April 29, 2024   7:54:25 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ล่วงไส้ล้วงตับ SCC
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 08/10/2007 @ 21:21:06
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

เซียนหุ้นล้วงไส้ SCC ไตรมาส 3/50 จ่อประกาศวันที่ 18 หรือ 19 ต.ค.นี้ ผงะเจอดีปิโตรฯ หลังส่วนต่างของราคาปิโตรเคมี Ethylene, Propylene และ PVC ดีตัวขึ้นจากไตรมาสก่อน แถมได้แรงหนุนกำไรจากการขายหุ้น ATC แต่ธุรกิจกระดาษ - ปูน กลับฉุดกำไรไม่สวย แนะชาวหุ้นลักไก่เล่นหุ้นปิโตรฯ อย่าง PTTCH - ATC - TPC รอประกาศงบ Q3/50 แทน

นับถอยหลังอีกไม่กี่วัน แบงก์หลายแห่งจะเริ่มประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ของปี 2550 ออกมา หลังจากนั้น บริษัทยักษใหญ่ในวงการปูนซิเมต์ไทย อย่าง บมจ.ปูนซิเมต์ไทย หรือ SCC ก็จะมีการประกาศผลประกอบการออกมาเช่นกัน ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า จะมีการประกาศออกมาประมาณวันที่ 18 ต.ค.นี้ หรือไม่งั้นก็ในวันที่ 19 ต.ค.50

แน่นอนว่าหลายคนต่างตั้งตารอผลประกอบการของ SCC ว่าจะออกมาเป็นเช่นไร เพราะ SCC ถือว่าเป็นบริษัทที่มีมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่ และเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติ ดังนั้น การประกาศผลกำไรสุทธิจึงค่อนข้างจะอ่อนไหวต่อการลงทุน เบื้องต้นจากการประมาณการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่ากำไรจากการดำเนินงานปกติจะเพิ่มขึ้นเพียงเล้กน้อยเท่านั้น จากส่วนต่างระหว่างราคาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ของธุรกิจปิโตรเคมีดีขึ้น แถมได้ส่วนต่างกำไรจากบริษัทร่วม และกำไรจากการขายหุ้น ATC ออกมา ขณะที่กำไรจากธุรกิจกระดาษนั้นไม่น่าประทับใจ รวมทั้ง ธุรกิจปูนซิเมนต์ ยังถูกกดดันจากภาวะก่อสร้างที่ชะลอตัว

ดังนั้น หากมองว่าธุรกิจปิโตรเคมีเป็นตัวสร้างกำไรให้ SCC เซียนหุ้นในวงการต่างระบุว่า ควรที่จะเล่นหุ้นปิโตรเคมีดักรอผลประกอบการไตรมาส 3/50 ที่กำลังจะประกาศออกมา ซึ่งในส่วนของ PTTCH นั้นเรียกได้ว่าจะออกมาดี เพราะส่วนต่างระหว่างราคาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ขยับตัวเพิ่มขึ้น แถมยังได้รับผลดีจากวอลุ่มที่เพิ่มขึ้น เพราะในไตรมาส 3 และ 4 ไม่มีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน อย่างไรก็ดี แม้ว่าปัจจุบันราคาหุ้น PTTCH จะเต็มมูลค่าแล้ว แต่ยังสามารถเก็งกำไรประเด็นที่ซับพลาย MEG ขาดตลาด ส่งผลให้ราคาขาย MEG ปรับตัวสูงที่ขึ้น

ส่วน ATC นั้น แม้ว่าผลประกอบการไตรมาส 3/50 จะออกมาไม่ดี เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์ในตลาดลดลง ทำให้ราคาขายลดลง ขณะที่ราคาวัตถุดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างราคาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ปรับตัวลดลง แต่นักลงทุนยังสามารถซื้อ ATC ได้เพื่อแลกหุ้นในบริษัทใหม่ ที่เกิดขึ้นภายหลังการควบรวมกิจการกับ RRC


***บล.เคจีไอ ให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่มปูนซิเมนต์เท่ากับตลาด

บทวิเคราะห์บล.เคจีไอ ระบุว่า แม้ว่ายอดขายปูนซีเมนต์ในประเทศในช่วง ม.ค. ? ส.ค. จะต่ำเพียง 19.0 ล้านตันลดลง 5% YoY ตามสภาวะการก่อสร้างที่ชะลอตัวในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ เราคาดว่ายอดขายปูนซีเมนต์ในประเทศจะเริ่มฟื้นตัว QoQ และ YoY ในไตรมาส 4/50 โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้:

1.สภาวะเศรษฐกิจที่ดีส่งสัญญานถึงการฟื้นตัว แม้ว่ายอดขายปูนซีเมนต์ในประเทศจะยังขยายตัวติดอยู่ในแดนลบที่ -1.2% YoY ในเดือน ส.ค. ตัวเลขดังกล่าวดีขึ้นต่อเนื่องจากที่เคยขยายตัวติดลบ -11.2% YoY ในเดือน เม.ย. 50 โดยยอดขายที่ดีขึ้นเกิดจากความมั่นใจในประเทศที่เพิ่มขึ้นตามการคลี่คลายของสภาวะทางการเมือง ดังจะเห็นได้จากการฟื้นตัวของดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Business Sentiment Index) เป็น 43.4 จุดในเดือน ส.ค. จากเพียง 40.7 จุดในเดือน ก.ค. ยิ่งใกล้การเลือกตั้ง เราคาดว่าบรรยากาศทางธุรกิจจะฟื้นตัวต่อเนื่อง และนั่นหมายถึงยอดขายปูนซีเมนต์ในประเทศจะค่อย ๆ ฟื้นตัวตลอดช่วงดังกล่าว

2.ฐานการขายปูนซีเมนต์ที่ต่ำในไตรมาส 4/49 ดังที่ได้แสดงให้เห็นในตารางที่ 2 ฐานการขายปูนซีเมนต์ในประเทศที่ต่ำจากเหตุน้ำท่วมทั่วประเทศเมื่อปีที่แล้วทำให้โอกาสการขยายตัว YoY มีสูง

ในขณะที่ยอดขายปูนซีเมนต์ในประเทศค่อย ๆ ฟื้นตัว เราคาดว่ายอดส่งออกปูนซีเมนต์ที่เพิ่มอย่างต่อเนื่องจะช่วยชดเชยยอดรวมที่ลดลง ในขณะเดียวกันผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์จากปัญหาหนี้อสังหาฯ ในสหรัฐฯ จะไม่รุนแรงนัก เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของไทยได้เปลี่ยนจากสหรัฐฯ มาเป็นเอเชียและยุโรปตั้งแต่ไตรมาส 4/49 โดยจากยอดส่งออกปูนซีเมนต์รวมของไทย ประมาณ 66% และ 16% เป็นการส่งออกไปเอเชียและยุโรปตามลำดับเทียบกับยอดส่งออกไปสหรัฐฯ เพียง 5% และจากการเปลี่ยนเป้าหมายดังกล่าว ยอดส่งออกปูนซีเมนต์ของไทยเพิ่มสม่ำเสมอเป็น 12 พันล้านตันในช่วง 8 เดือนแรกของปี 50 หรือเพิ่มขึ้น 20% YoY

ฝ่ายวิเคราะห์ ระบุว่า โชคไม่ดีเลยที่ยอดส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นกลับหมายถึงอัตรากำไรของธุรกิจปูนซีเมนต์ที่ลดลง เนื่องจาก

1. การแข็งตัวของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ แทนที่ยอดการส่งออกวัสดุก่อสร้างจะเพิ่ม ในช่วงเดือน ม.ค. ? ส.ค. ยอดส่งออกปูนซีเมนต์ทรงตัว YoY ที่ 15 พันล้านบาท เนื่องจากการแข็งตัวของค่าเงินบาทต่อเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ

2. ราคาส่งออกที่ตกต่ำ แม้ว่าราคาส่งออกจะเพิ่ม 0-5% นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ราคาดังกล่าวยังคงต่ำกว่าราคาขายในประเทศถึง US$10 ต่อตัน ทำให้ค่ากำไรขั้นต้น (ก่อนหักค่าเสื่อมราคา) จากการส่งออกปูนซีเมนต์อยู่ที่เพียง 10-20% เมื่อเทียบกับค่ากำไรขั้นต้น (ก่อนหักค่าเสื่อมราคา) จากการขายในประเทศที่ประมาณ 40%-50%

เราเห็นว่าการขยายตัวของยอดส่งออกท่ามกลางการชะลอตัวของความต้องการในประเทศเพียงช่วยรักษาอัตราการใช้กำลังการผลิต ให้คุ้มกับต้นทุนคงที่จากการผลิตปูนซีเมนต์เท่านั้น ในขณะเดียวกันอัตรากำไรในธุรกิจปูนซีเมนต์โดยรวมจะลดลงจากยอดการส่งออกที่เพิ่มขึ้นและอัตรากำไรที่ตกต่ำ ดังนั้นหากความต้องการในประเทศฟื้นตัว ผู้ผลิตปูนซีเมนต์มีแนวโน้มเพิ่มปริมาณการขายในประเทศและลดปริมาณการส่งออกเพื่อรักษาอัตรากำไร

จากตัวเลขล่าสุดของ ธปท. ความต้องการภาคเอกชนในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น หลังจากที่ชะลอตัวในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเป็น 8% ในปี 2551 จาก 2.0% ในปี 2550 การเพิ่มดังกล่าวเกิดจากการคาดการณ์ถึงความมั่นใจภายในประเทศที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะลดต่ำลง ทำให้กระตุ้นความต้องการที่พักอาศัยและอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคธุรกิจที่ตึงตัวชี้ให้เห็นว่าการขยายธุรกิจจะเพิ่มขึ้นในปีหน้า ในขณะเดียวกันธปท. คาดว่าการใช้จ่ายภาครัฐจะเพิ่มในระดับที่ลดลงเหลือเพียง 2.5% ในปี 2551 จาก 13.5% ในปี 2550 ทั้งนี้ เราคาดว่าการใช้จ่ายภาครัฐสำหรับปีงบประมาณ 2551 จะอยู่ในระดับที่สูงเกินคาด เนื่องจากรัฐบาลได้เพิ่มงบประมาณในปีดังกล่าวเป็น 1.7 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6.0% YoY จากปีงบประมาณ 2550

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การขยายตัวของยอดขายปูนซีเมนต์ในประเทศมีความสัมพันธ์กับการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนถึง 76% ในขณะที่มีค่าความสัมพันธ์กับการลงทุนภาครัฐเพียง 48% ค่าความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้เราเชื่อว่าแม้ว่าการขยายตัวภาครัฐจะไม่สูงมากนัก ยอดขายปูนซีเมนต์ควรจะเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในปี 2551
ในจำนวนบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์ทั้งหมด SCC ยังคงเป็นหุ้นเด่นของเรา เนื่องจาก:

1. กำไรที่ค่อนข้างคงที่จากธุรกิจที่หลากหลาย ท่ามกลางสภาพความต้องการในประเทศที่มีไม่สูงนัก เราคาดว่ากลุ่มธุรกิจเคมีของ SCC จะช่วยชดเชยรายได้ในปี 2550 ในขณะที่กลุ่มธุรกิจที่พึ่งความต้องการในประเทศที่คาดว่าจะดีในปีหน้าจะกลับมาช่วยชดเชยรายได้ที่ลดลงของกลุ่มธุรกิจเคมีในปี 2551 ได้ ดังนั้น กำไรโดยรวมมีแนวโน้มทรงตัว จากธุรกิจที่หลากหลายของบริษัท

2. ราคาหุ้นยังต่ำ จากแนวโน้มที่สดใสและค่า Spread ในกลุ่มเคมีที่สูงเกินคาด ราคาหุ้นพึ่งปรับตัวขึ้นเพียง 10% จากต้นปีเท่านั้น ซึ่งถือได้ว่าต่ำเมื่อเทียบกับบริษัทในกลุ่มเคมีที่มี
การปรับตัวไป 80% และบริษัทในกลุ่มปูนซีเมนต์ที่มีการปรับตัวไป 10-45%

3. ผลตอบแทนในรูปเงินปันผลที่ดี SCC ให้ผลตอบแทนในรูปเงินปันผลสูงถึง 5.6% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในกลุ่มและดีกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปีที่ 2.25%

ทั้งนี้ ยอดขายปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 4/50 จากฐานการคำนวนที่ต่ำในปีที่แล้วและการก่อสร้างที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นหลังฤดูฝน นอกจากนี้ภาพทางเศรษฐกิจที่ดีหลังการเลือกตั้งควรกระตุ้นการลงทุนในไตรมาส 4/50 และต่อเนื่องไปในปีหน้า ยอดส่งออกปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นควรเป็นอีกปัจจัยที่ผลักดันการขยายตัวของยอดขายปูนซีเมนต์ แต่ไม่ทำให้อัตรากำไรเพิ่มขึ้น ต่อเมื่อความต้องการในประเทศฟื้นตัว เราจึงจะได้เห็นอัตรากำไรของธุรกิจปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น จากเหตุผลดังกล่าวเราคงให้น้ำหนัก ?เท่ากับตลาด? สำหรับกลุ่มโดยมี SCC เป็นหุ้นเด่น

*** 3 โบรกฯ เชียร์ซื้อ SCC แม้ผลงานโค้งสามไม่ประทับใจ
บทวิเคราะห์บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส ระบุว่า คาดว่าผลประกอบการ 3Q50 จะไม่สูงนัก แม้ว่า Spread ของปิโตรเคมีจะแข็งแกร่ง เราคาดว่า SCC จะมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ (Normalized profit) ลดลง 24%YoY แต่เพิ่ม 2%QoQ เป็น 6.47 พันล้านบาท ด้านกำไรสุทธิเติบโต 4%YoY เป็น 7.87 พันล้านบาท เพราะมีกำไรจากการขายหุ้น ATC 1.8 พันล้านบาท แต่ลดลง 11%QoQ เนื่องจากใน 2Q50 มีกำไรจากการขายเงินลงทุนมาก

ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจเดือนส.ค.50 ที่โชว์การฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศเป็นบวกกับธุรกิจที่ไม่ใช่ปิโตรเคมีของบริษัท แต่ผลดีในด้านผลประกอบการจะมี Lag time เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 51 ขึ้น 6% สะท้อน Spread ของปิโตรเคมีที่ดีกว่าคาดการณ์เดิม แต่ยังไม่เปลี่ยนสมมติฐานในธุรกิจที่ไม่ใช่ปิโตรเคมี การลดลงของประมาณการกำไรสุทธิปี 51 ที่ 14%YoY มาจากกำไรจากการขายเงินลงทุนที่ต่ำลง และสมมติฐาน Spread ที่แคบกว่าปี 50

แม้ว่ากำไรสุทธิของ SCC จะไม่ได้ขยายตัวน่าประทับใจในช่วง 2 ปีข้างหน้าเพราะธุรกิจปิโตรเคมีเข้าสู่วัฏจักรขาลง แต่เรายังแนะนำซื้อลงทุน เพราะ 1) ให้ปันผลสูง อย่างน้อย 15 บาทต่อหุ้นต่อปี ซึ่งคิดเป็น Dividend yield 5.6%, 2) ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ และ 3) ธุรกิจมั่นคง แนวโน้มระยะยาวแข็งแกร่ง เราให้ราคาตามพื้นฐาน 302 บาท มี Upside จากราคาปิดวันศุกร์ 12%

บทวิเคราะห์บล.ไซรัส ระบุว่า คาดกำไรปกติ (Normalized Profit) ไตรมาส 3/50 ที่ 6,927 ลบ. เพิ่มขึ้น 9% q-q จากส่วนต่างของราคาปิโตรเคมี ไม่ว่าจะเป็นในสายของ Ethylene, Propylene และ PVC ต่างปรับตัวขึ้นจากไตรมาสก่อน ทำให้คาดว่ากำไรจากธุรกิจปิโตรเคมี และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมในไตรมาสนี้จะอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ซึ่งจะช่วยพยุงกำไรของธุรกิจปูนฯและธุรกิจกระดาษที่จะยังไม่ดีนัก อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนแล้วคาดว่ากำไรปกติจะยังลดลง 17.5% y-y เนื่องจากส่วนต่างของราคาปิโตรเคมีในไตรมาสนี้ยังต่ำกว่างวดเดียวกันของปีก่อนที่ Spread อยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ แต่หากรวมกำไรพิเศษจากการขายหุ้น ATC (5% ที่เหลือ) อีกประมาณ 1,800 ลบ. ทำให้คาดกำไรสุทธิในไตรมาสนี้ ที่ 8,727 ลบ. (EPS 7.27 บาท) เติบโต 14.8% y-y

คาดส่วนส่วนต่างราคาจะยังทรงตัวในระดับสูงในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า ขณะที่ธุรกิจปูนซีเมนต์และกระดาษ คาดว่าปีนี้น่าจะเป็นจุดต่ำสุด ความต้องการใช้ปูนฯ และกระดาษ น่าจะดีขึ้นในปีหน้า ภายหลังการเลือกตั้ง

SCC เป็นหุ้นบลูชิพ ที่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลในเกณฑ์ที่ดี จากกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง ทำให้คาดว่า SCC จะยังคงรักษาอัตราการจ่ายเงินปันผลทั้งปีที่ 15 บาทได้ (คาดจ่ายเงินปันผลงวดครึ่งปีหลังอีก 7.50 บาท) คิดเป็นอัตราผลตอบแทน 5.5% ต่อปี ประเมินราคาตามปัจจัยพื้นฐานปี 50 ที่ 300 บาท (WACC ที่ 10.32%) คิดเป็น PE 12.2 เท่า และ P/B ที่ 4.2 เท่า ปัจจุบันมี Upside 10.3% และผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ 5.6% ก็ยังน่าสนใจ ยังคงแนะนำ ?ซื้อ?

บทวิเคราะห์บล.กิมเอ็ง ระบุว่า คาดกำไรปกติจะปรับลดลงเหลือ 6,190 ล้านบาท ต่ำกว่าคาดการณ์ครั้งก่อน บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) เราคาดหมายว่าจะมีกำไรจากการดำเนินงานปกติเท่ากับ 6,190 ล้านบาท (กำไรต่อหุ้น 5.09 บาท) ลดลง 4% จากไตรมาสก่อน และ 27% จากปีก่อน ต่ำกว่าประเมินครั้งก่อน (18 ก.ย. 2550) ที่ประเมินว่าจะมีกำไรปกติเท่ากับ 6,500-7,000 ล้านบาท กำไรที่น่าผิดหวังดังกล่าวถูกแรงฉุดสำคัญจากธุรกิจกระดาษที่ต้นทุนวัตถุดิบได้พุ่งขึ้นอย่างมาก ส่วนธุรกิจปูนซีเมนต์ และ วัสดุก่อสร้าง คาดหมายว่าจะยังถูกกดดันจากภาวะก่อสร้างที่ชะอลตัวลง

ในขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน ด้วยแรงหนุนจากสเปรด PE-Naphtha และ PP-Naphtha ที่เพิ่มสูงขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากการปิดซ่อมบำรุงของ Formosa Petrochemicals ในไต้หวัน ช่วยพยุงให้ผลประกอบการรวมไม่ให้ตกต่ำมากนัก ถ้าหากรวมรายการพิเศษกำไรจาขายเงินลงทุนใน ATC ที่เหลืออีกประมาณ 5% ทั้งหมด ซึ่งจะรับรู้กำไรหลังภาษีประมาณ 1,800 ล้านบาท เราประเมินว่า SCC จะมีกำไรสุทธิเท่ากับ 7,909 ล้านบาท (กำไรต่อหุ้น 6.59 บาท) ลดลง 10% จากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้น 4% จากปีก่อน

จากแนวโน้มชัพพลายในธุรกิจปิโตรเคมีในปี 2551 จะเกิดขึ้นประมาณ 5-6 ล้านตัน ซึ่งเท่ากับการขยายตัวของดีมานด์ ดังนั้นเราจึงประเมินเสปรดระหว่าง PE - Naphtha ในปี
2551 จะสามารถรักษาระดับได้ที่ 550-600 เหรียญ/ตัน แม้ว่าจะปรับลดลงจากค่าเฉลี่ยในปีนี้ ในขณะที่ธุรกิจปูนซีเมนต์ และ วัสดุก่อสร้าง เราประเมินว่าจะฟื้นตัวจากปีนี้อย่างเด่นชัด จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังจากที่ได้รัฐบาลใหม่หลังเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนจากโรงงานปูนซีเมนต์ในประเทศกัมพูชากำลังการผลิต 0.85 ล้านตันที่จะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ และ โครงการปั่นกระแสไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนที่สูญเสียจากการผลิตปูนซีเมนต์จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าประมาณ 600 ล้านบาทต่อปี ส่วนธุรกิจกระดาษคาดหมายว่าจะปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจรวมถึงได้แรงหนุนจากำลังการผลิตใหม่ ดังนั้น รวมแล้วเราประเมินว่ากำไรปกติในปี 2551 จะเท่ากับ 31,928 ล้านบาท (กำไรต่อหุ้น 26.61 บาท) เพิ่มขึ้นถึง 15% จากปี 2550
ราคาหุ้นปัจจุบันที่ 270 บาท นับว่ามีอัพไซด์ไม่มากนักประมาณ 11% จากราคาเหมาะสมของเราที่ 300 บาท โดยตั้งบนฐาน P/E เท่ากับ 11-12 เท่าในปี 2551 ต่ำกว่า P/E ตลาดปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 12.14 เท่า เราประเมินว่า SCC จะสามารถสร้างกระแสเงินสดปีละประมาณ 4-4.5 หมื่นล้านบาท ทำให้ SCC สามารถรักษาระดับจ่ายเงินปันผลได้ 15 บาทต่อหุ้น โดยตลาดอาจจะผิดหวังผลประกอบการในไตรมาสในไตรมาส 3/50 ดังนั้นรวมแล้ว เราจึงคงแนะนำ ซื้อ แต่รอจังหวะช่วงอ่อนตัว โดยประเมินระดับที่บริเวณ 250-260 บาท ซึ่งจะมีอัพไซด์ที่น่าสนใจคือประมาณ 15-20%

*** บล.กรุงศรีอยุธยา ให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่มปิโตรเคมี ?Neutral?

บทวิเคราะห์บล.กรุงศรีอยุธยา ระบุว่า Spread โอเลฟินส์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง 3Q50 ปรับขึ้นโดดเด่น QoQ Spread 3Q50 (สิ้นสุด 14 ก.ย. 50) ของสายโอเลฟินส์ และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง คาดจะปรับตัวดีขึ้น QoQ และโดดเด่นกว่าสายอะโรเมติกส์ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับขึ้นของ Spread โดดเด่นสุด คือ Spread MEG ? แนฟทา ที่ปรับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 45% QoQ เป็น US$440/ตัน จากอานิสงส์ของราคา MEG ที่พุ่งขึ้น เนื่องจากโรงงาน MEG ของ SABIC ในซาอุดิอาระเบีย กำลังผลิต 2.67 ล้านตัน/ปี ไม่สามารถผลิต MEG ป้อนสู่ตลาดได้เต็มที่ จากปัญหาทางเทคนิคของโรงอ๊อกซิเจนที่ไม่สามารถส่งอ๊อกซิเจนที่เป็นส่วนประกอบการสำคัญในการผลิต MEG ให้กับโรงงานดังกล่าวได้ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มี Spread ปรับลดลงมากสุด คือ Spread เบนซีน ? คอนเดนเสท ที่คาดจะลดลง 25% QoQ เป็น US$368/ตัน ตามการอ่อนตัวลงของค่าการกลั่นหลังผ่านพ้นฤดูกาลขับขี่ของสหรัฐฯ

คาด Operating Rate ของโรงงานปิโตรเคมียังอยู่ในระดับสูง 82-91% ในช่วงปี 50-51 AYS คาดความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของ GDP คาดจะทำให้การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ใหม่ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีส่วนใหญ่สูงกว่า หรือ สมดุลกับการเพิ่มขึ้นของอุปทานใหม่ ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิต (Operating Rate) ของโรงงานปิโตรเคมีในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง 82-91% ในช่วงปี 50-51 โดยเฉพาะโรงงานเอทิลีน ที่ยังอยู่ในระดับสูง 90-91%, HDPE ที่ 86-89% และพาราไซลีน ที่ 87-87.5% ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า Spread ของผู้ประกอบการปิโตรเคมียังอยู่ในระดับสูงในช่วงเวลาดังกล่าว

เลือก PTTCH และ ATC เป็น Top Pick แม้คาดการณ์ Spread ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจะค่อนข้างอนุรักษ์ (ปี 51 อ่อนตัวลงจากปี 50) แต่การขยายกำลังการผลิต และการต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์ขั้นต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสร้าง Captive Demand ให้กับผลิตภัณฑ์ขั้นต้น ทำให้การเติบโตของกำไรมีเสถียรภาพ โดยคาดกำไรปกติ (Normalized Profit) ของกลุ่มปิโตรเคมีจะเติบโตในอัตราเฉลี่ย 5% ต่อปี ในช่วงปี 50-51 ไม่โดดเด่นมากนัก เนื่องจากในปี 50 PTTCH มีหยุดเดินเครื่องการผลิตเพื่อซ่อมบำรุงโรงงาน และเชื่อมต่อโครงการส่วนขยาย และ ATC เริ่มมีภาระภาษีจ่ายเต็มปีในปี 51 AYS ยังคงน้ำหนักการลงทุนของกลุ่มปิโตรเคมีที่ระดับ ?Neutral? โดยมี Top Pick คือ PTTCH (Fair Price 132 บาท) และ ATC (Fair Price 92 บาท)

***TPC ถูกสุดในกลุ่มปิโตรเคมี

บทวิเคราะห์ บล.กิมเอ็ง ระบุว่า ราคา PVC ปัจจุบันยังยืนสูงอยู่ต่อเนื่องกว่า 2 เดือนที่ 1,030 เหรียญ/ตันได้ เพิ่มขึ้น 18% yoy และ 12% qoq ทำให้ราคาเฉลี่ยไตรมาส 3/50 อยู่ที่ 1,000 เหรียญ/ตัน โดยความต้องการที่ยังแข็งแกร่งจากทวีปยุโรป, ตะวันออกกลาง, แอฟริกาใต้และประเทศจีนยังคงเป็นปัจจัยหลักดันราคา PVC ในขณะที่ราคาวัตถุดิบเอทิลีนปัจจุบันอยู่ที่ 1,190 เหรียญ/ตัน เพิ่มขึ้น 3% qoq แต่ลดลง 7% yoy โดยมีราคาเฉลี่ยไตรมาส 3/50 อยู่ที่ 1,180 เหรียญ/ตัน ส่วนวัตถุดิบเอทิลีนไดคลอไรด์ (EDC) ปัจจุบันราคาเพิ่มขึ้น 15% qoq และ 36% yoy อยู่ที่ประมาณ 460 เหรียญ/ตันแต่ราคาเฉลี่ยไตรมาส 3/50 อยู่ที่ 450 เหรียญ/ตัน ทำให้ spread margin ของบริษัทในไตรมาส 3/50 ปรับตัวดีขึ้น โดยเราประเมินว่า spread margin ระหว่าง PVC - 0.5 เอทิลีนดีขึ้น 75% yoy และ 21% qoq เป็น 410 เหรียญ/ตัน ส่วน spread margin ระหว่าง PVC - EDC เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 550 เหรียญ/ตัน เพิ่มขึ้น 3% yoy และ 6% qoq

นอกจากนั้นโรงงาน PVC 9 ของบริษัท กำลังการผลิต 120,000 ตัน ที่เริ่มเปิดดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ในต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาและผลิตเต็มกำลังการผลิต 100% แล้วในปัจจุบัน จะช่วยทำให้บริษัทจะมีปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้น (เดิมกำลังการผลิต 4.8 แสนตัน/ปี เป็น 6 แสนตันในปัจจุบัน) ช่วยเพิ่มรายได้และผลกำไรให้กับบริษัทในไตรมาสนี้ด้วย
จากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นและ spread margin ที่ดีขึ้น ทำให้เราประเมินผลกำไรของบริษัทในไตรมาส 3/50 อยู่ที่ 781 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.89 บาท เติบโต 103%
qoq แต่ลดลง 6% yoy ซึ่งเป็นผลมาจากเงินปันผลรับจาก บริษัท ระยองโอเลฟินส์ (ROC) ที่คาดว่าจะลดลงตามราคาโอเลฟินส์ที่อ่อนตัวลง แต่บริษัทก็จะได้ประโยชน์จากต้นทุนที่ลดลง ทำให้กำไรในธุรกิจ PVC ดีขึ้น เราคาดว่าผลกำไรไตรมาส 4/50 จะยังคงดีอย่างต่อเนื่องหลังกำลังการผลิตใหม่เดินเครื่องได้เต็มไตรมาสและ spread margin ที่ยังสูงอยู่ เราประเมินผลกำไรในปีนี้ที่ 2,177 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 2.49 บาท สำหรับปีหน้าเราปรับสมมติฐานราคา PVC เพิ่มขึ้น 16% เป็น 930 เหรียญ/ตัน เพื่อให้สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของราคาและปรับลดสมมติฐานค่าเงินบาทเป็น 34 บาท/เหรียญ ส่งผลให้ประมาณการกำไรในปีหน้าเพิ่มขึ้น 9.7% เป็น 2,315 ล้านบาท หรือ 2.65 บาท/หุ้น เติบโต 6% yoy

จากการปรับประมาณการผลกำไรในปีหน้าเพิ่มขึ้นและการปรับการประเมินมูลค่าหุ้นมาใช้ PER เป้าหมายที่ 9 เท่า (เป็นการประเมินอย่างระมัดระวัง) ซึ่งยังเป็นระดับ PER ที่ต่ำกว่ากลุ่มปิโตรเคมีที่ซื้อขายอยู่ที่ PER 10.6 เท่า และ PER ของตลาดที่ 12.1 เท่า เราจะได้ราคาที่เหมาะสมตามปัจจัยพื้นฐานของ TPC เพิ่มขึ้นจาก 20 บาท เป็น 24 บาท ราคาหุ้นในปัจจุบันนับว่าถูกซื้อขายอยู่ที่ PER ปี 2551 ต่ำเพียง 7.4 เท่า, P/BV 1.3 เท่า, อัตราเงินปันผลตอบแทนสูงถึง 8.2% และมี upside อยู่ 22% จากราคาที่เหมาะสมใหม่ของเรา จากแนวโน้มราคา PVC ที่สดใสบวกกับผลกำไรที่เติบโต เราปรับคำแนะนำจาก ซื้อเก็งกำไร เป็น ซื้อ


:lol:

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com