April 29, 2024   8:09:25 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > หุ้นตัวเล็กผงาด
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 29/08/2007 @ 21:02:54
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

กนง. ทำ ตลาดหุ้นอกหัก หลังไม่ยอมลดดอกเบี้ยอาร์/พี 1 วัน แต่"สิงห์เดย์เทรด" ยังไม่สน เดินหน้าตะลุยเก๋งกำไรหุ้นตัวเล็ก MDX - APURE - S2Y ได้แฟนคลับหนุนต่อเนื่อง เพียงแต่ยังกล้าๆกลัวๆ หวั่นมารคอหอยทำลายบรรยากาศลงทุน ฟากหุ้นบิ๊กแคป ก้าวขาไม่ออก เหตุซับไพร์มกดหัว แถมหุ้นเมืองนอกขยี้ซ้ำ ยังดีที่ช่วงท้ายตลาดได้แรงซื้อกลับฉุดหุ้นไทยเมื่อวานพลิกปิดเป็นบวก 3.83 จุด จากลดลงกว่า 14 จุดช่วงเช้า

ผิดคาดอยู่ไม่ใช่น้อยสำหรับการประกาศคงอัตราดอกเบี้ย อาร์/พี 1 วัน ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ไว้ที่ 3.25% เหมือนเดิม โดยให้เหตุผลว่า อุปสงค์ในประเทศเริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคและนักธุรกิจจะยังคงเปราะบางอยู่ก็ตาม อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำและมีความเสี่ยงน้อยลง ในขณะที่ปัญหาซับไพร์มไม่น่าจะกระทบเศรษบกิจในประเทศมาก จึงทำให้กนง. ตัดสินคงอัตราดอกเบี้ยไว้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์ รวมไปถึงโบรกเกอร์หลายสำนัก ต่างคาดว่า กนง. จะปรับลดดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.25% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศต่อเนื่อง และมีช่องว่างให้ปรับลดลงได้อีก เพราะเงินเฟ้อในประเทศก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ

ดังนั้นเมื่อ กนง.ประกาศตรึงดอกเบี้ยเมื่อวานนี้ จึงทำให้นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ค่อนข้างผิดหวังไม่น้อย แม้ว่าปิดตลาดฯ ดัชนีฯ จะสามารถปรับตัวขึ้นมายืนในแดน
บวกได้ก็ตาม โดยปิดที่ระดับ 792.04 จุด เพิ่มขึ้น 3.83% หรือ 0.49% มีมูลค่าการซื้อขาย 12,507.98 ล้านบาท หลังจากปรับลดลงในช่วงเช้ากว่า 14 จุด เพราะมีแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้น มาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่ โดยเฉพาะหุ้น บมจ.ปตท. (PTT) บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) และ บมจ. ไทยออยล์ (TOP)

แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าหากปรับลด ก็น่าจะกระตุ้นบรรยากาศการลงทุนให้คึกคักกลับมาได้บ้าง จากช่วงนี้ที่ภาวะโดยรวมของตลาดฯ ไม่ค่อยสดใส และน่าเข้ามาลงทุนนัก เพราะยังคงถูกปัจจัยลบจากต่างประเทศกดดันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพหรือ ซับไพร์มในสหรัฐฯ ที่ยังสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนต่อเนื่อง ว่าจะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อเศณาฐกิจสหรัฐฯ ทั้งประเทศ ซึ่งล่าสุดก็สะท้อนให้เห็นแล้วในดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดในรอบ 2 ปี ตลอดจนยอดตัวเลขซื้อขายบ้านและราคาบ้านใน 21 เมืองใหญ่ของสหรัฐ ที่ลดลงด้วยเช่นกัน

ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ที่ระบุว่า เฟดไม่จำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากมีแนวโน้มที่อัตราเงินเฟ้อจะปรับเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งเฟดยังจำเป็นต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างระมัดระวัง ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือ บีโอเจ ก็ระบุว่าจะปรับขึ้นดบ.อย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามภาวะเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อ ที่ข่าวเหล่านี้ล้วนแต่ยังกดดันให้ดัชนีฯ และภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นยังไปไหนได้ไม่ไกลนัก อย่างไรก็ตามแม้ว่า กนง. จะไม่ลดดอกเบี้ยกระตุ้นตลาดฯ แต่ดูเหมือนว่าหุ้นในกลุ่มเก็งกำไร หรือบรรดาหุ้นขนาดเล็กหลายตัวเลยทีเดียวที่ยังคงวิ่งแรง และมีการเก็งกำไรเข้ามาอย่างคึกคัก ยิ่งตลาดฯยังขาดปัจจัยบวกใหม่เข้ามากระตุ้น หุ้นมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่ถูกเทขาย หุ้นกลุ่มนี้ก็ยิ่งถูกจุดพลุ จากนักลงุทนมากขึ้น หลายต่อหลายตัว ไม่ว่าจะเป็น บมจ.สยามทูยู (S2Y) บมจ.เอ็มดีเอ็กซ์ (MDX) บมจ.อกริเพียวโฮลดิ้ง (APURE) บมจ. ไลฟ์ อินคอร์ปอเรชั่น (LIVE) บมจ. ไทยยูนีคคอยล์เซ็นเตอร์ (TUCC) ฯลฯ ที่มีแรงซื้อเข้าอย่างหนาแน่น อีกทั้งยังถือเป็นหุ้นยอดนิยมเสมอ เวลาที่ตลาดไร้ปัจจัยใหม่ๆให้เล่น


* ธปท. คงดบ. อาร์/พี 3.25% หลังอุปสงค์เริ่มฟื้นตัว
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (R/P 1 วัน)ไว้ที่ 3.25% ต่อปี เนื่องจากมองว่าภาพเศรษฐกิจโดยรวมในครั้งนี้ไม่แตกต่างจากการประชุมในครั้งก่อน คือ ความเสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ ส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้จ่ายของภาคเอกชนที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ อีกทั้งความเสี่ยงที่ราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อนมีน้อยลง

สำหรับความเสี่ยงต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจในครั้งนี้ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากครั้งก่อนหน้า โดยจากข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุด แสดงว่าอุปสงค์ในประเทศเริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าอาจจะต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในครึ่งปีหลังและท่ามกลางความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจที่ยังคงเปราะบางการ ส่งออกที่ชะลอตัวลง แต่ปัญหาเหล่านี้ก็ไม่ได้มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมในปีนี้ ซึ่ง ธปท.คาดว่าจะขยายตัว 4-5%
เช่นเดียวกับปัญหาซับไพร์ม ที่แม้ว่าจะเพิ่มความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจและการเงินโลกเพิ่มสูงขึ้น แต่ก็ไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทยในขณะนี้มากนัก แต่คณะกรรมการฯ เห็นว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องติดตามผลกระทบทางอ้อมที่จะเกิดขึ้นตามมาต่อไป และดูว่าในวันที่ 18 ก.ย.นี้ ที่ธนาคารกลางสหรัฐ จะมีการประชุมดอกเบี้ยเฟด ฟันด์ เรต จะประเมินความเสียหายจากปัญหาซับไพร์มอย่างไรบ้าง

แบงก์ชาติยังคงจับตาปัญหาซับไพร์มอย่างใกล้ชิด แม้วันนี้กระทบเศรษฐกิจไม่มากแต่ระยะถัดไปผลที่ตามมาจะเป็นทางอ้อมอาจกระทบต่อตลาดเงิน ต้นทุนเพิ่มขึ้น หรือเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัว ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่เกี่ยวข้องกับสหรัฐฯ ชะลอตัวลงด้วย ดังนั้น จากนี้ไปอีก 6 สัปดาห์ก่อนที่จะประชุม กนง.ครั้งต่อไป เรายังพอมีเวลาติดตามผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว นางสุชาดา กล่าว

ขณะเดียวกัน ก่อนที่จะถึงการประชุมในครั้งถัดไปอีก 6 สัปดาห์ ธปท.มองว่าก็เป็นจังหวะที่ธนาคารพาณิชย์จะทยอยปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงได้อีกเพราะก่อนหน้านี้ได้ทยอยปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากลงมามากพอสมควรแล้ว

? แม้ว่าจะทยอยปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ตาม แต่ก็ยังช้ากว่าการลดของดอกเบี้ยเงินฝาก โดยดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยช่วงก่อนหน้าอยู่ที่ 7-7.75% ล่าสุดแม้ว่าธนาคารพาณิชย์ได้ทยอยปรับลดลงแล้วแต่ก็มากน้อยต่างกันในและแบงก์เพราะขึ้นอยู่กับโครงสร้างเงินฝากของแต่ละธนาคาร จะเป็นตัวบ่งชี้ต้นทุนทางการเงินของและธนาคารได้? นางสุชาดา กล่าว

นางสุชาดา กล่าวต่อว่า ในส่วนของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณการเดิมที่ธปท.คาดไว้ในปีนี้คือ ขยายตัว 4-5% ซึ่งตัวเลขในไตรมาสแรกที่ผ่านมาเศรษฐกิจขยายตัว 4.3% ดังนั้นหากในไตรมาส 2 ที่สภาพัฒน์จะประกาศตัวเลขจีดีพีในวันจันทร์นี้ ออกมาอยู่ที่ระดับ 4-5% ก็หมายความว่า กรอบที่ ธปท.ประเมินไว้ในปีนี้ 4-5% ยังมีความเป็นไปได้ โดยเชื่อว่าอุปสงค์ในประเทศจะเริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ ในช่วงครึ่งหลังของปี ขณะที่การส่งออกในครึ่งปีหลังจะชะลอตัวเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก ซึ่งเป็นไปตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยข้อสรุปดังกล่าวเป็นไปตามรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุดในเดือนก.ค.ที่ธปท.ประเมินภาพไว้ โดยคาดว่าส่งออกทั้งปีจะขยายตัว 12-15% และครึ่งปีหลังจะขยายตัว 6-12%

แม้ว่าเดือนก.ค.ส่งออกจะต่ำกว่าที่คาด แต่ก็จะต้องรอดูต่อไปว่าจะเป็นแค่สถานการณ์ชั่วคราวหรือต่อเนื่องไปอีกหลายเดือน แต่โดยปกติการขยายตัวของการส่งออกในครึ่งปีหลังจะต่ำกว่าครึ่งปีแรกอยู่แล้ว ตามที่คาดการณ์ไว้เดิมคือเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว นางสุชาดา กล่าว


* วงการ ชี้ MDX-APURE-S2Y แรงดี สวนตลาดฯนิ่ง แต่ให้ระวังเจอตอห้ามเน็ตฯ -มาร์จิ้น
แหล่งข่าวจากวงการหลักทรัพย์ ระบุว่า ในช่วง 1-2 สัปดาห์นี้จะเห็นได้ว่า ราคาหุ้นเก็งกำไรซื้อขายอย่างคึกคัก โดยเฉพาะหุ้น MDX ที่มีมูลค่าการซื้อขายหนาแน่น และราคาหุ้นก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ในช่วง 6 วันทำการเท่านั้น รวมไปถึงราคาหุ้น S2Y LIVE และล่าสุดอย่าง APURE TUCC และ IEC ที่ราคาขึ้นมาค่อนข้างต่อเนื่อง ทั้งนี้เป็นผลว่าภาวะตลาดรวมยังขาดปัจจัยใหม่เข้ามาสนับสนุน ขณะที่ตลาดโดยรวมยังถูกกดันด้วยตลาดฯต่างประเทศที่ปรับตัวลดลง จากความกังวลเรื่องซับไพร์ม ดังนั้นจึงทำให้นักลงทุนกลับมาเล่นหุ้นดังกล่าวแทน แม้ว่าการเล่นหุ้นเก็งกำไรอาจจะมีความเสี่ยงจากมาตรการของตลาดหลักทรัพย์ เรื่องห้ามซื้อขายแบบเน็ตเซ็ทเทิลเมนท์ และมาร์จิ้น ก็ตาม แต่ราคาหุ้นที่ถูก และสามารถเก็กำไรในระยะสั้น และได้กำไรง่าย จึงทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่นิยมลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้

"สังเกตุว่าทุกครั้งที่ตลาดขาดปัจจัยเล่นหุ้นกลุ่มนี้ก็มักจะคึกคักตลอด ยิ่งช่วงนี้ที่ตลาดบ้านเรา ทรงๆตัว และยังมีแนวโน้มลดลง หากตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะดาวโจนส์ปรับลดลงมากๆ จากเรื่องซับไพร์มที่เชื่อว่ายังไม่คลี่คลายง่ายๆ ดังนั้นหุ้นกลุ่มนี้จึงมักจะเข้ามาช่วยชีวิตนักลงทุน และปลุกตลาดฯให้คึกคักขึ้นมาได้บ้าง แม้ว่าอาจจะไม่มากนัก แต่ส่วนมากแล้ว การเข้าไปลงทุนหุ้นกลุ่มนี้ หากเข้าไปถูกเวลา และรู้จังหวะ หรือสัญญาณเทคนิคดีๆแล้วก็มักจะไม่ผิดหวัง" แหล่งข่าว กล่าว

อย่างไรก็ตาม การลงทุนหุ้นเก็งกำไรในช่วงนี้ แม้จะเข้ามาซื้อขายกันมาก แต่จะเห็นว่าราคาหุ้นก็ยังไม่ถึงกลับปรับตัวแรงต่อเนื่อง จนพุ่งเป็น100% เหมือนก่อนหน้านี้ เนื่องจากยังกังวลว่าอาจจะถูกตลาดฯ ให้มาตรการห้ามเน็ต และมาร์จิ้น ดังนั้นลักษณะการลงทุนจึงยังคงกล้าๆกลัว เพราะหลายครั้งที่ราคาหุ้นในกลุ่มดังกล่าวปรับตัวขึ้นและตลาดฯเห็นว่าเข้าข่ายเก็งกำไรก็มักจะใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อหยุดความร้อนแรงของราคาหุ้น เพราะฉะนั้นการเบ่นหุ้นเก็งกำไรก็ยังคงมีความเสี่ยงจากเรื่องนี้ และเป็นสิ่งที่นักลงทุนจะต้องดูทิศทางก่อนที่จะเข้าไปลงทุน หากเห็นว่าราคาขึ้นแรงมากไปแล้วก็ไม่ควรเข้าไปซื้อขาย


* ASP เชื่อหุ้นเล็กได้อานิสงส์บิ๊กแคปพักฐาน หนุนการซื้อขายคึก
นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า จากกการที่ตลาดฯไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆเข้ามากระตุ้น แนวโน้มการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์หลังจากนี้น่าจะมีการแกว่งตัวแคบๆ เนื่องจากตลาดฯยังขาดแรงหนุนจากนักลงทุนต่างชาติในการเข้ามาซื้อหุ้นมาร์เก็ตแคปใหญ่ และช่วยผลักดันดัชนีฯ ดังนั้นเมื่อดัชนีฯมีการปรับขึ้นก็จะถูกขายทำกำไรออกมา

แต่ในขณะเดียวกัน หุ้นเก็งกำไรก็น่าจะได้อานิสงส์จากการพักฐานของหุ้นมาร์เก็ตแคปใหญ่ ทำให้มีการซื้อขายที่คึกคัก และเชื่อว่าหุ้นเก็งกำไรน่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนไปจนกว่าตลาดฯจะเริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นบิ๊กแคป แต่อย่างไรก็ดี แนะนำนักลงทุน ให้รอดูสถานการณ์ไปก่อน อย่างเพิ่งเข้าเก็งกำไรในช่วงนี้ เนื่องจากมองว่าตลาดฯยังคงเป็นขาลง และมีความผันผวนสูง

ประกอบกับช่วงนี้ยังไม่มีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติเป็นตัวที่เข้ามาช่วยผลักดัน ดังนั้นอาจจะมีความเสี่ยงสูงที่จะขาดทุนได้ แต่ทั้งนี้หากนักลงทุนที่ต้องการเข้าเก็งกำไร แนะนำให้เก็งกำไรอย่างระมัดระวัง เลือกเฉพาะหุ้นที่มีพื้นฐานรองรับ อาทิ BROCK เนื่องจากเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับ ให้ราคาเหมาะสมไว้ที่ 1.68 บาท
" ช่วงนี้หากใครไม่ถนัดอย่างเพิ่งเข้ารอไปก่อน ใจเย็นๆเอาไว้ซื้อเมื่อตลาดฯขึ้นก็ยังทัน เพราะถ้าซื้อตอนนี้ในช่วงตลาดฯขาลง อาจจะขาดทุนได้ และซื้อไปก็ไม่รู้ว่าเมื่อ
ไหร่จะขึ้น เพราะต่างชาติเองก็ยังไม่เข้า เอาไว้รอให้ตลาดฯนิ่ง ต่างชาติเข้าซื้อ และดัชนีฯขึ้นก่อนจะดีกว่า " นายภูวดล กล่าว

ส่วนหุ้นมาร์เก็ตแคปใหญ่ แม้ว่าขณะนี้จะมีการอ่อนตัวลงมา แต่ก็ยังไม่น่าสนใจเข้าลงทุน เนื่องจากมองว่าราคาหุ้นยังคงลงมาไม่มาก และในช่วงนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงไม่เข้ามาซื้อกลับ หากเข้าซื้อในช่วงนี้อาจจะไม่มีแรงช่วยหนุน โดยแนะนำให้รอดูสถานการณ์ไปก่อน แล้วเข้าซื้อใหม่ในหุ้นกลุ่มพลังงาน อาทิ TOP-PTT-PTTEP-BANPU และ ธนาคาร เมื่อดัชนีฯอ่อนตัวลงมาที่แนวรับระดับ 775 จุด ส่วนแนวต้านในสัปดาห์นี้ให้ไว้ที่ 795-800 จุด

ทั้งนี้ความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นขนาดเล็ก วานนี้ S2Y ปิดที่ 1.86 บาท เพิ่มขึ้น 0.08 บาท หรือ 4.49% มูลค่าการซื้อขาย 244.15 ล้านบาท HEMRAJ ปิดที่ 1.34 บาท เพิ่มขึ้น 0.04 บาท หรือ 3.08% มูลค่าการซื้อขาย 144.28 ล้านบาท GEN ปิดที่ 1.07 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 30.63 ล้านบาท APURE ปิดที่ 3.92 บาท เพิ่มขึ้น 0.24 บาท หรือ 6.52% มูลค่าการซื้อขาย 372.57 ล้านบาท IEC ปิดที่ 1.10 บาท เพิ่มขึ้น 0.03 บาท หรือ 2.80 % มูลค่าการซื้อขาย 117.26 ล้านบาท

MDX หุ้นปิดที่ 4.60 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 249.94 ล้านบาท PICNI หุ้นปิดที่ 0.28 บาท ลดลง 0.01 บาท หรือ 3.45% มูลค่าการซื้อขาย 1.87 ล้านบาท SCAN ปิดที่ 7.30 บาท เพิ่ามขึ้น 1.30 บาท หรือ 21.67% มูลค่าการซื้อขาย 13.01 ล้านบาท CEI ปิดที่ 2.12 บาท เพิ่มขึ้น 0.15 บาท หรือ 7.61% มูลค่าการซื้อขาย 18.64 ล้านบาท TUCC ปิดที่ 8.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.45 บาท หรือ 5.59% มูลค่าการซื้อขาย 18.31 ล้านบาท LIVE ปิดที่ 4.80 บาท เพิ่มขึ้น 0.18 บาท หรือ 3.90% มูลค่าการซื้อขาย 20.30 ล้านบาท


* SCIBS มอง กนง. ตรึงดบ. ไม่สะเทือนตลาดหุ้น แต่ปรับเป้าดัชนีปีนี้ลงเหลือ 880 จุด
นางสาวมยุรี โชวิกรานต์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.นครหลวงไทย กล่าวว่า แนวโน้มดัชนีตลาดหลักทรัพย์จากนี้ไป คาดว่าน่าจะยังคงมีการปรับฐานได้ต่อ ซึ่งปัจจัยหลักที่เข้ามากดดันนั้นยังคงให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องปัญหาซับไพร์มในสหรัฐฯอยู่ แม้ว่าปัจจัยดังกล่าวนั้นจะไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทย แต่มีผลกดดันบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกให้มีการปรับตัวลดลง รวมทั้งทำให้ไม่มีฟันด์โฟลว์ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทย และมองว่าบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยจะยังคงซบเซา ไปจนกว่าปัญหาเรื่อซับไพร์มจะคลี่คลายลง

ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศทั้งเรื่องการเลือกตั้ง และอัตราดอกเบี้ยที่ ล่าสุด คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศคงไว้ระดับเดิมนั้น มองว่าไม่ได้เป็นประเด็นที่นักลงทุนให้น้ำหนักเท่าใด เพราะที่ผ่านมา ในช่วงที่มีการกำหนดการเลือกตั้งที่ชัดเจน ตลาดฯเองก็ไม่มีการตอบรับ

ทั้งนี้ ทางบล.นครหลวงไทย ได้ปรับเป้าดัชนีฯในปีนี้ลดลงจากเดิมที่ประเมินไว้ที่ 946 จุด ลงเหลือ 880 จุด โดยในสัปดาห์นี้หากว่า ไม่มีเหตุการณ์อะไรที่สร้างความแปลกใจให้กับตลาดฯ เชื่อว่าดัชนีฯน่าจะอยู่ในกรอบ 765-790 จุด

สำหรับในสัปดาห์หน้า ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 2 คาดว่า ตัวเลขก็คงออกมาไม่ดี เพราะในช่วงไตรมาส 2 นั้นทุกอย่าง ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ และการเมืองเองก็ยังไม่ชัดเจน ความเชื่อมั่น การบริโภคและการลงทุน ก็ยังไม่ฟื้นตัว แต่ก็มองว่าไม่น่าจะเป้นประเด็นที่กดดันตลาดฯ เพราะนักลงทุนรู้อยู่แล้วว่าในช่วงนั้นอยู่ในช่วงไม่ดี และเชื่อว่านักลงทุนเองอยากที่จะรู้ผลงานในไตรมาส 3 มากกว่า


* ซีมิโก้ มอง ซับไพร์มสหรัฐ ยังเป็นฝันร้ายหุ้นไทย
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ของ บล.ซีมิโก้ ระบุว่า ปัญหาวิกฤติสินเชื่อสหรัฐ ดูจะยังเป็นฝันร้ายของตลาดหุ้นไทยต่อไป หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ สะท้อนความเสี่ยงที่เศรษฐกิจอาจชะลอตัวเพิ่มขึ้น และอาจบานปลายไปกระทบเศรษฐกิจทั่วโลก อาจมีนัยต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ทั้งภาคการส่งออก (ปัจจุบันไทยส่งออกไปสหรัฐ 13% ของมูลค่าส่งออกรวม) และการฟื้นการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยปัญหาวิกฤติสินเชื่อจะยังคงมีอิทธิพลต่อเหนือปัจจัยอื่นต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีในระยะสั้น แนะนำให้รอซื้อเมื่อดัชนีอ่อนตัวบริเวณ 780 จุด (Trailing PER 11 เท่าปี 50) เพราะยังมีมุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศ และความแข็งแกร่งของผลประกอบการ บริษัทจดทะเบียนในปี 51

ดัชนีความเชื่อมั่นสหรัฐลดลงมากสุดในรอบ 2 ปี นักลงทุนยังคงหนีการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง (ดัชนีดาวโจนส์ปรับลดลงถึง 280.28 จุดวานนี้ มาปิดที่ 13,041 จุด) ไปยังสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงกว่า (อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะเวลา 10 ปีของสหรัฐ ลดลงจาก 4.57% เหลือ 4.52%) หลังรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ ไม่ได้แสดงความวิตกต่อปัญหาสินเชื่อมากนัก โดยระบุว่า สินเชื่อในกลุ่มดี (prime) ยังได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย แต่ขณะเดียวกันก็ยอมรับว่า ปัญหาในตลาดการเงิน อาจต้องใช้ระยะเวลาในการปรับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยเฉพาะในตลาดที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อซับไพร์ม และมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งคณะกรรมการจะจับตาดูตัวแปรเหล่านี้อย่างใกล้ชิด เมื่อผนวกกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ส.ค. ที่ลดลงเหลือ 105.0 จุด จาก 111.9 ในเดือน ก.ค. ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน ก่อนหน้ามากที่สุดในรอบเกือบ 6 ปี นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์พายุเฮอริเคนแคทรีน่า (รอบนั้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงไปถึง 86.6) แม้ผลสำรวจเกี่ยวกับภาวะธุรกิจจะแย่ลงในช่วง 6 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นจาก 8.2% เป็น 10.6% แต่ก็ยังเป็นระดับที่ต่ำกว่า 15% ของกลุ่มที่คาดว่าภาวะธุรกิจจะฟื้นตัวขึ้น


* ธนชาต ชี้ ระวัง unwind Yen Carry Trade เกิดอีกรอบ
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก บล.ธนชาต คาดว่าการฟื้นตัวทางเทคนิคของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้จบสิ้นลงที่ระดับ 13350-13390 จุด และกำลังจะปรับตัวลงในระลอกใหม่ ซึ่งมีโอกาสที่จะลงไปได้ถึงระดับ 12300 จุด

โดย FUND FLOW การปรับตัวลงของตลาดหุ้นสหรัฐฯ อาจจะจุดพลุให้มีแรงขายระลอกใหม่ในตลาดหุ้นภูมิภาค สิ่งที่เรากังวลคือ ตลาดหุ้นจีน (SSEC) ซึ่งได้เดินหน้าสร้างสถิติสูงสุดใหม่ที่ระดับ 5209 จุด เมื่อวานนี้ หากพังทลายลงมาด้วยจะยิ่งซ้ำเติมให้เกิดผลลบ ทางจิตวิทยาต่อตลาดในภูมิภาค ในขณะที่ค่าเงินเยนได้แข็งค่าผ่านระดับ 115.33 เยน เมื่อวานและขึ้นมาถึงระดับ 114 เยน จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการกลับสถานะ(unwind) Yen Carry Trade

แนะให้ ขายหุ้นกลุ่มธนาคาร เนื่องจากราคาหุ้นจะปรับตัวลงได้มากหาก Fund Flow ไหลออกและ นักลงทุนเริ่มกังวลถึงภาวะหนี้เสียที่อาจจะเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มธนาคาร เราแนะให้ ขาย BBL โดยเฉพาะหากเปิดแล้วหลุดต่ำกว่า 115 บาท โดยมีโอกาสลงมาสร้างฐานราคาที่แนวรับ 108 บาทKBANK, SCB, SCIB, BAY, KTB, KK และ TISCO รวมทั้งหุ้น กลุ่มน้ำมัน เช่น PTT, PTTEP, TOP, RRC, IRPC และ BCP หุ้นสำหรับซื้อขายเล่นสั้นวันนี้: ขาย ITD, KTB, DTAC




:lol:

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com