April 27, 2024   2:50:30 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > หุ้นกฟผ. "ร้อน" แต่ "อนาคต..ไม่แรง"
 

?????????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 103
วันที่: 12/11/2005 @ 07:20:42
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ฝ่ายวิจัยบล.บีฟิท ประเมินหุ้นกฟผ.ขายราคาไอพีโอที่ 28 บาท น่าจองซื้อ เพราะราคาเท่ากับ มูลค่าทางบัญชี และเป็นราคาที่ถูกกว่าหุ้นกลุ่มไฟฟ้าในตลาด แต่คาดว่าภายหลังเข้าเทรดจริง ราคาหุ้นอาจไม่ร้อนแรง เพราะยังมีความเสี่ยงเรื่องการปรับค่าเอฟที


กระแสความร้อนแรงของหุ้น บมจ. กฟผ. อยู่ในความสนใจของนักลงทุนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นหุ้นรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ ที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด

โดยจะเปิดให้ประชาชนจองซื้อขั้นต่ำจำนวน 400 หุ้น ในระหว่างวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2548 นี้ ผ่านสาขาทั่วประเทศของ ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารทหารไทย และกำหนดวันเข้าซื้อขายประมาณวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548

แม้หุ้น กฟผ. จะเป็นหุ้นรัฐวิสาหกิจระดับ ท็อป ของประเทศ แต่นักวิเคราะห์ ก็มองว่า หุ้นตัวนี้ยังมี ความเสี่ยง ซ่อนเร้นอยู่

ความเสี่ยงยังมีอยู่ที่ค่า FT เพราะรายได้ของ กฟผ. จะขึ้นอยู่กับค่าเอฟที ซึ่งจะมีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงทุกๆ 4 เดือน โดยคณะกรรมการพิจารณาค่าเอฟทีหลายฝ่าย และต้องคำนึงถึงผลกระทบกับผู้ใช้ไฟฟ้า ทำให้บางช่วงรายได้จากค่าไฟฟ้าจะไม่คุ้มกับต้นทุน อย่างช่วงที่ผ่านมา ปตท. เป็นผู้แบกรับค่าเชื้อเพลิงไว้บางส่วน อนาคตจึงไม่รู้ว่าใครจะเป็นผู้แบกรับ และประมาณการได้ยากว่าจะมีรายได้จากค่าเอฟทีเท่าไร อนุพนธ์ ศรีอาจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าว

ขณะที่แนวโน้มการทำกำไรของ กฟผ. ในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของปี 2548 ได้สร้างผลขาดทุนจากค่าเอฟที จึงคาดว่า กำไรสุทธิสิ้นปี 2548 อาจจะลดลงมาก หรือมีกำไรเพียงเล็กน้อย แต่ในปี 2549 เชื่อว่ากำไรจะฟื้นกลับมาสู่ระดับปกติอีกครั้ง

ช่วง 5เดือน 23 วัน สิ้นสุด 23 มิถุนายน 2548 กฟผ.มีผลขาดทุนแล้ว 8,997 ล้านบาท จึงเชื่อว่าสิ้นปีนี้บริษัทจะมีกำไรไม่สูงประมาณ 7,000 ล้านบาท เทียบกับปี 2547 ที่มีกำไร 2.8 หมื่นล้านบาท

ฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท มองว่า ราคาหุ้นไอพีโอของ กฟผ. ที่กำหนดระหว่าง 25-28 บาท ใกล้เคียงกับมูลค่าทางบัญชีที่ 25-26 บาท ขณะที่หุ้น EGCOMP ซื้อขายกันที่ 1.2 เท่าของมูลค่าทางบัญชี ส่วนหุ้น RATCH ซื้อขายที่ 1.7เท่า จึงเป็นราคาที่ถูกกว่าหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าในตลาด และค่าพี/อี เรโช ก็ยังต่ำกว่าหุ้นไฟฟ้า และหุ้นกลุ่มพลังงานอีกด้วย

นายอนุพนธ์ กล่าวว่า ถ้าคิดจากประมาณการกำไรสุทธิของบริษัทในปี 2549 ค่าพี/อี เรโชของหุ้น กฟผ. จะต่ำเพียง 7.5 เท่า ขณะที่หุ้น RATCH และหุ้น EGCOMP จะอยู่ที่ประมาณ 8 เท่า ขณะที่กลุ่มพลังงานจะอยู่ที่ 8.7 เท่า และดัชนี SET50 จะอยู่ที่ 9 เท่า

เราคาดว่ากำไรของ กฟผ. ในปี 2549-2550 จะไม่เติบโตมากนัก เนื่องจากยังไม่มีรายได้ใหม่ๆ เข้ามา แต่เชื่อว่าในช่วง 3 ปีหลังจากนั้น (2551-2553) เมื่อมีรายได้จากโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ที่มีกำลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาปีละ 700 เมกะวัตต์จะช่วยดันรายได้เติบโตขึ้นอย่างมาก

เขากล่าวว่า การเติบโตของรายได้จากค่าเอฟที นักลงทุนไม่ควรคาดหวังว่าจะทำให้บริษัทมีรายได้เข้ามามาก เพราะการปรับขึ้นค่าเอฟทีแต่ละครั้งจะต้องนึกถึงผลประโยชน์ของประชาชนก่อนเป็นหลัก

ดังนั้นความร้อนแรงของหุ้น กฟผ. หลังเข้าตลาดคาดว่าจะไม่ร้อนแรง หรือเทียบไม่ได้กับหุ้น ปตท. เนื่องจากโครงสร้างรายได้แตกต่างกัน แต่คาดว่า หุ้น กฟผ. จะมีความผันผวนน้อยกว่าหุ้น ปตท.

ความน่าลงทุนของหุ้น กฟผ. อยู่ที่ความสด ประกอบกับการตั้งราคาไอพีโอที่ต่ำ เพื่อทำให้นักลงทุนได้ส่วนลด หรือกำไรส่วนต่าง จึงมองว่าอนาคตของหุ้นตัวนี้ ราคาจะไม่หวือหวา จะเติบโตตามความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ แต่สิ่งสำคัญคือ การเติบโตของ กฟผ. จะต้องมีโรงไฟฟ้าแห่งใหม่มาสร้างรายได้เพิ่มในอนาคต

ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า สรุปแล้วหุ้น กฟผ. ที่ราคา 28 บาท ก็ยังน่าจองซื้อ เพราะเชื่อว่าราคาในกระดานเมื่อเข้าตลาดวันแรก ไม่น่าจะต่ำกว่าราคาจอง และมีโอกาสที่ราคาหุ้นจะปรับตัวสูงกว่าราคาจองซื้อได้ถึง 10%

ส่วนอนาคตหลังเข้าตลาดหุ้นไปแล้วนั้น นายอนุพนธ์ มั่นใจว่า หุ้น กฟผ. จะมีส่วนทำให้ ดัชนีตลาดปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากหุ้น กฟผ. จะมีมาร์เก็ตแคปใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจาก PTT และ ADVANC หรือคิดเป็นสัดส่วน 30% ของหุ้นในกลุ่มพลังงาน

จากสถิติที่รวบรวมโดยฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท สรุปได้ว่า ส่วนใหญ่หุ้นรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ เมื่อเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นแล้ว จะทำให้ดัชนีปรับตัวสูงขึ้น จะเห็นได้จากการเข้าซื้อขายของหุ้น PTT และ TOP ทำให้ตลาดหุ้นดีขึ้น ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท ตั้งข้อสังเกต

สรุปข้อมูลการเงิน บมจ.กฟผ. ตั้งแต่ปี 2545-2548

รอบบัญชี สิ้นสุด 30 ก.ย. รอง 5 เดือน 23 วัน

2545 2546 2547 สิ้นสุด 23 มิ.ย.2548

(หน่วย: ล้านบาท)

รายได้รวม 207,892 232,106 269,262 123,515

กำไรขั้นต้น 41,608 50,503 52,332 5,396

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร7,553 9,543 12,858 9,955

กำไรจากการดำเนินงาน 40,188 42,327 38,622 (3,854)

กำไรสุทธิ 27,382 30,001 28,199 (8,997)

สินทรัพย์รวม 427,094 424,065 424,916 405,551

หนี้สินรวม 269,758 245,784 226,415 212,823

รวมส่วนทุน 145,831 165,377 183,684 175,751

ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 11,505 12,904 14,817 16,977 [/color:96dbed8a1e">

 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#1 วันที่: 12/11/2005 @ 07:50:27 : re: หุ้นกฟผ. "ร้อน" แต่ "อนาคต..ไม่แรง"
กฟผ (มหาชน) การแปรรูป ที่มุ่งประชาชนเป็นศูนย์กลางหรือไม่ ?

จากปรัชญาการดำเนินกิจกรรมขององค์กร กฟผ นั้นเพื่อประชาชนศูนย์กลางอยู่ที่ประชาชนในประเทศสามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้อย่างเสมอภาคกัน ขณะที่การแปรรูป กฟผ (มหาชน) เพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น ความแตกต่างกันในปรัชญาหรือความตั้งใจในการดำเนินองค์กร จะส่งผลอย่างไม่น่าเชื่อ และรับไม่ได้ ทั้งนี้เนื่องมากจาก ผู้ถือหุ้น จะไม่ใช้ประชาชนทั้งประเทศอีกต่อไป และไม่ใช้ประชาชนทั้งประเทศที่สามารถเป็นเจ้าของ กฟผ ได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันเหมือนในอดีต การวิพาษก์ที่สำคัญคงหนีไม่ผลผู้ถือหุ้นภายหลังการแปรรูป ซึ่งแบ่งได้เป็น (1) กลุ่มทุนนิยมตลาดหุ้น กลุ่มนี้ประกอบไปด้วย นักลงทุนรายใหญ่ นักการเมืองทุนนิยม พวกนี้ก็คือประชาชนชาวไทยนี่แหละ แต่เป็นเพียงคนไม่กี่เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับประชาชนทั้งประเทศ กลุ่มนี้มีเงินทุนจำนวนมาก จึงสามารถครอบครอง ถือหุ้นกฟผ (มหาชน) ในสัดส่วนที่มากกว่าประชาชนทั่วไป ถึงแม้รัฐบาลบอกว่าประชาชนทั้งประเทศ สามารถเป็นเจ้าของ กฟผ ร่วมกันได้ แต่เป็นเพียงเจ้าของที่ไม่เสมอภาคกัน เพราะความแตกต่างของทุนในการครองครองที่ต่างกัน ดังนั้นการแปรรูปจึงเหมือนกับการผลักไสสมบัติของชาติ (แต่เดิมเป็นของประชาชนทุกคน อย่างเสมอภาคกัน) ไปสู่กลุ่มนายทุนในประเทศ เพียงไม่กี่กลุ่ม หรือไม่กี่คนในประเทศ ...... ยุติธรรมหรือสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ? (2) กลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ แน่นอนอยู่แล้วว่ากลุ่มนี้ต้องสนใจหุ้น กฟผ เนื่องจากเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีกำไรมาโดยตลอด และการเข้าถือหุ้นกฟผ เสมือนกับการครอบครองสมบัติของชาติอื่นที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ ทั้งเขื่อน ป่าไม้ น้ำ สายส่ง ฯลฯ โดยปราศจากการรบด้วยอาวุธ เป็นการรบด้วยทุน (จึงไม่แปลกใจว่าทำไมสหรัฐ ไม่ยอมให้รัฐวิสาหกิจจีนซื้อยูโนแคล และ อินเดียไม่ยอมให้นักลงทุนจีนประมูลงานธุรกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศ ขณะที่รัฐบาลไทยไม่สนใจในจุดนี้ จึงนำประเทศไปสู่ความเสี่ยงโดยแท้) การที่นักลงทุนต่างประเทศ เห็นโอกาสทีได้เข้ามาครอบครองสมบัติของประเทศ ผ่านการถือหุ้น จึงอดคิดไม่ได้ว่าถ้าเราเป็นคนสิงคโปร์ ที่ประเทศไม่มีอะไร แต่สามารถครอบครองสมบัติชาติไทยได้ โดยไม่ต้องรบ ผ่านการถือหุ้นด้วยทุนเท่านั้น

การที่รัฐบาลพยายามจะสื่อสารว่าการแปรรูปมีประโยชน์ต่อประเทศมาก โดยให้เหตุผลว่า ทำให้ตลาดหุ้นมีความแข็งแรงและน่าสนใจสำหรับลงทุน ดึงดูดด้วยเม็ดเงินจำนวนมากที่มาลงทุน และยังอ้างว่ารองรับกับการแข่งขันในส่วน FTA แต่รัฐบาลไม่เคยบอกว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง เช่น (1) เมื่อ กฟผ อยู่ในตลาดหุ้นแล้วการเปลี่ยนมือไปมาโดยการครอบครองหุ้นทำได้โดยง่าย ด้วยทุนที่เหนือกว่า สุดท้ายในอนาคต เราชาวไทยใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย ดันต้องจ่ายเงินให้กับต่างประเทศที่มาลงทุน ซึ่งไม่ได้เป็นคนไทย แต่สามารถครอบครองสมบัติของเราได้ หรือ เราชาวไทยใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย แต่ต้องจ่ายกำไรส่วนหนึ่งให้กับนักการเมืองนายทุนชาวไทย ซึ่งเป็นคนมีเงินมากและถือหุ้น และอย่างนี้มันก็เป็นการเอาเปรียบ สูบเลือกสูบเนื้อ ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ไปสู่กลุ่มทุนอื่น (2) ปรัชญาการดำเนินงานของ บมจ คือสร้างผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นสูงสุด ในเมื่อ กฟผไม่ได้เป็นของ ประชาชนชาวไทย ภายหลังการแปรรูปแล้ว ผลตอบแทนสูงสุดจะเกิดแก่กลุ่มไหน (ไม่พ้นนายทุน นักลงทุนต่างประเทศ) (3) ความเสี่ยงที่เกิดกับประเทศ การนำสาธารณูปโภคพื้นฐานไปแปรรูปสร้างความเสี่ยงให้กับประเทศ ทั้งแง่การถูกครอบครองโดยต่างชาติ การเพิ่มค่าไฟฟ้า เพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุดต่อผู้ถือหุ้น จึงเป็นที่มาของคำถามที่ว่า ทำไมต้องตั้งกองทุนค่าไฟฟ้า คิดตั้งแต่ก่อนการแปรรูป เพราะมองเห็นแล้วว่าอนาคตค่าไฟฟ้าเพิ่มแน่ จากการ กฟผ เป็นธุรกิจเกือบผูกขาด จึงสามารถกำหนดค่าไฟฟ้าได้ และด้วยปรัชญานั้น ผู้บริหารอาจมีการแสดงข้อมูลการคิดค่าไฟฟ้าที่เป็นเท็จ เพื่อเรียกเก็บค่าไฟ โดยที่ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบได้จริงๆ ในอนาคตประชาชนจึงต้องภาวะจำยอมนี้โดยไม่สามารถทำอะไรได้ (5) กฟผ เข้าตลาดทำให้ตลาดหุ้นแข็งแรงจริงหรือใครคือนักลงทุนในตลาดหุ้น ประชาชนทั่วประเทศหรือ ก็ไม่ใช้ แต่เป็นกลุ่มทุนนิยม ต่างๆ ดังนั้นผลจากการที่ตลาดหุ้นแข็งแรง จะส่งไปยังประชาชนส่วนใหญ่ได้อย่างไร ถึงส่งไปได้ก็น้อยมาก ในเมื่อประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ลงทุนผ่านตลาดหุ้น (6) การแปรรูปเพื่อการแข่งขันกับธุรกิจต่างประเทศ ในเมือแต่เดิม กฟผ เกือบผูกขาดธุรกิจไฟฟ้าในประเทศ ธุรกิจต่างประเทศไหน อยากเข้ามาแข่ง กับการที่ต้องลงทุนสูงมาก แต่เมื่อมีการแปรรูป ธุรกิจต่างประเทศ ที่ทำเกี่ยวกับไฟฟ้า สามารถเข้ามาผ่านการถือหุ้น และอนาคต กฟผ อาจถูกทำให้แตกเป็นธุรกิจย่อยๆ ซึ่งง่ายแก่การเข้ามาแข่งขันจากธุรกิจต่างประเทศ การแปรรูปอย่างนี้ อนาคต กฟผ อ่อนแอลงเรื่อยๆ

จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ชัดว่าสิ่งที่รัฐมีความพยายามที่จะทำ ไม่ได้มุ่งให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนที่เป็นศูนย์กลาง แต่เป็นการมุ่งสร้างประโยชน์โดยมุ่งนายทุนเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้ยังนำประเทศไปสู่ภาวะเสี่ยงภัยแก่กลุ่มทุนต่างประเทศที่ครอบครองสมบัติของชาติเราโดยไม่ต้องรบ จึงของให้ประชาชนชาวไทยที่ไม่เห็นด้วยและพร้อมที่แสดงพลังในการคัดค้านการนำ กฟผเข้าตลาด ..... สุดท้ายนี้ขอฝากว่า น้ำอุ้มเรือ พยุงเรือให้แล่นไปได้ น้ำก็สามารถ ล้ม คว่ำ เรือได้เช่นกัน ผู้นำที่มุ่งประโยชน์ต่อประชาชนเป็นศูนย์กลาง จึงได้รับการสรรเสริญ ผู้นำที่มุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตัว จะได้รับแต่คำด่าทอ สาปแช่งและโค่นล้มลงในที่สุด
สยามวิพาษก์
 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#2 วันที่: 14/11/2005 @ 03:03:12 : re: หุ้นกฟผ. "ร้อน" แต่ "อนาคต..ไม่แรง"
แหม...อีตอนเค้าประท้วงกันตั้งปีน่ะ .0006

มัวไปทำไรกันอยู่... เสียงบ่นหนาหูกันว่าประท้วงเพื่อปกป้องผลประโยชน์

ห่วงรายได้ตัวเองมั่งง่ะ(เสือนอนกิน)

คราวนี้พอยอมให้ขายก็คงว่ารับเงินมาแล้วจึงยอมล่ะสิ .0002 (เสือร้องไห้)

เสียใจด้วยนะที่ต้องจ่ายค่าไฟแพงขึ้นแน่ๆแล้ว

(ก็บอกมาปีกว่าแว้วววววนี่นา)

ไงก็ประหยัดไฟล่ะ ปิดไฟซะเมื่อเลิกใช้ก็แล้วกันนะพี่น้องงง
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com