May 13, 2024   9:19:16 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > Weekly Comment
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 28/07/2008 @ 08:35:41
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

.--บล.โกลเบล็ก

Distributor - Bisnews AFE

WEEKLY COMMENTS : การเมืองนอกสภารุนแรงขึ้น
* แนวโน้มเงินทุนโลกไหลกลับเข้าเอเชียหลังประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 ในสหรัฐฯ
* การเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญมีแนวโน้มนำไปสู่ความรุนแรง
* แนวรับ 678, 669, และ 665 แนวต้าน 691, 701 และ 726

สรุปภาวะตลาดประจำสัปดาห์ที่ผ่านมา 21-25 กรกฎาคม 2551
สรุปภาวะการลงทุนสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีปิดที่ 685.47 จุด เพิ่มขึ้น 20.95 จุด จากสัปดาห์ก่อน
หน้าที่อยู่ระดับปิดที่ 664.52 จุด โดยมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ 13,660 ล้านบาท ลดลงจากสัปดาห์
ก่อนหน้าที่ระดับ 14,451 ล้านบาท สถาบันซื้อสุทธิ 2,465 ล้านบาท ต่างประเทศขายสุทธิ 2,819 ล้าน
บาท รายย่อยซื้อสุทธิ 354 ล้านบาท
ภาพรวมการแกว่งตัว : วันจันทร์ดัชนีปรับตัวขึ้นแรงตามตลาดต่างประเทศมีแรงซื้อกระจาย
ทุกกลุ่มหลักทรัพย์ มากขึ้น แต่ปริมาณการซื้อขายโดยรวมยังเบาบาง วันอังคารดัชนีปรับตัวขึ้นต่อแต่มีแรงขาย
ทำกำไรออกมาในระหว่างวันการซื้อขายถึงแม้ว่าจะมีแรงซื้อกลุ่มพลังงานพยุงดัชนีแต่ตลาดก็ปรับลงมาอยู่ใน
แดนลบจากแรงขายกลุ่มอื่น วันพุธดัชนีปรับตัวขึ้นแรงตามตลาดต่างประเทศมีแรงซื้อกระจายเข้ามาทุกกลุ่ม
หลักทรัพย์โดยปริมาณซื้อขายเริ่มเพิ่มมากขึ้น วันพฤหัสบดีดัชนีปรับตัวลงจากแรงขายทำกำไรในกลุ่มธนาคาร
และเสริมด้วยกลุ่มพลังงานที่มีแรงขายออกมาต่อทำให้มีแรงกดดันดัชนีส่งผลให้ตลาดปรับลงมาอยู่ในแดนลบ
เกือบตลอดทั้งวันวันศุกร์ดัชนีปรับตัวลงมาอยู่ในแดนลบหลังตลาดต่างประเทศปรับลงทั่วภูมิภาคทำให้มีแรง
ขายกระจายออกมาทั้งตลาดเกือบทุกกลุ่มหลักทรัพย์
ปัจจัยที่เข้ามากระทบตลาดได้แก่ : หุ้นกลุ่มธนาคารทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/51,
นายสนธิ 1 ในแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ถูกจับข้อหาหมิ่นเบื้องสูง, ราคาน้ำมันดิบปรับลงต่อ

ปัจจัยสำคัญที่น่าติดตามและมีผลต่อการลงทุนในสัปดาห์ 28-1 สิงหาคม 2551
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ 28 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2551 ทางฝ่ายวิเคราะห์
บล.โกลเบล็กฯ ประเมินภาวะตลาดมีโอกาสที่จะปรับตัวลงทดสอบแนวรับ ถึงแม้ว่าผลประกอบการกลุ่ม
ธนาคารที่ประกาศออกมาแล้วจะดีมากก็ตาม แต่ตลาดก็ทำได้เพียงการซื้อเก็งกำไร และเกิดภาวะของการ
Sell on Factตามมา เนื่องจากปัจจัยการเมืองยังคงกดดันตลาด ตลาดฯไม่เชื่อว่าการปรับคณะรัฐมนตรี
ครั้งนี้จะสามารถลบภาพการเป็นรัฐบาลนอมินีได้ และเชื่อว่ารัฐบาลจะเดินหน้าเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ
2550 อย่างจริงจังในสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติ ในสัปดาห์นี้ต้องติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิดเนื่องจากหากมี
การแก้ไขรัฐธรรมนูญจริง สิ่งที่ตามมาคือจะต้องเผชิญกับปัญหาการเมืองนอกสภาของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งคาด
ว่าจะมีแนวร่วมเพิ่มขึ้น ความวุ่นวายเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อมีการปะทะกันรุนแรงถึงขั้นบาดเจ็บระหว่างกลุ่มต่อต้าน
กับกลุ่มพันธมิตร ตามสถานที่ต่างๆ เรื่องเขาพระวิหารที่มีการตรึงกำลังทางทหารและการชุมนุมยืดเยื้อของ
กลุ่มพันธมิตรส่งผลเสียต่อภาพรวมของประเทศ ทั้งนี้ด้านการวิเคราะห์ทางเทคนิคการกลับตัวขึ้นของดัชนี
ตั้งแต่วันที่ 21-24 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้นมีลักษณะที่คล้ายกับการกลับตัวขึ้นเมื่อรอบวันที่ 20-26มิถุนายน ดัง
นั้นในสัปดาห์นี้ตลาดจะมีแนวรับสำคัญที่จุดต่ำในรอบปีนี้ที่ 660.16 ต่ำกว่าลงมาจะเกิดภาพของการกลับตัว
เพื่อลงต่อทันที ปริมาณการซื้อขายไม่ได้เพิ่มขึ้นเพื่อแสดงถึงความมั่นใจต่อแรงซื้อในระยะกลาง โดยมีปริมาณ
การซื้อขายเฉลี่ย 1.5 หมื่นล้านบาทต่อวันเท่านั้น นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิต่อเนื่องแต่ขายในสัดส่วนที่
ลดน้อยลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน

ปัจจัยที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้

1.ราคาน้ำมัน
สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงาน (EIA) ของสหรัฐรายงานว่า สต็อกน้ำมันกลั่นและน้ำมัน
เบนซินรวมถึงสต็อกก๊าซธรรมชาติที่พุ่งสูงขึ้น เป็นปัจจัยชี้ถึงอุปสงค์การใช้เชื้อเพลิงลดลงตามการคาดการณ์
การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯและเศรษฐกิจโลกโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐเผยว่าอุปสงค์ในน้ำมัน
ดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในสหรัฐฯในช่วงครึ่งแรกของปี 2008 ดิ่งลงรุนแรงที่สุดในรอบ 17 ปี จากปัจจัย
ดังกล่าวจะเป็นตัวทำให้ราคาน้ำมันจะชะลอตัวการขึ้น แต่คาดว่ายังคงทรงตัวในระดับสูงต่อไปเนื่องจาก
ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและชาติตะวันตกที่ยังมีความตึงเครียดและข่าวพายุโซนร้อนในอ่าวเม็กซิโกรวม
ถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากจีนและอินเดียยังเป็นแรงหนุนราคาน้ำมัน

2.ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐ
จากผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์โดยสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ส่วนใหญ่มองไปในทางเดียว
กันว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะหยุดชะลอตัวลงอย่างแรงในไตรมาส 4 ของปีนี้ โดยที่โอกาสของความเป็นไปได้ที่
จะเกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในอีก 12 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 50% เท่ากับผลสำรวจครั้งก่อน โดยตัวเลข
คาดการณ์ เฉลี่ยของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ของสหรัฐมีแนวโน้มจะอยู่ที่ 0.5% ในไตรมาสสุดท้ายของ
ปี โดยเฉพาะกิจการด้านสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของรัฐบาล 2 ราย ได้แก่ แฟนนี เม และ เฟรดดี แมค ที่
มีปัญหาเรื่องฐานะการเงินทรุดจนรัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือด้านการเงิน ทำให้ปัญหาวิกฤติสินเชื่อยังคงอยู่
และต้องเข้าแก้ไขต่อเนื่องควบคู่ไปกับการดูแลด้านเงินเฟ้อที่เริ่มมีปัญหามากขึ้น

3.แรงซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศ
ยังขายสุทธิออกต่อเนื่องขณะที่การชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่ยังมีอยู่และยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงภายใน
ระยะเวลาอันสั้น เป็นตัวลดความเชื่อมั่นในการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐ
ได้ส่งผลกระทบไปยังตลาดหุ้นทั่วโลกทำให้นักลงทุนต่างประเทศชะลอการลงทุนและมีแนวโน้มดึงเงินลง
ทุนกลับเพื่อรักษาสภาพคล่อง และเสถียรภาพของรัฐบาลเริ่มสั่นคลอนมากขึ้นจากคดียุบพรรคและมีรัฐมนตรี
หลายคนโดนคดีทางการเมืองจนต้องปรับครม. เป็นปัจจัยลดความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศทำให้การ
ลงทุนยังมีแนวโน้มชะลอต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์ด้านการเมืองและเศรษฐกิจจะคลี่คลายขึ้น

4.สถานการณ์ด้านการเมือง
หลังวันที่ 28 ก.ค.นี้ ก็จะมีความชัดเจนเรื่องการปรับครม.คงต้องจับตาดูว่ารายชื่อรัฐมนตรีจะ
สามารถดึงความเชื่อมั่นและศรัทธาของประชาชนขึ้นมาได้หรือไม่ ขณะที่นายกฯยังยืนยันที่จะนำประเด็นการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่การประชุมสภา ซึ่งเป็นสิ่งที่กลุ่มพันธมิตรฯใช้ในการชุมนุมต่อต้านมาตั้งแต่ต้นขณะที่
กลุ่มพันธมิตรกับกลุ่มต่อต้านเริ่มมีการปะทะกันมีโอกาสที่จะปลุกกระแสมวลชนให้นำไปสู่ความรุนแรงได้เนื่อง
จากผู้เข้าร่วมชุมนุมมีมากขึ้นเรื่อยๆจากหลายกลุ่มหลายองค์กร อีกทั้งคดียุบพรรคและการที่กกต.มีมติส่งเรื่อง
ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเรื่องที่นายกฯอาจถูกชี้ว่าขาดคุณสมบัติจากกรณีที่เป็นพิธีกรชิมไปบ่นไป ทำให้การ
เมืองไทยยังมีความเสี่ยงอยู่มากและความไม่แน่นอนสูงจาการยุบสภา ปัจจัยที่เกิดขึ้นยังคงส่งผลเชิงลบต่อ
จิตวิทยาการลงทุนในตลาดหุ้นต่อไป

5.แนวโน้มเงินทุนโลกไหลกลับเข้าเอเชียหลังประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 ในสหรัฐฯ
การไหลเข้าออกของเงินลงทุนต่างชาติที่ผ่านมา มีแนวโน้มไหลกลับบริษัทฯก่อนที่จะมีการประกาศ
ผลประกอบการประจำไตรมาส นักลงทุนต่างชาติจะมีการขายหุ้นในภูมิภาคต่างๆและดึงเงินลงทุนกลับ
ประเทศของตนเอง เพื่อที่จะแสดงผลสุทธิในงบการเงินประจำไตรมาส แต่เมื่อผ่านพ้นช่วงดังกล่าวไปแล้ว
เงินลงทุนก็จะไหลออกมาลงทุนในตลาดหุ้นต่างๆอีกครั้ง ดังนั้นในระยะสั้นเมื่อผ่านพ้นการประกาศผลประกอบ
การไตรมาส 2 ในสหรัฐฯ แนวโน้มเงินลงทุนจะกลับเข้าเอเชีย ซึ่งตลาดหุ้นไทยก็น่าจะได้รับประโยชน์ไป
ด้วย และหากการเมืองได้รับการแก้ไขแล้ว เงินลงทุนดังกล่าวก็จะไหลกับเข้าตลาดหุ้นไทย

6. ADB ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ไทย
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ประเทศไทยจากเดิม 4.8%
เป็น 5% และ 5.2% ในปีหน้า เป็นประเทศเดียวในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียที่ ADB ปรับประมาณ
การขึ้นสวนทางกับการปรับลดตัวเลขคาดการณ์GDPของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียลงจาก 6.1% เป็น
5.5%ปีนี้และ 5.8%ปีหน้า เนื่องจากผลกระทบของวิกฤตสินเชื่อ และเงินเฟ้อ ขณะที่ก.พาณิชย์รายงานมูลค่า
ส่งออกเดือนมิ.ย.มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 27.4%yoy ดุลการค้า
เกินดุล 628 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่เกิดจากการขยายตัวของภาคเกษตรและอุตสาหกรรม

แนวโน้มการเคลื่อนไหวระดับสัปดาห์
ด้านการวิเคราะห์เทคนิค ดัชนีมีสัญญาณบวกการกลับตัวมากขึ้น หลังดึงเส้น SMA 5 วัน ปรับขึ้น
มาได้พร้อมกับแท่งเทียนที่เริ่มเรียงตัวเป็นขาขึ้นมากขึ้นโดยการเรียงตัวทำจุดต่ำห่างจากแนวรับกรอบขาลง
มากขึ้น แต่เนื่องจาก VOLUME ไม่เพิ่มและยังไม่ผ่านแนวต้านกดดันเส้น SMA 10 วัน ทำให้สัญญาณขึ้นขาด
ความต่อเนื่องและขาดความแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามค่าสัญญาณ RSI,MACD ที่ปรับขึ้นมาสอดคล้องกันและอยู่ในระดับต่ำทำให้มีน้ำหนักรองรับดัชนีให้เกิดสัญญาณซื้อรอบใหม่ได้ แต่ดัชนีอาจจะมีการพักตัวออกด้านข้างเพื่อ
สร้างฐานและสะสม VOLUME ก่อน มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างรูปแบบ BULIISH FLAG ระยะสั้นเกิดขึ้น เพื่อสร้างขาขึ้นต่อเนื่อง ผ่านยืนแนวต้าน SMA 10 วันเป็นสัญญาณขึ้นต่อ ดังนั้นจากภาพที่เกิดขึ้นทำให้ดัชนีมี
แนวโน้มพักตัวออกด้านข้างสร้างฐานเพื่อขึ้นต่อ
กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ปรับตัวรอซื้อถือแนวรับ ผ่านยืน SMA 10 วันเป็นสัญญาณซื้อตามสัปดาห์นี้มี



:lol:

 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 28/07/2008 @ 08:38:43 :
บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

Distributor - Bisnews AFE
21-25 กรกฎาคม 2551

"เงินบาทขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อย
ขณะที่ ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวนตลอดสัปดาห์"

ตลาดเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทรงตัวต่อเนื่องใกล้ระดับ 3.50% จากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า โดยมีการ
ทยอยไหลกลับเข้ามาของสภาพคล่องสู่ระบบการเงินหลังจากผ่านช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมา ในขณะที่ยังไม่มี
ปัจจัยใหม่ที่มีผลต่อสภาพคล่องในตลาดเงินอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ประเภทกู้ยืม
ข้ามคืน (Overnight) หนาแน่นอยู่ในกรอบระหว่าง 3.45-3.49% เทียบกับ 3.23-3.49% ในสัปดาห์
ก่อนหน้า ส่วนอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยที่ประมูลได้ของธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี (Bilateral
Repo) ระยะ 1, 7 และ 14 วัน เคลื่อนไหวใกล้ระดับ 3.50%
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ประเภทอายุ 5 ปี (TH5YY) ปิดที่ระดับ 5.01% ในวัน
ศุกร์ ปรับลงจาก 5.15% เมื่อวันศุกร์ก่อนหน้า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นของไทยปรับตัวขึ้น จาก
แรงขายพันธบัตรเพื่อทำกำไร ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางและยาวปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
หลังจากที่นักลงทุนคลายความกังวลต่อการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อเนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ดิ่งตัวลง
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาและการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันของรัฐบาล ส่งผลให้มีความต้องการลงทุนในพันธบัตร
ระยะกลางและระยะยาวกลับเข้ามา ด้านตลาดพันธบัตรสหรัฐฯนั้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
ประเภทอายุ 10 ปี (US10YY) ปิดที่ระดับ 4.00% ในวันพฤหัสบดี ลดลงจาก 4.09% เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว
โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับลงในวันจันทร์ เนื่องจากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันและหุ้น
กลุ่มเวชภัณฑ์ที่ร่วงลง จึงทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนในทรัพย์สินที่มีความปลอดภัยกว่าอย่างพันธบัตรรัฐบาล
ขณะที่ในวันอังคารและวันพุธ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับขึ้น เนื่องจากการดิ่งลงของราคา
น้ำมันดิบและการฟื้นตัวของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทำให้มีแรงเทขายพันธบัตรรัฐบาลออกมา ขณะที่นายชาร์ลส์ พลอ
สเซอร์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย กล่าวว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ
อาจจะทำให้เฟดจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนการฟื้นตัวของตลาดแรงงานและตลาดการเงิน ส่วนในวัน
พฤหัสบดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับลดลงตามการดิ่งตัวลงของตลาดหุ้นวอลล์สตรีท หลัง
จากที่มีการประกาศยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 34,000 ราย และการเปิด
เผยยอดขายบ้านมือสองในเดือนมิถุนายนของสหรัฐฯที่ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี ทำให้มีแรงซื้อ
พันธบัตรรัฐบาลกลับเข้ามา
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทในประเทศ (Onshore) ขยับอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงิน
ดอลลาร์ฯ เงินบาทปรับตัวในทิศทางที่อ่อนค่าลง โดยถูกกดดันจากแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ อย่างต่อเนื่องของ
นักลงทุนต่างประเทศ และผู้นำเข้า โดยเฉพาะบริษัทน้ำมัน ตลอดจนความแข็งแกร่งของเงินดอลลาร์ฯ ใน
ช่วงกลางสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากเงินบาทมีปัจจัยบวก
จากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออก ตลอดจนความกังวลเกี่ยวกับการเข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาท
ของธปท. สำหรับในวันศุกร์ เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 33.44 (ตลาดเอเชีย) เทียบกับระดับ
33.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (18 กรกฎาคม)
ในสัปดาห์นี้ (28 กรกฎาคม-1 สิงหาคม 2551) ธนาคารพาณิชย์จะมีการปิดสำรองสภาพคล่อง
รายปักษ์ในวันอังคารและเข้าสู่ปักษ์ใหม่ในวันพุธ และคงจะมีการทยอยเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิก
ถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นน่าจะยังทรงตัวใกล้เคียงระดับ 3.50%
ภายใต้ภาวะสภาพคล่องในตลาดเงินที่น่าจะไม่เปลี่ยนแปลงมาก
ส่วนเงินบาทในประเทศอาจมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.20-33.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดย
ปัจจัยที่ควรจับตา ได้แก่ แรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ของผู้นำเข้าและนักลงทุนต่างชาติ ทิศทางของสกุลเงินใน
ภูมิภาค และสัญญาณการเข้าแทรกแซงตลาดของธปท. ตลอดจนทิศทางเงินดอลลาร์ฯ ซึ่งจะขึ้นกับรายงานตัว
เลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญประกอบด้วย ตัวเลขตลาดแรงงาน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขต
ชิคาโก ดัชนี ISM ภาคการผลิต ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ จัดทำโดย Conference Board เดือน
กรกฎาคม ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนมิถุนายน และตัวเลข GDP และดัชนีต้นทุนการจ้างงานประจำ
ไตรมาส 2/2551

การเคลื่อนไหวของเงินเยนและเงินยูโร
สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินเยนขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ เงินเยนแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความอ่อนแอของภาคการเงินสหรัฐฯ แม้ว่าผลประกอบการ
ประจำไตรมาส 2/2551 ของธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา จะออกมาดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนัก
วิเคราะห์ก็ตาม อย่างไรก็ตาม เงินเยนต้องลดช่วงบวกที่ทำไว้ทั้งหมด และปรับตัวในทิศทางที่อ่อนค่าลงในช่วงต่อมา เนื่องจากการคาดการณ์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง
สหรัฐฯ (เฟด) ภายในปีนี้ กลับเข้ามาเป็นจุดสนใจของตลาดการเงินอีกครั้ง หลังจากประธานเฟดสาขาฟิ
ลาเดลเฟียกล่าวว่า แรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น อาจทำให้เฟดต้องเริ่มทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ใน
ขณะที่ การร่วงลงของราคาน้ำมันในตลาดโลกในช่วงกลางสัปดาห์ ตลอดจนคำกล่าวของ รมว.คลังสหรัฐฯ
ที่ยังคงย้ำว่า ความแข็งแกร่งของเงินดอลลาร์ฯ เป็นผลประโยชน์ต่อสหรัฐฯ ก็เป็นปัจจัยบวกต่อค่าเงิน
ดอลลาร์ฯ ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นในภาคการเงินที่ปรับตัว
ดีขึ้น หลังจากสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้อนุมัติร่างกฎหมายช่วยเหลือตลาดที่อยู่อาศัยเมื่อวันที่ 23
กรกฎาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เงินเยนฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ ท่ามกลาง
แรงเทขายเงินดอลลาร์ฯ หลังจากความอ่อนแอในตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ถูกตอกย้ำด้วยตัวเลขยอดขาย
บ้านมือสองในเดือนมิถุนายนที่ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี สำหรับในวันศุกร์ เงินเยนปรับตัวอยู่ที่
ระดับประมาณ 107.35 (ตลาดยุโรป) เทียบกับระดับ 106.95 เยนต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (18
กรกฎาคม) ขณะที่ นักลงทุนรอการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้
บริโภคสหรัฐฯ (ขั้นสุดท้าย) จัดทำโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน เดือนกรกฎาคม ตลอดจนยอดสั่งซื้อ
สินค้าคงทน และยอดขายบ้านใหม่เดือนมิถุนายน
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ เงินยูโรปรับตัวแข็งค่าขึ้นท่าม
กลางแรงเทขายเงินดอลลาร์ฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ จากความวิตกเกี่ยวกับภาคการเงินของสหรัฐฯ อย่างไรก็
ตาม เงินยูโรต้องลดช่วงบวกทั้งหมดลง และร่วงลงอย่างหนักในช่วงต่อมา เนื่องจากเงินดอลลาร์ฯ ได้รับ
แรงหนุนจากการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด และการปรับตัวลงของราคาน้ำมันใน
ตลาดโลกในช่วงกลางสัปดาห์ ในขณะที่ ความเชื่อมั่นในภาคการเงินของสหรัฐฯ ได้ฟื้นตัวขึ้นในช่วงสั้นๆ
หลังจากสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้อนุมัติร่างกฏหมายช่วยเหลือตลาดที่อยู่อาศัยเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่
ผ่านมา นอกจากนี้ เงินยูโรยังมีปัจจัยลบจากตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคมที่น่าผิดหวัง อาทิ ดัชนีความ
เชื่อมั่นทางธุรกิจจัดทำโดยสถาบัน Ifo ของเยอรมนี ที่ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปี ในขณะที่ ข้อมูลกิจกรรมภาคการผลิตและบริการในยูโรโซนออกมาอ่อนแอกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ทั้งนี้
ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจของยูโรโซนได้ลดกระแสการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรปลง สำหรับในวันศุกร์ เงินยูโรฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยมายืนที่ระดับ 1.5735 (ตลาดยุโรป)
เทียบกับระดับ 1.5846 ดอลลาร์ฯ ต่อยูโร ในวันศุกร์ก่อนหน้า (18 กรกฎาคม) ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ
ยังคงถูกกดดันหลังจากตัวเลขยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายน ออกมาสร้างความผิดหวังให้กับตลาด ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ในช่วงตลาดนิวยอร์ก

:lol:
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com