May 2, 2024   10:40:38 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > วิเคราะห์สัปดาห์
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 16/04/2008 @ 09:42:44
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

Weekly Technical Strategy : บล.ฟาร์อีสท์

SET INDEX 827.10 +6.12 +0.75 %
กรอบการเคลื่อนไหว SET Index สัปดาห์นี้ (16-18 เมษายน 2551) น่าจะอยู่ที่ (815-835 จุด)

SET INDEX: วันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2551
ดัชนีปิดที่ 827.10 จุด เพิ่มขึ้น 6.12 จุด (+0.75%) มูลค่าการซื้อขาย 12,782 ล้านบาท
ลดลง 4,004 ล้านบาท (-23.86%)

Daily Chart 827.50/821.80/821.96/827.10 (5.7 จุด)
Weekly Chart 829.59/820.98/825.97/827.10 (8.61 จุด)

สัปดาห์ที่ผ่านมา พิจารณาจากดัชนีตลาดมีการเคลื่อนที่แคบมาก แต่ถ้าสังเกตเข้าไปในหุ้นรายตัวจะเห็นว่า สัปดาห์ที่ผ่านมามีการเก็งกำไรในหุ้นขนาดเล็กกันมากๆ สัปดาห์หนึ่งทีเดียว แต่ผลของการนี้ไม่ปรากฏในตัวดัชนีตลาดรวม

ดัชนีสัปดาห์นี้
ดัชนีสามารถฝ่าเส้น Trend ขึ้นมาในกราฟรายวัน ส่งผลให้ MACD ขึ้นมาเป็นค่าบวกตัด Signal
ขึ้นมา จากตรงนี้ทำให้เป็นสัญญาณบวกที่หนักแน่นพอสมควร ส่งผลระยะกลางเริ่มดีขึ้น อุปสรรคของต้นสัปดาห์คือ สภาวะ Overbought ของ RSI ในระดับนาที นอกจากนี้ ต้นสัปดาห์นี้ยังเป็นแนวต้านด้านเวลาระยะสั้นด้วย ดังนั้น ดัชนีขึ้นไปช่วงแรกๆ มีโอกาสปรับฐานลงมาอีกครั้ง การลงมาครั้งนี้น่าจะสามารถเข้าซื้อได้พอสมควร คาดว่าจุดสูงของรอบนี้น่าจะสามารถไต่ระดับขึ้นเรื่อยๆอย่างน่าสนใจ สัปดาห์นี้มีเพียง 3 วันเท่านั้น

กลยุทธ์ : ระยะสั้นยิ่งขึ้นยิ่งขาย หรือเก็งกำไรอย่างระมัดระวัง // ระยะกลางซื้อบางส่วน
เมื่อดัชนีปรับตัวลงมา
แนวรับ 800-810 // 760 จุด
แนวต้าน 830-83 จุด
แนวต้าน 830-835 จุด

หุ้นในดวงใจ

KTB
คำแนะนำ : ซื้อ ราคาปิด 10.60 บาท
กราฟแท่งเทียนที่ปรากฏเป็นแท่งทึบ ภายใต้เส้นค่าเฉลี่ยที่กดทึบทำให้ราคาของ KTB น่าจะมีโอกาสลงมา แต่สำหรับการลงมาน่าสนใจเข้าซื้อ เพราะคาดว่าการขึ้นหลังจากนั้นจะมีส่วนต่างที่จะสามารถทำกำไรได้พอสมควร
แนวรับ 10.30-10.50
แนวต้าน 10.80-11.00

PTTEP
คำแนะนำ : ซื้อ ราคาปิด 157.00 บาท
โครงสร้างราคากำลังจะเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาขึ้น ดังนั้น เราจึงคาดว่าการฟอร์มตัวตรงนี้สร้างความน่าสนใจมาก ราคากำลังค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆ จุดต่ำสุดน่าจะผ่านไปแล้ว
แนวรับ 154.00-155.00
แนวต้าน 162.00-165.00

TPIPL
คำแนะนำ : ซื้อ ราคาปิด 6.85 บาท
ด้วยโครงสร้าง TPIPL ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่มีสัญญาณซื้อจากสัญญาณบ่งชี้จาก RSI และ MACD อีกทั้งมูลค่าการซื้อขายก็เข้ามาค่อนข้างมาก ทำให้เชื่อว่า LST น่าจะปรับตัวขึ้นในลักษณะ Zigzag up ตาม Medium term trend (แนวโน้มขาขึ้นระยะกลาง)
แนวรับ 6.70-6.85
แนวต้าน 7.10 // 7.50-7.80

SCB
คำแนะนำ : ซื้อ ราคาปิด 91.50 บาท
บนโครงสร้างราคา SCB กำลังเข้าสู่แนวโน้มที่ค่อยๆดีขึ้น โอกาสที่ราคา SCB จะแกว่งตัวช่วงนี้คงเหลืออีกไม่มากแล้ว บนโครงสร้างที่น่าจะค่อยดีขึ้นทำให้น่าสนใจว่า แนวต้านที่อย่างน้อย High เดิมที่(95.50 บาท)
แนวรับ 90.00-91.00
แนวต้าน 94.00-95.50

KEST
คำแนะนำ : ซื้อ ราคาปิด 24.20 บาท
พิจารณาจากโครงสร้างแล้ว KEST น่าจะเป็นหุ้นอีกตัวหนึ่งที่ไม่น่าจะทำให้นักลงทุนผิดหวัง ถ้าเทียบจากระดับราคาที่กำลังจะพลิกกลับขึ้นไปนั้น ส่งสัญญาณที่ค่อนข้างเป็นบวก จากสัญญาณทั้งหมดมีความ
สอดคล้องกันค่อนข้างมาก
แนวรับ 23.80-24.00
แนวต้าน 26.00-26.50


:lol:

 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 16/04/2008 @ 09:46:40 :
รายงานภาวะตลาดหุ้นรายสัปดาห์ : บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย


16 เม.ย.--บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย


ภาวะตลาดทุน

ตลาดหุ้นไทย "ดัชนีพุ่งขึ้นได้ช่วงท้ายสัปดาห์ก่อนเทศกาลสงกรานต์"
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ 827.10จุด ขยับขึ้น 0.28%จาก 824.80 จุดในสัปดาห์ก่อน แต่ร่วงลง 3.6% จากสิ้นปี 2550 ขณะที่มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสัปดาห์ลดลง 21.73% จาก 84,689.39 ล้านบาทในสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 66,279.12 ล้านบาท และคิดเป็นมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ลดจาก 16,937.88 ล้านบาทในสัปดาห์ก่อนมาอยู่ที่ 13,255.82ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 284.45 จุด ขยับขึ้น 1.4% จาก 280.45 จุดในสัปดาห์ก่อน และ 4.4% จากสิ้นปีก่อน

โดยนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิที่ 446.9 และ 142.77 ล้านบาท ขณะที่นักลง ทุนรายย่อยขายสุทธิที่ 589.69 ล้านบาท ตามลำดับ ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งแคบในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย ตลาดหุ้นปิดทำการเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ขณะที่ในวันอังคารนั้น ดัชนีเคลื่อนตัวในกรอบแคบ จากการที่นักลง ทุนรอดูความชัดเจนของปัจจัยทางการเมืองในเรื่องการพิจารณาคดียุบพรรคการเมืองของคณะกรรมการการ เลือกตั้งที่เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองเข้าชี้แจงในวันนี้ ก่อนที่จะปิดตลาดเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย ด้วยมูลค่าการ ซื้อขายที่เป็นไปอย่างเบาบาง โดยในวันพุธนั้น ดัชนีแกว่งตัวลงเช่นเดียวกันกับตลาดหุ้นต่างประเทศ จาก ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินโดยธนาคารแห่ง
ประเทศไทยที่ให้คงอัตราดอกเบี้ยในระดับเดิมเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้จึงไม่กระทบการซื้อขายมากนัก ทั้งนี้ ดัชนีปรับตัวในแดนลบในวันพฤหัสบดี โดยมีแรงขายทำกำไรหุ้นในกลุ่มธนาคาร และพลังงาน แม้ราคา น้ำมันในตลาดโลกจะทะยานขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้ดัชนีร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยปิดท้ายสัปดาห์พุ่งขึ้นเช่นเดียวกันกับตลาดหุ้นในภูมิภาค โดยปิดที่ 827.10 จุด อันเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 5 สัปดาห์ นำโดยแรงซื้อในหุ้นขนาดใหญ่ทั้งกลุ่มพลังงานและ ธนาคารจากมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับแนวโน้มผลประกอบการ ท่ามกลางการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบางก่อนวัน หยุดยาวช่วงเทศกาลสงกรานต์

สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์หน้า (16-18 เมษายน 2551) ตลาดหุ้นไทยจะมีการซื้อขายเพียงแค่ 3 วันทำการ โดยบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยและบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แรงซื้อหุ้นกลุ่มธนาคารและ กลุ่มพลังงานซึ่งคาดว่าจะมีผลประกอบการที่แข็งแกร่งก่อนการรายงานผลประกอบการน่าจะยังคงเป็นปัจจัยที่ ช่วยหนุนการปรับตัวของดัชนี ขณะที่การเมืองในประเทศคงจะเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามในระยะต่อไป ส่วน ปัจจัยต่างประเทศในสัปดาห์หน้านั้น จะมีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯหลายตัว ไม่ว่าจะ
เป็นดัชนีราคาผู้ผลิตและดัชนีราคาผู้บริโภคในวันอังคารและวันพุธ ตลอดจน ตัวเลขในภาคอสังหาริมทรัพย์เช่น ดัชนีของสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) และข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน ทางบริษัทหลักทรัพย์กสิกร ไทยคาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 817 และ 800 จุด และแนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 842 และ 860 จุด ตาม ลำดับ

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ "ดัชนีร่วงลงจากความกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน"
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน 2551 ดัชนี DJIA ปิดที่ 12,581.98 จุด ลดลง 0.22% เมื่อ เทียบกับ 12,609.42 จุดเมื่อปลายสัปดาห์ก่อน และ 5.15% จากสิ้นปีก่อน ขณะที่ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 2,351.70 จุด ลดลง 0.81% เมื่อเทียบกับ 2,370.98 จุดปลายสัปดาห์ก่อน และลดลง 11.33% จากสิ้น ปีก่อนหน้า ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดแทบไม่เปลี่ยนแปลงในวันจันทร์ โดยราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ทะยานขึ้นได้กด
ดันราคาหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนพลังงานที่สูงซึ่งจะกดดันผลประกอบ การ และลดแรงหนุนจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของหุ้นกลุ่มการเงินจากข่าวที่ว่าบริษัทวอชิงตัน มิวชวล อิงค์ ซึ่ง เป็นบริษัทด้านเงินฝากและเงินกู้รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯกำลังจะได้รับการสนับสนุนด้านเงินลงทุนเพิ่ม อย่าง ไรก็ตาม ดัชนีร่วงลงในวันอังคารและวันพุธ หลังจาบริษัทวอชิงตัน มิวชวล อิงค์ได้คาดการณ์ถึงการขาดทุน รายไตรมาสอย่างมาก และปรับลดการจ่ายเงินปันผล แม้จะได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุน ซึ่งทำให้นักลงทุน เริ่มไม่มั่นใจถึงแนวโน้มของหุ้นกลุ่มการเงินตัวอื่นๆ นอกจากนั้น ตลาดหุ้นยังได้รับปัจจัยลบจากรายงานการ ประชุมของเฟดครั้งล่าสุดที่บ่งชี้ว่า เจ้าหน้าที่ของเฟดบางคนระบุถึงความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะ ชะลอตัวอย่างรุนแรงและยืดเยื้อ รวมไปถึง รายงานตัวเลขยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขายที่ร่วงลงใน
เดือน กุมภาพันธ์ สู่ระดับต่ำสุดนับจากปี 2544 ส่วนในวันพุธนั้น ดัชนี DJIA ร่วงลงหลังบริษัทยูไนเต็ด พา ร์เซล เซอร์วิส อิงค์ ได้ทำการปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการปีนี้ ขณะที่ราคาน้ำมันที่พุ่งสู่ระดับสูงสุดเป็น ประวัติการณ์เหนือ 112 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ได้ถ่วงราคาหุ้นในกลุ่มขนส่ง และหุ้นอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น
หุ้นคาเตอร์พิลลาร์ อิงค์ ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดบวกขึ้นได้ในวันพฤหัสบดี โดยได้แรงหนุนจากการที่แบงก์ ออฟ อเมริกา ปรับเพิ่มอันดับความน่าลงทุนในหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ และเจพี มอร์แกนซึ่งปรับเพิ่มคาด การณ์ผลกำไรของบริษัทแอปเปิล อิงค์ ส่วนหุ้นวอล-มาร์ทพุ่งขึ้น และช่วยหนุนหุ้นกลุ่มค้าปลีกตัวอื่นๆ หลัง จากบริษัทปรับเพิ่มแนวโน้มผลกำไรในปีนี้

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น "ดัชนี NIKKEI ปิดร่วงลงจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ"
เมื่อวันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2551 ดัชนี NIKKEI ปิดที่ 13,323.73 จุด เพิ่มขึ้น 0.23% จาก ปิดตลาดที่ 13,293.22 จุด เมื่อสัปดาห์ก่อน และ 12.96% จากสิ้นปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดตลาดที่ระดับ สูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในระดับสูงได้ช่วย หนุนราคาหุ้นในกลุ่มเทรดดิ้ง และกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ดัชนี NIKKEI ร่วงลง 3 วันติดต่อกันหลังจากนั้น โดยหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ร่วงลงอย่างหนัก หลังจากโกลด์แมน แซคส์ปรับลดคาดการณ์การลง ทุนประจำปีนี้ของกลุ่มธุรกิจดังกล่าวลง ขณะที่หุ้นอิออนร่วงลงมากที่สุดภายในวันเดียวในรอบเกือบ 4 ปี โดย
นักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจในแผนการขยายกิจการระยะกลางที่บริษัทเปิดเผยออกมาหลังจากการรายงาน การลดลงของผลกำไรเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษ ส่วนในวันพุธนั้น หุ้นในกลุ่มส่งออกและกลุ่มการเงินร่วง ลง จากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังคำเตือนเกี่ยวกับการขาดทุนจากบริษัทวอชิงตัน มิวชวล และรายงานการประชุมของเฟดครั้งล่าสุดที่บ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะชะลอตัวอย่างรุนแรง และยืดเยื้อ โดยดัชนี NIKKEI ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ในวันพฤหัสบดี ตามทิศทางของ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ขณะที่หุ้นกลุ่มส่งออกได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินเยนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ
และรายงานคำสั่งซื้อเครื่องจักรที่อ่อนแอในเดือน กุมภาพันธ์ ตลาดหุ้นปิดพุ่งขึ้น 378.43 จุดหรือ 2.92% ในวันศุกร์ โดยได้แรงหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มค้าปลีก เช่น หุ้นฟาสต์ รีเทลลิ่ง จากการคาดการณ์ผลกำไรที่ สดใส ส่วนหุ้นมิซูโฮ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่เป็นอันดับ 2 ของญี่ปุ่นพุ่งขึ้นต่อเนื่อง หลังจาก ธนาคารเปิดเผยผลขาดทุนเพิ่มขึ้นจากตลาดซับไพร์มซึ่งอยู่ในความคาดหมายของนักลงทุน


:lol:
 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#2 วันที่: 16/04/2008 @ 09:50:45 :
WEEKLY COMMENTS : บล.โกลเบล็ก

WEEKLY COMMENTS : ลุ้นผลประกอบการธนาคารพาณิชย์
* ธนาคารพาณิชย์ไทยเริ่มทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 / 2551
* ตลาดหันมาเล่นเก็งกำไรเป็นรายหลักทรัพย์ หุ้นตัวเล็ก เพื่อรอปัจจัยการเมืองชัดเจน
* แนวรับ 817, 811 และ 800 แนวต้าน 829***, 840 และ 849

สรุปภาวะตลาดประจำสัปดาห์ที่ผ่านมา 8-11 เมษายน 2551
สรุปภาวะการลงทุนสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีปิดที่ 827.10 เพิ่มขึ้น 2.30 จุด จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่อยู่ระดับปิดที่ 824.80 โดยมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ 16,568 ล้านบาทลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 16,938 ล้านบาท สถาบันซื้อสุทธิ 446 ล้านบาท ต่างประเทศซื้อสุทธิ 144 ล้านบาท รายย่อยขายสุทธิ 590 ล้านบาท

ภาพรวมการแกว่งตัว: วันอังคารดัชนีปรับตัวขึ้นเล็กน้อยเน้นเก็งกำไรในหุ้นขนาดเล็กมีแรงซื้อในกลุ่มพลังงานสลับกับแรงขายในกลุ่มธนาคารออกเล็กน้อย วันพุธการซื้อขายยังเลือกเก็งกำไรในหุ้นขนาดเล็กเป็นหลักโดยที่ตลาดไม่มีปัจจัยบวกมากระตุ้นตลาด เริ่มมีแรงขายสลับในกลุ่มธนาคารทำให้ปิดตลาดดัชนีปรับตัว
ลงเล็กน้อยเช่นเดียวกับตลาดต่างประเทศที่ปรับลง วันพฤหัสบดี ดัชนีแกว่งตัวกรอบแคบอยู่ในแดนลบยังคงเน้น
เก็งกำไรในหุ้นขนาดเล็กแต่เริ่มมีจำนวนน้อยลงและเริ่มมีขายออกมามากขึ้นขณะที่หุ้นขนาดใหญ่เริ่มปรับตัวลงทำให้ปิดตลาดดัชนีลงมากว่า 5 จุด วันศุกร์ดัชนีปรับตัวขึ้นตามตลาดหุ้นต่างประเทศมีแรงซื้อกระจายในหุ้นขนาดใหญ่มากขึ้นแต่ปริมาณการซื้อขายทั้งตลาดยังเบาบาง

ปัจจัยที่เข้ามากระทบตลาดได้แก่ : ป.ป.ช.มีมติให้นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข
ขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี, กนง.มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่เดิม 3.25%, พรรคพปช.มีมติแก้กฏหมายรัฐธรรมนูญปี50ทั้งฉบับ,ราคาน้ำมันขึ้นมาทำจุดสูงใหม่เป็นประวัติการณ์

ปัจจัยสำคัญที่น่าติดตามและมีผลต่อการลงทุนในสัปดาห์ 16-18 เมษายน 2551
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ 16-18 เมษายน 2551 สัปดาห์แรกหลังเทศกาลเย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์ ทางฝ่ายวิเคราะห์ บล.โกลเบล็กฯประเมินภาวะตลาดยังคงมีแนวโน้มผันผวนในกรอบการแกว่งตัวเดิม 820-833 อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้เนื่องจากจากปัจจัยลบเดิมๆที่มีอยู่ต่อไป ประกอบกับในสัปดาห์นี้ตลาดเปิดทำการเพียงแค่ 3 วันทำการเท่านั้น จำนวนนักลงทุนที่ทำการซื้อขายอาจจะยังคงอยู่ในช่วงของวันพักผ่อนยาวต่อเนื่อง ทำให้แนวโน้มการซื้อขายหลักทรัพย์หรือบรรยากาศการลงทุนตลาดหลักทรัพย์
เงียบเหงา การซื้อขายกระจุกตัวอยู่ในหลักทรัพย์ขนาดเล็กเป็นหลัก และมีลักษณะเก็งกำไรเป็นรายหลักทรัพย์ ประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับทำให้ตลาดคาดการณ์กันว่าจะเกิดความขัดแย้งออกเป็น 2 ฝ่าย แต่ยังไม่ถึงขึ้นเกิดความรุนแรงเนื่องจากมีความเป็นไปได้มากที่จะนำเอารัฐธรรมนูญของปี 2550 และ 2540 นำมาคัดกรองปรับปรุงให้เหมาะสมและเป็นกลาง ในขณะที่สัปดาห์นี้เป็นต้นไปกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย
เริ่มทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/2551 ออกมา โดยฝ่ายฯคาดกลุ่มธนาคารที่เราศึกษาจะมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นราว 15%YoY กลุ่มธนาคารจึงเป็นหลักทรัพย์ที่น่าสนใจเมื่อมีการปรับตัวลงมาและเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่โดดเด่นของปีนี้ รวมทั้งเข้าใกล้ฤดูกาลประกาศผลประกอบการกลุ่มการเงินขนาดใหญ่ของ
สหรัฐ และยุโรป ทั้งนี้ตลาดหุ้นทั่วโลกยังถูกกดดันจากผลประกอบการที่คาดว่าออกมาติดลบจากผลกระทบปัญหาสินเชื่อซับไพร์ม อย่างไรก็ตามตลาดเงินและตลาดหุ้นโลกเริ่มมีความเห็นด้านบวกมากขึ้น วิกฤตตลาดสินเชื่อและการขาดสภาพคล่องกำลังจะผ่านพ้นช่วงเลวร้ายที่สุด สังเกตได้จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเริ่มแข็งค่าขึ้นในระยะสั้น ดังนั้นปัจจัยลบต่างประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น แต่ปัจจัยภายใจประเทศยังคงต้องใช้เวลา การเคลื่อนไหวของตลาดที่จะปรับตัวลงแรงอาจเกิดขึ้นได้แต่ตลาดหุ้นน่าจะดีดตัวกลับขึ้นได้ด้วยปัจจัย
พื้นฐานของหุ้นและตลาดหุ้นไทยยังคงมีแนวโน้มดี การปรับตัวลงจึงเป็นโอกาสในการเก็บสะสมหุ้นพื้นฐานดี

ปัจจัยที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้

1. ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐ
ยังสร้างความกังวลใจให้กับตลาดเงินและตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การประชุม FED ล่าสุดได้เพิ่มความวิตกต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ และยังคงต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ประกาศออกมา รวมถึงตัวเลขผลประกอบการในไตรมาส 1 ของหุ้นกลุ่มการเงินที่จะเริ่มทยอยประกาศออกมาซึ่งตลาดกังวลว่าแนวโน้มการปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ลงอีกจะส่งผลกระทบให้ผลประกอบการอ่อนแอโดย
ที่ JPMorgan ประกาศ 16/4/51, MerrillLynch ประกาศ 17/4/51 และCiti ประกาศ 18/4/51

2. ราคาน้ำมัน
จากเหตุเพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมันในยุโรป ขณะที่กลุ่มโอเปกย้ำว่าอุปทานน้ำมันยังมากเพียงพอในตลาด ตอกย้ำถึงแนวโน้มที่กลุ่มโอเปคจะยังคงโควต้าการผลิตต่อไป และสหรัฐฯกำลังเข้าสู่ฤดูร้อนที่จะมีการใช้ยานพาหนะสูง ขณะที่ EIA เผยปริมาณสำรองน้ำมันสหรัฐฯที่ลดลงผิดคาดและปริมาณสำรองน้ำมันกลั่นที่ดิ่งลงอย่างรุนแรง และได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ ขึ้นสู่ระดับสูงกว่า 100 ดอลลาร์/บาร์เรลสำหรับทั้งปีนี้ และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวไม่เพียงพอที่จะสกัดกั้นความต้องการน้ำมันที่เพิ่มขึ้นทำให้แนวโน้มราคาน้ำมันยังคงทรงตัวในระดับสูงต่อไป

3.แรงซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศ
ที่กลับมาซื้อขายสลับกันในสัดส่วนที่เบาบางเป็นตัวที่สะท้อนความไม่แน่ใจของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่สถานการณ์ด้านการเมืองที่ยังไม่ชัดเจน จะเป็นตัวทำให้นักลงทุนต่างชาติมีแนวโน้มที่จะชะลอการลงทุนในตลาดหุ้นช่วงนี้และเลือกที่จะถือครองเงินสดเพื่อรอจังหวะการลงทุน แต่เชื่อว่านักลงทุนจากต่างชาติยังมีแนวโน้มที่จะกลับเข้ามาลงทุนกันอีกครั้งจากมุมมองเชิงบวกที่มีต่อประเทศไทยและมาตรการต่างๆที่รัฐบาลจะนำออกมาใช้กระตุ้นการลงทุนและกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์อีกอย่างน้อย 2 มาตรการภายในครึ่งแรกของปีนี้

4. สถานการณ์ด้านการเมือง
ความต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 ทั้งฉบับจากทางพรรคพลังประชาชนเริ่มมีเสียงคัดค้านเกิดขึ้นในพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง ขณะที่เริ่มมีกระแสต่อต้านออกมาจากกลุ่มตรงข้ามรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ชมรม ส.ส.ร. 50 กลุ่มนักวิชาการ รวมถึงคำเตือนจาก นพ.ประเวศ วะสี นายอานันท์ ปันยารชุน นายธีรยุทธ บุญมี สร้างความหวั่นเกรงว่าความขัดแย้งครั้งนี้อาจนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น ขณะที่คดียุบพรรคพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตยตลอดจนคดีใบแดงนายยงยุทธยังไม่ได้บทสรุปที่แน่ชัดออกมา ดังนั้นการเมืองที่ยังไม่นิ่งและยังมีเค้าของความวุ่นวายอยู่จะเป็นตัวกดดันบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น

5. IMFเผยความเสียหายจากวิกฤตซับไพรม์ในสหรัฐ
ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในภาพรวมอาจจะสูงถึง 9.45 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 30 ล้านล้านบาท และระบุว่าธนาคารทั่วโลกจะแบกรับความเสียหายมีมูลค่าราว 4.40-5.10 แสนล้านเหรียญสหรัฐขณะเดียวกัน รายงานเวิลด์แบงก์ ระบุว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ จะลงไปอยู่ที่ 3.7% จากเดิมที่ 4.9% เมื่อปีที่แล้ว คาดว่าจะกระเตื้อง ขึ้นในปีหน้าเล็กน้อยที่ 3.8%

6. กลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยจะทยอยประกาศผลประกอบการ 1Q51 ในสัปดาห์หน้า
คาดว่าจะรายงานกำไรสุทธิใน1Q51 ที่ 2.1 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น 15.7%yoy ซึ่งผลประกอบการที่
เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากผลดำเนินงานหลักของกลุ่ม คาดว่ากำไรจากการดำเนินงานปกติจะพัฒนาในเชิงบวกด้วย สำหรับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิของกลุ่มธนาคารใน1Q51จะเพิ่มขึ้นราว 14-15%yoy ส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากราว 25-27%เมื่อเทียบกับ1Q50ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการแข่งขันระดมเงินฝากที่รุนแรงในกลุ่มธนาคาร ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเราคาดว่าจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยราว 3-5%yoy ตามการขยายตัวของสินเชื่อและธุรกรรมของบริษัทในเครือ

แนวโน้มการเคลื่อนไหวระดับสัปดาห์

ด้านการวิเคราะห์เทคนิค
ดัชนีอยู่ในช่วงพักตัวออกด้านข้างระยะสั้นมีสัญญาณฟื้นตัวหลังจากขึ้นมายืน SMA 5,10 วันได้อีกครั้งหลังจากลงไปต่ำกว่าและเกิดเป็นแท่งเทียนสีขาวตามมา ทำให้เส้น SMA 5 วันสามารถคงแนวรับขาขึ้นของเส้น SMA ไว้ได้ ส่งผลให้แท่งเทียนมีโอกาสกลับขึ้นมาตามแนวไหล่ขวาในรูปแบบหัวและไหล่ขึ้นได้อีกครั้ง
แต่เนื่องจาก VOLUME ไม่ได้เพิ่มตามทำให้ขาดแรงส่งต่อเนื่อง และแท่งเทียนถึงแม้ว่าจะเกิดเป็นสีขาวเป็นสัญญาณแรงซื้อ แต่ยังอยู่ในกรอบกดดันของกรอบการพักตัวที่ยังคงอยู่ ดังนั้นการขึ้นต่อเนื่องได้ดัชนีต้องผ่านยืนแนวต้านการพักตัวที่ 829 ขึ้นมายืนได้โดยไม่วกกลับลงมาต่ำกว่าเท่านั้นเพื่อยืนยันสัญญาณกลับตัวแท่งเทียนและแนวรับขาขึ้น SMA การขึ้นแนวโน้มขึ้นต่อตามแนวไหล่ขวาในรูปแบบหัวและไหล่ขึ้นเดิมอีกครั้ง ไม่ผ่านยืนแนวต้านแนวโน้มพักตัวลงหรือพักตัวออกด้านข้างต่อเนื่อง

กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้
ซื้อเก็งกำไรระยะสั้นเน้นผ่านยืนแนวต้าน 829 ได้โดยไม่วกกลับลงมาต่ำกว่าเท่านั้น
สัปดาห์นี้มีแนวรับที่ 817, 811 และ 800 แนวต้าน 829***, 840 และ 849


:lol:
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com