April 26, 2024   6:44:40 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ลดดอกเบี้ย-เลี่ยงหุ้นแบงก์!! อินเด้กส์51
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 29/08/2019 @ 08:06:15
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 28 ส.ค.62 ปิดที่ 1,616.93 จุด เพิ่มขึ้น 1.46 จุด มีมูลค่าซื้อขาย 46,463.78 ล้านบาท ต่างชาติขายสุทธิ 1,166.20 ล้านบาท

หุ้นมูลค่าการซื้อขายสูงสุด CPALL ปิด 83.25 บาท ลบ 1.50 บาท, PTG ปิด 21.60 บาท บวก 1.30 บาท, GULF ปิด 145.50 บาท บวก 3.50 บาท, PTTEP ปิด 116 บาท บวก 1.50 บาท และ AOT ปิด 71.25 บาท บวก 0.25 บาท

มีมุมมอง บล.เอเซียพลัสที่ระบุว่า เชื่อว่า กนง. จะปรับลดดอกเบี้ยลงอีกเป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้ราว 0.25% อยู่ที่ 1.25% (ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์) จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.5% ในการประชุมที่เหลืออีก 3 รอบปีนี้ เพราะยังมีช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยนโยบายกับเงินเฟ้อ 0.6% ทำให้ ธปท. ยังลดดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีก

แม้การลดดอกเบี้ย จะส่งผลบวกต่อต้นทุนการเงินของ บจ.ลงแต่จะกระทบต่อรายได้และ NIM ของธนาคาร ซึ่งจากการศึกษาของฝ่ายวิจัย พบว่าทุก 25bp ของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้-ฝากที่ลดลงเท่ากัน จะกระทบต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 62-63 ของกลุ่มปรับตัวลดลง 3.8% และ 5.2%

โดย SCB และ KBANK เป็นธนาคารที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด มีโครงสร้างสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยลอยตัวในปริมาณสูง ยังถือหุ้นในบริษัทประกัน ส่วนที่ได้รับผลกระทบรองลงมา คือ KTB, BBL ที่ยังมีสถานภาพเป็นผู้ให้กู้ยืมสุทธิในตลาดเงินกู้ระหว่างธนาคาร ดังนั้น หากดอกเบี้ยยังเป็นขาลง แนะเลี่ยงหุ้นกลุ่มแบงก์ออกไปก่อน

ขณะที่ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ออกบทวิเคราะห์ หลังไปพบกับนักลงทุนมากกว่า 50 รายที่มาเลเซียและสิงคโปร์ พบว่านักลงทุนส่วนใหญ่ลดน้ำหนักลงทุนกลุ่มธนาคารไทย แต่เห็นว่ามูลค่าหุ้นถูกแล้ว แต่ไม่มีปัจจัยบวกระยะสั้นมาผลักดันราคา เนื่องจากเศรษฐกิจและการส่งออกที่อ่อนแอ ขณะที่บางส่วนเริ่มทยอยสะสม เนื่องจากหุ้นกลุ่มแบงก์ซื้อขายที่ PER ปี 19F ที่ 9.0 เท่า และ P/BV ที่ 0.9 เท่า มีอัตราเงินปันผล 4.0-4.5% เทียบกับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีที่ 1.46%

ทั้งนี้ นักลงทุนกังวลเรื่องการเติบโตของกำไรที่อ่อนแอ เนื่องจากสินเชื่อที่ชะลอตัวและการเติบโตของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย รวมถึง NIM ที่หดตัวจากการลดดอกเบี้ย และยังกังวลกับคุณภาพสินเชื่อ SME

อย่างไรก็ตาม ยังคงน้ำหนักหุ้นกลุ่มแบงก์เท่าตลาด เลือกหุ้นปันผลสูง งบดุลที่แข็งแกร่ง แนะซื้อ BBL (ราคาเป้าหมาย 225 บาท) และ KKP (เป้าหมาย 85 บาท) ชอบ TCAP (เป้าหมาย 62 บาท) จากอัตราผลตอบแทนเงินปันผล 13% และโครงการซื้อคืนหุ้นสูงถึง 8.5% ของทุน!!

อินเด็กซ์ 51

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com