May 4, 2024   8:04:22 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > หุ้น..ภาษาชาวบ้าน
 

Toon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 973
วันที่: 06/05/2008 @ 10:36:31
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

เฟดเพิ่มอิสระให้กับธนาคารกลางทั่วโลก

สวัสดีครับ นักลงทุนทุกท่าน ผ่านมาครบ 4 เดือนเต็มๆของปี 2551 พร้อมกับเรื่องราวของ
ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ทางการเงินของโลก เริ่มตั้งแต่วิกฤตการเงินในสหรัฐฯ การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์
สหรัฐฯ การเฟื่องฟูของสินค้าโภคภัณฑ์ และการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงเป็นประวัติการณ์ของธนาคาร
กลางสหรัฐฯ

ในส่วนของความเห็นผมที่มีต่อตลาดหุ้นนั้น ผมยังคงยืนยันความเห็นเดิมที่เคยนำเสนอไปแล้วใน
บทความฉบับก่อนหน้าว่า "ผมมีความเห็นเป็นบวกต่อแนวโน้มตลาดหุ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน" โดย
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจของสหรัฐฯในสัปดาห์ที่แล้วยิ่งเป็นการตอกย้ำความเห็นของผมมากขึ้นอีกด้วย

เฟดตอกย้ำการคาดการณ์ของตลาดว่าวิกฤตการเงินจบแล้ว

การที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% และส่งสัญญาณว่า
อาจไม่จำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในครั้งถัดไป ถือเป็นการส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะยุติวัฏจักรการลด
อัตราดอกเบี้ยลงในไม่ช้านี้แล้ว นอกจากนี้ยังเป็นการตอกย้ำว่าเฟดมั่นใจว่ามาตรการที่ทำไปทั้งหมด รวมถึง
อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงไปทั้งหมด 3.25% ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วเพียงพอที่จะทำให้วิกฤตการเงินสงบลงแล้ว นอก
จากนี้ยังเป็นการบ่งบอกว่าเฟดเริ่มหันกลับมาให้ความสำคัญกับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อมากขึ้น เนื่องจาก
อัตราเงินเฟ้อฟื้นฐานของสหรัฐฯในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2% เท่ากับ Fed fund rate

อย่างไรก็ตาม ผมประเมินว่า ในระยะเวลา 1 เดือนจากนี้ นักลงทุนจะเริ่มลดความสนใจต่อทิศ
ทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ซึ่งผมคาดว่าจะหันมาให้ความสนใจกับในเรื่องภาวะเศรษฐกิจ และ ผลการ
ดำเนินงานในตลาดหุ้นมากขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าว ถือเป็นเรื่องที่ดีต่อตลาดหุ้นในเอเชียที่มีเศรษฐกิจแข็ง
แกร่ง และผลการดำเนินงานยังคงเติบโตดีกว่าในสหรัฐฯและยุโรป ประเด็นนี้ผมอยากจะย้ำว่าเป็นเรื่องที่
ทำให้ผมคาดว่าเงินทุนต่างประเทศจะเริ่มไหลกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย

ธนาคารกลางทั่วโลกมีอิสระมากขึ้น

การส่งสัญญาณชะลอการลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด ผมถือว่าเป็นการเพิ่มอิสระทางนโยบายทาง
การเงินให้กับธนาคารกลางประเทศอื่นๆทั่วโลกด้วย รวมถึง ธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะทำให้
ธนาคารกลางในประเทศต่างๆไม่ต้องมากังวลกับความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของประเทศตนกับ
สหรัฐฯ ทั้งนี้ ผมประเมินว่าเป็นเรื่องดีที่จะทำให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศกลับมาให้ความสำคัญกับ
นโยบายดอกเบี้ยโดยคำนึงถึงปัจจัยเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก ซึ่งผมคาดว่าจะทำให้เห็นภาพของนโยบาย
อัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารกลางที่แตกต่างกันออกไปอย่างชัดเจนขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 2551 ซึ่งโดย
รวมผมคิดว่าทางเลือกของธนาคารกลางทั่วโลกในปี 2551 คงจะมีแต่คงอัตราดอกเบี้ย กับ ปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย ส่วนการลดอัตราดอกเบี้ยคงไม่มีโอกาสแล้ว ประเทศที่คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ได้แก่
ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นมาก ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ส่วนประเทศไทยคาดว่าจะอยู่ในกลุ่มที่น่า
จะคงอัตราดอกเบี้ยถึงแม้จะมีปัญหาอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเหมือนกันแต่คาดว่าจะเริ่มชะลอตัวลงในช่วงครึ่ง
หลังปี 2551

Food Inflation ไม่น่ากังวลสำหรับประเทศไทย

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาที่เพิ่มขึ้นถึง 5.3%yoy หากวิเคราะห์ลงไปให้ลึกๆ
จะพบว่าเป็นผลจากหมวดอาหาร 2.74% และ ผลจากราคาน้ำมัน 2.50% ซึ่งประเทศอย่างเราที่เป็นครัว
ของโลกนั้น ผมเชื่อว่าทางการจะสามารถจัดการกับการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารโดยมี
ต้นทุนต่ำกว่าการจัดการกับราคาน้ำมันอย่างแน่นอน

เงินทุนไหลออกจากตลาดพันธบัตร และ สินค้าโภคภัณฑ์

คงต้องยอมรับว่าในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาของปี 2551 เป็นช่วงที่นักลงทุนกลัวความเสี่ยงเป็น
อย่างมาก (Risk averse) เนื่องจากกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ และ วิกฤตการเงิน
ประกอบกับ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของโลกถูกประเมินว่าเป็นขาลงจากแรงกดดันของการลดอัตราดอกเบี้ย
ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งผลให้ตลาดพันธบัตรเป็นแหล่งลงทุนที่ปลอดภัยสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ
ความมั่นคงของอัตราผลตอบแทน และ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากราคาพันธบัตรที่ปรับตัวขึ้นสวนทางอัตรา
ดอกเบี้ย ตามทฤษฏีการลงทุนทั่วไป แต่ในปัจจุบัน เมื่ออัตราดอกเบี้ยเริ่มทรงตัว และ มีโอกาสปรับตัวขึ้นนั้น
ย่อมส่งผลให้ตลาดพันธบัตรหมดความน่าสนใจลงไปบ้าง รวมถึงในระยะสั้นราคาพันธบัตรเริ่มมีความเสี่ยง
จากเรื่องทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นในบางประเทศ ดังนั้น ผมจึงประเมินว่า นักลงทุน
ต่างชาติจะมีการย้ายเงินออกจากตลาดพันธบัตรเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว

ในส่วนของ สินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะ ทองคำ และ น้ำมัน ซึ่งมีความสัมพันธ์สูงกับค่าเงิน
ดอลลาร์สหรัฐฯ การกลับมาแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯซึ่งถึงแม้จะยังคงมีนักเศรษฐศาสตร์บางกลุ่มยังคง
คาดว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังมีโอกาสอ่อนค่าลงอีก แต่ในระยะสั้นย่อมสร้างแรงกดดันต่อราคาทองคำ
และ น้ำมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก็คาดว่าจะเห็นราคาน้ำมันและทองคำปรับตัวลดลง รวมถึงมีความ
ผันผวนมากขึ้นในช่วงนี้ จนกว่าจะมีข้อมูลที่บ่งบอกว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าอีก

ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มส่งสัญญาณในเชิงบวกมากขึ้น

สัปดาห์ที่แล้วผมถือว่าเป็นสัปดาห์แรกที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯออกมาดีกว่าคาดการณ์ โดยเฉพาะ
ในเรื่อง ตลาดแรงงงานที่มีการว่างงานลดลงจาก 5.1% เหลือ 5% ในเดือนเมษายน ในขณะที่การจ้าง
งานนอกภาคเกษตร ลดลงเพียง 20,000 อัตรา จากที่คาดว่าจะลดลง 75,000 อัตรา ซึ่งทำให้ความ
กังวลต่อเศรษฐกิจถดถอยบรรเทาลงไปบ้าง ปัจจัยดังกล่าว ผมคาดว่าจะทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯมีการฟื้นตัวขึ้น
โดยอิทธิพลของเงินทุนจากตลาดพันธบัตร และ ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ นอกจากนี้ คาดว่าจะทำให้ตลาดหุ้นใน
เอเชียที่มี ความสัมพันธ์สูง (Correlation) กับตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ และ ญี่ปุ่น ปรับ
ตัวขึ้นตามไปด้วย ส่วนตลาดหุ้นไทยคงต้องยอมรับว่า ผมคาดว่าตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวขึ้นได้จากเงินทุนต่าง
ชาติที่ไหลเข้ามาในเอเชีย แต่การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นไทยคงจะไม่มากเท่ากับตลาดหุ้นหลัก

แนะนำ ซื้อเก็งกำไร กลุ่มธนาคาร และ ส่งออก

สุดท้ายในเรื่องกลยุทธ์การลงทุนในระยะสั้นนั้น ผมคาดว่า หุ้นขนาดใหญ่ (Big Cap) ยังคงเป็น
หุ้นที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากเงินทุนไหลเข้า โดยกลุ่มธนาคาร ดูโดดเด่นขึ้น ซึ่งคาดว่าจะได้รับปัจจัย
บวกจากการฟื้นตัวของหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินทั่วโลก หลังจากความกังวลเรื่องวิกฤตการเงินลดลง ส่วน
หุ้นกลุ่มส่งออก โดยเฉพาะ ชิ้นส่วนยานยนต์ และ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการ
อ่อนค่าของเงินบาท และ ความคาดหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะไม่ชะลอตัวมากอย่างที่คาด


โดย สุกิจ อุดมศิริกุล[/size:b75d13b579">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com