May 20, 2024   9:50:12 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > Kimeng : Stockgazer : มองเชิงบวกมากขึ้นต่อราคาหุ้น
 

ChennyVI
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 84
วันที่: 04/07/2008 @ 11:17:59
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

มองเชิงบวกมากขึ้นต่อราคาหุ้น


การฟื้นตัวระยะสั้นต่อระยะกลางเป็นไปได้มาก

เราเห็นว่าสมมติฐานกรณีย่ำแย่ได้ถูกสะท้อนลงไปในดัชนีแล้วและจึงปรับมุมมองต่อดัชนีเป็นบวกมากขึ้น หากสุญญากาศทางการเมืองในขณะนี้จบลงด้วยความรุนแรงหรือเหตุการณ์ที่ตลาดไม่ได้คาดคิดแล้ว ดัชนีก็อาจปรับตัวลงไปทดสอบจุดต่ำสุดเมื่อสัปดาห์ก่อนที่ 742.46 จุด ณ 19 มิถุนายนได้แต่เราก็คาดฟื้นตัวแม้จะไม่กระโดดแรงเหมือนกับวันศุกร์ที่แล้ว จุดนั้นก็เห็นจะเป็นจังหวะเก็บหุ้นที่ถูกขายออกมากว่าพื้นฐาน

ปัจจัยบวกที่ช่วยหนุนตลาดในสัปดาห์นี้ ได้แก่ งบไตรมาส 2/51 ของหลายๆ บริษัทที่กำลังจะประกาศในเดือนนี้โดยคาดว่าจะอยู่ในเกณฑ์ดี หลังจากการถล่มขายอย่างหนักจากนักลงทุนต่างชาติแต่แรงซื้อจากกองทุนในประเทศยังไม่แรง เราเชื่อว่าหุ้นไทยยังคงมีราคาต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานและยังคงถูกอยู่

ช่วงเวลา
เหตุการณ์
นักลงทุนต่างชาติ
สถาบันในประเทศ
ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลง

18 - 28 ธ.ค. 2549
มาตรการกันสำรอง 30%
(31,737)
11,833
-56

27 ก.ค. ถึง 17 ส.ค. 2550
ปัญหาซับไพร์มเริ่มต้นขึ้น
(44,761)
3,954
-126

2 - 24 มกราคม 2551
เศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะถดถอย
(39,097)
8,530
-130

21 พ.ค. ถึง 25 มิ.ย. 2551
ปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลกและการเมืองในประเทศ
(52,329)
9,991
-140


เก็งกำไรในหุ้นชั้นดีและสภาพคล่องสูง

นักลงทุนควรลดสัดส่วนการถือครองเงินสดและสะสมหุ้นซึ่งอ่อนตัวลงมาดังต่อไปนี้

หุ้นขนาดใหญ่ศักยภาพการเติบโตแต่ถูกขายลงมามาก

KBANK: หุ้นธนาคารที่มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดในกลุ่มและมีจุดแข็งตลาดสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

LH: ผลบวกจากยอดโอนบ้านที่เร่งตัวขึ้นและความเป็นผู้นำหุ้นอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำจะช่วยหนุนคาดการณ์อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นของบริษัทที่ระดับ 32%

เก็งกำไรในหุ้นชั้นนำซึ่งฐานธุรกิจและกำไรแข็งแกร่งและมีน้ำหนักตลาดดี

PTT: ความเป็นหุ้นหลักถ่วงน้ำหนักตลาด มีสภาพคล่องสูงและมีระดับ PER ต่ำกว่าตลาดคือ 8.8 เท่า

BBL: ธนาคารอันดับหนึ่งซึ่งมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มถึง 9.5 หมื่นล้านบาท (121% ของประมาณการณ์ทั้งปี 2551) รวมถึงมีระดับ P/BV ต่ำเพียง 1.3 เท่า และคาดว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารจะดีขึ้น

ADVANC: บริษัทได้พิสูจน์ให้เห็นถึงกำไรที่มีความทนต่อภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงความเสี่ยงการเมือง อีกทั้งยังจ่ายเงินปันผลตอบแทนแก่นักลงทุนสูงถึง 6.5 บาทต่อหุ้น

หุ้นที่มีค่าความไวต่อดัชนีสูง ซึ่งมีแนวโน้มจะเอาชนะดัชนีตลาดได้ : เราให้น้ำหนักกับหุ้น QH, BAY และ PHATRA มากกว่าตัวอื่น ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว

ปัจจัยที่เป็นบวก: การเติบโตเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ, สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ และดุลการค้าแข็งแกร่ง

คาดการเติบโตเศรษฐกิจ 4.5% แม้อัตราเงินเฟ้อจะอยู่สูงถึงระดับ 10% สำหรับปีนี้
ตลาดได้สะท้อนปัจจัยลบบางส่วนแล้ว เช่น ปัญหาเงินเฟ้อ คาดการณ์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 16 กรกฎาคมและความไม่แน่นอนทางการเมือง จากตัวเลขเศรษฐกิจประจำเดือนพฤษภาคมของธปท. เศรษฐกิจไทยยังคงมีความยืดหยุ่นค่อนข้างมากซึ่งได้แรงหนุนจากอุปสงค์ต่อสินค้าส่งออกของไทยจากต่างประเทศที่ยังคงแข็งแกร่งอยู่ แม้ว่าอุปสงค์ในประเทศเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวแล้ว

Positives
Negatives
Priced in

รายได้ภาคเกษตรเติบโต 51%
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงเหลือ 9.8% หลังจากที่เติบโตกว่า 30% ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา
อุปสงค์ในประเทศเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงจากระดับ 6.76% ในเดือนเมษายนเหลือ 6.28%

ผลผลิตอุตสาหกรรมเติบโต 10%

การลงทุนในประเทศเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงจากระดับ 5.4% ในเดือนเมษายนเหลือ 5%

การส่งออกเติบโต 25%




การเติบโตอย่างต่อเนื่องของสินเชื่อธนาคาร ธนาคาร 9 แห่งที่เราติดตามอยู่ได้มีการปล่อยกู้เพิ่มอีก 7.14 หมื่นล้านบาทในเดือนที่แล้ว ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อและความตึงเครียดทางการเมือง ซึ่งจะช่วยหนุนส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย และการเติบโตกำไรในไตรมาส 2/51 - 3/51

สินเชื่อโต 51
เติบโต
ในช่วง 5เดือนแรก
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย


(ล้านบาท)

เติบโต
% คาด 51
2550
2551F
(+/-)

BAY
107,009
23.8%
44,753
41.8%
3.2%
4.0%
0.8%

BBL
78,156
7.5%
94,715
121.2%
3.2%
3.2%
0.0%

KBANK
102,938
13.5%
57,396
55.8%
4.1%
4.1%
-0.1%

KTB
57,274
6.0%
64,981
113.5%
3.9%
3.9%
0.1%

SCB
121,544
14.0%
10,233
8.4%
3.7%
3.8%
0.1%

SCIB
17,643
7.0%
(1,196)
nm
3.1%
3.2%
0.1%

TCAP
34,199
14.4%
25,136
73.5%
3.1%
3.1%
0.0%

TMB
27,894
6.0%
(26,514)
nm
2.5%
2.7%
0.2%


ข้อมูลของ SCB ไม่นับรวม SCB leasing (จากพอร์ทรวมในไตรมาส 1/51 จำนวน 1 แสนล้านบาท)

ดุลการค้าเกินดุลและภาคส่งออกเติบโตเกินความคาดหมาย กระทรวงพาณิชย์ประกาศดุลการค้าเกินดุลทั้งสิ้น 1.29 พันล้านเหรียญในเดือนพฤษภาคมหลังจากที่มีการขาดดุลการค้ากว่า 3 พันล้านเหรียญ ใน 4 เดือนแรกของปี 2551 ราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้น (23% ของการส่งออกโดยรวม) ถึง 47% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในเดือนที่ผ่านมา ช่วยหนุนการส่งออกให้เติบโตถึง 21.4%


ปัจจัยที่มีความผันผวน: ความเสี่ยงทางการเมืองและปัจจัยภายนอก

ความไม่แน่นอนทางการเมืองยังคงมีอยู่
แม้ความตึงเครียดผ่อนคลายลงเล็กน้อยหลังจากการเดินขบวนของกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลไม่เกิดความรุนแรงแต่อย่างใดในสัปดาห์ที่ผ่านมา เราเชื่อว่าโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์รุนแรงจะถูกจำกัด แม้อาจมีหลายสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดการปะทะกัน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะช่วยป้องกันนักลงทุนไม่ให้ตื่นตระหนกกับสถานการณ์ทางการเมืองมากจนเกินไป


เหตุการณ์สำคัญ
การตอบสนองตลาด

17-19 มิถุนายน


กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศจะเคลื่อนตัวไปยังทำเนียบรัฐบาล ในขณะเดียวกันพรรคประชาธิปัตย์ ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
ดัชนี SET ตก 4.5% ปิดต่ำสุดที 742.46 ในวันพฤหัส (19 มิถุนายน)

20-22 มิถุนายน


พันธมิตรเดินขบวนไปปิดล้อมทำเนียบ โดยไม่มีการใช้ความรุนแรงแต่อย่างใด และรัฐบาลยินยอมให้เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ดัชนี SET ดีดตัว 3.6% ในตอนบ่ายวันศุกร์

24-27 มิถุนายน


นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคนอื่นๆ สามารถเอาตัวรอดจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจมาได้
ดัชนีปิดที่ระดับ 775.73 จุด ในวันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน ปรับตัวขึ้นจากเมื่อสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย


ปัจจัยแปรผันใน 2 สัปดาห์ต่อจากนี้ไป



การตัดสินคดีที่ดินรัชดาและหวยบนดิน



กรณีปราสาทเขาพระวิหาร



ความเสี่ยงจากตลาดหุ้นในต่างประเทศ (ตลาดสหรัฐฯ เป็นหลัก) คาดว่าน่าจะเป็นปัจจัยที่กระทบต่อตลาดทั่วโลก การเทขายหุ้นในตลาดสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบให้เกิดการเทขายหุ้นไทย และทำให้เกิดความผันผวนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ตลาดเงินตรา และตลาดพันธบัตรมากขึ้น

21 พฤษภาคม
ปัจจุบัน


SET
12,828.7
11,288.54
-12.0%

ดาวน์โจนส์
2,448.3
2245.38
-8.3%

แนสแด็กซ์
12,828.7
11288.54
-12.0%

ตลาดเอเชียพัฒนา


ญี่ปุ่น
13,926.3
13,265.4
-4.7%

เกาหลี
1,873.2
1,606.6
-14.2%

ไต้หวัน
9,015.6
7,356.3
-18.4%

ฮ่องกง
25,169.5
21,451.5
-14.8%

สิงค์โปร์
3,196.9
2,880.5
-9.9%

ตลาดกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


อินโดนีเชีย
2,494.7
2,286.6
-8.3%

ฟิลิปปินส์
2,896.2
2,354.0
-18.7%

มาเลเซีย
1,281.2
1,153.7
-10.0%

ตลาดเกิดใหม่เติบโตสูง



จีนแผ่นดินใหญ่
3,719.0
2,835.4
-23.8%

ิอินเดีย
16,907.1
13,094.1
-22.6%


ปัจจัยเสี่ยงที่ตลาดได้ตอบรับไปพอควร: ปัญหาเงินเฟ้อ และค่าเงินบาท

ความกดดันจากภาวะเงินเฟ้อยังมีต่อไป จะจำกัดการปรับตัวขึ้นของดัชนีตลาด และ ตอนนี้เราได้ปรับคาดการณ์ดัชนี ณ สิ้นปีเหลือ 900 จุด โดย อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 8.9% และ 3.6% เทียบกับประมาณการณ์ของเราที่ 9.1% และ 3.7% (ขึ้นจาก 7.6 %และ 2.8 %ในเดือนเมษายน)
ถ้าราคาน้ำมันดิบในตลาดNYMEX ปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 140 ดอลลาร์ ต่อบาร์เรล เราคาดว่าตัวเลขเงินเฟ้อจะสูงขึ้นเป็นเลขสองหลักในเดือนต่อๆ ไปโดยอาจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธปท. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนนี้

ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงต่ำกว่า 34 บาท ต่อ ดอลลาร์ อาจเป็นสาเหตุให้นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นไทยได้ต่อไป แต่เราคิดว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นอย่างจำกัด เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของไทยมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น ในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 รวมทั้งธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยอย่างต่อเนื่องทั้งปีแม้มีความเป็นไปได้ที่อาจขาดดุลการค้าในบางเดือน

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com