May 20, 2024   9:59:55 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > Chart of the day
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 04/07/2008 @ 08:59:54
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

บล.กิมเอ็ง

Distributor - Bisnews AFE

ตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนพฤษภาคมบ่งชี้ว่าอุปสงค์จากต่างประเทศยังคงเติบโตแข็งแกร่ง แต่อุปสงค์ในประเทศเริ่มเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง

การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยยังคงอิงอยู่กับภาคส่งออกเป็นหลัก เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศเริ่มชะลอตัวลง
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขเศรษฐกิจประจำเดือนพฤษภาคม เมื่อช่วง
บ่ายของวันจันทร์ที่ผ่านมา เป็นไปตามที่ได้คาดการณ์ไว้ โดยตัวเลขเศรษฐกิจตัวหลักที่ควรให้ความสนใจคือ
มูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นถึง 22.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (yoy) ขณะที่อัตราการเติบโตของมูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงเหลือเพียง 15.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (yoy) ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นตัว
แทนที่ดีของตัวเลขสถิติอื่น ๆ โดยรวมและเน้นให้เห็นถึงประเด็นหลักของเราทั้ง 2 ประเด็นด้วยกันคือ 1) ผลผลิตยังเติบโตในเกณฑ์ดีเนื่องจากอุปสงค์ของตลาดภายนอกประเทศยังคงเติบโตแข็งแกร่ง และ 2) อุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มที่จะเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจถูกคาดการณ์อย่างกว้างขวางว่ามีแน้วโน้มที่จะชะลอตัวลงในไตรมาสต่อๆไป
เราไม่เชื่อว่าตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนพฤษภาคมจะส่งผลกระทบกับประมาณการเดิมของตลาดที่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะเริ่มชะลอตัวลงในไตรมาสต่อๆไปหลัง
จากที่ทำจุดสูงสุดที่ระดับ 6.05% ในไตรมาส 1/51 ปัจจัยลบหลักๆยังคงเป็นปัญหาเงินเฟ้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นเหนือระดับ 140 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และมีการคาดการณ์กัน
ในวงกว้างว่าธปท.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบถัดไปในวันที่ 16 กรกฎาคมนี้ รวมถึงน่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 2 - 3 ครั้งในปีนี้และต้นปีหน้า ปัจจัยลบตัวหลักอีกประการคือ ความกังวลต่อภาคการส่งออกซึ่งถือเป็นกำลังหลักที่ค้ำจุนการเจริญเติบโตของ
เศรษฐกิจไทยในขณะนี้ อาจเริ่มชะลอตัวลงท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นลบของเศรษฐกิจทั่วโลกในขณะนี้ หากราคาน้ำมันยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราอาจจำเป็นต้องมีการปรับประมาณการเงินเฟ้อทั้งปีขึ้นอีก จากระดับคาดการณ์ในปัจจุบันที่ 8.00% รวมถึงปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจลง
จากปัจจุบันที่ 5.50%

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้น 10.51% yoy ในเดือนพฤษภาคม
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้นอย่างน่าประทับใจกว่า 10.51% yoy ในเดือน
พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าระดับ 9.39% ในเดือนมีนาคม และ 9.88% ในเดือนเมษายน ตามลำดับ ภายใต้สถานการณ์ปกติ ตัวเลขดังกล่าวถือว่าอยู่ในระดับดีมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเติบโตของผล
ผลิตส่วนใหญ่มากจากอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก ทำให้การคาดคะเนอนาคตยังเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ผู้ส่งออกทำสัญญาโดยอิงสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯเป็นหลัก ส่งผลให้พวกเขามีรายได้
จากการขายสินค้าน้อยลง แต่กลับมีรายจ่ายนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น โดยผลผลิตของผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกต่ำกว่า 30% เพิ่มขึ้น 6.62% yoy ในเดือนพฤษภาคม แต่ต่ำกว่าระดับ 13.18% ใน
เดือนมีนาคม และ 11.23% ในเดือนเมษายน ขณะที่ผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกระหว่าง 30 - 60% และที่มีสัดส่วนการส่งออกมากกว่า 60% มีผลผลิตเพิ่มขึ้น 6.48% และ16.18% ตามลำดับ yoy
ในเดือนพฤษภาคม และอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยรวมปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 69.2% ในเดือนเมษายนมาเป็น 74.4% ในเดือนพฤษภาคม

อุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลง
ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัวขึ้น 6.28% yoy ในเดือนพฤษภาคม โดยปรับตัวลงเล็ก
น้อยจากระดับการเติบโต 6.76% ในเดือนมีนาคมและระดับ 7.91% ในเดือนเมษายน แม้เราจะไม่ได้ให้
น้ำหนักกับตัวเลขเหล่านี้มากนัก แต่ก็สันนิษฐานว่าตัวเลขดังกล่าวน่าจะบ่งชี้แนวโน้มได้อย่างชัดเจน ราคา
พลังงานที่พุ่งสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อยอดขายน้ำมันเบนซินและก๊าซโซฮอล์อย่างชัดเจน ส่งผลให้ยอดขายดังกล่าวปรับตัวลง 4.28% yoy ในเดือนพฤษภาคม อัตราการเติบโตแบบปีต่อปีของยอดขายยานยนต์ในประเทศชะลอตัวลงจากระดับ 18.0% ในเดือนมีนาคมและ 9.71% ในเดือนเมษายน มาอยู่ที่ระดับ 6.90%
ในเดือนพฤษภาคม ขณะที่ยอดขายจักรยานยนต์ทั่วประเทศซึ่งในตอนแรกเราคาดว่าจะฟื้นตัวหลังจากรายได้
ภาคเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ไม่ได้ออกมาดีอย่างที่เราคาดไว้เมื่อหลายเดือนก่อนนัก โดยยอดขายจักรยานยนต์
ปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 8.72% yoy เทียบกับ 17.79% ในเดือนมีนาคมและ 35.40% ในเดือนเมษายน ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคภาคครัวเรือน (ใช้ราคาปี 2543 เป็นปีฐาน) เพิ่มขึ้น 17.53% yoy
ซึ่งชะลอตัวจากระดับ 27.24% ในเดือนมีนาคม และ 29.08% ในเดือนเมษายน หากเป็นภาวะปกติ ตัวเลขดังกล่าวถือว่าอยู่ในระดับที่ดี แต่ตัวเลขดังกล่าวมีที่มาจากฐานที่ต่ำของปีที่แล้วและอัตราการเติบโตเริ่มมี
แนวโน้มชะลอตัวลงอย่างชัดเจน

ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนดูเหมือนยังคงไม่ฟื้นตัว
ในเดือนพฤษภาคม ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวขึ้น 4.96% yoy ซึ่งชะลอตัวลงเล็กน้อย
จากระดับ 7.22% ในเดือนมีนาคมและ 5.40% ในเดือนเมษายน ตัวเลขดังกล่าวอาจดูเป็นไปตามคาด
การณ์ แต่เรามองว่าตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวแทนข้อเท็จจริงที่ว่าอุปสงค์ในประเทศเริ่มชะลอตัวลงและความไม่แน่นอนของอุปสงค์จากต่างประเทศมีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนในภาพรวม ปริมาณการนำเข้าสินค้า
ทุน (ใช้ราคาปี 2543 เป็นปีฐาน) ปรับตัวขึ้นเพียง 5.38% yoy ซึ่งชะลอตัวลงจากระดับ 14.37% ในเดือนมีนาคมและระดับ 17.70% ในเดือนเมษายน เนื่องจากสินค้าทุนที่นำเข้าส่วนใหญ่จะถูกนำไปเป็นวัตถุ
ดิบในอุตสาหกรรมส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่ได้บ่งชี้ว่าการส่งออกในอนาคตจะเติบโตในอัตราที่ดี นอกจากนั้นยอดขายปูนซีเมนต์ในประเทศเติบโตเพียง 3.46% yoy แม้ว่าจะเพิ่มขึ้นจากอัตราที่ติดลบถึง 8.50% ในเดือนมีนาคม และลบ 2.29% ในเดือนเมษายน ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากิจกรรมการก่อสร้างในประเทศ
ยังคงถดถอยอยู่ เนื่องจากเราเปรียบเทียบด้วยฐานตัวเลขที่ต่ำมากในปี 2550

การส่งออกยังคงเติบโตดีกว่าที่คาดไว้
ปัจจัยหลักที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมายังคงเป็นภาคการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม เมื่อตอนต้นปี เราคาดว่าการอุปโภคบริโภคในประเทศจะช่วยชดเชยภาค
การส่งออกที่คาดว่าจะชะลอตัวลง แต่ตัวเลขการอุปโภคบริโภคในประเทศยังคงชะลอตัวต่อ ขณะที่การส่งออกยังคงเติบโตสูงกว่าคาด เราต้องยอมรับว่านี่ไม่ได้เป็นสิ่งที่แย่ แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่าปัจจัยขับเคลื่อนนี้จะสามารถขับเคลื่อนได้ต่อไปอีกนานแค่ไหน มูลค่าการส่งออกรวมในเดือนพฤษภาคมเติบโต 22.1% yoy จากการส่งออกเครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องกล (เติบโต 22.82% yoy) การส่งออกสินค้าพลาสติกและยางสังเคราะห์ (เติบโต 24.81%) ผลไม้สดและแช่แข็ง (54.10%) ข้าว (128.36%)
และยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ (16.10%) สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือการส่งออกเครื่องประดับที่เติบ
โตกว่า 104.68% ซึ่งเป็นผลมาจากราคาทองคำที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก รวมถึงอาจเป็นผลสืบเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าเครื่องประดับเป็นอีกช่องทางหนี่งที่ช่วยในการป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดเกิดใหม่เช่น จีน อินเดีย และตะวันออกกลาง

มูลค่าการส่งออกไปจีน ตะวันออกกลางและอินเดียเพิ่มขึ้น 19.54%, 26.89% และ 52.39% ตามลำดับ
มูลค่าการส่งออกไปยังตลาดหลักๆของไทยทั้งสหรัฐฯและยุโรป เติบโตเพียง 2.73% และ
9.06% yoyในเดือนพฤษภาคมตามลำดับ โดยสัดส่วนของการเติบโตของมูลค่าการส่งออกส่วนใหญ่มาจาก
ตลาดเกิดใหม่ มูลค่าการส่งออกไปยังจีน/ฮ่องกง, ตะวันออกกลางและอินเดียเติบโต 19.54%, 26.89%
และ 52.39% yoy ตามลำดับ ซึ่งในปัจจุบันตลาดทั้งสามมีส่วนแบ่งกว่า 15.23%, 13.45% และ 1.15% ของมูลค่าการส่งออกรวมหรือคิดเป็น 30% ของทั้งหมด เรายังคงเชื่อว่ามูลค่าการส่งออกไปยังจีนจะยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งแม้จะผ่านช่วงกีฬาโอลิมปิกหน้าร้อนในเดือนหน้าไปแล้วก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
นำเข้าสินค้าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและน้ำท่วม

การนำเข้าเริ่มชะลอตัวลง เนื่องจากการอ่อนตัวของอุปสงค์ในประเทศและการนำเข้าเครื่องบิน/เรือเดิน
สมุทรและการขนส่งน้ำมันล่าช้าออกไป
มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นเพียง 15.72% yoy ซึ่งลดลงอย่างมากจากระดับ 32.06% ในเดือน
มีนาคมและ 42.11% ในเดือนเมษายน การเติบโตที่ชะลอตัวลงนั้นกระจายตัวไปในสินค้าทุกประเภท โดย
มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น 23.93% (ต่ำกว่าระดับ 35.19% ในเดือนเมษายน) ขณะที่มูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้น 21.36% (ต่ำกว่าระดับ 34.50% ในเดือนเมษายน) และมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้น 10.24%(ต่ำกว่าระดับ 25.91% ในเดือนเมษายน) อย่างไรก็ตาม
สาเหตุหนึ่งที่ตัวเลขมูลค่าการนำเข้าอ่อนตัวมากกว่าที่มีการคาดการณ์กันไว้เกิดจากการนำเข้าเครื่องบิน/เรือเดินสมุทรและน้ำมันดิบล่าช้าออกไป ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยมูลค่าการนำเข้าเครื่องบิน/เรือเดินสมุทรปรับตัวลง 27.37% yoy เป็น 55.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงจากระดับ 162.95
ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างมาก ขณะที่_ที่มูลค่าการนำเข้าเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นเติบโตเพียง 5.52% yoy


:lol:

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com