May 4, 2024   9:47:43 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > เจาะยุทธศาสตร์ Wellness Center
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 10/09/2007 @ 09:33:15
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

หากกล่าวถึงชื่อ"วิชัย ทองแตง"ประธานกรรมการบริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ PYT ผู้บริหารโรงพยาบาลในเครือพญาไท แน่นอนว่าแวดวงการเมืองหลายคนรู้จักในนามทนายความคดีซุกหุ้นของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ส่วนแวดวงธุรกิจรู้จักกันเป็นอย่างดีมนนาม"เจ้าพ่อนักเทคโอเวอร์"

ล่าสุดทีมงาน"ข่าวหุ้นธุรกิจ"ได้มีโอกาสเปิดอกคุยกับ"วิชัย ทองแตง"เกี่ยวกับแผนธุรกิจโดยเฉพาะยุทธศาสตร์การลงทุน ภายใต้"บริษัท เฮลท์ เน็ตเวิร์ค จำกัด"พร้อมข้อสงสัยของนักลงทุนอย่างหมดเปลือก:4ธุรกิจบนโครงสร้าง Wellness

นายวิชัย กล่าวว่า ขณะนี้เรามองไปไกลไปถึงเรื่องการขยายธุรกิจโรงพยาบาลไปแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ขยายเครือข่ายโรงพยาบาลนะ เราอาจยิ่งขยายเครือข่ายมากขึ้น ภายใต้ยุทธสาตร์"เวลเนสส เซ็นเตอร์"ที่ประกอบด้วย 1.ธุรกิจโรงพยาบาล2.ธุรกิจเฮลแคร์ รีเลตเต็ด (Healthcare Related) ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจโรงพยาบาล 3.ธุรกิจแพทย์ทางเลือก 4.ธุรกิจเสริมสร้างสุขภาพ(Preventive)

โดยเฉพาะธุรกิจแพทย์ทางเลือก ทุกวันนี้มีการเติบโต แต่ไม่ค่อยมีทิศทางสักเท่าใดผมมีแผนระดมสมอง สร้างพันธมิตรให้มากขึ้น เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

ส่วนธุรกิจโรงพยาบาล ยิ่งเราขยายเครือข่ายมากเท่าใด ก็จะสามารถสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจนี้มากยิ่งขึ้นและสร้างศักยภาพให้แพทย์ พยาบาล เราสามารถที่จะหาเทคโนโลยีใหม่ระดับโลก เพื่อก้าวให้ทันกับเทคโนโลยีได้ เพราะเรามีเครือข่ายเทคโนโลยีที่เข็มแข็ง

ขณะเดียวกันป้องการเทคโอเวอร์จากต่างประเทศได้ถ้าเราอยู่ตัวคนเดียวมีโอกาสที่จะถูกเทคโอเวอร์ได้ไม่จำเป็นต้องเข้ามาบริหารจัดการ อาจเป็นพันธมิตรทางด้านต่างๆก็ได้ เช่น ถือหุ้นร่วมกันหรือถือหุ้นไขว้กัน ทุกอย่างเป็นเครือข่ายได้หมด และช่วยลดต้นทุนได้มหาศาลจากการเข้าไปเป็นเครือข่ายกัน

"การที่เราจะก้าวไประดับเวิลด์ มาร์เก็ตได้ เราจะต้องมีทุกอย่างให้สมบูรณ์ ต้องพัฒนาศักยภาพของเราให้เพิ่มมากขึ้น ให้เป็นที่น่าเชื่อถือในระดับนานาๆ ชาติ ซึ่งต้องยอมรับว่าจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้น แต่อาจไม่ใช่เม็ดเงินลงทุนของผมเพียวๆนะ อาจมีพันธมิตรมาร่วมลงทุนด้วย หรือว่า มีนักธุรกิจที่เขาเห็นพร้องกับแนวทางนี้มาร่วมด้วย หรือแม้แต่เครือข่ายของโรงพยาบาลอื่นๆ ที่กำลังทำแนวทางนี้ก็อาจมาร่วมกัน เราไม่ได้คิดที่จะแข่งขันกันเอง"

โดยแผนการลงทุนช่วง 5 ปีข้างหน้า(2550-2553) บริษัทตั้งเป้าไว้ 4,000 ล้านบาท ปีนี้เราได้ลงทุนไปบ้างแล้วประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะหากจะทำให้ครบที่วางแผนไว้อาจต้องใช้เยอะกว่านั้น แต่เป็นเรื่องของอนาคตตอนนี้ขอเน้นแค่นี้ก่อน อย่างไรก็ตามเงินลงทุนดังกล่าวไม่ได้มาจากผมเพียงคนเดียว อาจมาจากการร่วมลงทุนกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศก็ได้:ต้องจับตาธุรกิจเฮลท์แคร์

นายวิชัย ระบุว่า อยากให้มองภาพรวม คือ ธุรกิจเฮลท์แคร์ ถ้าศึกษารายละเอียดแล้วจะพบว่าธุรกิจเฮลท์แคร์ คือจุดแข็งของประเทศ เพราะมีบทพิสูจน์แล้วว่าคุณภาพ และเทคโนโลยีการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลไทย ไม่ด้อยกว่าต่างประเทศ และยังเหนือกว่าบางประเทศเสียด้วยซ้ำ ดังนั้นจะเห็นว่าคนต่างประเทศ เข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

โดยปี 2544 รัฐบาลเคยประกาศให้ไทยเป็นศูนย์กลาง"เฮลท์ ฮับ"แต่ในทางปฏิบัติโรงพยาบาลเอกชนไทยจะต้องช่วยตัวเองเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีการรักษาเกือบ 100%รัฐบาลให้สนใจและช่วยเหลือเอกชนบ้างแต่ไม่มากเท่าที่ควร เป็นเหตุให้โรงพยาบาลเอกชนทำงานอย่างหนัก ทำการตลาดเองและสร้างฐานลูกค้าในต่างประเทศเองเกือบทั้งสิ้น

อยากให้เมืองไทยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์เมืองไทยไม่ใช่เป็นเพียงเฮลท์ ฮับ เพียงอย่างเดียว แต่เราต้องมองว่าสามารถที่จะเป็น"Wellness center" ระดับโลกได้ (ดูแลทุกสิ่งที่อย่างที่เป็นเรื่องของมนุษย์) ภายใต้คำว่า"เวลเนสส"โดยโรงพยาบาลเป็น25%ของเวลเนสสเท่านั้น ประเทศไทยขึ้นชื่อเรื่องของการให้บริการ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับโลก โดยเฉพาะการดูแลผู้สูงอายุที่ผมดูแลอยู่

ทั้งนี้โดยร่วมกับโรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวงผลิตบุคลากรพันธุ์ใหม่ขึ้นมาก็คือ ดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุ ถ้าหากพัฒนาเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษได้อีก 2 ปีข้างหน้า ความต้องการมหาศาลเช่น นิวซีแลนด์ ต้องการบุคลากรด้านนี้ปีละ 2 หมื่นคน ญี่ปุ่นปีละ 4-5 หมื่นคน อย่างไรก็ตามอยากกระตุ้นให้ภาครัฐกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ที่จะส่งเสริมธุรกิจเฮลท์แคร์อย่างจริงจังเช่น การท่องเที่ยวไม่ใช่ขายเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว แต่ควรที่จะขายทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้ง"เฮลท์แคร์"เข้าไปด้วย

"อยากเสนอให้รัฐบาลตื่นตัว และเอาจริงเอาจังผลักดันธุรกิจบริการและเฮลท์แคร์เพราะประเทศเราจะมีรายได้มหาศาลจากธุรกิจนี้ ประกอบกับธุรกิจนี้ ไม่ต้องลงทุนเยอะใช้ความเป็นไทยอย่างเดียว"

จากทนายหันสู่นักธุรกิจเต็มตัว
ผมเป็นทนายความมา 37 ปีนับถึงวันนี้(2513-2550) โชคดีที่ได้อยู่สำนักงานทนายที่มีชื่อเสียงมาก คือ สำนักงานศ.ทวี เจริญพิทักษ์ ในห้วงเวลานั้นคงไม่มีใครที่โด่งดังเท่าท่าน ด้วยเหตุที่ได้อยู่สำนักงานใหญ่ทำให้มีโอกาสได้ทำงานให้คำปรึกษากับบริษัทจำกัดมากมายนับเป็นหลายร้อยบริษัทและได้รับความไว้วางใจจากศ.ทวี ในการให้ผมเข้าไปทำหน้าที่ในการเข้าไปประชุมกรรมการและประชุมผู้ถือหุ้นและการให้คำปรึกษาหารือต่างๆ ก็เลยทำให้มีประสบการณ์ในด้านกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทเยอะหน่อย และอาจารย์ของผมท่านนี้ท่านเป็นคนเขียนตำราหุ้นส่วนบริษัทคนแรกของประเทศ

ทำให้สะสมประสบการณ์มาเรื่อยๆพอปี 2526 ผมก็เริ่มหันเหเข้าสู่วงการธุรกิจโดยเริ่มจากธุรกิจเล็กๆ น้อยๆ ในการซื้อขายที่ดิน เพราะว่าบางทีเราทำคดีลูกความไม่มีเงินค่าจ้างทนายก็เอาที่ดินมาโอนให้บ้าง เราเก็บสะสมเก็บหอมรอมริบไว้

ส่วนตัวก็เป็นคนข้างจะรู้จักการใช้เงินพอสมควร มาหักเหจริงๆก็ก่อนที่จะเกิดวิกฤติราชาเงินทุนในปี 2529-2530 (รอบแรก)ผมก็โชดดีอีกที่นั่งเป็นที่ปรึกษาอยู่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บริษัทหนึ่ง ก็ได้มอบหมายให้ผมเป็นตัวแทนเข้าไปร่วมประชุมปรึกษาหารือร่วมกับโบรกเกอร์ต่างๆ รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์ฯและธนาคารแห่งประเทศไทยทำให้ได้เข้าไปสัมผัสภาพใหญ่มากขึ้นและลงลึกในการซื้อขายหุ้น เพราะต้องเข้าไปร่วมในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นคราวนั้น

ต่อมาก็มีบริษัทหลักทรัพย์เงินทุนทั้งหลาย ก็เลยมาว่าจ้างให้ทำคดี เกี่ยวกับหุ้นเยอะมาก เรียกว่าห้วงเวลานั้นผมอาจเป็นคนที่ทำคดีเกี่ยวกับหุ้นมากที่สุดก็เลยเกิดประสบการณ์ที่เกี่ยวกับเรื่องหุ้นก็เลยเรียนรู้เรื่องการซื้อขายหุ้นและการบริหารจัดการบริษัทเพราะเข้าไปเป็นที่ปรึกษาในบริษัทต่างๆเรียนรู้เรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละบริษัท ทำให้คิดว่าน่าจะมีวิธีที่จะแก้ปัญหาในการจัดการได้บ้างก็เลยเริ่มเล่นหุ้นตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมาจนวันนี้

ปัจจุบันผมมีพอร์ตลงทุนในหุ้นต่างๆเช่นกลุ่มพลังงาน เป็นหุ้นที่ชื่นชอบอยู่ เพราะค่อนข้างให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ามาโดยตลอดอาทิ PTT ที่เข้าไปซื้อตั้งแต่ราคา 35 บาท รวมถึงหุ้นกลุ่มแบงก์....

AIDO บทเรียนราคาแพง
นายวิชัย ยอมรับว่า จากความที่เป็นนักลงทุนจะไม่ค่อยได้คือเราต้องเป็นคนที่มั่นคงเวลาเราจะลงทุนอะไรแล้วจะไม่ไปเสียใจกับมัน ผมเคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจมามากมาย อย่างกรณีพูดถึงอย่าง"เอสจีเอฟ"อันนั้นผมไม่ได้คิดว่าเราล้มเหลวอะไร เพราะเห็นว่าเงื่อนไขบังเอิญว่า เป็นเงื่อนไขของกลต.ที่บังคับว่าให้เราต้องไปตั้งสำรอง เชื่อว่าสุดท้ายจะต้องกลับไปมาสู่ที่เดิม มองว่าเป็นเรื่องของเทคนิคคอลมากกว่า หรือ"เป็นอุบัติเหตุทางบัญชีมากกว่า"

ส่วนเรื่องความผิดพลาดคือเรื่องของบริษัท ไดโดมอน จำกัด(มหาชน)หรือ DAIDOเท่านั้นเอง เป็นกรณีเดียวที่เราไม่ได้ตรวจสอบฐานะการเงิน สาเหตุที่ไม่ทำ เพราะตอนนั้นทีมงานของผมมีความเชื่อมั่นมากไปนิดหนึ่ง เข้าไปคุยไปขอดูข้อมูลข้างต้นแล้วก็รายงานกับผม

ขณะเดียวกันช่วงนั้นก็มีคู่แข่งที่จะเข้ามาร่วมลงทุนด้วยเช่นกัน ทีมงานก็เลยมีบทสรุปถึงผมว่า"น่าลงทุนมาก"เมื่อผมตัดสินใจแล้วก็ไม่ได้ตำหนิทีมงาน เพราะถือว่าผมเป็นคนตัดสินใจ เพราะถ้าผมไม่ติดสินใจเหตุการณ์นี้ก็ไม่เกิดขึ้น

"เราทำงานร่วมกันมานานหลายปีแล้ว ก็มีผิดพลาดมั่งมันก็เป็นเรื่องธรรมดาชีวิตคนเราใช่ว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป เส้นทางชีวิต ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไปอาจต้องมีอุปสรรคขวากหนามบ้าง เหมือนกับชีวิตเราที่ผ่านอุปสรรคมาเยอะนะ เราถึงไม่ตื่นเต้นกับสิ่งเหล่านี้ และอันไหนที่มองว่าเป็นการลงทุนที่ผิดพลาดเราก็ไม่ได้ถอยหรือยอมสิโรราบหรือท้อแท้กับมันเราก็ยังยืนปักหลักแก้ปัญหาที่เราได้ลงทุนไป"


:lol:

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com