May 4, 2024   9:33:19 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > บาทแกว่ง31.60-31.80ต่อดอลล์
 

Toon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 973
วันที่: 06/05/2008 @ 08:47:41
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

บาทมีแววแข็งค่าต่อเนื่อง หลังค่าเงินดอลล์อ่อนค่าลงเพราะเฟดหั่นดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% เหลือ 2.00% คาดรอบหน้าเฟดคงดอกเบี้ยเท่าเดิมจนถึงสิ้นปี นักวิเคราะห์มองบาทสัปดาห์แกว่ง 31.60- 31.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ รอบนี้เม็ดเงินฝรั่งไหลเข้าประเทศอื่นก่อน ส่วนไทยมีเม็ดเงินลงทุนย้ายจากกลุ่มอสังหา เข้าเก็งกำไรคอมมอดิตี้และพลังงานแทน

นายกอบสิทธิ ศิลปชัย หัวหน้านักวิเคราะห์กลยุทธ์ตลาดเงินและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK เปิดเผยว่า ภายหลังที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลง 0.25 % มาอยู่ที่ 2.00% จากเดิม 2.25% มองว่าในประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 24-25มิ.ย. 2551 เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.00% เท่าเดิมและมีแนวโน้มคงดอกเบี้ยจนถึงสิ้นปี 2551 เนื่องจากต้องรอดูสถานการณ์ว่าเศรษฐกิจในประเทศจะมีทิศทางใด ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่อยู่ในช่วงขาลง ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงด้วย

ทั้งนี้ค่าเงินดอลลาร์อาจจะกลับมาแข็งค่าได้ระยะสั้นเนื่องจากเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม
ส่วนการที่สหรัฐต้องทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าเนื่องจากต้องการให้เงินเฟ้อในประเทศลดลง ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 4% เพราะก่อนหน้านี้การที่เศรษฐกิจสหรัฐไม่ฟื้นตัวเพราะค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อเนื่อง ประกอบกับยอดส่งออกลดน้อยลงต่อเนื่อง จึงทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถฟื้นตัวได้ ขณะเดียวกันธนาคารกลางของยุโรป (ECB) มีแนวโน้มจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% มาอยู่ที่ 3.5% จากเดิม 4.00% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในสหรัฐ แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจไม่แย่มากตามการคาดการ แต่มองว่า ECB ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆมองว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

ส่วนความกังวลเรื่องเงินทุนโยกย้ายจากต่างประเทศเข้ามาประเทศไทย มองว่าส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่างไทย-เฟดที่แตกต่างต่างกันถึง 1.25% ไม่ใช่ตัวแปรสำคัญเพราะบางประเทศในแถบเอเชียยังมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า เช่น เกาหลี 5% จีน 7.47% อินโดนีเซีย 8% และ มาเลเซีย 3.8% ขณะที่ประเทศไทยมีเพียง 3.25% จึงคาดว่าจะเข้าไปลงทุนในประเทศอื่นๆก่อน
นอกจากนี้ ยอดเงินไหลเข้าจากต่างประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2551 อยู่ที่ 160,221 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2551 ที่มีอยู่ 15,224 ล้านบาท โดยจะเข้ามาในรูปของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ,เก็งกำไรในพันธบัตร และเข้ามาในรูปของดุลบัญชีเดินสะพัดที่เป็นบวกอยู่ในปัจจุบัน

สำหรับทิศทางค่าเงินบาทสัปดาห์นี้คาดว่าจะเคลื่อนไหวแตะระดับ 31.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐหรืออาจจะอ่อนค่าลงในระดับดังกล่าวต่อเนื่องประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงจ่ายเงินปันผล และดุลบริการเริ่มติดลบ หรืออาจจะเกินดุล ประกอบกับราคาน้ำมันได้ปรับลดลงในปัจจุบันอยู่ที่ 112.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากที่คาดการว่าจะสูงแตะ 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

นายบรรลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย สายบริหารความเสี่ยงธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) BT กล่าวว่า ทิศทางค่าเงินบาทช่วงนี้อาจแข็งค่าขึ้น 31.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2% และรอดูว่ามาตรการทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและมาตรการของรัฐบาลสหรัฐจะช่วยพยุงเศรษฐกิจได้มากน้อยอย่างไร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ให้ค่าเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาส 3-4/2551 เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% มาอยู่ที่ 1.50% จาก 2.00% หรืออาจลดที่ระดับ 1.00% มาอยู่ที่ 1% เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐเติบโตเพียง 0.6% และดัชนีอุปสงค์ลดลงต่อเนื่อง ประกอบกับมาตรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจจะไม่ทำให้สินเชื่อของสหรัฐคงที่ และการแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยคุณภาพ(ซับไพรม์)ยังไม่คลี่คลายลง จึงมองว่าค่าเงินบาทสิ้นปีอาจจะแข็งค่าขึ้นแตะ 30.00-32.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ส่วนการโยกย้ายเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย เชื่อว่าจะไหลไปยังประเทศอื่นๆที่มีความน่าสนใจกว่า อย่างไรก็ตามอาจเห็นเงินไหลเข้าบ้าง แต่จะเป็นการโยกย้ายจากการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อหันมาเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ และกลุ่มพลังงานแทน

นักค้าเงินธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL กล่าวว่า ค่าเงินบาท (2พ.ค.) ปิดตลาดที่ 31.69-31.72 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างวันเคลื่อนไหว 31.68-31.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยค่าเงินบาทสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวในกรอบกว้าง 31.60-31.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ทันหุ้น[/size:3ef3144ee9">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com