April 25, 2024   9:57:19 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > สำนักข่าวรัชดา
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 09/03/2021 @ 08:45:31
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

มีสัญญาณชัดเจนว่า..การเปลี่ยนผ่าน “สัมปทานปิโตรเลียมแหล่งเอราวัณ” จากเจ้าถิ่นเดิมบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด สู่ผู้รับสัมปทานใหม่บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP จะเกิดสุญญากาศจน PTTEP เข้าพื้นที่ไม่ทันตามกำหนด

โดยสัญญาสัมปทานแหล่งเอราวัณ ที่ดำเนินการโดยบริษัท เชฟรอนฯ จะสิ้นสุดอายุสัมปทานวันที่ 23 เม.ย. 2565 และรัฐบาลไทยจัดประมูลเป็นรูปแบบระบบแบ่งปันผลผลิต และปตท.สผ.พร้อมพันธมิตรชนะการประมูลเมื่อช่วงเดือน ก.พ. 2562 และเตรียมแผนผลิตก๊าซธรรมชาติต่อเนื่องอัตราราว 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันหลังหมดอายุสัมปทาน

ล่าสุดปตท.สผ.แจ้งความคืบหน้าว่า 2 ฝ่ายได้ลงนามข้อตกลงเข้าพื้นที่ระยะที่ 1 ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2562 เพื่อให้ปตท.สผ.เข้าสำรวจพื้นที่เท่านั้น

แต่เมื่อเข้าสู่การเจรจาข้อตกลงเข้าพื้นที่ระยะที่ 2 เพื่อเข้าดำเนินการติดตั้งแท่นหลุมผลิตและเจาะหลุมผลิต ที่มีความจำเป็นต่อการเตรียมการผลิต แต่ผู้รับสัมปทานปัจจุบันคือเชฟรอนฯ ไม่ยินยอมให้เข้าดำเนินการ

จึงนำไปสู่ความกังวลที่ว่า จะมีผลกระทบกับความต่อเนื่องของการผลิตก๊าซธรรมชาติเพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงานของประเทศ เริ่มจากระดับประเทศ ที่ปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และความต่อเนื่องของกระบวนการผลิต

ตามมาด้วยระดับภาคอุตสาหกรรม ด้วยความเป็นเชื้อเพลิงสำหรับทุกภาคอุตสาหกรรมในการผลิต ทำให้ต้องนำเข้า LNG จากต่างประเทศ ส่งผลกระทบต้นทุนการผลิตทุกอุตสาหกรรมทั่วประเทศ

กระทบต่อเนื่องถึงระดับภาคประชาชน เพราะการนำเข้า LNG จากต่างประเทศ ส่งผลต่อราคาก๊าซหุงต้มอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปมปัญหาเรื่องนี้..มิใช่ความขัดแย้งโดยตรงระหว่าง “เชฟรอนฯ” กับ “ปตท.สผ.” ในฐานะเจ้าของสัมปทานเดิมกับผู้รับสัมปทานใหม่ แต่ลึก ๆ แล้วเป็นปมความขัดแย้งระหว่าง “เชฟรอนฯ” กับ “รัฐบาลไทย” ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเรื่องการรื้อถอนแท่นขุดเจาะต่าง ๆ หลังสิ้นสุดสัมปทาน

ที่รัฐบาลไทยต้องการใช้ประโยชน์แท่นขุดเจาะบางส่วน..แต่ผูกเงื่อนไขให้เชฟรอนฯ..ต้องจ่ายค่ารื้อถอนแท่นขุดเจาะล่วงหน้า (หากต้องรื้อถอนในอนาคต)..แต่เชฟรอนฯ ไม่ยินยอม..!!

และเชื่อว่า..คงไม่มีเอกชนรายใดในโลกจะยอมรับได้..!!???

จากปมแย้งเรื่อง “เงื่อนไข” กลายมาสู่ “เงื่อนตาย” ที่ปตท.สผ.ต้องมาแบกรับความเสี่ยงรอยต่อสัมปทาน จนเกิด “ผลกระทบเชิงห่วงโซ่” ที่คนไทยต้องมานั่งรับกรรมที่ไม่ได้ก่อกันต่อไป

…อิ อิ อิ…

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com