May 2, 2024   3:20:03 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ปี 2550 หุ้นกลุ่มอิเล็คทรอนิก
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 12/03/2008 @ 10:33:56
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

KCE กำไรต่อหุ้นพุ่งกว่า 278%

ปี 2550 ที่ผ่านมา ถือว่าหุ้นกลุ่มอิเล็คทรอนิกได้รับปัจจัยกระทบต่อการดำเนินงานหลายด้านไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐ รวมถึงปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อหุ้นกลุ่มนี้

เนื่องจากส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ขณะเดียวกันวัตถุดิบกว่า 70 % ของกลุ่มชินส่วนอิเล็คทรอนิคส์เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ แต่รายได้ 100 %เป็นเงินตราต่างประเทศ ดังนั้นส่วนต่าง 30 % บวกกับอัตรากำไรขั้นต้นของผู้ประกอบการแต่ละรายจะเป็นส่วนที่ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า

แม้ว่าภาพรวมความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ในปีนี้จะยังเติบโตจากปี 2549 ถึง 10 % แต่จากผลการสำรวจประสิทธิภาพในการดำเนินงานปี 2550 ซึ่งวัดค่าจากอัตราส่วนกำไรต่อหุ้นเป็นหลัก กลับพบว่าส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงจากปี 2549 โดยปรับตัวลดลง 6 บริษัท

จากทั้งหมด 11 บริษัท

สำหรับบริษัทที่มีกำไรต่อหุ้นพุ่งขึ้นโดดเด่นสุดในกลุ่ม ก็คือ KCE หรือ บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) ปรากฎเป็นผลกำไรสุทธิจำนวน 257.43 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีผลขาดทุน 116.35 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น 278.38% มาอยู่ที่ระดับ 0.66 บาท จากเดิมขาดทุนกำไรต่อหุ้น 0.37 บาท

เป็นผลมาจากยอดขายที่เติบโตขึ้นในอัตราร้อยละ 11 จากมูลค่าขาย 7,539.85 ล้านบาท เป็น 8,365.41 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยปี 2549 และ 2550 เท่ากับ 37.5 และ 34.3 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯตามลำดับ) แต่หากคิดการเติบโตของยอดขายที่เป็นสกุลเงินเหรียญฯ จะมีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 21

ขณะที่ผลการดำเนินงานของทุกไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2550 ที่มีผลกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการปรับราคาขาย จากการผลิตที่เต็มประสิทธิภาพของบริษัทย่อย (บจ.เคซีอี เทคโนโลยี) ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of scale) และจากการผลิตที่สูงขึ้นหลังการขยายกำลังผลิตเสร็จสิ้น ที่บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) ผนวกกับการขยายธุรกิจสู่ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีระดับสูง ซึ่งทำให้เกิดความได้เปรียบด้านการตลาดและการแข่งขัน ตลอดจนมีการปรับโครงสร้างที่สำคัญหลายด้านอย่างเหมาะสมเพื่อรองรับภาวะทางเศรษฐกิจและการเงินที่ผันผวน

อีกทั้งยังมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเพียงพอและทันสถานการณ์ในภาพรวมของปี 2550 บริษัทฯและบริษัทย่อย มีธุรกิจที่เติบโตขึ้นในระดับที่น่าพอใจ และจากผลการดำเนินงานที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับตลอดทั้งปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ความแข็งแกร่งและความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจของเคซีอี ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้เป็นอย่างดี นี้จึงเป็นปีแห่งการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของบริษัทด้วย

อันดับ 2 DRACO หรือ บริษัท ดราโก้ พีซีบี จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น

113.13 ล้านบาท จากปีที่แล้ว 31.20 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรต่อหุ้นเพี่มขึ้น 262.56%

จากระดับ1.95 บาท มาอยู่ที่ระดับ7.07 บาท ซึ่งเป็นผลมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นจากความต้องการแผ่นพิมพ์วงจรไฟฟ้าประเภท Single-sided

อีกทั้งในสภาวะการแข่งขันด้านราคาของผู้ผลิตโทรทัศน์ประเภท LCD ที่ทวีความรุนแรง

ทำให้ผู้ผลิตต่างๆ ต้องพยายามหาวิธีการลดต้นทุนการผลิตและพัฒนา เทคโนโลยี่การผลิตต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในอดีตจำเป็นต้องใช้แผ่นพิมพ์วงจรไฟฟ้าแบบ Multi-layer แต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยี่การผลิตได้พัฒนาขึ้นและทำให้สามารถใช้แผ่นพิมพ์วงจรไฟฟ้าแบบ Single-sided ที่มีคุณภาพดีทดแทนได้ จึงทำให้ช่วยลดต้นทุนการผลิตโทรทัศน์ประเภทนี้ได้อย่างมาก

โดย ในปี 2550 บริษัทฯมียอดขายเพิ่มมากขึ้นจากลูกค้าที่เป็นบริษัทผู้ผลิตโทรทัศน์ประเภทนี้ประกอบกับมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นสำหรับลูกค้าที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ เนื่องจากบริษัทฯ ได้เล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ จะเป็นตลาดใหม่และมีขนาดใหญ่สำหรับแผ่นพิมพ์วงจรไฟฟ้า ซึ่งเดิมมักจะนำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ จากการที่นโยบายของบริษัทแม่ในต่างประเทศของบริษัทเหล่านี้เริ่มเปลี่ยนแปลงไป โดยต้องการที่จะให้สั่งซื้อวัตถุดิบต่างๆ จากภายในประเทศ เพื่อลดระยะเวลาการสั่งซื้อ การจัดส่งวัตถุดิบ

อีกทั้งในปี 2550 เงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทฯ มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นจำนวน 5.263 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2549 บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 0.948 ล้านบาท รวมถึง บริษัทฯ มีการขายเศษวัสดุต่างๆ ตลอดจนบรรจุภัณฑ์ของสารเคมีต่างๆ ที่นำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปริมาณการใช้ที่มากขึ้นจากยอดขายและยอดการผลิตที่สูงขึ้น ทำให้บริษัทฯ มีรายได้จากการขายเศษซาก เศษวัสดุต่างๆ เป็นจำนวนเงิน 2.3 ล้านบาท

อันดับ 3 DELTA หรือ บริษัท เดลต้า อีเลค โทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งบริษัทยังคงทำกำไรได้อย่างต่อเนื่องโดยมีกำไรสุทธิปี 50 ที่ระดับ 3,155.42 ล้านบาท จากปี49 ที่มีกำไรสุทธิ 1,961.71 ล้านบาท ส่งผลให้มีกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น 60.13% มาอยู่ที่ระดับ 2.53 บาท จากเดิม 1.58 บาท ซึ่ง เป็นผลมาจากการรับจ้างผลิต และนำเข้าชินส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก จึงรับผลกระทบจากค่าเงินบาทน้อยกว่าบริษัทที่ส่งออก อีกทั้งบริษัทยังมีส่วนแบ่งการส่งออกถึง 30% ของการส่งออกทั้งหมด

ส่วนแนวโน้มธุรกิจส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับธุรกิจในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจค่อนข้างสูงส่งผลให้การดำเนินธุรกิจของ DELTA มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี ดังนั้นหุ้นตัวนี้จึงมีความน่าสนใจอย่างมากในการที่จะทำกำไรในอนาคต

อันดับ 4 CCET หรือ บริษัท แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิเท่ากับ 2,900.60 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมา 2,429.77 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น 13.85% จากระดับ 0.65 บาท มาอยู่ที่ 0.74 บาท

เนื่องจากบริษัทฯมีรายได้จากการขายสินค้า เท่ากับ 93,824.68 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.75 จากปี 2549 และยังมีรายได้จากการโอนกลับค่าเผื่อการลดมูลค่าของเงินทุนระยะยาวอื่นจำนวน 76.75 ล้านบาทและรายได้อื่นอีกจำนวน 255.51 ล้านบาท

ทำให้บริษัทฯมีรายได้รวมทั้งสิ้นในปี 2550 เท่ากับ 94,156.94 ล้านบาท รายได้จากการขายสินค้าเพิ่มขึ้นมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อในกลุ่มของอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์ แผ่น PC Board สำหรับ Hard Disk Drive และกลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่ จากกลุ่มลูกค้าเดิม และกลุ่มลูกค้าใหม่ ทั้งในโรงงานในประเทศไทยและโรงงานในประเทศจีน

ปิดท้ายกับอันดับ 5 HANA หรือ บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน)

มีกำไรสุทธิปี 2550 เท่ากับ 2,449.16 ล้านบาท จากปี 2549 ที่ระดับ 2,216.20 ล้านบาท หรือมีกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น 8.86% จากระดับ 2.71 บาท มาอยู่ที่ 2.95 บาท

เนื่องจากในปี 2550 ยอดขายของกลุ่มฮานาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยมียอดขายเท่ากับ 15.6 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับยอดขายของปี 2549 จำนวน 15.0 พันล้านบาท ส่วนยอดขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 คือจำนวน452.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2550 เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ที่เท่ากับ 394.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

แม้ว่ายอดขายจะอ่อนตัวในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 แต่ก็กระเตื้องขึ้นในครึ่งปีหลังผลประกอบการของส่วนไมโครอิเล็คทรอนิคสยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่องในปี 2550 โดยเติบโตร้อยละ 25 เมื่อคิดเป็นเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ (ร้อยละ 15 เมื่อคิดเป็นเงินบาท) เมื่อเทียบกับปี 2549 ซึ่งแต่ละหน่วยงานของผลิตภัณฑ์ไมโครอิเล็คทรอนิคสทั้งสองแห่งเติบโตในช่วงระหว่างปี

โดยโรงงานที่ลำพูนเติบโตร้อยละ 34 และโรงงานที่เมืองจีนเติบโตร้อยละ 10 เมื่อคิดเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐยอดขายของหน่วยประกอบผลิตภัณฑ์เฉพาะอย่าง (CPG) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อคิดเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงร้อยละ 6ในรูปเงินบาท) ด้วยยอดขายที่แข็งแกร่งในช่วงครึ่งแรกของปี

ทั้งนี้ แม้ว่าผลการดำเนินงานของหุ้นแต่ละตัวจะออกมาค่อนข้างดี ซึ่งสะท้อนความสามารถในการรับมือของแต่ละบริษัทว่ามีความแข็งแกร่ง หากแต่แรงกดดันของค่าเงินบาทในตอนนี้ ทำให้หุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ได้รับความสนใจจากนักลงทุนน้อยลง เนื่องจากเปอร์เซ็นความเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มอื่น

ดังนั้นการเข้าลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ จึงต้องรอจังหวะ และเข้าหาหุ้นที่มีพื้นฐานแกร่งจะดีกว่า


:lol:

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com