May 2, 2024   12:44:21 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > 6 มาตรการสกัดบาทแข็งไม่รุนแรงนลท.หมดกังวลดันดัชนีฯทะลุ 880
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 24/07/2007 @ 19:46:03
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ครม.อนุมัติ 6 มาตรการ แก้ไขปัญหาเงินบาทแข็งค่า หนุนหุ้นไทยพุ่งทันควัน 22.02 จุด ขึ้นมาแตะระดับ 884.64 จุด ทำ high ในรอบเกือบ 11 ปี หลังนักลงทุนคลายความกังวล เหตุภาครัฐไม่มีมาตรการรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุน ทำให้มีแรงซื้อหนุนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในหุ้นพื้นฐานดี-มีสตอรี่หนุน เซียนหุ้นฟันธงหุ้นอิเล็กทรอนิกส์อนาคตแจ่มหากเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ขณะที่สหรัฐยืนยันหนุนดอลลาร์แข็งค่ามากว่าอ่อนค่ายิ่งตอกย้ำความมั่นใจแฟนอิเล็กทรอนิกส์ว่าอนาคตสดปิ๊งแน่นอน ส่วนภาคเอกชน เรียกร้องให้รัฐหาแนวทางให้ค่าบาทมีเสถียรมากกว่าแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เหตุจะไม่กระทบต่อทั้งผู้นำเข้าและส่งออก
วานนี้ (24 ก.ค.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบให้ออกมาตรการแก้ปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท 6 มาตรการ โดยมาตรการที่ 1.คือการอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนไทยซื้อเงินดอลลาร์เพื่อนำเงินไปลงทุนทางตรงในต่างประเทศได้ในจำนวน 100 ล้านดอลลาร์/ปี 2. เห็นชอบให้บริษัทและบุคคลที่ตั้งถิ่นฐานในไทยฝากเงินสกุลเงินดอลลาร์กับสถาบันการเงินไทยได้ 3.เห็นชอบให้บุคคลสามารถโอนเงินสกุลดอลลาร์ออกนอกประเทศได้ไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์/คน/ปี ในกรณีที่เป็นการโอนเงินให้ญาติในต่างประเทศ โอนเงินเพื่อบริจาค และโอนเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ
ส่วนมาตรการที่ 4.ขยายเวลาการถือครองเงินดอลลาร์สำหรับบริษัทหรือบุคคลที่มีรายได้ในรูปเงินดอลลาร์จากไม่เกิน 120 วันเป็นไม่เกิน 360 วัน 5.ยกเลิกข้อกำหนดที่ระบุให้ผู้มีถิ่นฐานในไทยที่ได้รับเงินสกุลดอลลาร์ต้องขายหรือฝากเงินดอลลาร์กับสถาบันการเงินไทยภายใน 15 วัน 6.ผ่อนคลายกฎระเบียบให้นักลงทุนสถาบันของไทยลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ง่ายขึ้น และเห็นชอบให้นักลงทุนสถาบันฝากเงินกับสถาบันการเงินในต่างประเทศได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

- ระบุมาตรการแก้ไขค่าเงิน 6 ข้อ ทำได้ทันที 4 ข้อ
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงกรณีที่ที่ประชุม ครม.เห็นชอบ 6 มาตรการในการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทของธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) แล้วว่า จะมี 4 มาตรการที่สามารถออกเป็นประกาศและดำเนินการได้ทันที ส่วนที่เหลือยังออกเป็นกฎกระทรวงไม่ได้จะต้องมีการผ่านคณะกรรมการ
กฤษฎีกาเพื่อออกเป็นกฎหมายต่อไป

- หุ้นวิ่งทะลุแนวต้าน 880 จุด ทำระดับสูงสุดของวันที่ 884.64 จุด วงการฟันธงเพราะมาตรการแก้ไขปัญหาบาทแข็ง ไร้ความรุนแรง
ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหลักทรัพย์ช่วงบ่ายวานนี้ หลังจากที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ 6 มาตรการแก้ไขปัญหาเงินบาทแข็งค่าว่า ได้ มีแรงแรงซื้อเข้ามาทันทีในหุ้นมาร์เก็ตแคปใหญ่ และปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดันให้ดัชนีฯปรับตัวขึ้นทะลุแนวต้าน 880 จุดได้สำเร็จ โดย ณ เวลาประมาณ 15.16 น. ดัชนีฯอยู่ที่ 882.55 จุด เพิ่มขึ้น 19.93 จุด หรือ 2.31% มูลค่าการซื้อขาย 30,624.37 ล้านบาท และหลังจากนั้นได้ปรับขึ้นไประดับสูงสุดของวันไว้ที่ระดับ 884.64 จุด หรือเพิ่มขึ้น 22.02 จุด ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 11 ปี โดยดัชนีฯได้เคลื่อนไหวอยู่ในระดับดังกล่าวเมื่อเดือน ธ.ค.ปี 1996 และหลังจากนั้นดัชนีฯได้อ่อนตัวลงเล็กน้อยและปิดการซื้อขายที่ระดับ 880.95 จุด เพิ่มขึ้น 18.33 จุด มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นถึง 43,880.04 ล้านบาท
นักวิเคราะห์รายหนึ่งกล่าวว่า การปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีฯ วานนี้ อาจจะไม่ได้มาจากความพึงพอใจในมาตรการการแก้ไขปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท ของภาครัฐโดยตรง แต่น่าจะมาจากนักลงทุนส่วนใหญ่คลายความกังวลที่พบว่า 6 มาตรการแก้ไขปัญหาเงินบาทแข็งค่าของภาครัฐที่ออกมาไม่มีมาตรการที่รุนแรงจนส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ จึงทำให้มีแรงซื้อกลับคืนมาสู่ตลาดอีกครั้ง หลังจากที่ชะลอลงชั่วคราวในช่วงก่อนหน้านี้เพื่อรอความชัดเจนของมาตรการแก้ปัญหาที่จะออกมาดังกล่าว

- เอเซีย พลัส เชื่อ 6 มาตรการภาครัฐส่งผลดีต่อหุ้นท่องเที่ยว-โรงพยาบาล-อิเล็กทรอนิกส์
นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส เปิดเผยถึงกรณีที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบอนุมัติมาตรการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าว่า น่าจะช่วยให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้บ้างเล็กน้อยเท่านั้น โดยมองว่ามาตราการดังกล่าวช่วยให้ค่าเงินไม่แข็งค่าเร็วเกินกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค ซึ่งน่าจะช่วยกระตุ้นให้หุ้นที่เกี่ยวกับการส่งออก สามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้บ้าง
โดยกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ นั้นน่าจะมีการรีบาวน์ได้สั้นๆ เนื่องจากราคาไได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาค่อนข้างแรง ส่วนกลุ่มที่เกี่ยวกับการเกษตรอาทิ บมจ. ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ (TUF)และ บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) นั้นยังไม่ได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึง แนะนำให้ ซื้อ โดยให้ราคาเหมาะสม TUF ไว้ที่ 27.50 บาท ส่วน CPF ให้ราคาเหมาะสมไว้ที่ 6.93 บาท
แต่ทั้งนี้ มองว่า หุ้นในกลุ่มที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว และกลุ่มโรงพยาบาลน่าจะได้รับผลบวกมากกว่า เนื่องจากมาตรการต่างๆหากช่วยให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้ น่าจะทำให้ชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการการท่องเที่ยว และโรงพยาบาลมากขึ้น ประกอบกับผลประกอบการใน 2 กลุ่มดังกล่าวถือว่าอยู่ในระดับที่ดี ดังนั้นจึงน่าจะช่วยหนุนให้ 2 กลุ่มดังกล่าวได้รับผลประโยชน์

- เกียรตินาคิน เชื่อดัชนีฯพุ่งเพราะ นลท.เล่นประเด็นควบรวม ATC-RRC มากกว่า รับข่าว 6 มาตรการสัดบาทแข็ง
นางวิริยา ลาภพรหมรัตน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เกียรตินาคิน เปิดเผยว่า จากการที่ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบอนุมัติมาตรการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่านั้น ตลาดฯ มีการตอบรับเรื่องดังกล่าวมาพอสมควรแล้ว เนื่องจากมีข่าวออกมานานพอสมควร และตลาดฯ เองก็เชื่อว่า ครม.น่าจะอนุมัติอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงไม่ได้เป็นประเด็นหลักที่ช่วยในการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีฯ
แต่ทั้งนี้ มองว่ามาจากประเด็นข่าวเรื่องการควบรวมระหว่าง บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC) และบริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (มหาชน) (RRC) มากกว่า ทำให้มีแรงซื้อหุ้นในกลุ่มพลังงานเข้ามา และดันตลาดฯ ให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรง
ส่วนมาตรการที่อนุมัติออกมานั้น จะสามารถช่วยแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าได้หรือไม่นั้น ยังไม่ขอออกความเห็น แต่จากที่ทางผู้บริหารของธนาคารต่างๆ เคยได้บอกไว้ก่อนหน้านี้ ว่า มาตรการดังกล่าวไม่ได้ช่วยให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเร็ว แต่จะช่วยให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากกว่า
ส่วนกรณีที่การส่งออกในเดือน มิ.ย.50 และ 6 เดือนที่ผ่านมา ยังสามารถขยายตัวอยู่ในระดับที่ดีนั้น มองว่า ตลาดฯ ได้มีการคาดการณ์ไว้อยู่แล้วว่าการส่งออกจะขยายตัวที่ระดับดังกล่าว ดังนั้นจึงได้สะท้อนไปในราคาหุ้นในกลุ่มที่เกี่ยวกับการส่งออกไปก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนี้ หุ้นในกลุ่มส่งออกยังมีความเสี่ยงจากเรื่องการแข็งค่าของค่าเงินบาท จึงยังทำให้ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร

- หุ้นอิเล็กทรอนิกส์เริ่มคึกทั้ง CCET-DELTA-KCE-MPT หลังครม.ไฟเขียวมาตรการแก้ปัญหาบาทแข็ง
ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวราคาหุ้นอิเล็กทรอนิกส์ในการซื้อขายช่วงบ่ายของวานนี้ว่าราคาหุ้นส่วนใหญ่มีการปรับเพิ่มขึ้น หลังจากล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาท 6 ข้อ ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดย ณ เวลา 14.42 น. ราคาหุ้น CCET อยู่ที่ 6.40 บาท ปรับเพิ่มขึ้น 0.10 บาท หรือ
1.59 % มูลค่าการซื้อขาย 72.21 ล้านบาท ราคาหุ้น DELTA อยู่ที่ 23.70 บาท ปรับเพิ่มขึ้น 0.10 บาท หรือ 0.42% มูลค่าการซื้อขาย 10.50 ล้านบาท ราคาหุ้น KCE อยู่ที่ 3.28 บาท ปรับ
เพิ่มขึ้น 0.06 บาท หรือ 1.86% มูลค่าการซื้อขาย 6.10 ล้านบาท และราคาหุ้น MPT อยู่ที่ 2.48 บาท ปรับเพิ่มขึ้น 0.04 บาท หรือ 1.64% มูลค่าการซื้อขาย 1.76 ล้านบาท
แหล่งข่าวกล่าวว่า การปรับเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการรับข่าว ครม.อนุมัติ 6 มาตรการสกัดการแข็งค่าของเงินบาท เนื่องจากหากเงินบาทปรับตัวดีขึ้น หรือเคลื่อนไหวอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพก็จะส่งผลดีต่อหุ้นในกลุ่มนี้อย่างชัดเจน เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศและมีการซื้อขายเป็นเงินดอลลาร์
นอกจากนั้น การออกมายืนยันถึงความพยายามที่จะทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าของ นายเฮนรี่ พอลสันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯวานนี้ ก็สามารรถเพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุนที่สนใจหุ้นในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ได้ เนื่องจากถือว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการแข็งค่าของเงินบาทลดน้อยลง เพราะหากดอลลาร์แข็งค่าขึ้นก็จะส่งผลในทางกลับกันให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้ทันที ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการอย่างชัดเจนเช่นเดียวกัน
โดยวานนี้นายเฮนรี่ พอลสันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ยืนยันว่า สหรัฐฯต้องการให้เงินดอลลาร์แข็งค่า และไม่มีนโยบายแทรกแซงให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างที่ถูกต้องข้อสังเกต
โดยในการให้สัมภาษณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นบีซี นายพอลสันกล่าวเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าในระดับเหมาะสมเป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จึงไม่มีความจำเป็นต้องแทรกแซงให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างที่เป็นอยู่
มูลค่าของเงินดอลลาร์ควรต้องสะท้อนปัจจัยทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯตอนนี้นับว่าแข็งแกร่งอย่างมาก นายพอลสันกล่าว

- SINGHA หวังรัฐช่วยให้เงินบาทมีเสถียรภาพ
นายกิตติพัฒน์ อินทรเกษตร กรรมการและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.สิงห์พาราเทค (SINGHA) เปิดเผยถึงผลการประชุมของคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีความเห็นชอบอนุมัติ 6 มาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบเงินบาทแข็งค่าว่า โดยส่วนตัวมองว่าแม้จะช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้แต่ในทางเชิงภาพรวมของธุรกิจแล้วถือว่าไม่มีความสำคัญมากนัก เพราะสิ่งที่สำคัญก็คือต้องมีนโยบายที่สามารถทำให้ค่าเงินบาทไม่แกว่งตัวผันผวนจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า
"เงินบาทแข็งก็มีคนได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ ถ้ามาตรการทำให้อ่อนลงได้ก็จะส่งผลดีกับผู้ส่งออก แต่ผู้นำเข้าก็จะเสียประโยชน์บ้าง ดังนั้นแนวทางแก้ไขที่ดีกว่าคือการทำเงินบาทมีความเสถียร"
เขากล่าวต่ออีกว่าหากเทียบกับการควบคุมดูแลค่าเงินของหลายๆประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศที่มีเศรษฐกิจขยายตัวสูง เช่น จีน เกาหลี แม้เม็ดเงินจะมีการไหลเข้าจำนวนมากแต่ค่าเงินก็ยังมีการปรับขึ้นไม่มากเหมือนประเทศไทย เนื่องจากมีการวางแผนป้องกันและจัดการเงินที่เข้ามาได้เหมาะสมกว่าก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้น

- KEST เผย 6 มาตรการแก้ไขบาทแข็งค่า ส่งผลบวกต่อตลาดหุ้น เหตุเพิ่มความหลากหลายในการลงทุน
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (KEST) เปิดเผยว่า จากกรณีที่คณะรัฐมนตรีหรือ ครม.อนุมัติ 6 มาตรการแก้ไขเงินบาทแข็งค่าทั้งนี้ประเมินว่าน่าจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นเนื่องจากเป็นการเพิ่มโอกาสและเปิดกว้างสำหรับนักลงทุนให้มีทางเลือกมากยิ่งขึ้นอย่างไรก็ตาม เงินบาทที่แข็งค่าประเมินว่าส่งผลลบต่อผู้ประกอบการส่งออกแต่ในขณะเดียวกันเงินบาทที่แข็งค่ากลับส่งผลดีต่อราคาน้ำมันที่ไม่ปรับเพิ่มขึ้นมากนัก

- ออฟฟิศเมท มอง 6 มาตรการสู้เงินบาทแข็งยังไม่เข้มข้นพอ แต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
นายวรวุฒิ อุ่นใจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออฟฟิศเมท จำกัด เปิดเผยว่า การที่ทางคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีความเห็นชอบอนุมัติ 6 มาตรการเร่งด่วนการบรรเทาผลกระทบค่าเงินบาทแข็งค่า เชื่อว่าจะช่วยด้านการส่งออกได้บ้าง แต่โดยรวมมองว่ามาตรการที่ออกมาควรจะมีรูปแบบหรือแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาได้โดยตรงมากกว่านี้
6 มาตรการที่ออกมาเชื่อว่าช่วยได้บ้าง แต่มาตรการอาจจะอ่อนไป ซึ่งก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลยนายวรวุฒิ กล่าว






:lol:

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com