April 26, 2024   12:51:58 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ลุ้นSETครึ่งปีหลังแตะ1,600จุด
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 15/07/2016 @ 08:28:35
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ดัชดีหุ้นไทย พร้อมทะยานสู่ 1,600 จุด กูรูมองครึ่งปีหลังเข้าสู่ทิศทางขาขึ้น จากแรงหนุนของการบริโภคในประเทศฟื้น แม้มี Brexit คอยกดดันหุ้นฝั่งตะวันตก แต่หนุนหุ้นไทย เหตุเป็นแรงกระตุ้นให้เงินนอกไหลเข้า ชี้ 12 เดือนข้างหน้า P/E จะอยู่ที่ประมาณ 14.5 เท่า - กำไรบจ.จะโตได้ถึง 20% ให้ AEONT-CPALL- CPF-GLOBAL-PCSGH-SAT เป็นหุ้นเด่นประจำ Q3/59 ส่วนระยะสั้นแนะหา หุ้น Laggard - ปันผลเด่น และกลุ่มโรงพยาบาล

ตลาดหุ้นไทยวานนี้ (14 ก.ค.59) ยังคงบวกอย่างร้อนแรง โดยปิดการซื้อขายที่ระดับ 1488.69 จุด เพิ่มขึ้น 11.08 จุด หรือ 0.75% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 68,169 ล้านบาท ขณะที่เงินทุนต่างชาติยังไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง โดยวานนี้ซื้อสุทธิในหุ้นไทยมาอีก 3,998.54 ล้านบาท ทางด้านนักวิเคราะห์เริ่มออกมามีความเห็นว่าตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปี มีโอกาสปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งกระแสเงินที่ไหลมาจากทางยุโรป ปัจจัยบวกจากการลงประชามติของไทยในเดือนหน้า และโครงการภาครัฐฯที่เดินหน้า โดยขณะนี้ได้ประเมินแนวต้านสำคัญของตลาดหุ้นไทยไว้ที่ 1,600 จุด

*** หุ้นครึ่งปีหลังขาขึ้น คาดดัชนีแตะ 1,550-1,600 จุด
นายอิสระ อรดีดลเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีหลังดัชนีหุ้นไทยมีทิศทางขาขึ้นจากเศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มฟื้นตัว ซึ่งมีโอกาสที่ดัชนีจะแตะระดับ 1,550-1,600 จุด โดยประเมินว่าการอุปโภคบริโภคภายในประเทศจะปรับตัวดี ตามรายได้เกษตรกรที่แข็งแกร่งมากขึ้น และตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) ในไตรมาสแรกอยู่ในระดับสูงถึง 3.2% ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีในอนาคต รวมถึงรายได้จากการท่องเที่ยว และการลงทุนภาครัฐจะผลักดันเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง
โดยปัจจัยภายนอกยังคงมีความเสี่ยงรอบด้าน โดยเฉพาะความไม่แน่นอนจากกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งกรณีผลการลงประชามติออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ(Brexit) ถือเป็นแรงกดดันระยะยาวต่อการค้าทั่วโลก และมีสัญญาณว่าประเทศสมาชิกอื่นของสหภาพยุโรปกำลังเริ่มคิดทำประชามติถอนตัวด้วย ส่งผลให้เกิดปัจจัยเสี่ยงด้านการลงทุนระยะยาว นอกจากนี้ยังความกังวลเรื่องภาพรวมตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวเด่นชัด แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าคงไม่มีผลต่อตลาดหุ้นไทยมากนัก เพราะนักลงทุนมาให้น้ำหนักกับปัจจัยภายในมากกว่า

** คาด 12 เดือนข้างหน้า P/E อยู่ที่ 14.5 เท่า - กำไรบจ.โต 20%
นายอิสระ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันหุ้นไทยเริ่มซื้อขายในระดับราคาแพงพอสมควร เพราะเป็นตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีอันดับต้นๆของภูมิภาค โดยมีอัตราส่วนราคาต่อกำไร(P/E) ในระยะ 12 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ประมาณ 14.5 เท่า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี แต่กำไรบริษัทจดทะเบียนปีนี้คาดว่าจะเติบโตได้ถึง 20% และหากไม่นับรวมกลุ่มพลังงานจะเติบโตได้ 13% ซึ่งหากเทียบ PE ต่อกำไรของตลาดจะถือว่าเติบโตดีเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาค
นอกจากนี้กระแสเงินทุนต่างชาติประเมินว่าจะมีแนวโน้มไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง เพราะเสถียรภาพทางการเงินไทยอยู่ในระดับดี และปัจจัยการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศเริ่มฟื้นตัว รวมถึงกำไรบริษัทจดทะเบียนไทยมีความโดดเด่นมากพอสมควร

*** ยก AEONT-CPALL-CPF-GLOBAL-PCSGH-SAT เป็นหุ้นเด่นประจำ Q3/59
ส่วนหุ้น Top pick ประจำไตรมาส 3/2559 นายอิสระ แนะนำหุ้นที่อ้างอิงการเติบโตจากอุปสงค์ในประเทศ ได้แก่ AEONT ตามแนวโน้มสินเชื่อเติบโตต่อเนื่อง และต้นทุนเงินทุนลดลง , CPALL หุ้น laggard play ในกลุ่มพาณิชย์ , CPF ราคาปรับตัวลดลงไปก่อนหน้านี้เป็นโอกาสการเข้าซื้อ , GLOBAL จะรายงานกำไรเติบโตสูงสุดในกลุ่มพาณิชย์ ปี 59 และ 60 , PCSGH และ SAT ตามอุปสงค์รถยนต์ในประเทศปรับตัวดีขึ้น

*** ทิสโก้ชี้ Brexit ทำหุ้นไทยคึกคัก จับตาประชามติช่วยหนุนอีกแรง
นายวิวัฒน์ เตชะพูลผล รองกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ทางเทคนิค บล. ทิสโก้ สรุปภาพรวมตลาดหุ้นไทยไว้ว่า Brexit ทำให้ตลาดไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยในครึ่งแรกของปี 2016 มีการซื้อสุทธิ 36,510 ล้านบาท จากเดิมปี 2013-2015 ที่ขายสุทธิ -384,850 บาท มองในช่วงครึ่งปีหลัง SET Index อาจปรับขึ้นไปได้ถึง 1,530-1,580 จุด จาก Fund Flow ไหลเข้าอีกในระดับ 30,000-60,000 ล้านบาท โดยต้องจับตาการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและรอลุ้นผลการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 สิงหาคม นี้ จึงแนะนำให้นักลงทุนเลือกลงทุนหุ้นรายตัว (Selective) และหลีกเลี่ยงหุ้นที่เกี่ยวกับพลังงาน เนื่องจากราคาน้ำมันจะกลับมาเป็นขาลง โดยอาจร่วงไปได้ถึง 40-42 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

*** KTBST มองต่าง SET เริ่มแผ่วหลัง P/E พุ่ง 22 เท่า
นายมงคล พ่วงเภตรา ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่าย วิเคราะห์หลักทรัพย์ กลยุทธ์การลงทุน บล.เคทีบี (ประเทศไทย) (KTBST) เปิดเผยว่า แนวโน้ม ตลาดหุ้นไทยในช่วงปลายสัปดาห์จะเริ่มแผ่ว เพราะราคาเริ่มแพง (P/E=22 เท่า) ทำให้แรงซื้อน้อยลงเป็นปกติ โดยจะผันผวนตามปัจจัยในต่างประเทศเป็นหลัก
โดยปัจจัยที่ทำให้ตลาดขึ้นไม่แรงเนื่องมาจากการสลับไปเล่นหุ้นกลุ่มที่ปรับ ตัวขึ้นไม่มากเทียบกับ ตลาด (laggard) ทำให้เห็นว่าหุ้นที่เคยลงทุนอยู่เริ่มถูกมองว่าแพง ยกเว้นว่าจะมีข่าวบวกเข้ามา ในตลาด ปัจจัยต่อมาคือตลาดหุ้นไทยจะปิด 4 วัน ทำให้การซื้อขายย่อมจะชะลอลงเหมือนทุกๆครั้ง
ส่วนปัจจัยภายนอก มาจากราคาน้ำมันดิบกลายเป็นปัจจัยถ่วงตลาด หลังสหรัฐฯรายงาน stock น้ำมันดิบ ลด ลง 2.5 ล้านบาร์เรล และผลการประชุมธนาคารกลาง อังกฤษ ผลประชุมอาจหลังตลาดหุ้นไทยปิดไปแล้ว นักลงทุนส่วนใหญ่จึงน่าชะลอเพื่อรอดูผล หากมีลด ดอกเบี้ยและเพิ่ม QE จะเป็นผลดีต่อตลาดมาก แต่ขณะเดียวกันจีนจะรายงานตัวเลขเศรษฐกิจ ทั้งตัว เลขส่งออก,ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และ GDP ในช่วง 2 วันข้างหน้า ซึ่งมีการเผยว่า GDP ไตร มาสที่ 2 จะพอๆกับในไตรมาสที่1 อยู่ที่ 6.7%

*** แนะกลยุทธ์เน้นหุ้น Laggard - ปันผลเด่น
นายมงคล เปิดเผยว่า กลยุทธ์การลงทุนก่อนหยุดยาว(16-19 ก.ค.59) จากที่มองว่า SET Index จะเริ่มชะลอและจะเข้าวันหยุดยาว จึงแนะนำให้รอดูสถานการณ์ตลาด (Wait and See) ขายทำกำไรในหุ้นที่ปรับขึ้นมามาก โดย เฉพาะพวกที่ P/E ขึ้นมาสูงเมื่อเทียบกับอดีต เพราะจะเป็นหุ้นที่ถูกขายก่อนถ้าตลาดเป็นลบ ส่วนหุ้น หรือกลุ่มที่จะถูกหยิบขึ้นมาเล่น ในลำดับต่อไปจะเป็นการเลือกหุ้นบางตัวในหุ้นกลุ่มหลักของตลาดแต่ที่ บล.เคทีบี สนใจจะได้แก่ หุ้น Laggard ที่เป็นหุ้นดีแต่ขึ้นน้อย อย่างเช่น CENTEL,PLANB หุ้นที่จ่าย เงินปันผลดี คนยังสนใจไม่มาก เช่น PS, LPN, ASP,SWC และหุ้นที่มีแนวโน้ม turnaround ราคาลงมามาก เช่น BANPU , DELTA
แนะซื้อหุ้น BCH หลังได้ผลบวกการขึ้นค่า RW จากกรณีที่มีข่าวว่าสำนักงานประกันสังคมอาจมีการปรับ ตัวคูณของค่าน้ำหนัก สัมพัทธ์ (Relative Weight ; RW) ซึ่งใช้ในการคำนวณเงินค่ารักษาโรคที่ ประกันสังคมจ่ายให้กับโรงพยาบาล จาก 10,000 บาทต่อ RW เป็น 11,150 บาทต่อ RW สำหรับ โรคที่มีค่า RW ตั้งแต่ 2 ขึ้นไป (RW เป็นตัวชี้วัดระดับค่าใช้จ่ายในการรักษาซึ่งก็จะแปรตามความ ร้ายแรงของโรค นั้นๆ ) โดยกำหนดการที่จะมีการบังคับใช้ ยังไม่กำหนดแน่นอน แต่เราประมาณว่า น่าจะภายในไตรมาสที่ 3-4 ของปีนี้
ขณะที่ บล.เคทีบี มองว่า โรงพยาบาลที่จะได้ประโยชน์จากการปรับครั้งนี้อย่างมีนัยสำคัญจะเป็นโรง พยาบาลสัดส่วนของรายได้ที่มาจากคนไข้ประกันสังคมที่สูง อาทิ CHG,BCH,LPH,M-CHAI เป็นต้น โดยเฉพาะหุ้น BCH จากการสอบถามไปยังผู้บริหารของบริษัทฯ การปรับตัวคูณ RW ครั้งนี้ ถ้าเกิดขึ้น จริงจะเป็นการกลับมาใช้ตัวคูณที่ 11,150 บาท อีกครั้งหนึ่ง หลังถูกปรับลงไปที่ 10,000 บาทต่อ RW เมื่อราวไตรมาสที่สองของปี 2558 โดยเราประมาณการว่าผลบวกที่จะเกิดขึ้นกับ BCH ในปี 2559 จะยังไม่มากอย่างมีนัยสำคัญ แต่จะไปมากหรือเพิ่มฐานของกำไรตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป

*** ผู้ว่าธปท.ระบุมีเงินไหลเข้าไทยมากขึ้น หลัง Brexit แต่ยังไม่น่ากังวล
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สถียรภาพระบบการเงินไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่เริ่มมีความเปราะบางในบางจุด เช่น ธุรกิจเอสเอ็มอีและครัวเรือนเกษตร ที่ความสามารถในการชำระหนี้ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า และปัญหาภัยแล้งที่ผ่านมา
ขณะที่เสถียรภาพการเงินของต่างประเทศก็ยังอยู่ในเกณฑ์ดีเช่นเดียวกัน เนื่องจากสามารถช่วยรองรับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงด้านต่างประเทศ แต่ยังต้องเฝ้าระวังความไม่แน่นอนจากปัจจัยอื่นๆ นอกประเทศ เช่น ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ผลที่เกิดจาก Brexit และความเสี่ยงในภาคการเงินของจีน ซึ่งผลจาก Brexit มีผลทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนมากขึ้น เนื่องจากพบว่ามีกระแสเงินทุนไหลเข้าในประเทศเกิดใหม่เพิ่มมากขึ้น จึงอยากจะแนะนำภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการให้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนมากขึ้น
"กระแสเงินทุนที่ไหลมา เป็นกระแสเงินที่เกิดจากบริหารความเสี่ยงหลังเกิดวิกฤต Brexit เงินที่เคยอยู่ใน Risk Off ก็มาอยู่ใน Risk On ซึ่งอาจจะเป็นแค่ชั่วคราว และยังมีความผันผวน ที่ธปท.ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด แต่ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องมีมาตรการใดๆ เพิ่มเติม อย่างไรก็ตามต้องติดตามพฤติกรรม Search For Yield และ under pricing of risks ภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำต่อเนื่อง ซึ่งนักลงทุนจำเป็นต้องได้ข้อมูลที่ชัดเจนและครบถ้วน โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับความเสี่ยง" นายวิรไท กล่าว


 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com