May 12, 2024   10:08:56 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > หุ้นทั่วโลกร่วงระนาวหลัง
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 15/09/2008 @ 22:09:34
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงระนาว หลังเลห์แมน บราเธอส์ล้มละลาย คาดยุโรปเปิดร่วงหนัก
ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ร่วงหนัก ลือกระหึ่ม! เฟดลด ดอกเบี้ยอุ้ม

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงในการซื้อขายช่วงแรกในวันนี้
หลังจากเลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจรายใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐ
เตรียมยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อขอการพิทักษ์ทรัพย์จากภาวะล้มละลาย ส่งผลให้เกิดความผันผวนครั้งใหม่ในตลาดการเงิน
ณ เวลา 14.20 น.ตามเวลาไทย ดัชนี FTSEurofirst 300 ร่วงลง 3.1 % มาที่ 1,126.08 โดยดัชนีปิดบวก 1.9 % เมื่อวันศุกร์

หุ้นกลุ่มธนาคารเป็นกลุ่มที่มีน้ำหนักมากที่สุดในดัชนีที่ดิ่งลงในวันนี้
"มีความเสี่ยงภายในระบบการเงินที่จะมีการปรับลดอันดับและการขาดทุน จำนวนมาก
ซึ่งนอกเหนือจากประเด็นนี้แล้ว ผมก็ยังวิตกเกี่ยวกับภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง"นายวาเลอรี แพลกนอล
หัวหน้านักวิเคราะห์ บล.ซีเอ็ม-ซีไอซีกล่าว
"เราเผชิญกับวิกฤตสินเชื่อที่ค่อนข้างรุนแรง แต่การที่เฟดขยายขอบเขตของสินทรัพย์ค้ำประกันให้ครอบคลุมถึงหลักทรัพย์นั้น
ก็อาจจะช่วยหนุนตลาดอยู่บ้าง โดยเฟดกำลังดำเนินการอย่างดีที่สุดเพื่อเลี่ยงผลกระทบครั้งใหญ่"
ขณะเดียวกัน หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งรายงานวานนี้ว่า ยูบีเอสจะต้องปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ทางบัญชีลง
อีก 5 พันล้านดอลลาร์ในกาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยราคาหุ้นรูดลง 8.4 %

ดอลล์ร่วงหลังลือเฟดลดดบ.พรุ่งนี้แก้วิกฤติ"เลห์แมน"
ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ดิ่งลงในการซื้อขายที่ตลาดเอเชียวันนี้ ในขณะที่บริษัทเลห์แมน บราเธอร์ส
ประกาศว่าจะยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อขอรับการพิทักษ์ทรัพย์จากภาวะล้มละลาย
ซึ่งข่าวดังกล่าวได้กระตุ้นความกังวลในเสถียรภาพของระบบการเงินสหรัฐ
รวมทั้งทำให้เกิดข่าวลือว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ทั้งนี้ สัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของสหรัฐในขณะนี้บ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ 70 %
ที่เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ย 0.25 % ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันพรุ่งนี้
และตลาดปรับตัวรับความเป็นไปได้ 100 % ที่จะมีการลดอัตราดอกเบี้ย 0.25 %
ในการประชุมกำหนดนโยบายในวันที่ 16 ธ.ค.
มีแนวโน้มว่าวันนี้อาจเป็นวันที่เยนพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2002
ในขณะที่นักลงทุนมองว่าเยนเป็นสกุลเงินที่มีความปลอดภัยสูง ถึงแม้ปริมาณการซื้อขายอยู่ในระดับเบาบางเนื่องจากเป็นวันหยุดของญี่ปุ่น

ดอลลาร์ดิ่งลง 2.3 % สู่ 105.45 เยนในวันนี้ จาก 107.86 เยนในวันศุกร์
ในขณะที่ยูโรร่วงลงสู่ 152.26 เยน จาก 153.43 เยน
ยูโร/ดอลลาร์อยู่ที่ 1.4479 ดอลลาร์ โดยพุ่งขึ้น 1.7 % จากวันศุกร์
เฟดได้ประกาศใช้มาตรการฉุกเฉินวันนี้เพื่อลดความกังวลในตลาดการเงิน
และผ่อนคลายปัญหาใดๆในตลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการล้มละลายของเลห์แมน
หนึ่งในมาตรการสำคัญที่สุดของเฟดคือการยอมรับหลักทรัพย์ในฐานะสินทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมเงินสด
ในโครงการปล่อยกู้พิเศษของเฟด โดยครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 95 ปีที่เฟดอนุญาตให้ทำเช่นนี้
นายวี. อนันธา นาเกสวาราน หัวหน้าฝ่ายวิจัยการลงทุนของธนาคารแบงก์ จูเลียส แบเออร์ กล่าวว่า
ในอนาคตเฟดจะไม่สามารถทำอะไรแบบนี้ได้อีกต่อไป และมาตรการชุดใหม่ล่าสุดนี้ก็ทำให้เฟด
ใกล้ที่จะถึงจุดดังกล่าวและสิ่งนี้ส่งผลลบต่อดอลลาร์สหรัฐ
"การพุ่งขึ้นของดอลลาร์ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืนโดยการปรับตัวขึ้นดังกล่าว
เกิดจากการที่กองทุนเฮดจ์ฟันด์หลายแห่งปิดสถานะการลงทุนระยะสั้น และจากการที่นักลงทุนเข้าใจผิดว่า
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐได้ฟื้นตัวขึ้นมาแล้ว"
ราคาสัญญาล่วงหน้าตลาดหุ้นสหรัฐดิ่งลงในวันนี้ ในขณะที่ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐดีดตัวขึ้น
โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องเลห์แมน หลังจากการเจรจาเพื่อกอบกู้กิจการวาณิชธนกิจแห่งนี้ประสบความล้มเหลว
นอกจากนี้ สื่อมวลชนยังรายงานว่า AIG ซึ่งเป็นบริษัทประกันกำลังหาทางระดมทุนฉุกเฉิน
เลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิงส์แถลงในวันนี้ว่า ทางบริษัทจะยื่นเรื่องขอรับการพิทักษ์ทรัพย์จากภาวะล้มละลายต่อศาลนิวยอร์ค
แต่กิจการโบรกเกอร์-ดีลเลอร์ทุกแห่งในเครือเลห์แมนไม่ได้รวมอยู่ในการยื่นเรื่องล้มละลายครั้งนี้เนื่องจากบริษัทมีแผนขายกิจการดังกล่าว
มีข่าวออกมาอีกด้วยว่า ธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ปได้ตกลง ที่จะซื้อบริษัทเมอร์ริล ลินช์ แอนด์ โค อิงค์ในวงเงิน 4.4 หมื่นล้านดอลลาร์
ขณะเดียวกัน ธนาคารยักษ์ใหญ่ 10 แห่งของโลกเห็นพ้องที่จะจัดตั้งกองทุนวงเงิน 7 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 2.4 ล้านล้านบาท
เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทั่วโลก และลดความผันผวนในสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าเป็น"ภาวะแวดล้อมตลาดที่ผิดจากธรรมดา"
นายบิล กรอส ประธานกองทุนพิมโค ที่เป็นกองทุนพันธบัตรยักษ์ใหญ่ กล่าวกับรอยเตอร์ก่อนการประกาศของเลห์แมนว่า
การยื่นเรื่องล้มละลายอาจจุดชนวนให้เกิดกระแสการปิดสถานะการลงทุนทั่วโลก
นายกรอสกล่าวว่า "เลห์แมนจะยื่นเรื่องล้มละลาย และมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบขนาดยักษ์ในทันที
ถ้าหากดีลเลอร์, เฮดจ์ฟันด์ และฝ่าย buyside ปิดสถานะการลงทุนทั่วโลกในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์และสัญญาสวอป"
ตลาดวอลล์สตรีทได้เปิดการซื้อขายรอบฉุกเฉินเมื่อวานนี้เพื่อนุญาตให้ดีลเลอร์ในตลาดตราสารอนุพันธ์ที่มีขนาด 455 ล้านล้านดอลลาร์
สามารถปรับลดการลงทุนในเลห์แมน อย่างไรก็ดี ปริมาณการซื้อขายอยู่ในระดับเบาบาง
นักวิเคราะห์กล่าวว่า มีความไม่แน่นอนสูงมากในตลาด และธนาคารกลางที่สำคัญก็อาจจำเป็นต้องเข้ามาแทรกแซง
เพื่อลดความกังวลในตลาด ขณะที่เฟดจะจัดการประชุมกำหนดนโยบายในวันพรุ่งนี้
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ระบุว่าทางธนาคารกำลังจับตาดูความคืบหน้าในตลาดการเงิน
ขณะที่ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และหน่วยงานของประเทศอื่นๆ
นายโทนี มอร์ริส นักยุทธศาสตร์การลงทุนสกุลเงินของธนาคาร ANZ กล่าวว่า
"มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสำคัญพร้อมที่จะอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มเติมเข้าสู่ตลาด
แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ว่าธนาคารกลางเหล่านี้สามารถดำเนินการเพิ่มเติมอย่างไรได้อีกบ้าง"
"เฟดอาจจะออกแถลงการณ์ที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตลาดหลังจากประชุมเสร็จแล้ว
และผมคาดว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ถึงแม้มีความเป็นไปได้น้อย"
สัญญายูโรดอลลาร์ระยะ 3 เดือนมีราคาพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยสัญญาเดือนธ.ค.พุ่งขึ้น 0.245
สู่ 97.31 ในขณะที่สัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดปรับตัวรับการคาดการณ์ที่ว่า
เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงภายในเดือนธ.ค.
นายฌอน แคลโลว์ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของธนาคารเวสท์แพค กล่าวว่า
"ถ้าหากตลาดยกเลิกการคาดการณ์ที่ว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของเฟดจะเป็นการขึ้นดอกเบี้ย
ก็จะเท่ากับว่ามีคำสั่งขายยูโร/ดอลลาร์เข้ามาในตลาดมากเกินไปแล้วในช่วงก่อนหน้านี้"

ดอลลาร์ร่วงลงสู่ 1.1107 ฟรังก์สวิส จาก 1.1306 ฟรังก์สวิสในช่วงท้ายวันศุกร์
ส่วนปอนด์พุ่งขึ้นสู่ 1.8040 ดอลลาร์ จาก 1.7946 ดอลลาร์

:lol:

 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 16/09/2008 @ 07:57:26 :
ซับไพร์มครั้งต่อไปตัวชี้ขาดลุ้นเงินไหลกลับไทย-บาทไม่อ่อนต่อ
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 กันยายน 2551 17:11 น

3 เกจิชี้ ซับไพร์มในสหรัฐปมปัญหาใหญ่ ส่งผลไทยโดนหางเลขทำบาทอ่อน
แต่แนวโน้มระยะยาวอาจอ่อนต่อไปได้อีกไม่มาก ส่วนอัตราดอกเบี้ยต่อจากนี้มีสิทธิ์ขึ้น ได้แต่คงไปได้ไม่ไกล

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกฯ รมว.คลัง และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ระบุในงานสัมมนาของ บลจ. ทหารไทย ในหัวข้อเรื่อง "ทิศทางดอกเบี้ย และค่าเงินบาท" ว่า
สถานการณ์ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯในระยะสั้น ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในสหรัฐฯที่ต้องรอลุ้นว่า
ปัญหาซับไพร์มจะส่งผลต่อสถาบันการเงินเป็นระลอกที่ 3 หรือไม่
หากพ้นเดือนนี้แล้วไม่มีสถาบันการเงินล้มอีก เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศที่โยกกลับไปสหรัฐฯเพื่อแก้ไขวิกฤติ ซับไพรม์
ก็น่าจะไหลกลับมาลงทุนในไทยได้ โดยเฉพาะในตลาดหุ้น แต่หากยัง มีสถาบันการเงินล้มต่อ
เงินที่เตรียมไหลเข้าเอเชียก็จะหยุดทันที อย่างไรก็ตามสกุลเงินดอลลาร์ไม่อยู่ในสถานะแข็งแรงนัก
ดังนั้นเงินบาทในระยะยาวจึงไม่น่าอ่อนค่าลงนักเมื่อเทียบกับดอลลาร์

"ถ้าซับไพร์มรอบ 3 เกิดอีกในเดือนนี้ สหรัฐจะมีปัญหาอีกรอบ เงินส่วนใหญ่ที่เตรียมไว้สำหรับการลงทุนในเอเชียก็จะหยุด
เพราะต้องเอาไปดูแลสถาบันการเงินของตัวเอง ดังนั้นต่างชาติก็ไม่มาตลาดหุ้นไทย
ขณะที่เงินลงทุนของต่างชาติทุกวันนี้ 40% ของมาร์เก็ตแคป และเป็นเงินที่ Active
ส่วนอีก 60% เป็นเงินของนักลงทุนไทยไม่ค่อยActive เท่าไร ดังนั้นหากผ่านเดือนกันยายนไปได้
ตลาดหุ้นไทยก็เฮได้ เพราะจะมีเงินไหลเข้ามา ส่วนตอนนี้ที่ยังไม่เข้ามาเพราะเขาไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก"

สำหรับจีดีพีของไทยไตรมาสที่ 2 ที่โต 5.3% ลดลง 0.8% จากไตรมาสแรกที่โต 6.1% นั้น เป็นตัวเลขที่ลดลงไม่มาก
หากเทียบกับประเทศอื่นในเอเชียที่ส่วนใหญ่ปรับลงราว 2% ทั้งนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 5.3%
เป็นผลจากการใช้จ่ายของภาครัฐ ติดลบ 1.3% ขณะที่ภาคเอกชนมีการใช้จ่ายสูงกว่า 2%
โดยปัจจัยหลักเชื่อว่าการเติบโตของภาคเอกชนมาจากการที่ประชาชนในภาคเกษตรกรรม
ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ได้รับผลดี จากราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะ
ข้าว ยาง มันสำปะหลัง อ้อย และ ปาล์ม ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก และเชื่อว่า ราคาสินค้าเกษตร
น่าจะทรงตัวในระดับสูง ในระยะ 3-4 ปีข้างหน้า และการใช้จ่ายของภาคเกษตรกร จะเป็นตัวนำเศรษฐกิจไทย

ส่วนภาคการส่งออก มองว่าประเทศไทยยังพึ่งพาการส่งออกในระดับสูง ดังนั้น
ค่าเงินบาทอ่อนค่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกของประเทศ โดยปัจจุบันสัดส่วนการส่งออกไปในประเทศแถบเอเชียสูงถึง 40%
และในอนาคตมีแนวโน้มสูงถึง 50-60% เนื่องจากอุตสาหกรรมหลัก ยังคงอยู่ในจีน อาเซียนและ ญี่ปุ่น
และมีอัตราการเติบโตสูงกว่าในอเมริกาและยุโรป

ส่วน ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มองว่า ความไม่แน่นอนในตลาดโลกยังมีอยู่
หลายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียยังเติบโตได้ดีอยู่ แต่ในสหรัฐฯมีธุรกิจอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ค่อยดี
จากจุดนี้ทำให้โลกจะต้องหาจุดสมดุลต่อไป ขณะที่ปัญหาซับไพร์มเองยังไม่จบ
โดยมีการประเมินว่าน่าจะมีความเสียหายจากปัญหาดังกล่าวคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งปัจจุบันเพิ่งแก้ไขปัญหาไปได้เพียง 50% ส่วนอีก 50% ที่เหลือยังต้องติดตามกันต่อไป
"การลงทุนช่วงนี้ต้องมองระยะยาว 3-5 ปี อย่าไปรีบร้อน เพราะตลาดหุ้นมีสิทธิที่จะปรับตัวลดลงได้อีก
เนื่องจากปัญหาการเมืองก็ยังไม่ถึงจุดสุดท้าย แต่ถ้าเป็นการลงทุนระยะยาวแล้วเกิน 2-3 ปีขึ้นไปผลตอบแทนที่ได้ยังไงก็สูงกว่าเงินฝากอยู่แล้ว"

สำหรับการลงทุนในระยะสั้น ช่วงนี้คงเป็นเรื่องที่ประเมินได้ยาก เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่นิ่งพอ
ทำให้คาดเดาได้ว่าผลตอบแทนที่ได้จะดีหรือไม่ บวกกับปัญหาเรื่องเงินเฟ้อก็ยังอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยยังต่ำกว่าเงินเฟ้อ
ดังนั้นการหาการลงทุนระยะยาว และให้ผลตอบแทนที่แน่นอน เช่นพันธบัตรรัฐบาล ก็จะเป็นทางเลือกที่เสี่ยงน้อยกว่า
ส่วนการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ยังไม่ความไม่แน่นอนในปัจจุบัน แต่ก็เชื่อว่าในระยะยาวปัญหาก็จะหมดไป
ด้วยปัจจัยพื้นฐานยังดีอยู่ ส่วนการลงทุนในทองคำ ราคาก็จะเป็นไปตามราคาพลังงาน
ดังนั้นก็พิจารณาดูว่าราคาพลังงานจะมีโอกาสปรับตัวขึ้นอีกหรือไม่

ด้าน คณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังและที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ
กล่าวว่า ขณะนี้ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินในภูมิภาคด้วยกันถือว่ามีเสถียรภาพ
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาค่าเงินบาทอ่อนค่า 2.9% , สิงคโปร์ 4.3% , มาเลเซีย 4.9% , อินเดีย 4.8%
ขณะที่ค่าเงินในยุโรปตะวันออกนั้น ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาอ่อนค่าไปแล้วกว่า 10% และยุโรปอ่อนค่าไป 6.6%
ทั้งนี้การอ่อนค่าลงของเงินทั่วโลกนี้เป็นผลจากค่าเงินสหรัฐที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นในช่วงหลังจาก
เศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาสที่ 2 ที่ปรับตัวดีขึ้น

ในระยะสั้น อัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของสหรัฐ
เพราะปัญหาซับไพร์มอาจมีปัญหาสลับซับซ้อนมากกว่าที่เห็นอยู่นี้ และอาจจะส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินได้
อย่างไรก็ตามเชื่อว่าอัตราค่าเงินบาทของไทยถือว่ามีเสถียรภาพดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน

สำหรับอัตราดอกเบี้ยนั้น มองว่าการแก้ปัญหาของสหรัฐโดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยคงมีโอกาสเป็นไปได้น้อย
ดังนั้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยของตลาดโลกไม่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น โอกาสที่ดอกเบี้ยของไทยก็ยังไม่เพิ่มขึ้น แต่หากจะเพิ่มก็คงไม่มากนัก
"โอกาสของไทยที่จะขึ้นดอกเบี้ยมีน้อย เพราะว่าเงินเฟ้อก็ไม่ได้สูงมากนักครึ่งหลังน่าจะอยู่ที่ 6.3-6.5%
น้ำมันก็ปรับตัวลดลงแล้ว ดังนั้นคงไม่มีผลทำให้ ธปท.มองเรื่องเงินเฟ้อมาก
ส่วนระยะปานกลาง 5-10 ปี อาจมีโอกาสปรับขึ้นได้บ้างเล็กน้อย"


:lol:
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com