May 17, 2024   11:41:58 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > เจาะกระดานหุ้น : พักเสียบ้าง
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 31/07/2007 @ 09:34:28
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

*ในเมื่อหุ้นกลุ่มบลูชิพออกอาการไปต่อไม่ไหว ประจวบกับตลาดหุ้นต่างประเทศพากันปรับตัวลงแรง เพราะวิตกกังวลเรื่องฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์สหรัฐอเมริกากำลังจะแตก ก็เลยฉุดดัชนีไทยร่วงลงไป--- กว่าจุด ไม่ได้ทำให้ "โมนิก้า" หวั่นไหวแต่อย่างใดนะพ่อทูนหัวทั้งหลาย

*เนื่องจากการอ่อนตัวของดัชนีเป็นเรื่องที่รับทราบกันโดยถ้วนหน้า อีกทั้ง "โมนิก้า"เคยกล่าวเตือนไปก่อนหน้านี้หลายครั้งหลายคราว่า แนวต้านบริเวณ 890 จุด แข็งแกร่งเกินกว่าดัชนีจะไต่ระดับขึ้นไปได้ เพราะบรรดากองทุนในประเทศตั้งป้อมเทขายหุ้นเอากำไรลูกเดียวเจ้าค่ะ

*"โมนิก้า" ถึงอยากให้นักลงทุนรู้จักพลิกแพลงกลยุทธ์การลงทุนตลอดเวลา ไม่ใช่ตะบี้ตะบันถือหุ้นยาวมันเรื่อยไป เพราะเมื่อบวกลบคูณหารออกมาเบ็ดเสร็จผลกำไรที่ได้อาจไม่คุ้มกับเงินลงทุนที่ต้องถือไว้นานๆ นะจ๊ะ

*ยิ่งช่วงนี้ตลาดหุ้นขาดข่าวสารใหม่ๆ เข้ามากระตุ้น และเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุน ยิ่งไม่ควรทุ่มเงินจนหมดหน้าตักในหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง เพราะเสี่ยงเกินไปเมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่จะได้รับ เดี๊ยนถึงขอเสนอแนะให้นักลงทุนกระจายพอร์ตการลงทุนด้วยการหันมาถือเงินสดสัก 30-40% ส่วนที่เหลือค่อยหาจังหวะช้อนซื้อหุ้นในช่วงที่อ่อนตัวลงมา

*เนื่องจากสัปดาห์นี้ดัชนีคงปรับตัวขึ้นได้ไม่ไกล เพราะดัชนียังอยู่ในเขตซื้อมากเกินไปส่งผลให้โอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวขึ้นแรงๆ เหมือนเช่นที่ผ่านมามีน้อยมาก "โมนิก้า" จึงไม่มีความจำเป็นต้องไปเร่งรัดนักลงทุนให้เข้าไปซื้อหุ้นราคาแพงโดยไม่มีเหตุจำเป็น โดยระหว่างนี้ดัชนีอาจอ่อนตัว และพักฐานบ้างในบางวันก็ไม่เห็นเสียหายอะไร

*โดยเฉพาะในรายของ THAI แม้วันก่อนจะเป็นหนึ่งในแกนนำ(ไม่ใช่ แกนนำนปก. นะค่)ที่ดันดัชนีให้ยืนในแดนบวกได้อย่างสวยงาม ขณะที่ตัวเองก็สร้างสถิติทะยานขึ้นทะลุแนวต้านที่ 45 บาทในรอบ 3 เดือน แถมวอลุ่มก็หนาแน่นกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา แต่หลายฝ่ายสันนิษฐานว่าจะเป็นแรงซื้อจาก กองทุนวายุภักดิ์ มากกว่าแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันและรายย่อย งานนี้หากไม่จำเป็นต้องซื้อหุ้นจริงๆ "โมนิก้า"ขอแนะนำว่า อย่าเข้าไปยุ่งดีกว่า

*DTAC ยังคงอ่อนไหว และโอนอ่อนเกินไปแบบนี้ เปล่าประโยชน์ที่จะเข้าไปไล่เก็บหุ้นที่ราคาสูง เพราะของมันเห็นๆ กันอยู่ว่า ของถุกกว่านี้ยังมีให้ซื้ออีกมาก รวมทั้งที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการที่จะฝ่ากระแสตลาดขึ้นไปสร้าง new high เป็นเรื่องที่ทำได้ยากถึงแม้จะทำได้จริง หุ้นก็ยืนแบบขาแข้งสั่น งานนี้จึงมีแต่เจ๊ากับเจ๊ง ไม่มีเจี้ย "โมนิก้า" ถึงไม่แนะนำให้ซื้อเช่นกันเจ้าค่ะ

*ข่าวเพิ่มทุนแท้ๆ ถึงทำให้ TMB เละเทะย่ำแย่ออกทะเลไปไกลเกินกว่าจะกู่ให้กลับมาดีได้ในเร็ววัน ยิ่งทิศทางของหุ้นยังคงลาดเอียงกระเท่เล่แบบนี้ ไม่เหมาะที่จะเข้าไปรับจริงๆ เพราะมีสิทธิ์ช้อนหักได้ทุกเมื่อ เนื่องจากช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาหุ้นอยู่ในทิศทางขาลงมาโดยตลอด และเหมือนเป็นการเตือนภัยให้รู้ว่าแรงเทขายยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงไม่ควรเข้าไปข้องแวะในช่วงนี้

*ยกเว้นในราย EGCO เป็นหุ้นอีกตัวหนึ่งที่ดิฉันเชียร์สุดใจขาดดิ้น เพราะธรรมชาติของธุรกิจพลังงานมีแต่คำว่า กำไร ยิ่งราคาหุ้นอ่อนตัวลงมามากเท่าไหร่ โอกาสในเข้าซื้อของถูกก็มีมากเท่านั้น ไม่มีความจำเป็นต้องทิ้งหุ้น เพราะเรื่องไม่เป็นเรื่องเหมือนก่อนหน้านี้ ยิ่งเทรนของหุ้นอยู่ในช่วงแกว่งตัวหาฐานแนวรับใหม่ที่มั่นคง ยิ่งควรหาจังหวะเข้าช้อนซื้อหุ้นตั้งแต่เนิ่นๆ...รวมทั้งไม่ต้องถามหาราคาเป้าหมายให้เมื่อยปาก เพราะรู้แค่เพียงมีหุ้นตัวนี้อยู่ในพอร์ตก็สบายไปแปดอย่างแล้วหล่ะ

*เช่นเดียวกับ CK STEC และ ITD ถึงเมื่อวันศุกร์ต่างฝ่าย ต่างเป๋ไม่เป็นขบวน แต่ทั้งหมดก็โชคดีตรงที่ยังมีแรงซื้อเข้ามาบ้างประปราย ทำให้คนที่จ้องจะทิ้งหุ้นเกิดความลังเลใจที่จะทิ้งต่อ ทำให้ทิศทางของหุ้นยังดูดีเหมือนเดิมทุกประการ ถึงจะแกว่งตัวไปมาทั้งในแดนบวกละแดนลบสลับกันไป แต่ทิศทางโดยรวมก็ยังอยู่ในช่วงขาขึ้นเหมือนเดิม จึงป่วยการที่จะทิ้งหุ้นอย่างไม่ลืมหูลืมตาเจ้าค่ะ

*เมื่อสถานการณ์ลงทุนไม่เป็นใจ หุ้นไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นนักฉวยโอกาสชั้นยอด เพราะอาศัยแค่แรงซื้อที่ไหลกลับมาเป็นแรงผลักดันสำคัญในการทำ new high แต่สุดท้ายก็ไม่รอดสันดอนอยู่ดี แม้ราคาหุ้นจะกระโจนปรู๊ดปร๊าด จนแนวต้านครั้งก่อนที่ว่าแน่ๆถูกทำลายลงในชั่วพริบตาเดียว และมีโอกาสทะยานขึ้นต่อ(ตามสูตรเดิมๆ) แต่ไม่ได้หมายความว่าจะลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ได้ทุกตัว...เนื่องจากกงานนี้ขึ้นอยู่กับ ตาดีได้ ตาร้ายเสียเจ้าค่ะ

*ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ ก็คือ CNS ไม่มีทั้งข่าวดี และข่าวร้าย หุ้นจึงแกว่งตัวไปตามภาวะของตลาดหุ้นเป็นหลัก แม้หุ้นจะเริ่มแสดงอาการรีบาวนด์ให้เห็นเป็นบางครั้ง บางคราวแต่ยังไม่ใช่รอบวิ่งของหุ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากวอลุ่มที่ซับพอร์ตยังคงน้อยเกินไป ที่สำคัญการเด้งขึ้นแรงเมื่อสัปดาห์ก่อน แล้วอ่อนตัวลงติดต่อกันหลายวันในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมายืนยันว่าหุ้นจะต้องแกว่งตัวหาฐานที่มั่นคงอีกหลายวัน งานนี้จึงต้องทยอยเข้าซื้อไปเรื่อยๆเป็นการชั่วคราวเจ้าค่ะ

*ก่อนจากกัน "โมนิก้า" ขอย้ำว่าในระยะสั้นนักลงทุนต้องจับตาความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นต่างประเทศควบคู่กับบรรยากาศการลงทุนในประเทศอย่างใกล้ชิด เพราะจะเป็นตัวส่งสัญญาณว่า ดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้นมากน้อยแค่ไหนนะค่ะ


:lol:

 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 31/07/2007 @ 11:21:24 :
Z-Strategy
SET มีโอกาสรีบาวด์ได้ตามตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน แต่ปัจจัยแวดล้อมอื่นยังไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจทำให้ตลาดผันผวนในระยะสั้น เก็งกำไรในกรอบ 860 - 880 จุด

Technical Analysis
Doji ที่เกิดขึ้นบริเวณ gap 863 จุด แสดงถึงโอกาสของการดีดกลับ อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วย Stochastic เกิดสัญญาณขายการดีดกลับน่าจะเป็นช่วงสั้น โดยมีเป้าหมายสูงสุดของสัปดาห์ไม่เกิดระดับ 880 จุด

Z-Focus
Quarterly Preview
ฦ TT&T: ยังขาดทุนสุทธิต่อเนื่อง แต่ความเสี่ยงก็ได้สะท้อนไปในราคาแล้ว - เก็งกำไร
News Comment
ฦ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง: ADB สนใจปล่อยกู้โครงการรถไฟฟ้า - มากกว่าตลาด

Z-SCAN
Quarterly Review
ฦ DCC: ไตรมาส 2/50 อัตรากำไรดีขึ้นอย่างน่าประทับใจ - ซื้อ
ฦ RATCH: กำไรปกติฯ ไตรมาส 2/50 เพิ่มขึ้น 13% - ซื้อ
ฦ PTTEP: กำไรปกติฯไตรมาส 2/50 ลดลง 3% จากผลกระทบค่าเงินบาท - เก็งกำไร

Statistic Info
ปฏิทินหุ้น, รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ของผู้บริหาร
NVDR, Commodities Move, Warrants

กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง : ADB สนใจปล่อยกู้โครงการรถไฟฟ้า - มากกว่าตลาด

โพสต์ ทูเดย์

นายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง กล่าวว่าธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) แสดงความสนใจปล่อยเงินกู้ให้กับโครงการรถไฟฟ้า หากรัฐบาลไทยสนใจ ซึ่งกระทรวงการคลังได้ชี้แจงว่า ขณะนี้เจบิกยังยืนยันจะปล่อยกู้โครงการรถไฟฟ้า แต่ขณะนี้ยังไม่ให้คำตอบที่แน่ชัดว่าจะให้กู้เมื่อใด เพราะติดปัญหาที่ไทยส่งเอกสารการก่อสร้างรถไฟฟ้าให้กับญี่ปุ่นไม่ครบถ้วน ทำให้คณะทำงานไม่สามารถมาดูโครงการเพื่อพิจารณาเงินกู้ได้

ความเห็นนักวิเคราะห์

ไม่มีผลต่อการดำเนินการรถไฟฟ้า
เราคาดว่าข่าวนี้ไม่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินงานรถไฟฟ้า เพราะปัจจุบันประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่เจบิคไม่ปล่อยกู้ เพียงแต่ต้องการรอรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งก่อน แม้ว่าเอดีบีแสดงความสนใจปล่อยกู้แทนเจบิค และหากรัฐบาลไทยสนใจกู้เอดีบีแทน รัฐบาลไทยก็ยังต้องใช้เวลาพอสมควรในการทำเอกสารและเจรจาเงื่อนไขต่าง ๆ ใหม่หมด ซึ่งเรามองว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วง และสีแดงเส้นทางบางซื่อ รังสิต ซึ่งต้องใช้เงินกู้ ก็ยังดำเนินการไม่ทันตามกรอบเวลาการเปิดประมูลที่รัฐบาลวางไว้ในขณะนี้อยู่ดี (ตามกำหนดการจะเปิดประมูลสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ มูลค่า 29.2 พันล้านบาท ในเดือน ก.ย. 50 และสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต มูลค่า 40.7 พันล้านบาท ในปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า)

อย่างไรก็ดี ข่าวนี้แสดงให้เห็นชัดว่าจนถึงขณะนี้การกู้เงินจากเจบิคยังไม่คืบหน้า ดังนั้น การเปิดประมูลสายสีม่วงและสีแดงช่วงบางซื่อ รังสิต ซึ่งต้องใช้แหล่งเงินกู้จากเจบิค มีความเป็นไปได้มากว่าจะล่าช้ากว่ากำหนดได้ และการเปิดประมูลรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในปีนี้อาจจะมีเพียงสายเดียวคือสายสีแดงเส้นบางซื่อ- ตลิ่งชัน มูลค่าเพียง 13.3 พันล้านบาท สอดคล้องกับมุมมองของเราก่อนหน้านี้ ซึ่งหากเกิดข่าวเลื่อนการประมูลโครงการรถไฟฟ้าจริงๆ อาจจะมีผลกระทบต่อจิตวิทยาการลงทุนช่วงสั้นๆ ต่อกลุ่มผู้รับเหมาใหญ่ได้

Top Pick เป็น CK
เรายังคงให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่มผู้รับเหมามากกว่าตลาด จากแนวโน้มการกลับมาทำกำไรได้ในปี 50 หลังจากประสบปัญหาขาดทุนจำนวนมากในปีก่อน และผู้รับเหมาส่วนใหญ่มีงานในมือรองรับการดำเนินงาน 1-2 ปีแม้ไม่มีการเปิดประมูลรถไฟฟ้าในปีนี้ นอกจากนี้หลังการเลือกตั้งเราคาดว่าการเปิดประมูลงานภาครัฐจะกลับมาเป็นปกติหลังจากที่ซบเซามากในปีนี้ ส่วนโครงการรถไฟฟ้า 5 สาย 165 พันล้านบาทแม้ว่าจะมีการล่าช้าแต่ยังเป็นโครงการหลักที่จะได้รับการผลักดันไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล ดังนั้น จึงยังเป็นโอกาสในระยะยาวสำหรับผู้รับเหมาใหญ่ทุกราย Top Pick ยังเป็น CK ("ซื้อ" ราคาตามปัจจัยพื้นฐาน 11.9 บาท) และรองลงมาเป็น ITD ("เก็งกำไร" ราคาตามปัจจัยพื้นฐาน 8.9 บาท)

รุ่งรัตน์ สุนทรปกาสิต - No. 3940, rungrats@seamico.co.th

TT&T : ยังขาดทุนสุทธิต่อเนื่อง - เก็งกำไร

ประชุมนักวิเคราะห์

TT&T คาดผลการดำเนินงานไตรมาส 2/50 ใกล้เคียงกับไตรมาส 1/50 แม้ธุรกิจบรอดแบนด์ และธุรกิจให้บริการข้อมูล จะเติบโตขึ้นมาจนรายได้มีสัดส่วน 50% ของรายได้รวม


ความเห็นนักวิเคราะห์

ไม่มีพัฒนาการด้านผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/50
เราคาดว่า รายได้รวมในไตรมาส 2/50 เพิ่มขึ้น 1.3% จากไตรมาสก่อน การเติบโตของธุรกิจบรอดแบนด์ และการให้บริการข้อมูลช่วยชดเชยรายได้จากบริการโทรศัพท์ที่ยังปรับลดลง (แต่อัตราการปรับลดเริ่มชะลอ เป็นไปในทิศทางเดียวกับการแข่งขันด้านราคาของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ลดลง) เมื่อผนวกกับค่าเสื่อมราคาที่คาดว่าจะประหยัดได้ราว 70 ล้านบาท/ไตรมาส จากการเปลี่ยนอายุการใช้งานทรัพย์สินที่ไม่ต้องส่งมอบให้ ทีโอที จากเดิม 5 ปี เป็นประมาณ 8 ปี เพื่อให้สะท้อนอายุการใช้งานจริง คาดว่า TT&T จะขาดทุนจากการดำเนินงาน 606 ล้านบาท ลดลงจาก 719 ล้านบาทในไตรมาส 1/50 เมื่อรวมกับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนอีก 117 ล้านบาท จากหนี้สกุลเงินดอลลาร์ที่เหลืออีกราว 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว TT&T จะขาดทุนสุทธิ 489 ล้านบาท

คาดว่าจะปรับโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จภายในปี 50
แม้ว่า TT&T จะชำระคืนหนี้เงินต้นบางส่วนที่ถึงกำหนดชำระเมื่อปลายปี 49 จำนวน 303 ล้านบาทไปแล้วเมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา แต่เราคาดว่า EBITDA ที่ทำได้ประมาณ 2.9 พันล้านบาท/ปี ไม่เพียงพอที่จะชำระคืนหนี้ และลงทุน (แต่ยังชำระดอกเบี้ยจ่ายอย่างต่อเนื่อง) บริษัทเปิดเผยว่า อยู่ระหว่างการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับกลุ่มเจ้าหนี้ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 50 ซึ่งเราคาดว่าน่าจะเป็นการปรับจำนวนเงินต้นชำระคืนให้เพิ่มขึ้นในปีหลังๆ เพื่อมิให้เป็นภาระกับบริษัทในระยะสั้น ในขณะที่การลดหนี้ให้บางส่วน (debt haircut) น่าจะมีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจาก TT&T ยังมีโอกาสได้รับกระแสเงินสดเพิ่ม ทั้งจากกรณีฟ้องร้องให้ ทีโอที ชำระผลประโยชน์ตอบแทน จากการที่ให้ผู้ให้บริการรายอื่นมาใช้โครงข่ายของบริษัท มูลค่ากว่า 2.8 หมื่นล้านบาท (TT&T คาดจะทราบผลภายในสิ้นปี 50 เช่นกัน) และการปรับลดอัตราผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาร่วมการงานในอนาคต

ยากจะเห็นกำไร...หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการทำธุรกิจ
เราคาดการณ์ว่า TT&T จะยังคงขาดทุนจากการดำเนินงาน 1.62 พันล้านบาท ในปี 50 และลดลงเหลือขาดทุน 1.35 พันล้านบาท ในปี 51 แม้จะเชื่อว่า ผลขาดทุนของ TT&T น่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปี 49 (ขาดทุน 2.49 พันล้านบาท) แต่ก็คงยากจะทำกำไรได้ ภายใต้เงื่อนไขการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เว้นแต่จะชนะคดีความกับ ทีโอที ซึ่งมีมูลค่ามากพอที่จะช่วยลดภาระหนี้สินของบริษัทได้

มูลค่าพื้นฐานปี 51 เป็น 1.77 บาท

ด้วยแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ยังขาดทุนอย่างต่อเนื่อง จะเป็นอุปสรรคต่อการปรับขึ้นของราคาหุ้น แม้ปัจจุบันจะยังคงซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานปี 51 ที่ 1.77 บาท (DCF, WACC 15.6%) ถึงกว่า 23% เราจึงยังคงคำแนะนำเพียงแค่ "เก็งกำไร"

วราภรณ์ วิบูลคณารักษ์ - No. 2482, warapornw@seamico.co.th

PTTEP: กำไรปกติฯไตรมาส 2/50 ลดลง 3% จากผลกระทบค่าเงินบาท - เก็งกำไร

เปลี่ยนคำแนะนำจาก ซื้อ มาเป็น "เก็งกำไร"
เราเปลี่ยนคำแนะนำจาก "ซื้อ" มาเป็น "เก็งกำไร" PTTEP จากราคาหุ้นที่ปรับตัวสูงขึ้น 24% ในรอบหนึ่งเดือนและมี upside จากมูลค่าเหมาะสมปี 51 (146.00 บาท- DCF ที่ 9.34% WACC ) เพียง 8%

กำไรปกติฯไตรมาส 2/50 ลดลง 3% จากการแข็งค่าของเงินบาท
PTTEP รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 2/50 รวม 7.2 พันล้านบาท ลดลง 2% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งตัวเลขกำไรสุทธิและกำไรจากการดำเนินงานปกติที่ 6.9 พันล้านบาท ใกล้เคียงกับที่คาด แม้ว่าบริษัทฯจะได้รับผลบวกจากปริมาณจำหน่าย (179,180 boe/d -บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน) และราคาขายปิโตรเลียม (US$ 38.17/boe) ที่สูงขึ้น 4% และ 1% ตามลำดับ แต่ผลกระทบค่าเงินบาทเทียบกับ US$ ที่แข็งขึ้น 9% ส่งผลให้ยอดขายและกำไรสุทธิไตรมาสลดลง อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานของบริษัทฯไตรมาสนี้ดีขึ้นกว่าไตรมาสแรกของปีจากราคาขายฯที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ และจากปริมาณจำหน่ายฯที่เพิ่มขึ้น

ยังคงประมาณการกำไรปกติฯปี 50 ไว้ที่ 25.5 พันล้านบาท
เรายังคงประมาณการกำไรปกติฯปี 50 ของ PTTEP ไว้ที่ 25.5 พันล้านบาท จากที่บริษัทฯทำกำไรปกติฯช่วงครึ่งแรกของปีนี้ที่ 13.3 พันล้านบาท (ลดลง 7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน) ซึ่งคิดเป็น 51% ของประมาณการทั้งปีของเรา แม้ว่าบริษัทฯจะได้รับผลบวกจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่คาดว่าค่าใช้จ่ายดำเนินการที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง รวมทั้งค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นต่อจะจำกัดการเติบโตของกำไรฯในปีนี้ อนึ่งบริษัทฯได้ทำสัญญาประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันล่วงหน้า (Oil price hedging) ช่วงเดือน สค.-ธค.50 สำหรับปริมาณผลิตรวม 4.25 ล้านบาร์เรล โดยใช้ Zero Cost Collar และราคาอ้างอิงน้ำมันดิบดูไบโดยมีการประกันราคาขั้นต่ำ (Floor) US$63 และเพดานราคา (Ceiling) ที่ US$79 ต่อบาร์เรล ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมันได้

RATCH: กำไรปกติฯไตรมาส 2/50 เพิ่มขึ้น 13% - ซื้อ


คงคำแนะนำ "ซื้อ"
เรายังคงคำแนะนำ "ซื้อ" RATCH โดยให้มูลค่าที่เหมาะสมปี 51 ที่ 53 บาท (DCF ที่อัตราส่วนลด 15% และ EV/MW ของกำลังการผลิตที่คาดว่าจะได้จาก IPP และปรับให้เป็นมูลค่าปี 51) นอกจากราคาหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน และมูลค่าเพิ่มจากโครงการการลงทุนผลิตไฟฟ้าในต่างประเทศ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนระยะยาวในหุ้นนี้

กำไรปกติฯไตรมาส 2/50 เพิ่มขึ้น 13% จากค่าความพร้อมจ่ายที่มากขึ้น
RATCH มีกำไรสุทธิ 2.1 พันล้านบาท ในไตรมาส 2/50 เพิ่มขึ้น 47% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวใกล้เคียงกับที่คาด แต่ก็มาจากรายการพิเศษ-ค่าชดเชยประกันภัยจากเหตุเพลิงไหม้เครื่องดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนเครื่องที่ 1 จำนวน 496 ล้านบาท ในขณะที่กำไรจากการดำเนินงานปกติอยู่ที่ 1.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% จากไตรมาส 2/49 เนื่องจากรายได้ค่าความพร้อมจ่ายที่มากขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA)

คาดกำไรปกติฯ ครึ่งปีหลังจะชะลอตัวลงจากค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงที่สูงขึ้น
แม้ว่ากำไรปกติฯ ของ RATCH ในช่วงครึ่งแรกของปี 50 จะสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 9% แต่เราคาดว่าตัวเลขทั้งปีจะใกล้เคียงกับปี 49 เนื่องจากในช่วงครึ่งหลังของปีโรงไฟฟ้าของบริษัทฯ มีกำหนดการหยุดซ่อมบำรุงในจำนวนวันที่มากกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เราปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 50 เพิ่มขึ้นจาก 6.7 พันล้านบาทเป็น 7.2 พันล้านบาท หลังจากรวมค่าชดเชยประกันภัยฯ เข้ามา

โอกาสเติบโตจาก IPP และโครงการต่างประเทศ
นอกจากโครงการ IPP ที่คาดว่า RATCH จะชนะการประมูลอย่างน้อย 800 MW บริษัทฯ มีโอกาสเติบโตจากโครงการไฟฟ้าต่างประเทศรวม 9,930 MW (ร่วมทุนในสัดส่วน 20-25%) โดยโครงการเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศลาวและพม่า ซึ่งจะอยู่ในแผนทางเลือกของ PDP 2007 หากมีปัญหาในการจัดหา LNG หรือการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน รวมทั้งมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่ต่ำกว่าโรงไฟฟ้าปกติ และไม่ต้องผ่านการประมูล

DCC: ไตรมาส 2/50 อัตรากำไรดีขึ้นอย่างน่าประทับใจ - ซื้อ"

คงคำแนะนำ "ซื้อ"
ความแข็งแกร่งจากการเป็นผู้นำในธุรกิจและฐานะการเงินที่แข็งแรง ตลอดจนการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพมีอัตรากำไรที่ดีขึ้นอย่างน่าประทับใจ รวมทั้งราคาหุ้นปัจจุบันยังมี upside อยู่ 14% จากมูลค่าพื้นฐานที่เราปรับเป็นปี 51 ที่ 18.20 บาท (DCF, WACC 11.2%) จึงคงคำแนะนำซื้อ

ไตรมาส 2/50 กำไรเพิ่ม 12% จากช่วงเดียวกันปีก่อน
DCC มีกำไรสุทธิ149 ล้านบาท (ใกล้เคียงกับที่คาดไว้ที่ 153 ล้านบาท) เพิ่ม 12% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพราะอัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้นอย่างประทับใจเป็น 39.5% (ดีกว่าที่คาดไว้ 37.5%) จากอัตราการใช้กำลังผลิตที่เพิ่ม ทำให้ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยลดลง และดอกเบี้ยจ่ายลดจากการคืนหนี้ระยะยาวด้วยกระแสเงินสดกิจการที่ดี แต่เทียบกับไตรมาสก่อนหน้ากำไรลด 11% จากยอดขายลด 9% ตามฤดูกาล

คาดจ่ายปันผล 0.25 บาท สำหรับไตรมาส 2/50
ณ ราคาหุ้นปัจจุบันให้อัตราเงินปันผลตอบแทน 1.6%

คงประมาณการกำไรปี 50 ที่ 633 ล้านบาท โต 12%
ยอดขายและกำไรในครึ่งแรกปี 50 คิดเป็น 49% และ 50% ของประมาณการทั้งปี 50 ที่เราคาดไว้ 4.96 พันล้านบาท (เพิ่ม 11% จากการเพิ่มช่องทางการขายอีก 15 แห่ง) และ 633 ล้านบาท (รักษาอัตรากำไรขั้นต้นไว้ได้ที่ 36.5% จากการลดต้นทุนพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินค้าคงคลังเพื่อลดค่าใช้จ่ายดำเนินงาน) ตามลำดับ จึงคงประมาณการเดิม

กระแสเงินสดแข็งแกร่ง DER ลดเหลือเพียง 0.55 เท่า
แนวโน้มกระแสเงินสดจากธุรกิจที่แข็งแกร่งขึ้น และงบลงทุนเพียง 100 ล้านบาทในปี 50 ทำให้ DER เพียง 0.55 เท่า ณ มิ.ย. 50 (เป็นไปตามเป้าหมายของบริษัทที่จะไม่ให้เกิน 0.8 เท่า) ทำให้มีความเป็นไปได้ที่บริษัทจะพิจารณาเพิ่มอัตราเงินปันผลจ่ายจากปัจจุบันที่ 70% ของกำไรสุทธิ


:lol:
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com