April 29, 2024   9:33:21 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ชำแหละงบ-ส่องอนาคต 6 แบงก์
 

arthor
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 803
วันที่: 08/10/2007 @ 03:11:25
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ชำแหละงบ-ส่องอนาคต 6 แบงก์



วงการคาดกำไรไตรมาส 3 กำไรแบงก์ลดลง 33% เทียบปีก่อน สำรองเป็นตัวกดดัน หลังเอ็นพีแอลใหม่พุ่ง TMB - KTB ตัวฉุด แต่หากเทียบไตรมาสก่อนหน้าดีขึ้นอย่างชัดเจน เหตุ Q2 หลายแบงก์ขาดทุน ชำแหละรายตัวพบ BBL โดดเด่นปีหน้า แต่เยี่ยมสุดต้อง KBANK ด้าน SCB พื้นฐานโดดเด่น แต่เสี่ยงแบงก์ชาติสอบ BAY คืนชีพพลิกกลับเป็นกำไร ขณะที่แบงก์รัฐอย่าง SCIB อ่วม! ส่อขาดทุนหนักจากการตั้งสำรอง ปิดท้าย KTB สำรองปูดอีก 6.8 พันลบ.ใน Q4/50

อีกไม่กี่วันก็จะได้เวลาที่สถาบันการเงินต้องส่งงบการเงินไตรมาส 3/50 ให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย และรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ ในขณะที่ภาวะตลาดหุ้นตอนนี้ดัชนีฯเริ่มตื้อและไปต่อไม่ไหว เพราะหุ้นพลังงานเริ่มอิ่มตัวหลังจากวิ่งขึ้นแรงในช่วงก่อนหน้านี้ และโบรกเกอร์หลายแห่งประเมินว่ารอบนี้ดัชนีจะไปได้ด้วยกลุ่มแบงก์ที่เป็นความหวัง
eFinanceThai.com รวบรวมความเห็นนักวิเคราะห์ ทั้งในแง่ภาพรวมผลการดำเนินงาน พร้อมกับชำแหละหุ้น 6 แบงก์สำคัญทั้ง ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ธนาคารนครหลวงไทย (SCIB) และธนาคารกรุงไทย (KTB)

**งบแบงก์ Q3 กำไรร่วงจากปีก่อน แต่ดีขึ้นเทียบ Q2


บล.ซีมิโก้ ระบุว่าเรายังมีความเชื่อมั่นต่อภาพรวมการขยายสินเชื่อในไตรมาสสุดท้ายของปีต่อเนื่องไปถึงปีหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังทรงตัวในระดับต่ำ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะภายหลังการเลือกตั้ง ผนวกกับภาวะการตั้งสำรองที่กลับสู่ระดับปกติ โดยเราประมาณการว่ากำไรสุทธิของทั้งกลุ่มจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดถึง 110% ในปี 51 และ 15% ในปี 52 หากพิจารณาเฉพาะกำไรจากการดำเนินงานก็เติบโต 11% ในปี 51และ 12% ในปี 52 นอกจากนี้เรายังประมาณการว่าระดับ ROE เฉลี่ยของกลุ่มธนาคารจะปรับตัวดีขึ้นจาก 6.6% ในปี 50 มาอยู่ที่ระดับ 12.5% และ 13.1% ในปี 51 และ 52 ตามลำดับ เป็นเหตุให้เรายังคงน้ำหนักการลงทุน ?มากกว่าตลาด? สำหรับกลุ่มธนาคารพาณิชย์
ทั้งนี้ ประมาณการกำไรสุทธิโดยรวมของธนาคาร 6 แห่งใน ZMICO?s coverage คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นถึง 216% จากไตรมาสก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาระสำรองที่คาดว่าจะลดลงถึง 54% อย่างไรก็ตามหากพิจารณากำไรจากการดำเนินงานคาดว่ายังคงทรงตัว ถึงแม้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตาม NIM ที่ปรับตัวดีขึ้น แต่ธนาคารส่วนใหญ่มีกำไรจากเงินลงทุนลดลงจากไตรมาสก่อน ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับการลงทุน เราแนะนำ ?ซื้อ? KBANK, BBL และ KTB โดยเลือก KBANK เป็น Top pick ของกลุ่ม เนื่องจากศักยภาพในการดำเนินธุรกิจที่โดดเด่น ถึงแม้ธนาคารยังคงมีภาระค่าใช้จ่ายจากโครงการ K-Transformation ต่อเนื่องไปถึงปี 52 แต่เราประเมินว่ากำไรจากการดำเนินงาน และกำไรสุทธิของธนาคารยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ย 10% ไปจนถึงปี 52 เช่นกัน และประเมินว่ากำไรจากการดำเนินงานจะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด หากโครงการดังกล่าวจบลง เรายังคงประเมินราคาตามมูลค่าพื้นฐานไว้ที่ระดับ 93 บาท (PBV 51 ที่ระดับ 2 เท่า)
นางสาวประภารัสมิ์ นนทพิบูลย์ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์อาวุโส บล.กสิกรไทย กล่าวว่า ภาพรวมของกำไรกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 ยังขยายตัวเพิ่มขึ้น
เล็กน้อยจากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่หากรวมธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ที่กำไรลดลงถึง 73% YOY จะฉุดให้กำไรของทั้งกลุ่มติดลบ แต่เมื่อเทียบกับ
QOQ กำไรกลุ่มแบงก์ดีขึ้นอย่างชัดเจน เพราะ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)หรือ BAY และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB มีแนวโน้มขาดทุนลดลง
ในไตรมาสนี้หลังจากไตรมาส 2 ขาดทุนมาก จนฉุดกำไรของทั้งกลุ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ จากการคาดการณ์งบไตรมาส 3 ของกลุ่มแบงก์ (BBL ,KTB, SCB, BAY, SCIB) คาดว่าจะมีกำไรรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 12,543 ล้านบาท โดย BBL มี
กำไรสุทธิ4.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% YOY แต่ลดลง 9% QOQ ส่วน KTB มีกำไรสุทธิ 1.4 พันล้านบาท ลดลงถึง 73% YOY แต่เพิ่มขึ้น 157% QOQ ขณะที่ SCB มี
กำไรสุทธิ 4.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% YOY และเพิ่มขึ้น 3% QOQ ด้าน BAY มีกำไรสุทธิ 1.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% YOY และเมือ่เทียบกับไตรมาสก่อนน่าจะ
พลิกมามีกำไรและ SCIB มีกำไร 43 ล้านบาท ลดลง 97% YOY และลดลง 87% QOQ
ส่วนใหญ่ที่แบงก์มีกำไร Q3 ลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเพราะปัญหาการตั้งสำรอง ตามเอ็นพีแอลใหม่ที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าในไตรมาสก่อนหน้าจะ
ใส่สำรองตาม IAS39 ครบ 100% แล้วก็ตามแต่นั่นเป็นเพียงในส่วนของเอ็นพีแอลก้อนเดิม นางสาวประภารัสมิ์ กล่าว
ทั้งนี้ บริษัทแนะนำ ซื้อ SCB BBL และ BAY ราคาเป้าหมายปีหน้า 91 บาท 149 บาท และ 34 บาท ตามลำดับ
ด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ จาก บล.กรุงศรีอยุธยา (มหาชน) กล่าวว่า คาดว่ากำไรของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 จะอยู่ที่ประมาณ 12,500 ล้านบาท ( BBL KBANK SCB SCIB TMB และ KTB )ลดลงประมาณ 33% YOY แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ QOQ เนื่องจากไตรมาส 2 รวมทั้ง 6 แบงก์มีผลขาดทุน 3,900 ล้านบาท
สาเหตุที่กำไรลดลงเมื่อเทียบกับ YOY เนื่องจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1.การตั้งสำรองของหลายแบงก์เพิ่มขึ้นตามจำนวนเอ็นพีแอลใหม่ที่เพิ่มขึ้น 2.รายจ่ายที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นและ3.ภาษีของทั้งกลุ่มเพิ่มขึ้น 4% โดยในไตรมาสดังกล่าวนี้ TMB จะเป็นตัวฉุดกำไรของทั้งกลุ่ม คาดว่าจะมีผลขาดทุน 3.1 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปีก่อนที่ TMB มีกำไร 1,300 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัท แนะนำ ซื้อ KBANK SCB และ BBL ราคาเป้าหมายปีหน้า 93 บาท 91 บาท และ 147 บาท ตามลำดับเนื่องจากราคาหุ้นทั้ง 3 ตัวในปัจจุบันยัง
ห่างจากราคาเป้าหมายที่ให้ไว้ จึงยังมีช่วงห่างราคาให้ซื้อขายได้

**BBL โดดเด่นปีหน้า แม้ปรับประมาณลง แต่ยังมีเสน่ห์ที่ Upside


บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ประเมินกำไรสุทธิไตรมาส 3/50 ของ BBL ไว้ที่ 4,553 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8%yoy แม้ว่าต้องจ่ายภาษีในอัตราปกติและมีการตั้งสำรองฯที่สูงขึ้นกว่าปีที่แล้วก็ตาม เนื่องจากไม่มีรายการขาดทุนพิเศษ 2.8 พันล้านบาท จากการลดค่าของสินทรัพย์ที่โอนไป TAMC ประกอบกับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจาก 3.0% เป็น 3.1% แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาส 2/50 พบว่ากำไรสุทธิลดลง 15%qoq สาเหตุหลักมาจากในไตรมาส 2/50 มีการรับรู้กำไรจากการขายตราสารทุนและตราสารหนี้สูงถึง 1.7 พันล้านบาท แต่หากไม่รวมกำไรจากการขายเงินลงทุนดังกล่าวพบว่ากำไรจากการดำเนินงานไตรมาสที่ 3/50 ยังคงเติบโต 3%qoq
เราประเมินไตรมาส 3/50 สินเชื่อขยายตัวเพียง 0.08% ส่งผลให้สินเชื่อ 9 เดือนขยายตัว 2.8% เมื่อเทียบกับเป้าหมายสินเชื่อปี 50 ที่ 5.0% จึงมีโอกาสเป็นไปได้ที่ BBL จะพลาดเป้าหมายสินเชื่อในปีนี้ เนื่องจากสินเชื่อภาคธุรกิจซึ่งเป็นสินเชื่อหลักค่อนข้างชะลอตัว แต่อย่างไรก็ตามปี 2551 คาดจะเห็นการฟื้นตัวของสินเชื่อตามภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่ชัดเจนขึ้น
แม้ว่าไตรมาส 3/50 ไม่มีประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจ แต่เรามองว่า BBL มีโอกาสเติบโตที่สูงในปี 51 จากเศรษฐกิจโดยรวมที่คาดจะกลับมาฟื้นตัว ซึ่งจะส่งผลบวกต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะ BBL จะได้เปรียบในการขยายสินเชื่อโดยเฉพาะสินเชื่อภาคธุรกิจ นอกจากนี้ราคาหุ้นปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจลลงทุนระยะยาวโดยมีราคาเพียง 1.4 เท่าของมูลค่าทางบัญชี ดังนี้เราจึงคงคำแนะนำ ซื้อ โดยให้มูลค่าที่เหมาะสมปี 51 ที่ 146.00 บาท/หุ้น
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส ปรับลดสมมติฐานการขยายตัวของสินเชื่อลงจาก 5% เป็น 4% แต่คงของปี 51 ไว้ที่ 5% และปรับลดอัตราการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมในปี 50 และปี 51 เป็น 3% และ 5% ตามลำดับ ซึ่งทำให้ประมาณการกำไรสุทธิปี 50 จะลดลง 1.5% และปี 51 ลดลง 3.6%
คาดการณ์กำไรสุทธิ 3Q50 เท่ากับ 4.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.8%YoY แต่ลดลง 17%QoQ เนื่องจากสินเชื่อลดลง 0.6%QoQ, ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยทรงตัว, ไม่มีกำไรจากการขายสินทรัพย์และตราสารหนี้ และค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูงขึ้น 1.7%QoQ ทั้งนี้คาดว่าธนาคารจะตั้งสำรองค่าเผื่อฯในไตรมาสนี้ 1.45 พันล้านบาทเท่ากับ 2Q50 และมีอัตราภาษีจ่าย 32%
ปรับราคาตามพื้นฐานของ BBL เป็น 145 บาท โดยอิงกับ PBV 1.55 เท่า (มีสมมติฐานการเติบโตระยะยาว 5%, ROE 13%) จากเดิมที่ใช้ 1.65 เท่า เพื่อสะท้อน ROE ที่
ต่ำลง อย่างไรก็ตามราคาตามพื้นฐานใหม่ที่ 145 บาท ยังมี Upside จากราคาปิดวานนี้ 22% จึงคงคำแนะนำซื้อ
บล.ฟินันซ่า ระบุว่า เพราะความเป็นแบงก์ใหญ่ ทำให้การขยายตัวจึงต่ำตามเศรษฐกิจ แต่พร้อมขยายตัวหากเศรษฐกิจฟื้นตัว ทั้งยังมีแผนการกระจายการเติบโตไปยังต่างประเทศ (ได้ License จากจีนทำธุรกิจทั่วประเทศ และมี สินทรัพย์ต่างประเทศ ~15%) ที่สำคัญ กฎกติกาใหม่ที่ออกมาล้วนแล้วแต่ทำให้ธนาคารที่มีขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพอยู่ในฐานะได้เปรียบมากขึ้น เช่นการเกิดขึ้นของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ทำให้สามารถลดต้นทุนเงินฝากได้อีก แม้ปรับลดเป้าปี 08 เหลือ 141.25 บาท (เดิม 146.69 บาท) แต่ยังมี Upside 18.69% ?ซื้อ?
บล.เกียรตินาคินคาดผลประกอบการไตรมาส 3/50 ของ BBL มีกำไรสุทธิ 4,955 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 17.1%YoY แต่ลดลง 6.9%QoQ เนื่องจากการลดลงของกำไรจากการขายเงินลงทุน ในขณะที่รายได้อื่นๆ ยังคงขยายตัว คาดว่า ณ สิ้นไตรมาส 3/50 BBL จะสามารถปล่อยสินเชื่อเพิ่มได้ 3.9% โดยผู้บริหารกล่าวว่าปีนี้อาจจะปล่อยสินเชื่อได้ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 5% เนื่องจากจะเร่งลด NPL ลงในไตรมาส 4/50 ยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2550 ไว้ที่ 20,502 ล้านบาท ผลประกอบการ 9 เดือนคิดเป็น 72.9% ทรัพย์สินและเงินลงทุนรอการขายที่เหลืออยู่มากน่าจะเป็นส่วนช่วยให้ผลประกอบการดีขึ้นในครึ่งปีหลัง ยังคงแนะนำ ?ซื้อ? ให้ราคาเหมาะสมปี 2551 ที่ 162 บาท
ส่วนการขายหุ้น ACL ยังไม่ได้ข้อสรุป หากโดนปรับน่าจะไม่กระทบกับผลประกอบการของ BBL มากนัก แต่ทางธนาคารจะเร่งขายออกให้หมดภายในสิ้นปี 2550 นี้
ยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2550 ไว้ที่ 20,502 ล้านบาท ผลประกอบการ 9 เดือนคิดเป็น 72.9% ทรัพย์สินและเงินลงทุนรอการขายที่เหลืออยู่มากน่าจะเป็นส่วนช่วยให้ผลประกอบการดีขึ้นในครึ่งปีหลัง ยังคงแนะนำ ?ซื้อ? ให้ราคาเหมาะสมปี 2551 162 บาท
เราคาดว่า BBL จะมีการจ่ายปันผลจากผลประกอบการครึ่งปีหลังอีก 2 บาท/หุ้น หลังจากมีการประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาลไปแล้ว จำนวน 1 บาท/หุ้น คาดว่าทั้งปีมีการจ่าย 3 บาท คิดเป็น Div. Yield 2.52%
เรายังคงแนะนำ ?ซื้อ? BBL โดยให้ราคาเหมาะสมปี 2550 ไว้ที่ 147 บาท และให้ราคาเหมาะสมปี 2551 ไว้ที่ 162 บาท โดยเทียบกับ P/BV 1.7 เท่า

**สุดยอดหุ้นแบงก์ยกให้ KBANK กำไรเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี จนถึงปี 52


บล.ไทยพาณิชย์ ระบุว่า เรายังคงเก็บ KBANK ไว้เป็นหุ้น Top pick ที่แนะนำให้ซื้อในกลุ่มธนาคาร โดยคงราคาเป้าหมายไว้ไม่เปลี่ยนแปลงที่ 98 บาท (2.1 เท่าของมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นปี 2551 อิงกับ ROE ในระยะยาวที่ระดับ17%) โดยได้รับการสนับสนุนจาก 1) การขยายตัวของสินเชื่อด้วยอัตราเร่งและมีแนวโน้มสูงกว่าคาด 2)การขยายตัวของรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น และ 3) ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิสูงที่สุดเนื่องจากสามารถบริหารผลตอบแทนและต้นทุนเงินทุนได้เป็นอย่างดี
หลังจากเข้าพบผู้บริหารของ KBANK เพื่อทำประมาณการผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2550 เราพบว่าอัตราการขยายตัวของสินเชื่อ อัตราการขยายตัวของรายได้ค่าธรรมเนียม และอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ มีแนวโน้มดีกว่าที่เราคาดการณ์ไว้
เราปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2550 เพิ่มขึ้น 3% โดยมีสาเหตุมาจาก 1) อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้มีแนวโน้มต่ำกว่าคาดเพราะธนาคารเลื่อนการใช้งบประมาณ
ด้านระบบไอทีออกไปเล็กน้อยเป็นปี 2551 และปี2552 และ 2) อัตราการขยายตัวของรายได้ค่าธรรมเนียมสูงกว่าคาดซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาประสิทธิภาพด้านระบบไอที
นอกจากนี้เรามองว่าอัตราการขยายตัวของสินเชื่ออาจจะสูงกว่าที่เราคาดหลังจาก KBANK มีอัตราการขยายตัวของสินเชื่อเทียบเดือนต่อเดือนสูงที่สุดในเดือน ส.ค. 2550 (2.3% เทียบเดือนต่อเดือน หรือ 1.6หมื่นล้านบาท) นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ถ้าอัตราการขยายตัวของสินเชื่อในไตรมาส 4 ปี 2550 สูงกว่าไตรมาส 3 ปี 2550 เช่นเดียวกับปีก่อน อัตราการขยายตัวของสินเชื่อของ KBANK ก็อาจจะสูงกว่าประมาณการทั้งปีของเราที่ 10% และอาจจะสูงถึงตัวเลขด้านสูงที่ธนาคารตั้งเป้าไว้ในช่วง 8-13%
บล.ซีมิโก้ ระบุว่าถึงแม้ธนาคารยังคงมีภาระค่าใช้จ่ายจากโครงการ K-Transformation ต่อเนื่องไปถึงปี 52 แต่เราประเมินว่ากำไรจากการดำเนินงาน และกำไรสุทธิของธนาคารยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ย 10% ไปจนถึงปี 52 เช่นกัน และประเมินว่ากำไรจากการดำเนินงานจะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด หากโครงการดังกล่าวจบลง เรายังคงประเมินราคาตามมูลค่าพื้นฐานไว้ที่ระดับ 93 บาท (PBV 51 ที่ระดับ 2 เท่า, สูงเป็นอันดับ 2 รองจาก SCB) ซึ่งหากพิจารณาเทียบกับราคาปัจจุบันซื้อขายที่ PBV 51 ที่ระดับเพียง 1.7 เท่า ทำให้ยังมี Upside สูงถึง 18% ดังนั้นเรายังคงคำแนะนำ ?ซื้อ?
ประเมินว่ารายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในไตรมาสก่อนธนาคารมีกำไรจากเงินลงทุนเกือบ 600 ล้านบาท ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นในอีกใน
3Q50 นี้ ประกอบกับค่าใช้จ่ายจากโครงการ K-Transformation จะยังคงเพิ่มขึ้นตามปกติในช่วงครึ่งปีหลัง รวมถึงภาระสำรองที่จะกันเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของสินเชื่อ ทำให้เราประมาณการกำไรสุทธิใน 3Q50 นี้จะลดลง 13%QoQ แต่เพิ่มขึ้น 15%YoY
บล.เกียรตินาคิน คาดผลประกอบการไตรมาส 3/50 ของ KBANK จะมีกำไรสุทธิ 3,659 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 19.0%YoY แต่ลดลง 10.9%QoQ เนื่องจากการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของสินเชื่อ กำไรจากการขายเงินลงทุนลดลง และค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น คาดสิ้นไตรมาส 3/50 ปล่อยสินเชื่อเพิ่มได้ 7.5% ใกล้เคียงเป้าที่ตั้งไว้ 8-13% ยังคงประมาณการกำไรสุทธิไว้เท่าเดิมที่ 13,663 ล้านบาท กำไรสุทธิ 9 เดือนที่เราคาดคิดเป็น 85% ของประมาณการทั้งปี แต่เรายังไม่ปรับประมาณการลง เนื่องจากคาดว่า KBANK จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายนี้จะส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว จึงยังคงราคาเหมาะสมปี 2551 ไว้ที่ 91 บาท และยังคงแนะนำ ?ซื้อ?
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส คาดการณ์กำไรสุทธิ 3Q50 เท่ากับ 3.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.6%YoY แต่ลดลง 16.6%QoQ เนื่องจาก 1) ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยแคบลง, 2) ตั้งสำรองค่าเผื่อฯเพิ่มเป็น 1.65 พันล้านบาท จาก 1.32 พันล้านบาทใน 2Q50 และ 3) ค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูงขึ้น 6.4%QoQ แต่เราคาดว่าสินเชื่อ KBANK จะขยายตัวแข็งแกร่ง 2.7%QoQ (+10.5%YoY) และสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมสิ้น 3Q50 ลดลงเล็กน้อย
ยังแนะนำซื้อ เราปรับเพิ่มการขยายตัวของสินเชื่อปี 50 ในประมาณการเพิ่มจาก 8.5% เป็น 9.0% และเพิ่มสำรองค่าเผื่อฯจาก 5.3 พันล้านบาทเป็น 5.4 พันล้านบาท รวมทั้งปรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน พบว่าคาดการณ์กำไรสุทธิปี 50 จะลดลง 1.9% แต่ปี 51 เพิ่มขึ้น 1.4% ราคาตามพื้นฐานปรับขึ้นเล็กน้อยเป็น 95 บาท (เดิม 94 บาท) โดยอิงกับ PBV ปี 51 เท่ากับ 2.0 เท่า

**SCB พื้นฐานโดดเด่น แต่ระวังผลสอบของธปท.


บล.ฟินันซ่า ระบุว่า ทั้งการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของการขยายสินเชื่อ (คาด 3Q โตอีก 0.6% QoQ รวมสะสมตั้งแต่ต้นปีโต 6.1% จากสิ้นปีที่ผ่านมา) และการเพิ่มขึ้นของ NIM อีก 17 bps QoQ เป็น 3.70%(vs. 3.54% 2Q07 และ 3.48% 3Q06) จากการลดลงของต้นทุนอันเป็นผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงในช่วง 1H06 รวมถึงมีปันผลรับจาก VAYU1 (จ่ายปีละ 2 ครั้ง) เข้ามาอีก 300 ลบ.ในไตรมาสนี้ (เท่ากับที่เคยได้รับใน 1Q07) ทำให้รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ (NII) เพิ่มขึ้น 6% QoQ & 20% YoY เป็น 9.8 พันลบ. แต่กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ (PPOP) จะโตในอัตราต่ำกว่าคือ 0% QoQ & 16% YoY เป็น 7.07 พันลบ.เพราะการเปลี่ยนวิธีบันทึกโบนัสของพนักงานจาก cash (ลงบัญชีเมื่อจ่ายจริง) เป็น accrual basis (ตั้งค้างเป็นค่าใช้จ่ายโดยเกลี่ยให้เท่าๆกันในทุกไตรมาส) ซึ่งจะเริ่มใช้ใน 3Q นี้ ส่งให้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้นมา 800 ลบ. (จากโบนัสที่ประเมินไว้ของปีนี้ที่ 1.1-1.2 พันลบ.)
สุดท้ายการตั้งสำรองฯ ยังอยู่ในระดับปกติแบบมีวินัยอีก 1.1 พันลบ.ในไตรมาสนี้ทำให้กำไรสุทธิบันทัดสุดท้ายเติบโต 3% QoQ & 20% YoY เป็น 4.44 พันลบ.เรามีการปรับปรุงประมาณการปี 07-08 เล็กน้อย (+/- ไม่เกิน 5%) คาดปีนี้จะมีกำไรสุทธิ1.77 หมื่นลบ. (+33% YoY ) ส่วนปีหน้า 2.06 หมื่นลบ. (+16%) โดย ROE ยังถือเป็นจุดขายของแบงก์ที่คาดว่าจะอยู่ในระดับสูงสุดของกลุ่มที่ 16.9% & 17.6% ตามลำดับ
เป็นธรรมเนียมปฎิบัติที่ธปท.ในฐานะผู้กำกับดูแลจะเข้ามาทำ Qualitative Assessment ปีละครั้งเพื่อตรวจสอบคุณภาพของสินทรัพย์ ซึ่งในกรณีของ SCB ธปท. เพิ่งเข้ามา คาดปลายปีเสร็จ ประเด็นกังวลอยู่ตรงลูกหนี้สีเทา (ที่ปล่อยให้ธุรกิจการเมื่อง/ขั้วอำนาจเก่า) ที่เป็นข่าวคือ ?King Power Duty Free (KPDF)? มูลหนี้รวมประมาณ 6 พันลบ. โดยมี SCBเป็นเจ้าหนี้หลัก ซึ่ง SCB จัดชั้นเป็นลูกหนี้ปกติเพราะยังจ่ายดอกเบี้ยอยู่ แต่ธปท. อาจนำประเด็นกรณีพิพาทระหว่าง KPDF vs. AOT จนทำให้บอร์ด AOT มีมติไล่ KPDF ออกจากพื้นที่ (ซึ่งเรื่องนี้ต้องรอศาลตัดสิน) มาเป็นความเสี่ยงจนทำให้การจัดชั้นลูกหนี้แตกต่างจากSCB และท้ายสุดอาจกระตุก NPL สิ้นปีให้เพิ่มขึ้นจนนักลงทุนตกใจ อย่างไรก็ตาม การมีสำรองฯส่วนเกินถึง 1.29 หมื่นลบ. (vs. ขั้นต่ำที่ธปท.กำหนด 3.31 หมื่นลบ. ณ สิ้นส.ค.07)ทำให้เราไม่เป็นห่วง SCB ในมุมสว่าง เราคาดว่า Gross NPL สิ้นปีนี้จะลดลงเหลือ 6.6%ของสินเชื่อรวม (จาก 7.9% สิ้นปี 06) จากการขายออกเป็นหลักรวม ~1 หมื่นลบ. (ในขณะที่write-off และ restructuring มีแต่น้อย) โดยขายไปแล้ว 5.5 พันลบ.ใน 3Q ที่เหลือจะทำใน4Q จากนโยบายการตั้งสำรองฯเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 50 bps ของสินเชื่อรวม ทำให้สัดส่วน LLR/Gross NPL ที่ปัจจุบันอยู่สูงถึง 81% ยิ่งสูงขึ้นไปอีก
แม้กำไรจะโดดเด่น แต่ระวังประเด็น NPL ปูดจากการเข้าตรวจสอบของแบงก์ชาติ แค่ ?ถือ? : SCB แนะนำ ?ถือ? ราคาเป้าหมายใหม่ ที่ 85.35 บาท
บล.เกียรตินาคิน คาดผลประกอบการไตรมาส 3/50 ของ SCB ออกมาโดดเด่น มีกำไรสุทธิ 4,576 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 24.1%YoY และ 2.7%QoQ โดยสินเชื่อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลง ประกอบกับได้เงินปันผลพิเศษจากธุรกิจและวายุภักษ์เป็นตัวหนุน จากการได้รับเงินปันผลพิเศษทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจาก 3.7% เป็น 3.9% ยังมีความเสี่ยงที่อาจจะมีการจัดชั้นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองเพิ่มขึ้น ซึ่งในขณะนี้ SCB ยังจัดชั้นให้เป็นหนี้ปกติ ยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2550 ไว้ที่ 17,477 ล้านบาท ให้ราคาเหมาะสมปี 2550 ไว้ 81 บาท และปี 2551 ไว้ 91 บาท และยังคงแนะนำ ?ซื้อ?
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของสินเชื่อ SCB ในปี 50 จาก 15% เป็น 12% และในปี 51 เท่ากับ 13% ดังนั้นกำไรสุทธิปี 50-51 จะลดลงจากคาดการณ์เดิม 4.5% และ 5.5% ตามลำดับ สำหรับกำไรสุทธิ 3Q50 ประมาณการว่าจะขยายตัว 4.1%QoQ เป็น 4.5 พันล้านบาท เนื่องจาก 1) สินเชื่อเติบโต 3%QoQ, 2) ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และ 3) ตั้งสำรองค่าเผื่อฯปกติ 1 พันล้านบาท แต่ค่าใช้จ่ายพนักงานจะสูงขึ้น 26.3%QoQ
แนะนำถือ โดยปรับราคาตามพื้นฐานเป็น 76.5 บาท (เดิม 77 บาท) โดยอิงกับ PBV ปี 51 เท่ากับ 2.1 เท่า แม้ว่าสินเชื่อของ SCB จะขยายตัวมากกว่าแบงค์ใหญ่รายอื่น แต่ได้สะท้อนเข้าไปในราคาหุ้นแล้ว และในระยะสั้นยังไม่มีข่าวบวกใหม่ที่จะเข้ามากระตุ้นราคาหุ้น

**BAY คาด Q3/50 พลิกเป็นกำไร วงการประสานเสียงเชียร์ซื้อ


บทวิเคราะห์จากบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส ระบุว่าเนื่องจากคาดกำไรสุทธิไตรมาส 3/2550 เติบโต 17% เมื่อเทียบกับ ไตรมาส 2/2550 ที่ขาดทุนสุทธิ ทั้งนี้ประมาณการกำไรสุทธิ 3/2550 ไว้ที่ 2.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส2/2550 ที่ขาดทุนสุทธิ 9.0 พันล้านบาท โดยใน ไตรมาส3คาดว่าจะตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญ 200ล้านบาท ลดลงจาก 10.9 พันล้านบาทในไตรมาสก่อน สำหรับสินเชื่อคาดว่าจะลดลง 0.7%เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพราะมีการชำระคืนหนี้ในกลุ่มสินเชื่อโครงการ และรายได้ค่าธรรมเนียมเติบโตเพียง 2.5%เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
บทวิเคราะห์ บล.ฟินันซ่า แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมายใหม่สิ้นปี 2551 อยู่ที่ 35.13 บาท โดยประเมินว่า BAY น่าจะมีความเสี่ยงต่ำที่สุดในเรื่องคุณภาพสินทรัพย์ หลังได้บริหารจัดการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไปแล้วในไตรมาส 2ที่ผ่านมา รวมถึงการจัดชั้นลูกหนี้ใหม่ที่มีความเข้มงวดมากขึ้นตามมาตรฐาน GE นอกจากนี้การตั้งสำรองหนี้เสียก้อนโตครั้งเดียวถึง 1.1 หมื่นลบ.ในไตรมาส 2/2550 ทำให้ลดความเสี่ยงที่หนี้เสียจะเพิ่มขึ้นจากการประเมินเชิงคุณภาพของธปท. และลดแรงกดดันของการตั้งสำรองหนี้เสียตามเกณฑ์IAS39 โดย ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2007 BAY มีสัดส่วนการตั้งสำรองฯสูงที่สุดในกลุ่มถึง 148% เมื่อเทียบกับเกณฑ์ขั้นต่ำที่ธปท.กำหนด ดังนั้นในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ธนาคารจึงไม่จำเป็นต้องตั้งสำรองฯเพิ่มอีก และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ครึ่งปีหลังธนาคารฯน่าจะพลิกมามีกำไรสุทธิ 5.71 พันลบ. จากเดิมที่ขาดทุน 7.83 พันลบ. ในช่วงครึ่งปีแรก
โดยคาดว่าในไตรมาส 3 จะมีกำไร1.43 พันลบ.ส่วนในไตรมาส 4 คาดว่าจะมีกำไร 4.28 พันลบ.แต่อย่างไรก็ตามทั้งปี 2007 คาดว่ายังขาดทุนสุทธิ 2.12 พันลบ. ทั้งนี้คาดว่ากำไรจากการดำเนินงานในไตรมาส 3/2550 ลดลงต่อเนื่องอีก 18% เมื่อไตรมาสที่แล้ว และลดลง 51% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เหลือ 1.42 พันลบ. หลังยอดสินเชื่อลดลงเนื่องจากจากการปรับพอร์ตสินเชื่อมาเน้นลูกค้ารายย่อย แทนลูกค้าที่เป็นกลุ่มบริษัท นอกจากนี้ธนาคารฯยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากการปรับองค์กรใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
บทวิเคราะห์บล.กิมเอ็ง แนะนำซื้อเมื่ออ่อนตัว มูลค่าเหมาะสมปี 51 ที่ 32.30 บาท โดยประเมินว่า BAY จะกลับมามีกำไรสุทธิอีกครั้งในไตรมาส 3/50 ที่ 1,907 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แม้สินเชื่อยังคงชะลอตัว และมีค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่สูงจากการปรับโครงสร้างองค์กรก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีภาระการตั้งสำรองฯ และค่าใช้จ่ายภาษีในไตรมาส 3/50

**SCIB อ่วม! Q3/50 ส่อขาดทุนหนักจากการตั้งสำรอง


บทวิเคราะห์จากบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส แนะนำถือ ราคาตามพื้นฐาน 18.50 บาท เพราะคาดว่าจะขาดทุนสุทธิใน 3Q50 เนื่องจาก NPL เพิ่มขึ้นทำให้ SCIB ต้องตั้งสำรองค่าเผื่อฯสูงใน 3Q50 โดยประมาณการไว้ที่ 2.4 พันล้านบาท ส่งผลให้คาดว่าไตรมาสนี้จะขาดทุนสุทธิ 918 ล้านบาท (EPS : -0.43 บาท) จากที่มีกำไรสุทธิ 354 ล้านบาทใน ไตรมาส2/2550
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์จากบล.เกียรตินาคินแนะนำถือ ราคาเหมาะสมปี 50 ปรับลดลงเหลือ 22 บาท จากเดิม 23.30 บาท ทั้งนี้คาดว่า SCIB จะมีผลประกอบการไตรมาส 3/50 ขาดทุนสุทธิถึง 549 ล้านบาท ลดลถึง 141%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และ 263% จากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากคาดว่าจะมีการตั้งสำรองจำนวนมากเพื่อรองรับ NPL ที่จะเพิ่มขึ้นจากการจัดชั้นเชิงคุณภาพของ ธปท. โดยคาดว่า NPL จะเพิ่มขึ้นเป็น 7.4% จากเดิมมีอยู่ 4.7% กำลังจัดทำแผนธุรกิจ 3 ปี เพื่อวางแนวทางในการประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะเน้นการเติบโตเป็นหลัก และมีแผนในการหาพันธมิตรรวมอยู่ในแผนนี้ด้วย ผลจากการตั้งสำรองจำนวนมากในไตรมาสนี้ ทำให้ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2550 ลง 72% จากเดิม 2,764 ลงเหลือ 772 ล้านบาท และทำให้ราคาเหมาะสมปี 2550 ปรับลดลงเหลือ 22 บาท จากเดิม 23.30 บาท เราจึงปรับลดคำแนะนำจาก ?ซื้อลงทุน? เป็น ?ถือ?
บล.ฟินันซ่า : แนะนำ ?เก็งกำไร? ราคาเป้าหมายใหม่สิ้นปี 08 อยู่ที่ 23.14 บาท คาดว่าสำรองฯที่ต้องตั้งในไตรมาสนี้อาจสูงที่สุดเท่าที่เคยตั้งมาคืออยู่ที่ 1.7 พันลบ. และตั้งอีก 1.5 พันลบ. ใน ไตรมาส 4 ทำให้เราคาดว่ากำไรสุทธิใน 3Q07 จะลดลงถึง 51%เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2/2550 และ 87% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาเหลือเพียง 173 ลบ. แม้ในแง่การดำเนินงาน กำไรจากการผลดำเนินงาน จะยังเพิ่มขึ้น 10% จากปีที่แล้วเป็น 1.62 พันลบ. จากกำไรขั้นต้นจากอัตราดอกเบี้ย ที่กว้างขึ้น 15 bps เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของแล้ว จาก 2.92% เป็น 3.06% หลัง ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงขึ้นจากการเน้นลูกค้า SME มากขึ้น ในขณะที่ต้นทุนทางการเงินยังคุมได้ แต่อย่างไรก็ตามการขยายตัวของสินเชื่อรวมถึงค่าธรรมเนียมยังเป็นไปได้ช้า

**KTB สำรองปูดอีก 6.8 พันลบ.ใน Q4/50


บทวิเคราะห์จากบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส แนะนำ ซื้อ ราคาพื้นฐาน 15 บาท ทั้งนี้ประมาณการกำไรสุทธิ 3/2550 เท่ากับ 3.0 พันล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.27 บาท ลดลง 40.4%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นมากจาก 0.4 พันล้านบาทใน ไตรมาส2/2550 เพราะตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญลดลงเป็น 4 พันล้านบาท จาก 6.9 พันล้านบาทใน ไตรมาส2/2550 และคาดการณ์ว่าสินเชื่อของธนาคาร อาจขยายตัว 1.1%เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็น 3.7% จาก 3.6% ใน 2Q50 เนื่องจากมีเงินปันผลรับจากกองทุนวายุภักษ์ 1 เข้ามา 1 พันล้านบาท และอัตราภาษีจ่ายยังคงต่ำที่ประมาณ 10%
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์จากบล.เคจีไอ แนะนำ ซื้อ ที่ราคาเป้าหมาย 13.8 บาท เนื่องจากคาดว่า KTB จะรายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/50 ที่ 2.1 พันล้านบาทลดลง 57.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากสำรองที่เพิ่มขึ้น และ ส่วนต่างดอกเบี้ยลดลงจาก ผลกระทบของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในครึ่งแรกของปี 50 และ NPL ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามถือว่าตัวเลขดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส2ที่ผ่านมา จากส่วนต่างดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการตั้งสำรองหนี้สูญลดลงและอัตราภาษีที่ต่ำลง
บทวิเคราะห์จาก บล.ฟินันซ่า แนะนำ ?ถือ? ราคาเป้าหมายสิ้นปี 08 ที่ 13.04 บาท ประเมินว่าแง่กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักตั้งสำรองฯ ดีขึ้นเล็กน้อย 6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็น 6.93 พันล้านบาท ใน ไตรมาส 3/2550 จากการที่ต้นทุนเงินฝากลดลงมากกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศส่งผลให้กำไรขั้นต้นจากอัตราดอกเบี้ยกว้างขึ้น 17 bps จากไตรมาสก่อนเป็น 3.74% นอกจากนั้นสัดส่วน ค่าใช้จ่ายต่อรายได้ คาดว่าลดลงจาก 50% เหลือ 49% แต่กำไรสุทธิอาจเพิ่มขึ้นจากการตั้งสำรองฯที่คาดว่าไตรมาส3 /2550 นี้จะตั้งสำรองหนี้เพียง 1.2 พันลบ. โดยคาดว่ากำไรสุทธิน่าจะเพิ่มขึ้น 10 เท่าจาก 377 ลบ. ในไตรมาส 2/2550 เป็น 4.2 พันลบ. แต่ทั้งนี้สำรองฯก้อนโตจะไปปูดอีกทีในไตรมาสสุดท้ายอีก 6.8 พันลบ. (รวมทั้งปี 1.6 หมื่นลบ.)

**ธปท.ยอมรับกด NPL ไม่ได้ตามเป้าที่ 2% แต่เชื่อปีหน้ามีแนวโน้มลดลง


นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายความเสี่ยง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL สุทธิ (Net NPLs) ซึ่งหมายถึง NPL ที่ได้หักการกันสำรองแล้วของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบสิ้นปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3-4% ของสินเชื่อทั้งระบบ ซึ่งเป็นระดับที่ทรงตัวจากปัจจุบัน จากก่อนหน้านี้ที่ ธปท.คาดว่าจะลดลงเหลือ 2% ในสิ้นปี
ทั้งนี้ NPL สุทธิที่ลดลงเหลือ 3-4% ส่วนหนึ่งเกิดจากการกันสำรองตามเกณฑ์ IAS39 ที่สถาบันการเงินสามารถตัดหนี้สูญออกจากบัญชีได้ทันทีหากตั้งสำรองครบ 100% ซึ่งแม้ว่า NPL โดยรวม (Gross NPLs) ที่มีอยู่ในระบบจะสูงกว่า 3-4% แต่ในที่สุดก็จะกลายมาเป็น NPA หรือสินทรัพย์รอการขาย ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่างก็เร่งระบายสินทรัพย์ดังกล่าวออกไปอยู่แล้ว
ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า NPL สิ้นปีจะอยู่ที่ระดับเท่าใดคงจะบอกได้ยาก แม้ก่อนหน้าจะคาดว่าทั้งปีจะลดเหลือ 2% เพราะในครึ่งปีหลังปัญหา NPL จะยังคงกดดันสถาบันการเงินต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก ส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวธปท.มอง NPL ครึ่งปีหลัง จะยังเป็นปัญหากดดันสถาบันการเงิน แต่เชื่อปีหน้าจะลดลงตามศก. ที่ฟื้นตัว
ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในครึ่งปีหลังแรงกดดันจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดราย
ได้ หรือ NPL จะยังอยู่กับธนาคารพาณิชย์ต่อเนื่องจากครึ่งปีแรกที่มียอด NPL เพิ่มขึ้นเล็กน้อย สาเหตุเกิดจาก 3 ปัจจัยหลักที่กดดันให้ NPL ยังไม่มีแนวโน้มลดลงคือ
ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอตัว เกณฑ์การจัดชั้นของธปท.ที่เข้มงวดขึ้น และความผันผวนในตลาดการเงินโลก
เท่าที่ดูคิดว่าแรงกดดัน NPL น่าจะอยู่กับสถาบันการเงินไปอีกจนถึงครึ่งหลังปีนี้ เพราะเศรษฐกิจยังกดดันต่อและยังไม่เห็นการฟื้นตัวเต็มที่ ขณะที่ความ
ผันผวนในตลาดการเงินโลกมีมากขึ้นอาจจะกระทบตลาดการเงินของไทย ซึ่งจะมีส่วนทำให้การบริหารจัดการหนี้เสียมีความท้าทายมากขึ้น ดร.บัณฑิต กล่าว
ทั้งนี้ มองว่า NPL น่าจะลดลงในปีหน้าจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันธปท.ในฐานะผู้กำกับก็พยายามบริหารจัดการตลาดเงินภายในไม่ให้ผันผวน
มากเท่าตลาดต่างประเทศ เห็นได้จากดอกเบี้ย ค่าเงินที่ไม่ผันผวนมาก สภาพคล่องในระบบก็อยู่ในระดับสูง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้น่าจะช่วยลดแรงกดดัน NPL ในปีหน้าได้
ประกอบกับธนาคารพาณิชย์เองก็มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี ระมัดระวังในการปล่อยกู้มากขึ้น
ดังนั้นจึงมั่นใจว่าเศรษฐกิจที่ฟื้นชัดเจนในปีหน้า NPL คงจะอยู่ในเกณฑ์ที่ลดลงได้ ดร.บัณฑิต กล่าว

 กลับขึ้นบน
innocent
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 729
#1 วันที่: 08/10/2007 @ 07:52:50 :
NPLs ......เหนื่อยนะ :cry: :wink: :roll:
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com