May 10, 2024   10:00:37 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องนั่งเล่น > เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 03/08/2008 @ 08:22:20
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ทุกวันทุกคนบนโลกใบนี้มีเวลาเท่าเทียมกันคือ ๒๔ ชั่วโมง อย่างไรก็ดี มองจากแง่มุมของเศรษฐศาสตร์ เวลาของทุกคนมีคุณค่าไม่เท่ากัน การบริหารเวลาของแต่ละคนจึงหมายถึงความแตกต่างระหว่างความสำเร็จกับความพ่ายแพ้

ค่าของเวลาเกี่ยวข้องกับสมรรถภาพซึ่งในแง่ธุรกิจคือต้นทุน ฉะนั้นสถาบันศึกษาทุกแห่งที่สอนวิชาการบริหารธุรกิจจึงมีหลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารเวลา[/color:4fa4236100">

ครั้งหนึ่งเล่าปี่ขอขงเบ้งให้แนะนำวิธีสร้างตนให้เป็นมหาเศรษฐีแห่งดินแดน ขงเบ้งว่างานใหญ่เช่นนี้ต้องวางแผนและรู้จักบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ

เล่าปี่กล่าวว่า “ ข้าฯ เห็นด้วยในหลักการแต่ทว่าข้าฯมีงานมากมายที่ต้องทำทุกวันจนเวียนเกล้าเวียนศีรษะ ไม่เคยมีเวลาพอที่จะจัดการทุกสิ่งทุกอย่างได้เลย “

ขงเบ้งบอกลูกน้องให้ไปเตรียมก้อนหิน ก้อนกรวด ก้อนทราย และน้ำจำนวนหนึ่งพร้อมถังเหล็กใหญ่หนึ่งใบ
เล่าปี่ถามด้วยความแปลกใจ “ ท่านเตรียมสิ่งเหล่านี้ไว้เพื่ออะไร ”
ขงเบ้งยิ้มอย่างมีเลศนัยพร้อมกับตอบด้วยคำถามว่า “ ท่านบริหารเวลาด้วยวิธีใด ”
เล่าปี่ตอบว่า “ ข้าฯเคยคิดว่าข้าฯมีเทคนิคที่ดีอยู่แล้วคือใช้วิธีมอบหมาย ข้าฯมีผู้ช่วยอยู่รอบด้านตั้งแต่กวนอู เตียวหุย เจ้าหยุน ฯลฯ ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ด้านต่างๆ แต่งานทั้งหลายก็ยังพันกันอีนุงตุงนัง ไม่สามารถปรับให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้นได้ เดิมข้าฯคิดว่าข้าฯ คือ แมลงวันไม่มีหัวอยู่ตัวเดียว แต่หลังการใช้ระบบมอบหมายงานกลับกลายเป็นว่า ปัจจุบันมีแมลงวันหัวขาดเป็นฝูง”

ขงเบ้งฟังแล้วจึงเริ่มอธิบายว่า “ เทคนิคการบริหารเวลาสามารถแบ่งเป็นสูง กลาง และต่ำ สามขั้น ขั้นต่ำเน้นการใช้เศษกระดาษบันทึก ขั้นกลางเน้นการใช้แผนดำเนินงาน และตารางโปรแกรมประจำวันซึ่งสะท้อนความสำคัญของการวางแผน ส่วนขั้นสูงเน้นการจัดการโดยแบ่งแยกประเภทของหน้าที่การงานตามดีกรีความสำคัญของงาน เพื่อพิจารณาลำดับความเร่งด่วนในการจัดการงานดังกล่าว ทั้งสามขั้นต่างมีเรื่องการมอบหมายงานเกี่ยวข้องอยู่ด้วยตามความต้องการของปริมาณและลักษณะเฉพาะของงานแต่ละชิ้น ”
เล่าปี่สารภาพว่า “ หากพิจารณาตามการแบ่งขั้นของเทคนิคการบริหารเวลาแล้ว ข้าฯ ยอมรับว่าวิธีของข้าฯอยู่ที่ขั้นต่ำ เพราะใช้แค่สลิปบันทึก”[/color:4fa4236100">

ขงเบ้งชี้ไปที่ถังเหล็กกับกองวัสดุที่ผู้ช่วยได้เตรียมไว้มุมห้องพร้อมกล่าวว่า “ คำตอบของการบริหารขั้นสูงอยู่ในถังเหล็กใบใหญ่นี่แหละ! ความจุของถังใบนี้ เปรียบเสมือนขีดความสามารถของคนคนหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง ก้อนกรวดเปรียบได้กับงานที่สำคัญและเร่งด่วน ก้อนหินคือภาระที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน เม็ดทรายเปรียบได้กับภาระที่เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ และน้ำคือหน้าที่ที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน ” ขงเบ้งอธิบายพลางวาดผังประกอบคำอธิบายดังตารางประกอบด้านล่างนี้


เร่งด่วน ไม่เร่งด่วน
สำคัญ ก. งานประเภทก้อนกรวด
* วิกฤติการณ์
* ปัญหาประชิดตัว
* งานที่มีเวลากำหนดแน่นอน ข. งานประเภทก้อนหิน
* โครงการใหม่/การริเริ่มใหม่
* กฎระเบียบ
* การปฏิรูปประสิทธิภาพการผลิต
* การสร้างความสัมพันธ์กับหุ้นส่วน
* มาตรการการป้องปราม
ไม่สำคัญ ค. งานประเภทเม็ดทราย
* รับรองแขกที่ไม่ได้รับเชิญ
* จัดการกับจดหมาย เอกสารโทรศัพท์ทั่วไป
* เข้าประชุมและกิจกรรมทั่วไปที่ไม่สำคัญ ง. งานประเภทน้ำ
* งานจุกจิกทั่วไปที่ทำหรือไม่ทำก็ได้
* งานเลี้ยงสังสรรค์ทั่วไปที่ไม่จำเป็น
* กิจกรรมที่น่าสนใจทั่วไป

“ ปกติท่านเน้นงานประเภทใด ” ขงเบ้งถาม
“ ก็ต้องเป็นประเภท ก. ” เล่าปี่ตอบอย่างไม่ลังเล
“ แล้วงานประเภท ข. ล่ะ ” ขงเบ้งถามต่อไป
เล่าปี่ตอบว่า “ ข้าฯ ตระหนักถึงความสำคัญของงานประเภท ข. แต่ไม่มีเวลาพอที่จะสนใจมัน”
“ เป็นอย่างนี้ใช่ไหม ” ขงเบ้งถามพลางใส่กรวดลงไปในถังเหล็กจนเต็มแล้วพยายาม
ใส่ก้อนหินตามซึ่งใส่ไม่ได้ เล่าปี่ตอบว่า “ ใช่ “
“ และหากเปลี่ยนวิธีบรรจุใหม่ล่ะ ” ขงเบ้งถามต่อพลางใส่ก้อนหินทีละก้อนเข้าไปในถังก่อนจนใส่ไม่ได้แล้วจึงถามเล่าปี่อีกว่า “ ตอนนี้ถังเหล็กเต็มแล้วจะใส่ลงไปอีกไม่ได้ใช่ไหม?” ซึ่งเล่าปี่ตอบว่า “ ใช่ “
“ จริงหรือ ? ” ขงเบ้งถามแล้วหยิบก้อนกรวดใส่เข้าไปข้างบนถังแล้วเขย่าให้ก้อนกรวดตกลงไปในถังจนหมด “ บัดนี้ถังเหล็กใบนี้ใส่อะไรลงไปอีกได้หรือไม่? ” ขงเบ้งพูดพลางเทเม็ดทรายลงไปจนหมด “ แล้วทีนี้ล่ะ ใส่อะไรลงไปอีกได้ไหม? ” ขงเบ้งถามต่อ แต่ก่อนที่เล่าปี่มีโอกาสตอบ ขงเบ้งก็ตักน้ำที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในถังเหล็กอีกจนหมด “ ตอนนี้ท่านเข้าใจความหมายของการทดลองนี้หรือยัง ? ” เล่าปี่ตอบว่า “ เข้าใจแล้ว นี่คือสิ่งที่ท่านกล่าวถึงเมื่อสักครู่เกี่ยวกับการจัดการแบบแยกประเภทและเลือกการจัดการก่อนหลังใช่ไหม ? ”

ขงเบ้งตอบว่า “ ใช่แล้ว การทดลองชี้ให้เห็นว่าหากถังเหล็กตั้งแต่แรกก็เติมเต็มด้วยก้อนกรวด ทราย และน้ำ ก็คงไม่มีโอกาสใส่ก้อนหินลงไปได้ แต่ถ้าใส่ก้อนหินลงไปก่อน ในถังยังมีเนื้อที่ที่จะใส่สิ่งอื่นๆเข้าไปได้อีก ดังนั้น การบริหารเวลาที่ได้ผลต้องดูว่า อะไรคือก้อนหิน อะไรคือก้อนกรวด เม็ดทรายและน้ำ และไม่ว่าจะเป็นประการใดก็ต้องใส่ก้อนหินลงไปในถังเป็นอันดับแรก ”

เล่าปี่ยังถามว่า “ แล้วการวิเคราะห์แยกแยะเรื่องต่างๆออกเป็นสี่หมวดนี้มีผลอย่างไร ”
ขงเบ้งตอบว่า “ บุคคลจำพวกที่ว้าวุ่นอยู่กับเรื่องราวประเภทก้อนกรวดย่อมมีความรู้สึกถูกเวลากดดันและวนเวียนอยู่ในแดนวิกฤตจนอ่อนล้า พวกที่เน้นเรื่องประเภทเม็ดทรายจะขาดพลังสร้างสรรค์ ชอบฟังคำพูดเพราะหู คบคนแบบผิวเผิน พวกที่นิยมเรื่องราวประเภทน้ำมักบกพร่องเรื่องสำนึกรับผิดชอบแม้กระทั่งเรื่องสารทุกข์สุกดิบของตนเอง ”

เล่าปี่ถามว่า “เป็นไปได้ไหมที่ว่าถ้าเน้นก้อนหินมากเกินไปจะมองข้ามก้อนกรวด เพราะก้อนกรวดมากับความเร่งด่วน ? “

“ ท่านทราบไหมว่าก้อนกรวดมาจากไหน? ก็มาจากก้อนหินที่แตกสลายไง ” ขงเบ้งตอบ “ คนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องประเภทก้อนหินจะมีก้อนกรวดน้อย คนที่เน้นก้อนกรวดก็จะมีก้อนกรวดเยอะตลอด “ ขงเบ้งสอนต่อไปว่า “ คนที่อิงเรื่องประเภทก้อนหินเป็นคนมีประสิทธิภาพ เพราะเขาจะเก่งในการวิเคราะห์สถานการณ์ เวลาและสิ่งแวดล้อม สามารถจับประเด็นหลักของปัญหา สามารถจัดการกับเรื่องเร่งด่วนและควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เกินกว่าเหตุ กล้าฟันธงและใช้มาตรการป้องปราม บุคคลจำพวกนี้จะมีวิสัยทัศน์ มีอุดมการณ์ เคารพ ระเบียบ สามารถควบคุมตัวเอง ดำเนินชีวิตอย่างมีวินัย และสามารถทำงานชิ้นใหญ่ได้ ”

เล่าปี่ชื่นชอบทฤษฎี “ วัตถุในถัง “ ของขงเบ้งเป็นอย่างมากพร้อมกับสารภาพว่า “ มาวันนี้ข้าฯเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วว่าการต่อสู้ของข้าฯทำไมจึงยังลุ่มๆดอนๆ เพราะแม้ว่าข้ามีขุนพลเก่งๆเช่นกวนอูและเตียวหุย แต่พวกเขาจะก้าวหน้าได้อย่างไรตราบใดที่คนที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างพวกเขาจมปลักอยู่กับเรื่องจิ๊บจ๊อย กับทำงานลักษณะ“ เก็บเม็ดงาแต่ทิ้งแตงโม “ (เจี่ยนเลอจือหมา ติวเลอซีกวา) ขืนดำเนินตามวิธีนี้ต่อไป ความพยายามของข้าฯที่จะเป็นอภิมหาเศรษฐีนัมเบอร์วันในแผ่นดินก็คงเป็นได้แค่ความฝัน ! ”
ผู้เีขียน : สารสิน วีระผล[/color:4fa4236100">

เกี่ยวกับผู้เขียน : เป็นดอกเตอร์ทางด้านประวัติศาสตร์และภาษาเอเชียตะวันออกจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และเคยรับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ ตำแหน่งสุดท้ายคือรองปลัดกระทรวง ฯ
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์
( คอลัมน์ คลื่นความคิด หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันจันทร์ที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๘)



:lol: [/size:4fa4236100">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com