April 29, 2024   5:31:32 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > อุตฯอิเล็กทรอนิกส์ ระยะยาวอาจถึงทางตัน
 

Toon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 973
วันที่: 30/08/2007 @ 08:57:18
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

อนาคตระยะยาวอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อาจมีปัญหาในด้านการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน ธุรกิจรับจ้างประกอบและผลิตจะเข้าสู่จุดสูงสุดในปี 2551 ขณะที่กลุ่มธุรกิจยังคงดีต่อเนื่อง วงการมอง HANA, DELTA, CCET, SVI, TEAM แนวโน้มครึ่งปีหลังสดใส

ภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มการผลิตและส่งออกเพิ่มขึ้นตามปัจจัยด้านฤดูกาลของอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดีคาดว่าอัตราการขยายตัวของการผลิตและการส่งออกของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉลี่ยของทั้งปี 2550 จะต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยที่การส่งออกได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของค่าเงินบาท ทำให้ผู้ส่งออกมีรายรับลดลง สำหรับสินค้าในหมวดที่คาดว่าจะมีการเติบโตดี ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า (IC) และ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (HDD) โดยสินค้าในสองหมวดนี้มีความต้องการการลงทุนเพิ่มเพื่อขยายการผลิตโดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า (IC)

โดยรวมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีแนว
โน้มลดลง ปรากฏการณ์การปรับตัวลดลงของมูลค่าการลงทุนโดยตรงในไทยบ่งชี้ว่าอนาคตการผลิตและการส่งออกสินค้าในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ต่ำลงกว่าปัจจุบัน เนื่องจากไทยเริ่มสูญเสียความสามารถในการแข่งขันทางด้านค่าจ้างแรงงานแก่ประเทศอื่น เช่น จีนและเวียดนาม ประเทศเวียดนามสามารถดึงดูดนักลงทุนเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมจากความได้เปรียบทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งการกระจุกตัวของการลงทุนจากบริษัทต่างประเทศจะเป็นผลดีต่อการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมจำพวกอิเล็กทรอนิกส์ที่มักมีการรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ จะยิ่งเป็นการทำให้เงินลงทุนไหลไปยังเวียดนามเพิ่มมากขึ้น ในอีกด้านหนึ่งประเทศไทยยังมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีจำกัดทำให้ไม่สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและการออกแบบขั้นสูงได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตามมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่ออุตสาหกรรม ได้แก่ การปรับลดอากรขาเข้าของวัตถุดิบในการผลิตสินค้าตามมติของ ค.ร.ม. การงดเก็บภาษีส่งออกและการใช้มาตรฐานสินค้าร่วมกันตามข้อตกลงไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) รวมถึงการที่ปัจจัยการผลิตนำเข้ามีราคาถูกลงจากการแข็งค่าของค่าเงินบาทและการเมืองที่จะมีความชัดเจนมากขึ้นในปลายปีนี้ ทว่ามาตรการและสภาพแวดล้อมเหล่านี้จะมีผลให้อุตสาหกรรมได้เปรียบในระยะหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากประเทศคู่แข่งอื่นๆก็เริ่มมีการทยอยทำข้อตกลงทางการค้าในรูปแบบเดียวกัน

ดังนั้น ธุรกิจรับจ้างประกอบและผลิตจะเข้าสู่จุดสูงสุดในปี 2551 ขณะที่กลุ่ม EMS ได้แก่ DELTA, CCET, SVI, TEAM จะยังคงดีต่อเนื่อง ประกอบกับผลกระทบจากค่าบาทมีไม่มากเพราะสัดส่วนความเสี่ยงต่ำ มีการนำเข้าสูง อีกทั้งผลกระทบบรรเทาลงจากราคา IC ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญลดลง

นอกจากนี้ เนื่องมาจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา และการเติบโตของการส่งออกที่เริ่มชะลอตัวลง ดังนั้นหุ้นที่มีการกระจายตัวของฐานลูกค้ากว้างและสินค้าไม่ใช่สินค้า consumer electronics จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม

ส่วนในอนาคต ประเทศไทยมีแนวโน้มได้รับการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลง จากสถิติที่รวบรวมโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอสะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะมีการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลง จากอัตราการเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนการลงทุนในภาคนี้มีการชะลอตัวตั้งแต่ปี 2548 ในปี 2550 จำนวนโครงการของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจนถึงเดือนมิถุนายนมีจำนวน 126 โครงการ โดยมีมูลค่าการลงทุน 38.8 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.3 จากปีก่อนหน้าที่มีมูลค่า 45.3 พันล้านบาท สำหรับโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 131 โครงการ มีเงินลงทุนในโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ตามการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนทั้งหมดโดยส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานเปรียบเทียบที่หดตัวต่อเนื่องในช่วงระหว่างปี 2548 และ 2549 สัดส่วนการลงทุนในภาคอิเล็กทรอนิกส์ได้ลดลงเหลือร้อยละ 13.3 จากร้อยละ 18 ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

บล.ทรีนิตี้ จำกัด : สินค้าเซมิคอนดัคเตอร์ประสบปัญหา สินค้าส่วนเกิน (Excess inventory) ตั้งแต่ปลายปีก่อน ก่อนที่ระดับสินค้าคงคลังส่วนเกินจะลดลงถึง 40% จากระดับสูงสุด อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์ยังคงเผชิญปัญหาจากราคาขายเฉลี่ยของสินค้า (average selling price) ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากการขยายกำลังการผลิต อย่างมากและต่อเนื่องตลอด 2 ? 3 ปีที่ผ่านมา สำหรับในไทย ได้แก่ HANA ซึ่งรับจ้างประกอบวงจรสำเร็จรูป (IC packaging) โดย HANA เผชิญปัญหาต้นทุนที่เพิ่มจากการขยายโรงงานที่เจียซิงประเทศจีน และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตยังไม่สูงพอทำให้ต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มมาก ประกอบกับทองแดงที่เป็นต้นทุนสำคัญเพิ่มขึ้นมากจาก 5,500 เหรียญต่อตันในปลายไตรมาส 1/50 เป็น 7,000 เหรียญต่อตัน อีกทั้งบาทแข็งค่าทำให้กำไรขั้นต้นหดตัวลงมาก ทั้งนี้ คาดว่าธุรกิจจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 ปีนี้หลังจาก SEMI-book- to-bill ลดลงติดต่อกัน 13 ไตรมาส ซึ่งในอดีต 2 รอบที่ผ่านมาจะเริ่มมีการฟื้นตัวเมื่อ B2B ลดลงติดกัน 14 ไตรมาส ประกอบกับราคาลดลงมามากดังนั้นเราแนะนำ Trading Buy ราคาเหมาะสม 27 บาท

ขณะเดียวกัน คาดการณ์ธุรกิจรับจ้างประกอบและผลิตจะเข้าสู่จุดสูงสุดในปี 2551 ดังนั้นเราคาดว่ากลุ่ม EMS ได้แก่ DELTA, CCET, SVI, TEAM จะยังคงดีต่อเนื่อง ประกอบกับผลกระทบจากค่าบาทมีไม่มากเพราะสัดส่วนความเสี่ยงต่ำ มีการนำเข้าสูง อีกทั้งผลกระทบบรรเทาลงจากราคา IC ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญลดลง อย่างไรก็ตามเรามีมุมมองระมัดระวังหลังจากตัวเลขการจำหน่ายฮาร์สดิสก์ในไตรมาส 1/50 ของผู้ผลิตระดับโลกมีจำนวนลดลง ดังนั้น EMS ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต PCBA ให้กับ HDD อาจได้รับผลกระทบหากปริมาณคำสั่งซื้อชะลอตัวลง
บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) : CCET แนะนำซื้อ ประเมินราคาหุ้น 7.30 บาท กำไรจะขยายตัวต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง จากคำสั่งซื้อเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ 12 ล้านเครื่องจากลูกค้าอินเดียในปีนี้นั้น ประมาณ 3 ล้านเครื่องได้จัดส่งแล้วช่วงครึ่งปีแรก และจะจำหน่ายอีกราว 9 ล้านเครื่องในครึ่งปีหลัง ยิ่งไปกว่านั้นธุรกิจ PCBA และเครื่องพิมพ์ยังคงขยายตัวได้ดีเช่นกัน โดยกำไรครึ่งปีหลังจะเติบโต 31% จากครึ่งแรก และ 17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมแล้วคาดว่ากำไรปีนี้ขยายตัวถึง 25% yoy เป็น 3.1 พันล้านบาทหรือ 0.65 บาท/หุ้น (fully-diluted)

บล.ฟินันซ่า จำกัด : HANA ผ่านพ้นมรสุมมาแล้ว 2H07 เริ่มฟื้นตัว แนวโน้ม 2H07 ธุรกิจ IC ฟื้นตัว & PCBA แข็งแกร่งต่อเนื่องจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นหลังเข้าสู่ช่วง Inventory Build-Up เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าใน 4Q07 ที่เป็นช่วงเทศกาลของขวัญ ขณะที่ธุรกิจ PCBA เติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Touch-Pad สำหรับคอมพิวเตอร์ Laptop, Hearing Aid และ Sensor ในรถยนต์ ส่งผลให้โรงงานที่ลำพูน

ต้องขยายกำลังการผลิตเพิ่มอีก 60% อีกทั้งยังมีปัจจัยบวกจากการบันทึกกำไรจากการขายบริษัทลูก AIT สูงถึง 530 ล้านบาท

บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส จำกัด : DELTA กระแสเงินสดจากการดำเนินงานยังคงแข็งแกร่ง แนวโน้มธุรกิจในระยะยาวยังคงเป็นบวก ด้วยการปรับปรุงอัตรากำไรขั้นต้นให้ดีขึ้น ด้วยการออกจากธุรกิจ LCD ที่อัตรากำไรขั้นต้น 0% ในช่วงปลาย 2Q50 และมุ่งเน้นไปยังสินค้าประเภทที่ให้อัตรากำไรขั้นต้นดีคือ power supplies ประเภท telecom ที่ DES ฟื้นตัวต่อเนื่อง ทางบริษัทให้ความมั่นใจว่าแนวโน้มการดำเนินธุรกิจของ DES มีการฟื้นตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะเมื่อมีการย้ายโรงงานจากยุโรปมาไทย ที่จะช่วยทำให้อัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้น และคาดว่ายอดขายจาก DES ในไตรมาสถัดๆมาก็จะเพิ่มขึ้น

กระแสหุ้น[/size:26f0b41547">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com