May 2, 2024   7:37:02 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > 3หุ้นเด็ดรับไฮซีซั่น และ แชมป์หุ้นร่วง
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 20/07/2007 @ 09:26:26
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

เปิดโผ 3 หุ้นเด็ดกลุ่มอิเลคโทรนิกส์ CCET-HANA-KCE พาเหรดเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่น ขานรับออเดอร์ใหม่เพียบ โดยเฉพาะ"แคลคอมพ์"ยอดสั่งผลิตมือถือจากอินเดียอีก 12 ล้านเครื่องดันกำไรทั้งปีโตกว่า 25% ขณะที่"ฮานา"ไม่น้อยหน้าขานรับตลาด IC เริ่มฟื้นตัว แถมต้นทุนลดลงอีกเพียบหนุนกำไรปีนี้ 417 ล้านบาท ส่วน KCE แนวโน้มพลิกจากขาดทุนเป็นกำไร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าไตรมาส 3 นับเป็นช่วงไฮซีซั่นสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทำให้หุ้นกลุ่มนี้ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น แม้บางอาจได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทอยู่บ้างก็ตาม โดยบริษัทที่โดดเด่นสุดเริ่มจากบริษัท แคลคอมพ์ อิเลคโทรนิคส์ จำกัด(มหาชน)หรือCCET บริษัท ฮานา ไมโครดิเลคทรอนิคส์ จำกัด(มหาชน)หรือ HANA และบริษัท เคซีอี อิเลคโทรนิคส์ จำกัด(มหาชน)หรือ KCE

โดยหุ้น CCET และ HANA ถือว่าน่าจะได้รับผลเชิงบวกมากที่สุด กล่าวคือ CCET มีการขยายฐานลูกค้าได้ต่อเนื่อง ล่าสุดสามารถเจาะเข้าสู่ตลาดอินเดีย โดยได้รับคำสั่งผลิตโทรศัพท์มือถือ จากผู้ประกอบการรายใหญ่ในอินเดียเพิ่มเป็น 12 ล้านเครื่อง สำหรับโครงสร้างรายได้หลักยังเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อาทิ PCBA สำหรับ Harddisk และPrinterอีกทั้งอัตรากำไรขั้นต้น ที่เริ่มปรับสูงขึ้นจากอำนาจการต่อเรื่องซื้อวัตถุดิบ ทำให้ภาระต้นทุนที่ต่ำลงที่สำคัญอัตราเงินปันผลปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 6% จากกำไรต่อหุ้น(EPS)เพิ่มขึ้นถึง 20%

ขณะเดียวกันยอดขายเติบโตต่อเนื่องทั้งในและนอกประเทศ โดย CCET น่าจะได้รับประโยชน์จากลูกค้าหลัก Western Digital เพิ่มกำลังการผลิตในไทยนอกจากนี้บริษัทยังได้ลูกค้าใหม่ OEM อีกหลายรายอาทิ Hewlett-Packardและผู้ผลิต Harddisk รายใหญ่ของโลกอีกแห่งหนึ่ง รวมถึงความสำเร็จในการเจาะตลาดอินเดีย คาดว่าจะเป็นการปูทางไปสู่การมีส่วนร่วมตลาดที่กำลังเติบโตสูง

ทั้งนี้บริษัทหลักทรัพย์โกลเบล็ก ประเมินว่ากำไรปี 50 จะออกมาอยู่ระดับสูง โดยค่าบาท ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้ผลประกอบการไตรมาส 2 เติบโตเพียงเล็กน้อย แต่จากการความสามารถขยายฐานลุกค้าใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการบริหารจัดการต้นทุนที่ดี ทำให้กำไรครึ่งปีหลังออกมาระดับสูงโดยทั้งปีจะเติบโตสูงถึง 25%พร้อมแนะนำซื้อลงทุนราคาเป้าหมายอยู่ที่ 7.75 บาท

แหล่งข่าวจากบริษัท ฮานาไมโครอีเลคโรทรนิคส์ จำกัด(มหาชน)หรือ HANA กล่าวว่า ปริมาณคำสั่งซื้อ IC เริ่มกลับมาแข็งแกร่ง ตั้งแต่เดือนพ.ค.50 ทำให้รายได้มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยรายได้จากการดำเนินงาน HANA ไตรมาส 2 เติบโตขึ้นประมาณ 8-9% จากปีก่อน อย่างไรก็ดีจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 2.6% ทำให้มีผลต่อตัวเลขกำไรพอสมควร

โดยแนวโน้มคำสั่งซื้อช่วงครึ่งปีหลังยังแข็งแกร่ง ทั้งจากผลของฤดูกาล และการเติบโตการับงานภายนอก ที่ขยายตัวอย่างมากช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จะผลักดันให้ผลการดำเนินงาน HANA เติบโดตขึ้นมากและชดเชยปัญหาค่าเงินบาทได้

สอดคล้องกับบริษัทหลักทรัพย์นครหลวงไทย ระบุว่า ช่วงครึ่งปีหลังจะเริ่มเห็นการฟื้นตัวของอัตรากำไรขั้นต้น แม้เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องแต่ HANA ได้ปรับต้นทุนวัตถุดิบบางส่วนแล้ว บวกกับการฟื้นตัวของตลาด IC และการประหยัดค่าใช้จ่ายจากการปิดโรงงานที่เซี่ยงไฮ้และย้ายสายการผลิตมารวมที่เจียซิง ส่งผลให้กำไรขั้นต้นฟื้นตัวถึง 16.8% จากไตรมาสที่แล้วเป็น 580 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีรายจ่ายพิเศษ 40 ล้านบาท กำไรปกติยังเติบโต 16% จากไตรมาสก่อนและกำไรสุทธิน่าจะอยู่ที่ 417 ล้านบาท จึงทำให้ HANA เป็นหุ้นที่น่าลงทุนโดยมีเป้าหมาย 31.34 บาท

ขณะที่บริษัท เคซีอีอิเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ KCE มีแผนขยายกำลังการผลิตโรงงานลาดกระบัง และนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคอยุธยา อีกประมาณ 3 แสนตารางฟุตต่อเดือนคาดว่าเรียบร้อยทั้งหมดภายในไตรมาส 3 ทำให้ KCE มีกำลังการผลิตรวมทั้งหมด3 โรงงาน เท่ากับ 2.1 ล้านตารางฟุตต่อเดือน

โดยการขยายกำลังการผลิตจะส่งผลดีต่อรายได้บริษัทอย่างชัดเจนช่วงปีหน้า และยังไม่น่าห่วงเรื่องความต้องการเพราะอุตสาหกรรม PCB มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญการควบคุมของเสียจากการผลิตยังทำได้ดี จนทุกๆโรงงานไม่มีของเสียจากการผลิตมากจนผิดปกติ ส่งผลดีต่อความสามารถในการทำกำไรด้วย

บริษัทหลักทรัพย์ซิกโก้ ประเมินว่า จากปัจจัยต่างๆที่ดีขึ้นรวมทั้งวการขยายกำลังการผลิตดังกล่าว จึงปรับประมาณการอีกครั้ง โดยรายได้รวมปีนี้อยู่ที่ 8,204 ล้านบาท เพิ่มขึ้น8.8% จากปีก่อน อัตรากำไรขั้นต้น เพิ่มขึ้น 34.9% ทำให้ฟื้นตัวจากการขาดทุน 118 ล้านบาท กลับมาเป็นกำไรสุทธิ 238 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวจะเดินควบคู่กับความเสี่ยง จากเรื่องหนี้สินที่จะผ่อนคลายลงไปบ้างหลังจากมีการเพิ่มทุน แต่ระดับ D/E ยังสูงถึง 2.7 เท่า อาจกลับมาสร้างปัญหาได้ในอนาคต

รวมทั้งจับตาการเพิ่มกำลังการผลิต เพราะอาจทำให้อัตราของเสียจากการผลิตเพิ่มขึ้นได้กรณีไลน์ผลิตใหม่เปิดมาเพื่อรองรับการผลิตของสินค้าใหม่ อย่างไรก็ตามมูลค่าเหมาะสมใหม่ 3.90 บาท



 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 20/07/2007 @ 09:27:49 :
จากการสำรวจราคาหุ้นครึ่งปีแรกของ "ข่าวหุ้นธุรกิจ"พบว่า ราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นเก็งกำไรและหุ้นขนาดเล็ก เนื่องจากนักลงทุนหันไปเล่นหุ้นขนาดใหญ่ หลังทิศทางตลาดหุ้นได้ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ส่งผลให้นักลงทุนที่เข้าไปเก็งกำไรหุ้นขนาดเล็กและหุ้นเก็งกำไร ขายหุ้นกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก เพราะหากถือ ไว้นานเกรงว่าจะขาดทุนหนัก เนื่องจากนักลงทุนทราบดีว่าหุ้นกลุ่มกล่าวล้วนมีปัญหาทางด้านการเงิน และจะปรับตัวขึ้นได้ก็ต้องรอให้มีข่าวเข้ามาสนับสนุนเท่านั้น

สำหรับหุ้นที่ปรับตัวลงหนักรอบครึ่งปีแรกคือ AMC หรือ บริษัท เอเซีย เมทัล จำกัด (มหาชน) ราคาหุ้นปรับตัวลงแรง 54.05 % มาที่ระดับ 2.84 บาท จากระดับ 6.18 บาทหากมองราคาหุ้นรายนี้นับว่าเป็นขาลงอย่างชัดเจน สาเหตุที่ปรับตัวลงแรงเป็นผลมาจากAMC ประกาศเพิ่มทุนเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

โดยได้เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนพร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิแก่ประชาชนทั่วไป(PO)จำนวน 50 ล้านหุ้น และเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนพร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิม(RO) จำนวน 50 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 3.30 บาท ทำให้นักลงทุนขายทำกำไรหุ้นรายนี้ออกมาอย่างหนัก

ทั้งนี้แม้บริษัทจะมีข่าวเรื่องพันธมิตรรายใหม่ เข้ามาช่วยขยายธุรกิจเหล็กไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว และเวียดนาม แต่หุ้นรายนี้ก็ไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้ เนื่องจากนักลงทุนเกรงว่าการที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ "ชูศักดิ์ ยงวงศ์ไพบูลย์" ทยอยขายหุ้นออกมาอย่างหนัก 2 ราย

โดยเฉพาะ นายวินท์ สุธีรชัย ผู้ถือหุ้นของบริษัทรายใหญ่อันดับ 3 ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักของนักลงทุนวงการเหล็ก ยิ่งทำให้นักลงทุนมองว่าการขายหุ้นครั้งนี้จะเป็นการทิ้งบริษัทหรือเปล่า

อันดับ 2 EVER หรือ บริษัท เอเวอร์แลนด์ จำกัด (มหาชน) ราคาหุ้นปรับตัวลดลง54.04% มาที่ระดับ 2.16 บาท จากเดิม 4.70 บาท สำหรับหุ้นรายนี้ถือเป็นหุ้นเก็งกำไรที่นักลงทุนรายใหญ่เข้าไปไล่ราคา ส่วนราคาหุ้นที่ปรับลงหนักมีสาเหตุจาก การประกาศเพิ่มทุนบริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนจากทุนจดทะเบียนเดิม300 ล้านบาท ให้เป็นทุนจดทะเบียน 600ล้านบาท

แต่เนื่องจากการเพิ่มทุนในครั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ได้ขึ้นเครื่องหมาย XR(ผู้ซื้อไม่มีสิทธิได้รับหุ้นเพิ่มทุน) ก่อนวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ถือว่าผิดธรรมเนียมปฏิบัติ และไม่เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้ซักถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการเพิ่มทุนและข้อมูลต่างๆ ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวหรือไม่

อย่างไรก็ตามแม้แผนเพิ่มทุนดังกล่าวจะถูกยกเลิกไปแล้ว หุ้นรายนี้ก็ยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้อย่างร้อนแรงเหมือนเคย เนื่องจากหุ้นตัวนี้ถูกจับตาความเคลื่อนไหวจากกลต.และตลท.อย่างใกล้ชิด หรือถ้าหากหุ้นจะปรับตัวแรงก็คงเป็นได้แค่หุ้นเก็งกำไรเท่านั้น

อันดับ 3 N-PARK หรือ บริษัท แนเชอรัล พาร์ค จำกัด(มหาชน) ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 36.36% มาทีที่ระดับ 0.21 บาท มาที่ระดับ 0.33 บาท สำหรับหุ้นรายนี้ที่ปรับตัวลงหนัก เนื่องมาจากผลการดำเนินงานที่ขาดทุนอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2547
มาจนถึงผลประกอบการไตรมาสแรกที่ขาดทุน 296.79 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 249.13 ล้านบาท น่าจะเป็นการยืนยันได้ว่าหุ้นรายนี้ได้กลายเป็นหุ้นที่นักลงทุนเมินอย่างชัดเจน เพราะด้วยภาระระหนี้ที่มากถึง 5,670.02 ล้านบาท เมื่อนำมาหาค่า D/E Ratio เท่ากับ 1.41 นั้นแสดงให้เห็นว่าบริษัทมีความเสี่ยงจากการแบกรับภาระหนี้สินอย่างมาก

อันดับ 4 NNCL หรือ บริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) ราคาหุ้นปรับตัวลง 35.68%มาที่ระดับ 2.74 บาท 4.26 บาท หากมองราคาหุ้นรายนี้จะเห็นว่าเป็นขาลงต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว เนื่องจากหุ้นรายนี้ได้ขื่อว่าเป็นหุ้นเก็งกำไร เนื่องจากช่วงที่ผ่านๆมามีนักลงทุนรายใหญ่เข้าไปไล่ซื้อกันอย่างหนาแน่น จนเป็นเหตุให้กลต.และตลท.ต้องออกมาจับตากการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นและต้องสั่งห้ามเน็ต-มาร์จิ้น จึงส่งผลให้นักลงทุนขายหุ้นรายนี้ได้รับผลกระทบมาจนถึงขณะนี้

สาเหตุอีกประการที่หุ้นรายนี้ปรับตัวลงแรกคือ ต้องยอมรับว่าทุกครั้งที่หุ้นขึ้นแรงกลต.และตลท.จะต้องออกมาจับตาความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นเสมอ เห็นได้จากหุ้น IEC APUREและล่าสุด TUCC ถูกสั่งห้ามเน็ต-มาร์จิ้น อีกราย ดังนั้นหุ้น NNCL จึงต้องมีการขึ้นลงอย่างระมัดระวังมากขึ้น

อย่างไรก็ตามหากมองผลประกอบที่ผ่านมาหุ้นรายนี้ก็ยังทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง และคาดว่าการบันทึกขายที่ดินกว่า 120 ล้านบาท ช่วงไตรมาส 2 และรวมไปถึงครึ่งปีหลังเริ่มรับรู้รายได้จากธุรกิจน้ำ จะช่วยให้หุ้นรายนี้ปรับตัวขึ้นได้ และรายได้ส่วนนี้จะมาช่วยลบภาพหุ้นเก็งกำไรไปได้หรือไม่ต้องติดตาม อันดับ 5 AIT หรือ บริษัท แอ็ดวานซ์อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ราคาหุ้นปรับลดลง 34.07% มาที่ระดับ 14.90บาท จากเดิม 22.60 บาท สาเหตุที่หุ้นปรับตัวลงหนักเป็นผลมาจากเมื่อวันที่ 22ก.พ. ที่ผ่านมาได้มีมติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 200 ล้านบาท เป็น 345 ล้านบาท จึงเป็นผลทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกันผู้บริหาร AIT มีแผนจะทบทวนเป้าหมายรายได้ปีนี้ หลังประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 2/50 แล้วเพราะต้องรอดูว่าจะมีงานประมูลใหม่ๆมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้บริษัทตั้งรายได้ปีนี้ไว้ 2.7 พันล้านบาทเติบโต 20% จากปีก่อนหน้าที่มีรายได้ 2.2 พันล้านบาท ยิ่งทำให้นักลงทุนกังวลและขายหุ้นออกมาระยะนี้

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ เตรียมเข้าประมูลงานอีก 2 โครงการใหญ่ มูลค่ารวม 2.4พันล้านบาท ในช่วง 1-2 เดือนนี้ ประกอบด้วย งานโครงการโทรทัศน์วงจรปิด ของกระทรวงมหาดไทย มูลค่า 900 ล้านบาทและงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT)มูลค่า 1.5 พันล้านบาท ซึ่งจากศักยภาพการดำเนินงานมั่นใจว่าจะมีโอกาสคว้างานค่อนข้างสูง

นอกจากนี้บริษัทยังมีงานที่ยื่นประมูลตั้งแต่ต้นปีแล้ว มูลค่า 500-600 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าน่าจะรู้ผลสรุปภายในอีก 2 เดือนจากนี้ หรือ ราวไตรมาส 3/50

ทั้งนี้เป็นที่น่ายินดีว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมีหุ้นขนาดใหญ่เข้ามาติดเพียงรายเดียว นั้นก็คือ TMBเนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าหุ้นรายนี้ติดปัญหาเรื่องหลายด้านทั้งปัญหาทางด้านการเงินที่ขาดทุนหนัก

ขณะเดียวกันยังติดปัญหาเรื่องการซื้อหุ้นเพิ่มทุน ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าใครจะเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนกว่า 3.5 หมื่นล้านบาทในครั้งนี้ งานนี้เห็นว่าแผนเพิ่มทุนต้องเลื่อนไปถึงสิ้นปีจึงเป็นเหตุให้ราคาหุ้นลดลงอย่างต่อเนื่อง


:lol: [/color:45ba6315f2">
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com