลดลงไปประมาณ 87% จากไตรมาสก่อน

สำหรับหุ้น KBANK พิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานที่ยังแข็งแกร่ง ถึงกำไรสุทธิค่อนข้างทรงตัวซึ่งเป็นผลจากการลงทุนด้าน IT โดยสินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมยังมีโอกาสเติบโตสูง และมีความเป็นยูนิเวอร์แซล แบงก์กิ้งที่ชัดเจน ดังนั้นจึงยังคงคำแนะนำซื้อลงทุน ให้ราคาเหมาะสมที่ 76.76 บาท

ส่วน BBL มีความได้เปรียบในเรื่องโครงสร้างสินเชื่อและเงินฝาก ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาลง ประกอบกับสภาพคล่องที่สูงและฐานลูกค้าที่ใหญ่ส่งผลให้ BBL ได้เปรียบในการปล่อยสินเชื่อหากเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอีก จึงยังคงคำแนะนำซื้อลงทุน ให้ราคาเหมาะสมที่ 125.49 บาท

ขณะที่ SCB พิจารณาจากสินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมมีการเติบโตสูงต่อเนื่อง ส่งผลให้กำไรสุทธิปี 2550 คาดว่าจะพิ่มขึ้นสูง 23% จากปีก่อนแต่อย่างไรก็ตามราคาหุ้นปัจจุบันได้มีการปรับตัวขึ้นสูงจนใกล้เต็มมูลค่าที่เหมาะสมที่ 69.82แล้วจึงแนะนำขายทำกำไรไปก่อนและรอซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลงมา

EGCOMPเด่นสุดหุ้นโรงฟ้า
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่มพลังงานมองว่าหุ้นโรงไฟฟ้าจะโดดเด่นที่สุดจากการเตรียมเปิดรับการเปิดประมูลโครงการ IPP ซึ่งผู้ประกอบการที่คาดว่าจะสามารถเข้าร่วมประมูลด้วยต้นทุนที่ต่ำ ได้แก่ EGCOMP RATCH และ TOP ยังคงมีโอกาสชนะประมูลเหนือกว่าคู่แข่งที่มีความพร้อมน้อยกว่า และสามารถเพิ่มมูลค่าได้จากการชนะการประมูล IPP ในครั้งนี้

ทั้งนี้เลือก EGCOMP เป็นหุ้นเด่นที่สุดในกลุ่ม เนื่องจากผลประกอบการปี 2550 ที่คาดว่าจะยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง และความโดดเด่นในแง่ของการเติบโตของกำลังการผลิตติดตั้งที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่างปี 2550 ? 2552 โดยแนะนำ?ซื้อ? ให้ราคาเหมาะสมหาก EGCOMP สามารถประมูลโครงการ IPP ได้ตามเป้าหมายที่ 1,400 เมกะวัตต์ จะเพิ่มมูลค่าเหมาะสมเป็น 126.80 บาท

ขณะที่ TOP นอกจากจะมีมูลค่าเพิ่มจากการชนะการประมูล IPP แล้ว ยังมีจุดเด่นในเรื่องความผันผวนของรายได้ โดยให้ราคาเหมาะสมที่ 66.77 บาท

จับเทคนิคเรียงกลุ่มรายตัว
นายกมลชัย พลอินทวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด กล่าวว่า หากพิจารณาจากสัญญาณเทคนิคหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ราคาหุ้นมีโอกาสขยับขึ้นได้ต่อ โดยแบ่งเป็นหุ้นที่แข็งแกร่งกว่าตลาด นำโดย BAY ให้แนวรับที่ 22.60-22.20 บาท แนวต้านที่ 23.60-24.00 บาท และKBANK ให้แนวรับที่ 67.75-66.75 บาท แนวต้านที่ 70.50-71.50 บาท ส่วนหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ราคายังปรับตัวขึ้นไม่มากคือ BBL ให้แนวรับที่ 112-110 บาท แนวต้านที่ 12.60-12.70 บาท , KTB แนวรับที่ 12.00-11.90 บาท แนวต้านที่ 12.00-12.70 บาท และSCIB แนวรับที่ 17.90-17.60 บาท แนวต้านที่ 18.50-18.80 บาท

สำหรับกลุ่มพลังงานหุ้นที่แข็งแกร่งกว่าตลาด นำโดย BANPU ให้แนวรับที่ 216.0-212.0 บาท แนวต้านที่ 226.0-230.0 บาท และEGCOMP แนวรับที่ 103-100 บาท แนวต้านที่ 109-112 บาท ส่วนหุ้นพลังงานที่ราคายังปรับตัวขึ้นไม่มากคือ RATCH ให้แนวรับที่ 47.10-46.10 บาท แนวต้านที่ 48.75-49.75 บาท ,TOP แนวรับที่ 60-58 บาท แนวต้านที่ 63.50-65.50 บาท และPTT แนวรับที่ 212-208 บาท แนวต้านที่ 220-224 บาท






[/color:fd14dfcc31">
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com