May 4, 2024   7:12:15 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ลาร้องเพลง โอ๋ลั่นล้า...
 

Toon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 973
วันที่: 19/10/2007 @ 10:21:56
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

นักเศรษฐศาสตร์ที่ชื่นชอบทฤษฎีเกม ย่อมเข้าใจดีเสมอมาว่า การบริหารทุนในระดับมหภาค ซึ่งถือเป็นสินค้าสาธารณะนั้น อยู่ภายใต้ เกมยื่นคำขาด หรือ ultimatumgame ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงการแบ่งสรรทรัพยากรอย่างยุติธรรม แต่ เป็นการหยิบยื่นข้อเสนอที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีสิทธิเลือกเป็นอย่างอื่น
ตัวอย่างง่ายๆ นาย ก. บอกกับ นางสาว ข. ว่า ได้รับเงินมาก้อนหนึ่ง(ไม่บอกว่าเท่าใด)เพื่อเอามาแบ่งกัน โดยบอกว่าจะแบ่งให้นางสาว ข. จำนวน X บาท โดยนายก. จะได้ Y บาท หากนางสาว ข. ไม่ยอมรับข้อเสนอ ก็จะไม่ได้อะไรเลย
นางสาว ข. ถูกยื่นเงื่อนไขดังกล่าวให้ รู้ดีว่า ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากรับ (ได้บางส่วน)หรือไม่รับ (ไม่ได้ทั้งหมด)เพราะไม่รู้จริงๆว่าเงินที่ได้รับมาทั้งหมดอยู่ที่เท่าใดกันแน่ จึงยอมรับโดยดุษณี ผลลัพธ์คือ นาย ก. ได้เงินก้อนใหญ่กว่า

เรื่องนี้ นำมาประยุกต์ใช้อธิบายกับกรณีของการถล่มตลาดหุ้นอินเดียของบรรดากองทุนต่างชาติเมื่อวันพุธที่ผ่านมาได้ดีพอสมควร
สามสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ตลาดหุ้นมัมไบของอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดเก่าแก่และใหญ่ที่สุดในประเทศ ได้ชื่อว่าเป็นตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนแก่นักลงทุนเก็งกำไรดีที่สุดในเอเชีย ซึ่งเกิดจากการไหลเข้าของทุนต่างชาติจำนวนมหาศาลที่หนีค่าดอลลาร์มา ทำให้กลต. (SEBI)ของอินเดีย เป็นกังวลว่า การไหลเข้าของทุนเก็งกำไรมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ของตลาดทุน และ การฟอกเงินผิดกฎหมายจากต่างชาติได้
การประชุมครั้งล่าสุดของ กลต. อินเดีย ก็เลยมีการนำเสนอมาตรการล่วงหน้าเพื่อที่จะควบคุมการไหลเข้าของทุนเก็งกำไร ด้วยการแนะให้จำกัดการเข้ามาลงทุนของตราสารอนุพันธ์นอกประเทศ และ ป้องกันนักลงทุนที่ไม่ได้ลงทะเบียนตามระเบียบเข้ามาในตลาดในประเทศ
ข้อเสนอดังกล่าว หากออกมาใช้จริง จะส่งผลกระทบต่อนักลงทุนต่างชาติเกินกว่าครึ่งหนึ่งทีเดียว อารามตื่นตระหนกก็เลยทำให้บรรดากองทุนต่างชาติรีบลนลานเป็นกระต่ายตื่นตูม ขายหุ้นทิ้งระเนระนาดจนต้องเอามาตรการเซอร์กิท เบรกเกอร์เข้ามาใช้เป็นครั้งแรก

สัญญาณเตือนที่กองทุนต่างชาติส่งไปยังกลต.ของอินเดีย(เหมือนกับที่เคยส่งให้แบงก์ชาติและกระทรวงคลังของไทยเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อน) ก็คือ เกมยื่นคำขาด ที่ต้องเลือกว่า จะต้อนรับต่างชาติด้วยกติกาไม่เลือกปฏิบัติ หรือ จะไม่ให้เข้ามาลงทุนอะไรเลย
เรื่องนี้ กลต. อินเดีย ก็เลยต้องออกมาแก้เกี้ยวเสียงอ่อยๆว่า ยังไม่มีการใช้มาตรการดังกล่าว เพราเป็นเพียงข้อเสนอของกรรมการบางคนในที่ประชุมเท่านั้นเอง
ท่าทีของกลต.อินเดีย ตรงกันข้ามกับท่าทีอันแข็งกร้าวของบรรดาผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยลิบลับ ซึ่งทำให้มีคำถามตามมา และชวนให้ระลึกถึงนิทานเรื่อง?ลาอยากร้องเพลง?ในนิทาน ปัญจตันตระ ของอินเดียโบราณอันโด่งดังเสียไม่ได้
นิทานดังกล่าว ว่าเอาไว้ดังนี้ .....
กาลครั้งหนึ่ง มีลาชื่อว่า อุตตธัต อาศัยอยู่กับเจ้าของในหมู่บ้านชนบท ทำหน้าที่แบกสัมภาระของเจ้านายผู้เลี้ยงดูอย่างยากลำบาก จึงหาทางหลบหนีไปให้ไกล

คืนหนึ่ง เจ้านายบังเอิญล่ามเชือกหละหลวม ทำให้อุตตธัตสลัดหนีจากคอกไปได้มันเตลิดวิ่งไปยังท้ายหมู่บ้านอย่างรวดเร็ว
ที่นั่น มันได้พบกับ สุนัขจิ้งจอกเร่ร่อนผู้หิวโซ ทั้งสองจึงปรับทุกข์และผูกมิตรกันเป็นเพื่อน แล้วพากัน หนีไปอยู่ในชายป่าที่คนไม่สามารถตามมาจับตัวได้
บริเวณใกล้ชายป่านั้น มีชาวไร่พากันปลูกแตงเอาไว้ ทำให้เจ้าสัตว์ทั้งสองใช้เป็นที่พึ่งพาประทังความหิวไปได้
เช้าวันหนึ่ง หลังจากอิ่มหนำสำราญกับแตงของชาวไร่ เจ้าสัตว์ทั้งสองก็กลับมายังถ้ำที่พักอาศัย แล้วนอนเอกเขนกอย่างสบายใจ เจ้าลาซึ่งท้องแน่นด้วยผลแตง เกิดครึ้มใจขึ้นมา จึงเอ่ยกับเจ้าสุนัขจิ้งจอกอย่างอารมณ์ดีว่า ?นี่แน่ะ เจ้าน้องชาย ข้าอยากร้องเพลงเสียเหลือเกินกับความสุขในยามนี้ เจ้าบอกมาสิว่า ต้องการให้ข้าร้องเพลงอะไรดี ข้าจะสนองตอบได้ทั้งนั้น?
เจ้าจิ้งจอกตอบว่า ?พี่ท่าน อย่าหาเรื่องนำภัยมาสู่ตัวเลย เราหนีกันมาอยู่ที่นี่เพื่อขโมยแตงชาวบ้านกันนะ ไม่ใช่เขาเชื้อเชิญ นางคณิกา และขโมยไม่ว่าที่ไหน ล้วนต้องหากินกับความเงียบกันทั้งนั้น แหละ ท่านไม่เคยได้ยินรึว่า...ผู้ซึ่งไอเสียงดัง และนอนกรน หรือตะกละมูมมาม ย่อมไม่อาจย่องเบาบ้านไหนได้...ที่สำคัญ เสียงร้องของท่านนั้น ไม่อาจเรียกเป็นเสียงดนตรีอันไพเราะได้หรอก?

เจ้าลาอุตตธัตโกรธเป็นฟืนเป็นไปเมื่อถูกทักท้วง ตวาดว่า ??เจ้างี่เง่า เจ้าเคยอยู่แต่ในป่า ลักลอบขโมยกินอดๆหยากๆ จะไปรู้อะไรกับเสียงดนตรี หากเจ้าได้ยินข้าร้องเพลงเมื่อใดละก้อเจ้าจะรู้ว่าตัวเองโชคดีแค่ไหน...?
เจ้าจิ้งจอกถูกตวาดเช่นนั้น จึงเอ่ยขึ้นว่า ?ตามใจท่านเถอะ แต่ข้าขอไม่นั่งฟังที่นี่ด้วยขอไปดูต้นทางทางโน้นจะดีกว่า? แล้วก็เร้นตัวหายไปในชายป่า
เจ้าลาอุตตธัตพลันส่งเสียงร้องเพลงของมันขึ้นมาอย่างลิงโลด
ที่ท้ายหมู่บ้าน เจ้าของไร่แตง และยามประจำหมู่บ้านตกใจตื่นขึ้นมากับเสียงร้องของเจ้าลา จึงรีบรุดมายังเสียงนั้น และทุบตีเจ้าลาจนหมอบกระแต แล้วก็เอาเชือกเส้นใหญ่ล่ามมันไว้ที่รอบคอบ

นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า...คนซึ่งเบาปัญญานั้น หากรู้จักรับฟังคำแนะนำของผู้อื่นที่หวังดี แม้จะไม่ชาญฉลาดกว่า ก็ยังพอช่วยให้ความพินาศไม่ย่างกรายเข้ามาใกล้
ตัวอย่างจากปัญจตันตระข้างต้นนี้ จะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ รัฐมนตรีคลัง ฉลองภพ สุสังกร์กาญน์ ก็สุดแท้แต่จะคิด
ผู้เขียน ไม่มีหน้าที่บอกหนังสือสังฆราช เพื่อแข่งกับศรีธนญชัย[/size:dafaae9676">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com