May 4, 2024   3:14:57 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ++++5 อันดับแชมป์ MAI เดือนกันยา++++
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 17/10/2007 @ 09:29:27
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

แม้ภาวะตลาดหุ้น mai เดือนกันยายน จะปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากดัชนีปลายเดือนสิงหาคมที่ระดับ 251.37 จุด และปรับตัวขึ้นมายืนที่ระดับ 263.94 จุด หรือดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นกว่า 12.57 จุด คิดเป็นดัชนีเพิ่มขึ้น 5 % แต่ดูเหมือนว่าหุ้นในกลุ่มตลาด maiทั้ง 36 ตัว จะไม่ตอบรับภาวะตลาดเท่าที่ควร

เพราะในจำนวนดังกล่าวมีหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้เพียง 16 ราย ส่วนที่เหลืออีก 20 รายเป็นหุ้นที่ปรับตัวลดลง 18 ราย และอีก 2 ราย ราคาหุ้นไม่เปลี่ยนแปลง

ที่น่าเสียดายคือหุ้นทั้ง 36 ตัว มีหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงเกินกว่าดัชนีตลาด mai เพียง 7ราย ประกอบด้วย UEC,SALEE,TPAC,UMS,CIG,MACOและTRT โดยในจำนวนดังกล่าวถือเป็นหุ้นที่มีแรงซื้อเข้ามาอย่างหนาแน่น เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีปัจจัยบวกเข้ามาสนับสนุนเป็นหลัก

โดยหุ้นที่มีแรงซื้อเข้ามามาก จนราคาทะยานขึ้นเป็นอันดับ 1 คือ UEC หรือบริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น 19.66% มาที่ 35.00บาท จากเดิม 29.25 บาท ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นแรง เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาไล่ซื้อหุ้นก่อนที่ UEC จะแตกพาร์จากมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1บาท จำนวน 143 ล้านหุ้น เป็นหุ้นละ 0.25 บาท จำนวน 572 ล้านหุ้น

สาเหตุที่แตกพาร์เนื่องจากปัจจุบันหุ้นบริษัทที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ mai มีปริมาณน้อยมากไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะกองทุนต่างประเทศที่สนใจจะเข้ามาซื้อหุ้นบริษัทอีกทั้งราคาหุ้น UEC ขณะนี้นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นคณะกรรมการบริษัท(บอร์ด) จึงมีมติให้แตกพาร์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนที่สนใจ มีโอกาสได้ซื้อหุ้นบริษัทเพิ่มนอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มสภาพคล่องของหุ้นให้มากขึ้น

สำหรับผลประกอบการไตรมาส 3 คาดว่าจะสามารถทำรายได้สูงสุดเมื่อเทียบกับรายได้แต่ละไตรมาสที่ผ่านมา จากปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจปิโตรเคมี และพลังงานที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง เบื้องต้นคาดว่าไตรมาสนี้จะมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 500 ล้านบาท

อันดับ 2 SALEE หรือ บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น 18.89% มาที่ 4.28 บาท จากเดิม3.60 บาท เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาหุ้นรายนี้มีปัจจัยบวกเข้ามาสนับสนุน โดยเฉพาะจากธุรกิจเอสซี วาโดจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาส 4จากเดิมที่คาดว่าจะคุ้มทุนในไตรมาส 3

นอกจากนี้ยังมีรายได้จากธุรกิจฉลากสินค้าคุณภาพสูงที่เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมนี้ เนื่องจากได้ลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น รวมถึงรับรู้รายได้จากธุรกิจฉีดพลาสติกสูงขึ้น หลังติดตั้งเครื่องจักรเพิ่ม 9 เครื่องในเดือนกรกฎาคม จากเดิมที่มีเพียง 20เครื่อง ทำให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนหุ้นอย่างหนาแน่น

อันดับ 3 TPAC หรือ บริษัท พลาสติค และหีบห่อไทย จำกัด (มหาชน) รับจ้างผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทขวดและฝา และชิ้นส่วนพลาสติกในรูปแบบต่าง ๆ ตามรูปแบบความต้องการใช้งานของลูกค้า โดยราคาหุ้นปรับตัวขึ้น 17.89% มาที่ 7.25 บาท จากเดิม 6.15บาท สาเหตุที่ขึ้นแรงเนื่องจากผลประกอบการที่ทำกำไรประกอบกับการจ่ายปันผลที่อยู่ในระดับน่าพอใจ ทำให้นักลงทุนเข้ามาเล่นหุ้นรายนี้

อันดับ 4 UMS หรือ บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซล ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 16.36%มาที่ 25.25 บาท จากเดิม 21.70 บาท เนื่องจากบริษัทมั่นใจว่าผลประกอบการไตรมาส3 จะปรับเพิ่มขึ้นสูงสุด เมื่อเทียบกับ 3 ไตรมาสก่อนหน้านี้ จากปริมาณการจำหน่ายถ่านหินที่เพิ่มมากขึ้น และการปรับราคาจำหน่ายถ่านหินเพิ่มขึ้นอีก 5-10%

ทั้งนี้ไม่สามารถระบุกำไรสุทธิได้แต่เชื่อว่าจะดีกว่าไตรมาสที่ผ่านมาส่วนปริมาณการจำหน่ายนั้น คาดว่ามากกว่ายอดจำหน่ายช่วงไตรมาสแรกปีนี้ โดยไตรมาสนี้ จะอยู่ที่ 2.9แสนตันหรือเพิ่มขึ้น 23%จากปีก่อนสำหรับไตรมาสสุดท้ายปีนี้เชื่อว่ารายได้จะปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสนี้

เนื่องจากยังมีออเดอร์จากลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเชื่อว่ารายได้รวมทั้งปี 50จะเติบโตไม่น้อยกว่า 50% หรือประมาณ 2-2.2 พันล้านบาทอย่างแน่นอน มากกว่าประมาณการเดิมคาดว่าจะเติบโต 30% หรือประมาณ 1.8-2 พันล้านบาท

ส่วนความคืบหน้าการออกใบสำคัญแสดงสิทธิ(วอแรนท์) ที่ออกให้ผู้ถือหุ้นในอัตรา 2หุ้นเดิมต่อ 1 วอแรนท์ ราคาใช้สิทธิ 8.50 บาท อายุ 3 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมติของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.)เชื่อว่า กลต.ไม่ติดขัดอะไร น่าจะอนุมัติได้เร็วๆนี้ และคาดว่าเปิดซื้อขายได้ภายในเดือนพ.ย.50

อันดับ 5 CIG หรือ บริษัท ซี.ไอ.กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น 12.87%มาที่ 5.70 บาท จากเดิม 5.05 บาท เนื่องจากบริษัทคาดว่าจะมีกำไรสุทธิใกล้เคียงกับครึ่งปีแรกที่ 60 ล้านบาท รวมเป็น 120 ล้านบาท จากปี 2549 ที่มีกำไรสุทธิ 15ล้านบาท ทำให้นักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรอย่างหนาแน่น

โดยแผนการตลาดช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทจะหันมาเน้นสร้างรายได้จากกลุ่มลูกค้า และประเภทสินค้าที่มีอัตรากำไรขั้นต้น(มาร์จิ้น)ที่อยู่ในระดับสูง โดยได้กำหนดนโยบายที่จะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการส่งออกให้มากขึ้น รวมถึงการเพิ่มสัดส่วนรายได้ จากการรับจ้างผลิต(OEM)เป็น 50% สินค้าดังกล่าวสามารถปรับขึ้นราคาขายตามต้นทุนที่แท้จริง

นอกจากนี้บริษัทวางแผนผลิตสินค้าประเภทท่อทองแดงจากวัตถุดิบอะลูมิเนียมแบบ 100%จากปัจจุบันเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตจะมาจากอะลูมิเนียมและทองแดงควบคู่กัน ซึ่งจะมีปัญหาในเรื่องความผันผวนของราคาทองแดง โดยล่าสุดบริษัทเตรียมส่งสินค้าใหม่ดังกล่าวไปให้ลูกค้าจำนวน 2 แสนชิ้นและหากได้รับการตอบรับที่ดี จะเร่งผลิตสินค้าดังกล่าวให้มากขึ้น

ส่วนราวปลายเดือนตุลาคมหรือต้นพฤศจิกายนนี้ บริษัทมีแผนจะขายหุ้นเพิ่มทุนแบบ POจำนวน 85.5 ล้านหุ้นให้นักลงทุนสถาบันและผู้ถือหุ้นเดิมโดยเงินที่ได้จะนำมาซื้อเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิต และอีกส่วนหนึ่งจะใช้เป็นเงินสดหมุนเวียนภายในบริษัท

สำหรับหุ้นที่ร่วงลงหนักมากที่สุดคือ S2Y หรือ บริษัท สยามทูยู จำกัด (มหาชน) ราคาหุ้นปรับตัวลงแรงกว่า 10.06% มาที่ระดับ 1.61 บาท จากเดิม 1.79 บาท เนื่องจากก่อนหน้านี้นักลงทุนเข้าไปเก็งกำไรหุ้นออย่างหนาแน่น แต่เมื่อไม่มีปัจจัยบวกเข้ามาสนับสนุนทำให้นักลงทุนขายทำกำไรออกมาอย่างหนัก

ขณะเดียวกันหากดูพื้นฐานของหุ้นจะเห็นว่าประสบผลขาดทุน ยิ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนต้องขายหุ้นออกมาเพื่อป้องกันความเสี่ยง
ทั้งนี้หากสังเกตหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาดทั้ง 7 ราย จะพบว่าหุ้นในจำนวนดังกล่าวได้รับปัจจัยบวกเข้ามาสนับสนุน ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นแรงมาโดยตลอด ที่สำคัญหุ้นกลุ่มนี้ล้วนเป็นหุ้นปันผลเป็นหลัก ดังนั้นในภาวะที่ตลาดปรับตัวลงแรง หุ้นขนาดเล็กกลุ่มนี้น่าจะเป็นทางเลือกให้นักลงทุนได้


:lol:

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com