April 20, 2024   10:31:19 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > สรุปข้อสนเทศ : ASK เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 25/08/2005 @ 09:47:53
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ที่ตั้งสำนักงานใหญ่:
175 อาคารสาธรซิตี้ทาวเวอร์ ชั้น 24 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทรศัพท์ 0-2679-6226, 0-2679-6262 โทรสาร 0-2679-6241-3 Website http://www.ask.co.th

เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2548 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 25 สิงหาคม 2548)

ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน
หุ้นสามัญทั้งหมด 115 ล้านหุ้น โดยเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน 23 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5.00 บาท
รวม 575 ล้านบาท

ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์ (SET)

ราคาเสนอขาย 8.90 บาท
โดยเมื่อวันที่ 26-30 พฤศจิกายน 2547 บริษัทได้เสนอหุ้นสามัญแก่กรรมการ
ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทและบริษัทย่อย จำนวน 6.4 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 5.50 บาท

การจัดสรรหุ้นส่วนเกิน
บริษัทจัดสรรหุ้นส่วนเกิน 3.45 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 15 ของจำนวนหุ้นที่เสนอขายในครั้งนี้ โดยยืมหุ้นทั้งจำนวน
จากบริษัท ไชลีส ไฟแนนซ์ จำกัด ซึ่งมีบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินและจะจัดหาหุ้นคืน
ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อส่งมอบคืนให้แก่ผู้ให้ยืมสำหรับวิธีการจัดหาหุ้นส่วนเกินเพื่อส่ง
คืนจะเป็นดังต่อไปนี้
1) ซื้อหุ้นคืนในตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือ
2) ใช้สิทธิซื้อหุ้นจากบริษัท ไชลีส ไฟแนนซ์ จำกัด

ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน
บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ( บริษัท ) ดำเนินธุรกิจ 4 ประเภท ได้แก่
1) บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ทุกประเภท ทั้งที่เป็นรถยนต์ใหม่และรถยนต์ใช้แล้ว ซึ่งได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล
รถกระบะ รถตู้ รถแท็กซี่ รถบรรทุก เป็นต้น หลากหลายยี่ห้อ เช่น อีซูซุ โตโยต้า นิสสัน ฮีโน่ มิตซูบิชิ เป็นต้น โดยให้สินเชื่อ
เช่าซื้อแก่ลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดาเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 87.20 ของยอดการให้สินเชื่อเช่าซื้อในไตรมาสแรกของปี 2548
และแก่นิติบุคคล คิดเป็นร้อยละ 12.80 ของยอดการให้สินเชื่อเช่าซื้อในไตรมาสแรกของปี 2548 และบริษัทสัดส่วนการให้สินเชื่อ
รถยนต์ใหม่ต่อรถยนต์ใช้แล้ว คิดเป็นร้อยละ 62.63 และ 37.37 ของจำนวนสินเชื่อเช่าซื้อทั้งหมด บริษัทพิจารณาปัจจัยในการ
กำหนดวงเงินในการให้สินเชื่อ เงินดาวน์ และระยะเวลาในการผ่อนชำระค่างวด ขึ้นอยู่กับฐานะการเงินของลูกค้า ประเภท
ยี่ห้อ รุ่น และราคารถยนต์ เป็นหลัก โดยปกติบริษัทจะให้สินเชื่อเฉลี่ยประมาณร้อยละ 75-80 ของมูลค่ารถยนต์ อายุเฉลี่ยของ
สัญญาประมาณ 43-47 เดือน และคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยของตลาด
2) บริการสินเชื่อส่วนบุคคลแก่กลุ่มลูกค้าที่ทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัทและสัญญายังไม่หมดอายุ โดยจะต้องเป็นลูกค้า
ชั้นดีและมีประวัติการชำระเงินตรงตามเงื่อนไขอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีประวัติเสียทางด้านการเงิน และมีหลักประกันที่เพียงพอ
บริษัทมีนโยบายในการให้สินเชื่อระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือนกำหนดวงเงินไว้รายละ 50,000 บาท
3) บริการสินเชื่อแก่ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ เพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนในการจัดหารถยนต์เพื่อนำมาจำหน่าย โดย
บริษัทจะสนับสนุนด้านการเงินเฉพาะผู้จัดจำหน่ายที่ช่วยบริษัทในการจัดหาลูกค้าสินเชื่อเท่านั้น และจะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม
มีฐานะการเงินที่น่าเชื่อถือ
4) บริการอื่นๆ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการสินเชื่ออย่างครบวงจร ได้แก่ บริการรับจดทะเบียนรถยนต์ การ
ต่อภาษี และการอำนวยความสะดวกในการทำประกันภัย เป็นต้น
ปัจจุบัน บริษัทมี 3 สาขา ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดพิษณุโลก นอกจากนี้ บริษัทเป็น
สมาชิกของสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย และบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (National Credit Bureau Co.,Ltd.)
บริษัทมีบริษัทย่อย 1 บริษัท คือ บริษัท กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) ( บริษัทย่อย ) ซึ่งดำเนิน
ธุรกิจ 3 ประเภท ได้แก่
1) บริการสินเชื่อลีสซิ่ง โดยเน้นการให้บริการตามสัญญาเช่าการเงินเป็นหลัก แก่ลูกค้าประเภทนิติบุคคลทั้งหมด
ในไตรมาสแรกของปี 2548 ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่ตั้งอยู่ในแถบจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล คิดเป็นร้อยละ 55.76
และจังหวัดอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 44.24 ของยอดสินเชื่อลีสซิ่งทั้งหมด ทรัพย์สินที่ให้เช่าตามสัญญาลีสซิ่ง ได้แก่ เครื่องจักร
อุตสาหกรรม เครื่องมือวิศวกรรม อุปกรณ์การขนส่ง และยานพาหนะ โดยมีสัดส่วนทรัพย์สินให้เช่าประเภทเครื่องจักรและ
รถยนต์ คิดเป็นร้อยละ 63.92 ต่อ 36.08 ในไตรมาสแรกของปี 2548
2) บริการสินเชื่อแฟคตอริ่ง แก่กลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมและมีความต้องการ
ใช้เงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาในการชำระเงินไม่เกิน 120 วัน บริษัทมีนโยบายให้
ลูกค้าเบิกเงินสดล่วงหน้าไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่ารวมของใบเรียกเก็บเงิน คิดอัตราดอกเบี้ยแบบ Effective Rate
โดยอิงกับอัตราดอกเบี้ยตลาด กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และพลาสติก
อุตสาหกรรมบริการ เป็นต้น ลักษณะการให้บริการสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ แฟคตอริ่งภายในประเทศ เป็นการ
รับซื้อสิทธิเรียกร้องในการรับเงินจากลูกหนี้การค้าจากผู้ขายและบริการที่มีคู่ค้าอยู่ในประเทศไทย และแฟคตอริ่งระหว่าง
ประเทศ ซึ่งเป็นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการที่มีคู่ค้าตั้งอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนการให้บริการแฟคตอริ่งภายใน
ประเทศและแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ คิดเป็นร้อยละ 98.80 และ 1.20 ตามลำดับ ปัจจุบันบริษัทเป็นสมาชิกของสมาคม
ลีสซิ่งแห่งประเทศไทย สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจแฟคตอริ่ง และสมาคมแฟคตอริ่งระหว่างประเทศ (Factors Chain
International หรือ FCI)
3) บริการสินเชื่อเช่าซื้อ ให้แก่กลุ่มนิติบุคคลเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 98.46 และแก่บุคคลธรรมดา คิดเป็น
ร้อยละ 1.54 ของยอดการให้สินเชื่อเช่าซื้อในไตรมาสแรกของปี 2548 โดยทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อ ได้แก่ เครื่องจักรที่ใช้ใน
อุตสาหกรรมต่างๆ และยานพาหนะ ซึ่งมีสัดส่วนเครื่องจักรต่อรถยนต์ เท่ากับ 92.78 ต่อ 7.22
บริษัทและบริษัทย่อยมีสัดส่วนการให้สินเชื่อแก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล คิดเป็นร้อยละ 52.48 และ 47.52
ของยอดการให้สินเชื่อทั้งหมดในไตรมาสแรกของปี 2548

โครงสร้างรายได้
ประเภทธุรกิจ ดำเนินการโดย ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ไตรมาสแรกของปี 2548
ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ
สินเชื่อเช่าซื้อ บริษัทและบริษัทย่อย 336.29 73.76 354.30 68.65 394.62 65.83 113.59 67.66
สินเชื่อลีสซิ่ง บริษัทย่อย 51.91 11.39 60.73 11.77 69.03 11.52 18.88 11.24
สินเชื่อแฟคตอริ่ง บริษัทย่อย 14.72 3.23 14.50 2.81 21.45 3.58 5.61 3.34
รายได้อื่น * บริษัทและบริษัทย่อย 53.00 11.62 86.54 16.77 114.34 19.07 29.81 17.76
รวม 455.92 100.00 516.07 100.00 599.44 100.00 167.89 100.00
* รายได้อื่น ได้แก่ รายได้จากสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ รายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการด้านทะเบียน
รายได้จากค่าปรับล่าช้า รายได้จากการแนะนำลูกค้าเกี่ยวกับด้านประกันภัย ดอกเบี้ย รายได้อื่น เป็นต้น
ที่มา : งบการเงินรวมของบริษัท กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) สำหรับปี 2545-2546 ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี
งบการเงินรวมเสมือนการปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัท สำหรับปี 2547 จัดทำโดยผู้บริหา
2000
ร และงบการเงินรวมของบริษัท
เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) สิ้นสุด 31 มีนาคม 2548 สอบทานโดยผู้สอบบัญชี

นโยบายการรับรู้รายได้จากการให้บริการเช่าซื้อและรายได้ตามสัญญาเช่าการเงิน
บริษัทและบริษัทย่อยบันทึกรายได้จากดอกผลเช่าซื้อและรายได้ตามสัญญาเช่าการเงินตามวิธี Loan Calculation
ตามระยะเวลาของงวดที่ถึงกำหนดชำระ เว้นแต่ลูกหนี้ที่ค้างชำระเกินกำหนด 6 เดือน บริษัทและบริษัทย่อยจะบันทึกรายได้ตาม
จำนวนที่ได้รับจริง

นโยบายการระงับการรับรู้รายได้
บริษัทและบริษัทย่อยมีนโยบายในการระงับการรับรู้รายได้สำหรับลูกหนี้เช่าซื้อและลูกหนี้ตามสัญญาเช่าทางการเงิน
ที่ค้างชำระเกินกว่า 6 เดือน และลูกหนี้จากการซื้อสิทธิเรียกร้องเมื่อค้างชำระเกินกว่า 120 วัน

นโยบายการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อและลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน
บริษัทและบริษัทย่อยมีนโนบายในการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ โดยคำนวณจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่มีอยู่เดิม บวก
ด้วยหนี้สงสัยจะสูญที่ตั้งเพิ่มเติมในแต่ละเดือน ซึ่งการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติมดังกล่าว บริษัทจะคำนวณจากร้อยละ 0.5
ของยอดการให้สินเชื่อใหม่ที่เกิดขึ้นของบริษัท ส่วนบริษัทย่อยจะตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญคำนวณจากร้อยละ 2.25 ของยอดการให้
สินเชื่อใหม่ที่เกิดขึ้นของบริษัทย่อย ทั้งนี้ ร้อยละของการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญของบริษัทและบริษัทย่อยอาจเปลี่ยนแปลงได้ เพื่อ
ให้ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของบริษัทและบริษัทย่อยเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับประมาณการหนี้สงสัยจะสูญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
บริษัทเปรียบเทียบค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญกับประมาณการหนี้สงสัยจะสูญที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามแต่ละสถานะของลูกหนี้
ทุกเดือนเพื่อประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพของลูกหนี้ หากเห็นว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไม่เพียงพอกับประมาณการหนี้สงสัยจะสูญ
บริษัทจะตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติมทันที ในขณะที่บริษัทย่อยพิจารณาความเพียงพอและเปรียบเทียบค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญกับ
ประมาณการหนี้สงสัยจะสูญที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามแต่ละสถานะของลูกหนี้ทุกไตรมาส และหากเห็นว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไม่
เพียงพอกับประมาณการหนี้สงสัยจะสูญ บริษัทย่อยจะตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติมทันทีเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ทุกสิ้นปี
หากบริษัทและบริษัทย่อยเห็นว่า ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมีจำนวนต่ำกว่าประมาณการหนี้สงสัยจะสูญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น บริษัทและ
บริษัทย่อยจะปรับอัตราการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ในทางตรงข้ามกัน หากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมีจำนวนสูงกว่าประมาณการ
หนี้สงสัยจะสูญมากกว่าร้อยละ 10-20 บริษัทและบริษัทย่อยจะปรับลดอัตราการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญลง
แนวทางการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญของบริษัท แตกต่างจากแนวทางของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่ง
ประเทศไทย ที่ได้กำหนดให้บริษัทที่ทำธุรกิจ Consumer Finance ตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเต็มจำนวนตามยอดหนี้คงเหลือของ
ยอดลูกหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่ 3 งวดขึ้นไป โดยไม่นำหลักประกันมาหักจากยอดลูกหนี้คงเหลือ ซึ่งบริษัทเห็นว่าแนวทางดังกล่าว
ไม่สะท้อนภาพที่แท้จริงในการดำเนินธุรกิจเช่าซื้อ เนื่องจากการให้สินเชื่อเช่าซื้อมีรถยนต์เป็นหลักประกันทุกสัญญา ซึ่งแตกต่าง
จากการให้สินเชื่อแบบ Consumer Finance อื่น ดังนั้น ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้ครบตามจำนวนที่ตกลงกัน
บริษัทสามารถยึดหลักประกันคืนจากลูกหนี้หรือขายหลักประกันเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ในส่วนที่ค้างชำระได้ นอกจากนี้ การที่บริษัท
ให้วงเงินสินเชื่อเช่าซื้อเพียงร้อยละ 70-80 ของมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูง และลูกหนี้ชำระหนี้ทยอย
ชำระหนี้ตามเงื่อนไขในสัญญา จึงทำให้มูลหนี้ลดลงตามไปด้วยซึ่งความเป็นไปได้ว่าอัตราการลดลงของมูลค่าของหลักประกัน
จะน้อยกว่ามูลหนี้ที่ลดลงจากการชำระหนี้ของลูกหนี้ ทำให้บริษัทยังมีหลักประกันที่ครอบคลุมมูลหนี้เป็นส่วนใหญ่
หากบริษัทปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว จะพบว่า ณ 31 มีนาคม 2548 บริษัทมีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสูงกว่า
แนวทางของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จำนวน 9.47 ล้านบาท

นโยบายการตัดหนี้สูญ
บริษัทและบริษัทย่อยตัดหนี้สูญตามข้อกำหนดของประมวลรัษฎากรในเรื่องการตัดหนี้สูญ

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) - ไม่มี -

สรุปสาระสำคัญของสัญญา - ไม่มี -

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (ถ้ามี) - ไม่มี -

การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ - ไม่มี -

โครงการดำเนินงานในอนาคต
1. บริษัทมีโครงการเปิดสาขาอย่างน้อย 1 แห่งในปี 2548 เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าที่ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น
โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนและเงินทุน หมุนเวียนประมาณ 150-200 ล้านบาท
2. บริษัทมีโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ Decision Support System (MIS Phase II) ซึ่งเป็นส่วนขยาย
ที่ต่อจาก Transaction Processing System (MIS Phase I) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งบริษัทและบริษัทย่อยได้ว่า
จ้างบริษัท My Funding Corporation เป็นผู้พัฒนาให้ โดยระบบสารสนเทศดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิในภาพในการบริหาร
งานให้กับกลุ่มผู้บริหารระดับกลางให้มีการตัดสินใจอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน บริษัทคาดว่า
ระบบ Transaction Processing System (MIS Phase I) จะเริ่มใช้ได้ภายในเดือนกันยายน 2548 ระบบ Decision
Support System (MIS Phase II) จะเริ่มพัฒนาในช่วงปลายปี 2548 ใช้เงินในการพัฒนาประมาณ 50 ล้านบาท

รายการระหว่างกัน
สรุปรายการระหว่างกันของบริษัทและบริษัทย่อยกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ณ 31 ธันวาคม 2547 และ 31 มีนาคม
2548 ดังนี้
(หน่วย : ล้านบาท)
1. กลุ่มธนาคารกรุงเทพ : ผู้ถือหุ้นใหญ่ร้อยละ 12.58 ในบริษัท
1.1 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) - ถือหุ้นร้อยละ 9.18 ในบริษัท
ประเภทรายการ มูลค่ารายการ มูลค่ารายการ ความจำเป็น/หมายเหตุ
ณ 31 ธ.ค.47 ณ 31 มี.ค.48
เงินฝากธนาคาร 9.75 20.22 เงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์และกระแสรายวัน
ของบริษัทและบริษัทย่อย คิดอัตราดอกเบี้ยตามอัตราตลาด
เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร 23.60 59.53 เงินเบิกเกินบัญชี เป็นเงินกู้ยืมเพื่อใช้เป็นเงินทุน
หมุนเวียนของบริษัทและบริษัทย่อย โดยคิดอัตราดอกเบี้ย
ตามอัตราตลาด
เงินกู้ยืมระยะสั้น 1,415.00 960.00 เงินกู้ยืมระยะสั้นเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในบริษัท
และบริษัทย่อย โดยคิดดอกเบี้ยตามอัตราตลาด
เงินกู้ยืมระยะยาว 1,050.00 1,050.00 เงินกู้ยืมระยะยาวเพื่อใช้เป็นเงินทุนในการขยายการ
ประกอบธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อย โดยคิดดอกเบี้ย
ตามอัตราตลาด
ดอกเบี้ยค้างจ่าย 5.92 4.17 ดอกเบี้ยค้างจ่ายจากเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาวของ
บริษัทและบริษัทย่อย โดยคิดดอกเบี้ยตามอัตราตลาด
ดอกเบี้ยจ่าย 70.07 19.33 ดอกเบี้ยจ่ายจากเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาวของ
บริษัทและบริษัทย่อย โดยคิดดอกเบี้ยตามอัตราตลาด
ค่าธรรมเนียมอาวัล 0.48 0.11 ค่าธรรมเนียมจากการอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทย่อย
ออกให้กับบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)
ค่าธรรมเนียมอาวัล 0.15 0.04 ค่าธรรมเนียมจ่ายล่วงหน้าจากการอาวัลตั๋วสัญญาใช้
จ่ายล่วงหน้า เงินที่บริษัทย่อยออกให้กับบริษัท กรุงเทพประกันภัย
จำกัด (มหาชน)

1.2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกันถือหุ้นร้อยละ 1.20 ในบริษัท
ประเภทรายการ มูลค่ารายการ มูลค่ารายการ ความจำเป็น/หมายเหตุ
ณ 31 ธ.ค.47 ณ 31 มี.ค.48
เงินกู้ยืมระยะสั้น 30.00 30.00 เงินกู้ยืมระยะสั้นเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
ในบริษัทย่อย โดยคิดดอกเบี้ยตามอัตราตลาด
ดอกเบี้ยจ่าย 0.63 0.15 ดอกเบี้ยจ่ายจากการกู้ยืมระยะสั้นเพื่อใช้เป็นเงินทุน
หมุนเวียนในบริษัทย่อย โดยคิดดอกเบี้ยตามอัตราตลาด

1.3.กองทุนเปิด แอสเซท พลัส สถาบันปันผล และกองทุนเปิด แอสเซท พลัส ทวีเงินออม 2 บริหารโดยบริษัทหลักทรัพย์
จัดการกองทุนแอสเซท พลัส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็น
ผู้ถือหุ้นและเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท
ประเภทรายการ มูลค่ารายการ มูลค่ารายการ ความจำเป็น/หมายเหตุ
ณ 31 ธ.ค.47 ณ 31 มี.ค.48
เงินกู้ยืมระยะสั้น - 100.00 เงินกู้ยืมระยะสั้นเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท

2000
โดยคิดดอกเบี้ยตามอัตราตลาด
ดอกเบี้ยจ่ายล่วงหน้า - 0.94 ดอกเบี้ยจ่ายล่วงหน้าจากเงินกู้ยืมระยะสั้นเพื่อใช้เป็นเงินทุน
หมุนเวียนของบริษัท
ดอกเบี้ยจ่าย - 0.33 ดอกเบี้ยจ่ายจากเงินกู้ยืมระยะสั้นเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
ของบริษัท
1.4.นายอุดมศักดิ์ ชาครียวณิชย์ เป็นผู้บริหารและผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็น
ผู้ถือหุ้นและเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นใหญ่
ประเภทรายการ มูลค่ารายการ มูลค่ารายการ ความจำเป็น/หมายเหตุ
ณ 31 ธ.ค.47 ณ 31 มี.ค.48
เงินกู้ยืมระยะสั้น - 20.00 เงินกู้ยืมระยะสั้นเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของ
บริษัท โดยมีระยะเวลา 3 เดือน คิดอัตราดอกเบี้ย
ที่อยู่ระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ย
เงินกู้ยืมในอัตราที่ใกล้เคียงกับอัตราตลาด ทั้งนี้
นายอุดมศักดิ์มีความมั่นใจในฐานะการเงินของบริษัท
และเชื่อมั่นว่าจะได้รับเงินคืนในอนาคต จึงได้มีการต่อ
อายุเงินกู้ยืมดังกล่าว ในอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิม
ดอกเบี้ยค้างจ่าย - 0.002 ดอกเบี้ยค้างจ่ายจากเงินกู้ยืมระยะสั้นเพื่อใช้เป็น
เงินทุนหมุนเวียนของบริษัท
ดอกเบี้ยจ่าย - 0.01 ดอกเบี้ยจ่ายจากเงินกู้ยืมระยะสั้นเพื่อใช้เป็นเงินทุน
หมุนเวียนของบริษัท
1.5. กองทุนบริหารสินทรัพย์สาธรซิตี้ทาวเวอร์ ถือหุ้นร้อยละ 32.60 โดยกลุ่มซิตี้เรียลตี้ ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้อง
กับผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท
ประเภทรายการ มูลค่ารายการ มูลค่ารายการ ความจำเป็น/หมายเหตุ
ณ 31 ธ.ค.47 ณ 31 มี.ค.48
รายจ่ายค่าเช่าพื้นที่ 7.95 1.99 เป็นการเช่าพื้นที่และเครื่องตกแต่งสำนักงานตาม
เครื่องตกแต่งสำนักงาน สัญญาเช่าพื้นที่เครื่องตกแต่งสำนักงาน และสัญญา
และค่าบริการ บริการของบริษัทและบริษัทย่อย
- บริษัท : ผู้ให้เช่า ได้แก่ กองทุนบริหารสินทรัพย์
สาธรซิตี้ทาวเวอร์ โดยบริษัทหลักทรัพย์
จัดการกองทุนบัวหลวง จำกัด ตั้งแต่วันที่
1 กรกฎาคม 2546 - 30 เมษายน 2549
อัตราค่าเช่า 0.44 ล้านบาทต่อเดือน
- บริษัทย่อย :
ผู้ให้เช่า ได้แก่ กองทุนบริหารสินทรัพย์
สาธรซิตี้ทาวเวอร์ โดยบริษัทหลักทรัพย์
จัดการกองทุนบัวหลวง จำกัด ตั้งแต่วันที่
1 พฤษภาคม 2546 - 30 เมษายน 2549
อัตราค่าเช่า 0.22 ล้านบาทต่อเดือน
1.6. กองทุนรวมบางกอกการ์เดนท์ ถือหุ้นร้อยละ 33.10 โดยกลุ่มซิตี้เรียลตี้ ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นใหญ่
ประเภทรายการ มูลค่ารายการ มูลค่ารายการ ความจำเป็น/หมายเหตุ
ณ 31 ธ.ค.47 ณ 31 มี.ค.48
รายจ่ายค่าเช่าพื้นที่ 0.36 0.09 สัญญาเช่าพื้นที่ที่จอดรถสำหรับทรัพย์สินที่ยึดคืนของ
บริษัท โดยสัญญามีระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1
พฤศจิกายน 2547 - 31 ตุลาคม 2548 พื้นที่
1,691 ตารางเมตร

2.กลุ่มคู - ผู้ถือหุ้นใหญ่ร้อยละ 79.65 ในบริษัท
2.1 บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน (นายจาตุพัฒน์ คุปตวณิชกุล หรือ Mr.Jeffrey L.S. Koo) เป็นผู้ก่อตั้งธุรกิจของ
กลุ่มตระกูลคู
ประเภทรายการ มูลค่ารายการ มูลค่ารายการ ความจำเป็น/หมายเหตุ
ณ 31 ธ.ค.47 ณ 31 มี.ค.48
เงินกู้ยืมระยะยาว 70.00 70.00 เงินกู้ยืมระยะยาวเพื่อใช้เป็นเงินทุนในการขยายธุรกิจ
ของบริษัทย่อย โดยคิดดอกเบี้ยตามอัตราตลาด
ดอกเบี้ยค้างจ่าย 0.24 0.96 ดอกเบี้ยค้างจ่ายเงินการกู้ยืมของบริษัทย่อย โดยคิด
ดอกเบี้ยตามอัตราตลาด
ดอกเบี้ยจ่าย 2.78 0.71 ดอกเบี้ยจ่ายจากเงินกู้ยืมของบริษัทย่อย โดยคิดดอกเบี้ย
ตามอัตราตลาด
2.2 Chinatrust Commercial Bank เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท
ประเภทรายการ มูลค่ารายการ มูลค่ารายการ ความจำเป็น/หมายเหตุ
ณ 31 ธ.ค.47 ณ 31 มี.ค.48
ดอกเบี้ยจ่าย 2.50 - ดอกเบี้ยจ่ายจากเงินกู้ยืมระยะสั้นในบริษัทและบริษัทย่อย
โดยคิดดอกเบี้ยตามอัตราตลาด
ค่าธรรมเนียม Stand by L/C 15.53 4.75 ค่าธรรมเนียมจากการใช้สินเชื่อในรูปของ Stand by L/C
เพื่อนำไปค้ำประกันการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินอื่น
ของบริษัทและบริษัทย่อย โดยมีวงเงิน 40 ล้านเหรียญ
สหรัฐอเมริกา
ค่าธรรมเนียม Stand by L/C 2.65 2.10 ค่าธรรมเนียมจ่ายล่วงหน้าจากการใช้สินเชื่อในรูปของ
จ่ายล่วงหน้า Stand by L/C เพื่อนำไปค้ำประกันการกู้ยืมเงินจาก
สถาบันการเงินอื่นของบริษัทและบริษัทย่อย
2.3. My Funding Corporation มีผู้ถือหุ้นใหญ่และกรรมการร่วมกัน
ประเภทรายการ มูลค่ารายการ มูลค่ารายการ ความจำเป็น/หมายเหตุ
ณ 31 ธ.ค.47 ณ 31 มี.ค.48
ภาระผูกพัน 7.24 7.25 สัญญาว่าจ้างพัฒนาและติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
มีมูลค่า 615,385 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 24.96
ล้านบาท) โดยแบ่งเป็นของบริษัท 492,308 เหรียญ
ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 19.97 ล้านบาท) และบริษัทย่อย
123,077 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4.99 ล้านบาท)
สัญญามีระยะเวลาประมาณ 15 เดือน เริ่มตั้งแต่ 17
กุมภาพันธ์ 2546 ปัจจุบัน บริษัทมีการชำระค่าพัฒนาระบบ
คอมพิวเตอร์แล้ว 344,615.60 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ
(ประมาณ 14.17 ล้านบาท) และบริษัทย่อยชำระค่าพัฒนา
ระบบคอมพิวเตอร์แล้ว 86,153.90 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ
(ประมาณ 3.54 ล้านบาท) โดยบริษัทยังมีภาระผูกพันที่
ต้องชำระอีก 147,692.40 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ
5.80 ล้านบาท) และบริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่ต้องชำระอีก
36,923.10 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.45 ล้านบาท)
ขณะนี้มีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เสร็จสิ้นแล้วร้อยละ 85
สินทรัพย์ชำระล่วงหน้า 17.71 17.71 เป็นสินทรัพย์ชำระล่วงหน้าตามสัญญาว่าจ้างพัฒนาและ
ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ของบริษัทและบริษัทย่อย
2.4. บริษัท ไชลีสไฟแนนซ์ จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นร้อยละ 42.33 ในบริษัท
ประเภทรายการ มูลค่ารายการ มูลค่ารายการ ความจำเป็น/หมายเหตุ
ณ 31 ธ.ค.47 ณ 31 มี.ค.48
รายจ่ายค่าที่ปรึกษา 3.53 0.88 บริการให้คำปรึกษาด้านการบริหารงาน การตรวจสอบภายใน
และบริหาร และการจัดหาแหล่งเงินทุนแก่บริษัทและบริษัทย่อย ตั้งแต่
วันที่ 1 มกราคม
2000
- 31 ธันวาคม ปัจจุบันอยู่ระหว่างต่อ
อายุสัญญาปี 2548
2.5 Chailease Credit Service Co.,Ltd. เป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่ร่วมกัน
ประเภทรายการ มูลค่ารายการ มูลค่ารายการ ความจำเป็น/หมายเหตุ
ณ 31 ธ.ค.47 ณ 31 มี.ค.48
รายได้ค่าธรรมเนียม 0.73 0.18 รายได้ค่าธรรมเนียมแฟคตอริ่งและค่าธรรมเนียมการ
จัดการเอกสารจากการให้บริการสินเชื่อแฟคตอริ่งเพื่อการ
นำเข้าของบริษัทย่อย
รายได้ค่าธรรมเนียมค้างรับ 0.02 0.08 รายได้ค่าธรรมเนียมแฟคตอริ่งและค่าธรรมเนียมการ
จัดการเอกสารค้างรับจากการให้บริการสินเชื่อแฟคตอริ่ง
เพื่อการนำเข้าของบริษัทย่อย

ความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกัน
มติคณะกรรมการครั้งที่ 4/2548 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2548 โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งเป็น
กรรมการอิสระ เข้าร่วมประชุมได้ให้ความเห็นว่าการทำรายการระหว่างกันเป็นความจำเป็นในการประกอบธุรกิจทั่วไป
เงื่อนไขต่างๆ ของรายการระหว่างกันเป็นไปตามราคาตลาด ราคาตามสัญญาและราคาที่ตกลงกัน ซึ่งมีความสมเหต
สมผลและเป็นไปตามการประกอบธุรกิจทั่วไป
สำหรับรายการระหว่างกันระหว่างบริษัทและบริษัทย่อยกับบริษัท My Funding Corporation ในเรื่อง
การว่าจ้างผู้พัฒนาและติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ของบริษัทและบริษัทย่อย มีหลักการในการคัดเลือกผู้พัฒนาและ
ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ดังนี้
1.บริษัทและบริษัทย่อยแจ้งให้ผู้พัฒนาและติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ 6 ราย เข้ามานำเสนอโครงการ
และเสนอราคาในการพัฒนาและติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์
2.บริษัทและบริษัทย่อยกำหนดปัจจัยในการคัดเลือกผู้พัฒนาและติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์เพื่อนำมา
วิเคราะห์โครงการ โดยแบ่งการพิจารณาเป็นปัจจัยหลัก ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์สนับสนุนธุรกิจของบริษัทและ
บริษัทย่อย การเชื่อมโยงการทำงานของหลักของฝ่ายต่างๆ การใช้งานบน Web Based Application เป็นต้น และ
ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ระยะเวลา ราคา ผลงานของผู้พัฒนาและติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ในอดีต เป็นต้น ผู้พัฒนา
และติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ที่ผ่านการคัดเลือกในขั้นต้นจะต้องมีคุณสมบัติในหัวข้อปัจจัยหลักครบทุกข้อ ซึ่งมี
ผู้พัฒนาและติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ 2 รายที่ผ่านคุณสมบัติหลักข้างต้น
3.บริษัทและบริษัทย่อยได้กำหนดปัจจัยทางด้านผลประโยชน์และความเสี่ยงของความสำเร็จของโครงการ
น้ำหนักของแต่ละปัจจัยตามลำดับ และให้คะแนนคุณสมบัติของแต่ละปัจจัย เพื่อคำนวณหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก โดย
คัดเลือกผู้ที่มีคะแนนสูงสุดเป็นผู้พัฒนาและติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ของบริษัทและบริษัทย่อย

ภาระผูกพัน ณ 31 มีนาคม 2548 และ 31 ธันวาคม 2547
1. บริษัทมีภาระการค้ำประกันเงินกู้ยืมระยะสั้นให้แก่บริษัทย่อยในวงเงินจำนวน 100 ล้านบาท
และบริษัทและบริษัทย่อยมีภาระค้ำประกันร่วมสำหรับวงเงินกู้ยืมร่วมกันจำนวน 17 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
2. บริษัทและบริษัทย่อยมีภาระผูกพันตามสัญญาเช่าระยะยาวสำหรับอาคารสำนักงานและสัญญาบริการ
กับกิจการที่เกี่ยวข้องกันเป้นจำนวนประมาณ 8.61 ล้านบาทและ 10.59 ล้านบาท ตามลำดับ
(เฉพาะบริษัท 5.72 ล้านบาท และ 7.04 ล้านบาท ตามลำดับ)
3.บริษัทและบริษัทย่อยมีภาระผูกพันตามสัญญาติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์คงเหลือตามสัญญาจำนวน
ประมาณ 0.18 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือ 7.25 ล้านบาท (เฉพาะบริษัท 0.15 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
หรือ 5.80 ล้านบาท)
4. บริษัทได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Swap) จำนวน 1 สัญญา
มีมูลค่าตามสัญญาจำนวน 100 ล้านบาท โดยบริษัทจ่ายอัตราดอกเบี้ยคงที่ในอัตราร้อยละ 3.25 ต่อปี และ
รับดอกเบี้ยในอัตราลอยตัว สัญญาดังกล่าวจะสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2549

ปัจจัยเสี่ยง
1.ความเสี่ยงจากความไม่สอดคล้องของระยะเวลาการให้สินเชื่อกับแหล่งเงินทุน
ความไม่สอดคล้องของระยะเวลาการให้สินเชื่อกับแหล่งเงินทุนของบริษัทและบริษัทย่อย อาจทำให้
เกิดความเสี่ยงในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยและสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย
- ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย
การที่บริษัทและบริษัทย่อยได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าเช่าซื้อและลีสซิ่งในอัตราคงที่
ตลอดอายุของสัญญา ในขณะที่แหล่งที่มาของเงินทุนของบริษัทและบริษัทย่อยส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
ซึ่งมีต้นทุนเงินกู้ยืมที่ขึ้นลงตามอัตราดอกเบี้ยในตลาด ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดจึงอาจ
ส่งผลทำให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัทและบริษัทย่อยสูงขึ้นหรือลดลงได้ ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น บริษัทและ
บริษัทย่อยอาจได้รับผลกระทบบ้างจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทและบริษัทย่อยมีกระแสเงินสด
ที่ได้จากการชำระคืนหนี้ของลูกหนี้เฉลี่ยประมาณร้อยละ 39 - 48 ของยอดลูกหนี้ทั้งหมด ทำให้บริษัทและบริษัทย่อย
สามารถนำเงินที่ได้รับชำระคืนจากลูกหนี้ไปให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้รายใหม่ในอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่สูงขึ้นได้ ซึ่งจะ
ช่วยลดผลกระทบจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่ต้นทุนอัตราดอกเบี้ยของบริษัทและบริษัทย่อยสูงขึ้น นอกจากนี้
บริษัทและบริษัทย่อยได้ลดสัดส่วนเงินกู้ยืมระยะสั้นที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวลง และเพิ่มสัดส่วนเงินกู้ยืมระยะยาวที่มี
อัตราดอกเบี้ยคงที่มากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ยที่อาจปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548
บริษัทและบริษัทย่อยมีสัดส่วนการใช้แหล่งเงินทุนจากหนี้สินระยะสั้น คิดเป็นร้อยละ 70.80 ของหนี้สินรวมและส่วน
ของผู้ถือหุ้น หนี้สินระยะยาว คิดเป็นร้อยละ 17.11 หนี้สินอื่น คิดเป็นร้อยละ 2.30 และส่วนของผู้ถือหุ้น คิดเป็น
ร้อยละ 9.79
- สภาพคล่องทางการเงิน
เงินกู้ยืมของบริษัทและบริษัทย่อยมาจากสถาบันการเงินทั้งภายในประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาว
โดยบริษัทพยายามจัดหาแหล่งเงินกู้ให้สอดคล้องกับแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
ระยะสั้นอยู่ในระดับไม่สูงมากนัก บริษัทจึงมีเงินกู้ระยะสั้นเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 68 ? 71 ของ
แหล่งเงินทุนทั้งหมด บริษัทและบริษัทย่อยอาจมีความเสี่ยงที่เกิดจากการถูกเรียกชำระคืนเงินกู้หรือการที่เจ้าหนี้
สถาบันการเงินไม่ต่ออายุเงินกู้ยืมหลังจากครบกำหนด ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทและบริษัทย่อยไม่เคยมีปัญหาดังกล่าว ณ
31 มีนาคม 2548 บริษัทและบริษัทย่อยมีการกู้ยืมระยะสั้นและหนี้สินหมุนเวียนอื่น เท่ากับ 4,772.22 ล้านบาท
ในขณะที่เงินค่างวดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ภายใน 1 ปี เท่ากับ 3,221.98 ล้านบาท โดยเงินกู้ระยะสั้น
ส่วนหนึ่งเป็นเงินกู้ยืมระยะสั้นจากส่วนของผู้ถือหุ้นและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งสนับสนุนธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อย
เป็นอย่างดีมาตลอด คิดเป็นร้อยละ 25.24 ของหนี้สินระยะสั้นรวม บริษัทไม่เคยประสบปัญหาในเรื่องแหล่งเงินกู้
และความเพียงพอของเงินทุนหมุนเวียนและไม่เคยถูกเรียกชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นหรือไม่ต่ออายุเงินกู้ยืมเมื่อครบ
กำหนดชำระจากสถาบันการเงินใดๆ นอกจากนี้ บริษัทและบริษัทย่อยยังคงมีวงเงินสินเชื่อคงเหลือจากสถาบัน
การเงินต่างๆ อีกประมาณ 615.82 ล้านบาท อย่างไรก็ดี หากเกิดการเรียกชำระคืนเงินกู้ก่อนครบกำหนด
บริษัทสามารถขอความสนับสนุนทางด้านการเงินจากกลุ่มของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 2 แห่งที่มี
ฐานะการเงินที่มั่นคงได้ ในขณะเดียวกัน บริษัทและบริษัทย่อยมีนโยบายในการจัดหาแหล่งเงินทุนจากที่อื่น เพื่อ
กระจายความเสี่ยง เช่น การระดมทุนจากตลาดทุน โดยการเสนอขายหุ้นกู้ให้แก่นักลงทุนสถาบันและประชาชน
การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ประชาชน เป็นต้น

2.ความเสี่ยงด้านการตลาดและการแข่งขัน
รายได้หลักของบริษัทและบริษัทย่อยมาจากการให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ประมาณร้อยละ
67.66 ของรายได้รวม ณ 31 มีนาคม 2548 จึงอาจเกิดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์
ซึ่งการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์จะขึ้นอยู่กับการเติบโตของสภาพเศรษฐกิจโดยรวมภายในประเทศ ในช่วง
อุตสาหกรรมยานยนต์มีการขยายตัว บริษัทและบริษัทย่อยมีนโยบายในการขยายปริมาณการให้สินเชื่อมากขึ้น ทั้งจาก
ฐานลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ ควบคู่ไปกับการขยายพื้นที่การให้บริการไปยังจังหวัดต่างๆ ที่ยังไม่เคยให้บริการ
ในช่วงอุตสาหกรรมยานยนต์ชะลอตัวลง บริษัทและบริษัทย่อยจะยังคงรักษาระดับการให้สินเชื่ออยู่อย่างเดิม แต่
ชะลอการขยายพื้นที่การให้บริการไปยังจังหวัดต่างๆ ลง และเน้นนโยบายการเพิ่มสัดส่วนการให้บริการสินเชื่อ
ประเภทอื่นๆ ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการซบเซาของอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น การให้บริการให้สินเชื่อ
เช่าซื้อเครื่องจักร สินเชื่อลีสซิ่ง และสินเชื่อแฟคตอริ่ง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้แก่บริษัทและ
บริษัทย่อย และช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงอุตสาหกรรมยานยนต์ได้
นอกจากนี้ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดแผนพัฒนาสถาบันการเงินโดยอนุญาตให้ธนาคาร
พาณิชย์สามารถประกอบธุรกิจเช่าซื้อและธุรกิจลีสซิ่งได้อย่างเสรี ซึ่งอาจจะทำให้ธนาคารพาณิชย์มีความสนใจใน
การเข้ามาประกอบธุรกิจการให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อและลีสซิ่งได้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์หลาย
แห่งได้ดำเนินการให้บริการสินเชื่อลีสซิ่งและเช่าซื้อผ่านบริษัทในเครือของธนาคารอยู่แล้ว ทำให้จำนวนคู่แข่งขัน
ในอุตสาหกรรมไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
2000
รวมทั้งการที่คู่แข่งขันบางรายมีการปรับกลยุทธ์การแข่งขันเพื่อเพิ่มสัดส่วน
ทางการตลาด เช่น การลดจำนวนเงินดาวน์ การลดอัตราดอกเบี้ย การขยายระยะเวลาของสัญญา เป็นต้น
เป็นสาเหตุให้การแข่งขันมีความรุนแรงขึ้นทั้งในด้านบริการและด้านราคา ซึ่งอาจส่งผลกระทบทำให้บริษัทและ
บริษัทย่อยมีอัตราดอกเบี้ยรับลดลงได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทและบริษัทย่อยมีนโยบายในการรักษาส่วนต่างอัตรา
ดอกเบี้ยให้คงที่ โดยเน้นการให้บริการสินเชื่อที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง ประกอบกับการทำธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่ง
มานาน มีบริการที่หลากหลายและครบวงจร มีความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวแทนจำหน่ายทรัพย์สินที่ใช้ในการเช่าซื้อและ
ลีสซิ่ง มีระบบการบริหารและควบคุมสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ และมีพนักงานที่มีความรู้และมีประสบการณ์ ทำให้
บริษัทและบริษัทย่อยมีความเชื่อมั่นในความสามารถในการแข่งขันของบริษัทเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน

3.ความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อรถยนต์ใช้แล้ว
การให้สินเชื่อรถยนต์ใช้แล้วจะมีความเสี่ยงที่สูงกว่าการให้สินเชื่อรถยนต์ใหม่ในด้านการประเมิน
ราคารถยนต์และด้านเครดิตของลูกค้า ในขณะเดียวกันสินเชื่อรถยนต์ใช้แล้วจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า เพื่อป้องกัน
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการให้สินเชื่อรถยนต์ใช้แล้ว บริษัทและบริษัทย่อยมีนโยบายในการให้สินเชื่อรถยนต์
ประเภทที่ได้รับความนิยม มีสภาพคล่องสูง มีอายุการใช้งานนาน ซึ่งจะช่วยให้สามารถขายต่อง่ายและได้ราคาดี
และมีการกำหนดมาตรการในการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์ใช้แล้วให้มีความเข้มงวดและรัดกุม รวมถึงการมีทีมงานที่มี
ประสบการณ์ในการทำการตลาดสินเชื่อรถยนต์ใช้แล้ว ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการประเมินราคารถยนต์และตรวจสอบ
คุณภาพรถยนต์ใช้แล้วโดยเฉพาะ เพื่อให้การให้สินเชื่อมีความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด นอกจากนี้ บริษัทและบริษัทย่อย
มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ใช้แล้วจำนวนมาก โดยจะเลือกทำการค้ากับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ใช้แล้ว
ที่มีฐานะการเงินมั่นคง มีความซื่อสัตย์สุจริต และเสนอขายรถยนต์ใช้แล้วที่มีคุณภาพได้มาตรฐานในราคาที่เหมาะสม
ซึ่งจะช่วยให้บริษัทและบริษัทย่อยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการที่คุณภาพของรถยนต์ใช้แล้วไม่ได้มาตรฐาน
รวมทั้งช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าของบริษัทและบริษัทย่อยได้อีกด้วย

4.ความเสี่ยงด้านสินเชื่อไม่ก่อให้เกิดรายได้
ความเสี่ยงด้านสินเชื่อไม่ก่อให้เกิดรายได้เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นจากการให้สินเชื่อ
ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงดังกล่าว บริษัทและบริษัทย่อยมีมาตรการในการป้องกันความเสี่ยงโดยการคัดเลือก
พนักงานและลูกค้าที่มีคุณภาพ การอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดและรัดกุม การควบคุมและติดตามหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้เกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้น้อยที่สุด รวมถึงการคัดเลือกทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องและได้รับความนิยม
หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้คืน บริษัทและบริษัทย่อยสามารถขายทรัพย์สินดังกล่าวได้อย่างรวดเร็วและได้ราคา
ใกล้เคียงกับราคาทุนตามมูลหนี้ ในกรณีที่บริษัทและบริษัทย่อยขายทรัพย์สินรอการขายออกไปแล้วมีมูลค่าไม่เพียงพอ
กับมูลหนี้คงค้าง บริษัทและบริษัทย่อยสามารถติดตามและฟ้องดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องมูลหนี้ส่วนที่เหลือจากลูกหนี้ได้
ทำให้บริษัทและบริษัทย่อยเรียกเก็บเงินคืนจากลูกหนี้ในส่วนดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 4.50 ล้านบาทในปี 2546 10.35
ล้านบาทในปี 2547 และ 2.37 ล้านบาทในไตรมาสแรกของปี 2548
ที่ผ่านมา บริษัทและบริษัทย่อยมีความเสี่ยงด้านสินเชื่อไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ในเกณฑ์ต่ำ จะเห็นได้
จาก ณ 31 ธันวาคม 2547 และ ณ 31 มีนาคม 2548 ลูกหนี้ที่หยุดรับรู้รายได้คิดเป็นร้อยละ 0.31 และ 0.43
ของลูกหนี้คงเหลือทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อและลีสซิ่ง ตามลำดับ หากพิจารณาลูกหนี้ที่หยุดรับรู้รายได้และลูกหนี้
้ซึ่งได้้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาคิดเป็นร้อยละ 1.98 และ 1.58 ของลูกหนี้คงเหลือทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อ
และลีสซิ่งตามลำดับ

5.ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของผู้จัดจำหน่ายรถยนต์
บริษัทให้บริการเช่าซื้อรถยนต์ผ่านผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ใหม่และรถยนต์ใช้แล้ว ซึ่งเป็นพันธมิตรทาง
ธุรกิจของบริษัทประมาณ 221 ราย ณ 31 มีนาคม 2548 โดยมีสัดส่วนการให้บริการเช่าซื้อรถยนต์ผ่านผู้จัดจำหน่าย
รถยนต์ 10 รายแรก คิดเป็นร้อยละ 32.40 ของยอดการให้สินเชื่อเช่าซื้อทั้งหมดของบริษัทในไตรมาสแรกของปี
2548 (มีเพียง 2 รายเท่านั้นที่มีสัดส่วนการให้สินเชื่อเช่าซื้อเกินกว่าร้อยละ 5 รวมกันประมาณร้อยละ 16.25)
บริษัทมีแนวทางในการกระจายการให้บริการผ่านผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ไปยังผู้จัดจำหน่ายรถยนต์รายอื่นๆ มากขึ้น ซึ่ง
จะช่วยไม่ให้เกิดการกระจุกตัวของผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ได้

6.ความเสี่ยงจากอิทธิพลในการบริหารงานของผู้ถือหุ้นรายใหญ่
บริษัทมีกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคู (Koo s Group) จากประเทศสาธารณรัฐไต้หวัน
ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ไชลีส ไฟแนนซ์ จำกัด บริษัท เอเค เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด และนายคู
จอห์น ลี ซึ่งมีสัดส่วนการถือหุ้นรวมกันประมาณร้อยละ 79.65 ของทุนชำระแล้วทั้งหมด และกลุ่มธนาคารกรุงเทพ
จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีสัดส่วนการถือหุ้นรวมกันประมาณร้อยละ 12.58 ของทุนชำระแล้วทั้งหมด โดยผู้ถือหุ้นทั้งสอง
กลุ่มนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด ทั้งนี้ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนแล้ว กลุ่มผู้ถือหุ้น
กลุ่มคูและกลุ่มธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จะมีสัดส่วนการถือหุ้นเหลือเพียงร้อยละ 63.72 และ 10.06
ของทุนชำระแล้วทั้งหมดตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าวทำให้ผู้ถือหุ้นกลุ่มคูไม่สามารถควบคุมมติที่ประชุม
ผู้ถือหุ้นได้เฉพาะในกรณีที่ต้องการมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้น

7.ความเสี่ยงจากการลดลงของราคาหุ้นสามัญ อันเนื่องมาจากการเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่กรรมการ
ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทและบริษัทย่อยในราคาที่ต่ำกว่าราคาเสนอขายต่อประชาชน
เมื่อวันที่ 26-30 พฤศจิกายน 2547 บริษัทได้เสนอขายหุ้นสามัญแก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน
ของบริษัทและบริษัทย่อย จำนวน 6.4 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 5.50 บาท คิดเป็น 5.57 ของทุนชำระแล้วภายหลัง
การเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชน ทั้งนี้ ราคาเสนอขายหุ้นให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทและ
บริษัทย่อยเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่เสนอขายต่อประชาชน จึงอาจทำให้ผู้จองซื้อหุ้นสามัญได้รับความเสี่ยงจากการ
ลดลงของราคาหุ้นภายหลังการเสนอขายได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทได้กำหนดระยะเวลาห้ามซื้อขายในส่วนที่ได้จัดสรร
แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน นับแต่วันที่หุ้นของบริษัทเริ่มซื้อขายในตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยสามารถทยอยขายหุ้นได้ร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นที่ถูกห้ามซื้อขายเมื่อครบกำหนด
ทุกๆ 6 เดือน ซึ่งการห้ามซื้อขายดังกล่าวจะช่วยลดกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (Price Dilution) ได้

กรณีพิพาท - ไม่มี -

จำนวนพนักงาน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548 จำนวน 282 คน

ประวัติความเป็นมาโดยสรุป
ปี 2527 ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจ
เช่าซื้อรถยนต์ทุกประเภท
ปี 2534 เปิดสาขาแห่งแรกที่จังหวัดระยองเพื่อขยายฐานการดำเนินธุรกิจ
ปี 2535 บริษัท กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) (ผู้ถือหุ้นหลัก คือ กลุ่มธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
และกลุ่มไชลีสจากประเทศสาธารณรัฐไต้หวัน ดำเนินธุรกิจการให้สินเชื่อลีสซิ่ง สินเชื่อ แฟคตอริ่ง และ
สินเชื่อเช่าซื้อ) เข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ร้อยละ 99.99
ปี 2537 ขยายสาขาไปยังจังหวัดสมุทรสาคร
ปี 2541 เริ่มให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ใช้แล้ว
ปี 2545 -เริ่มให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลแก่ลูกค้าที่ทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัทและมีประวัติการชำระดี
ปี 2546 -แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2546
-เริ่มให้บริการสินเชื่อแก่ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์
ปี 2547 -ลดทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้ว 112 ล้านบาท เพื่อล้างขาดทุนสะสม
-ปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัท เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2547 โดยบริษัทเข้าถือหุ้นร้อยละ 99.99 ในบริษัท กรุงเทพ
แกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) ทำให้บริษัท กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) กลายเป็นบริษัทย่อย
ของบริษัท
-ขยายสาขาไปยังจังหวัดพิษณุโลก
-วันที่ 26-30 พฤศจิกายน 2547 บริษัทเสนอขายหุ้นสามัญแก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท และ
บริษัทย่อย 6.4 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 5.50 บาท
ปี 2548 -เปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น โดยบริษัท แกรนด์ แปซิฟิค เคมีคอล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งถือหุ้นของบริษัทจำนวน
33,799,140 หุ้น (คิดเป็นร้อยละ 36.74 ของทุนชำระแล้ว) ขายหุ้นทั้งหมดของบริษัทให้แก่บริษัท เอเค
เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มคูด้วยกัน

เงินลงทุนในบริษัทย่อยบริษัทร่วม/บริษัทที่เกี่ยวข้อง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548 ปรากฏดังนี้
หน่วย: ล้านบาท
ชื่อบริษัท ประเภทกิจการ ทุนชำระแล้ว ร้อยละของหุ้นที่ถือ มูลค่าเงินลงทุน
และลักษณะธุรกิจ (ตามราคาทุน)
1.บริษัท กรุงเทพแกรนด์ ธุรกิจลีสซิ่งและ 438.50 99.99 499.91
แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) แฟคตอริ่ง

การเพิ่ม (ลด) ทุนในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา หน่วย : ล้านบาท
วัน/เดือน/ปี ทุนที่เพิ่ม (
2000
ลด) หลังเพิ่ม (ลด) ทุน หมายเหตุ/วัตถุประสงค์การใช้เงิน
มี.ค. 47 (112) 348 ล้างขาดทุนสะสม
มี.ค. 47 80 428 ใช้ในการขยายธุรกิจ
ธ.ค. 47 32 460 เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่กรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน
ของบริษัทและบริษัทย่อย เพื่อใช้ในการขยายธุรกิจ
ส.ค.48 115 575 เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ประชาชน เพื่อใช้ในการขยายธุรกิจ
และพัฒนาระบบสารสนเทศ

รอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม - 31 ธันวาคม
ผู้สอบบัญชี ชื่อ สำนักงานผู้สอบบัญชี
ปี 2548 (ม.ค.-มี.ค.) นางสาววิสสุตา จริยธนากร บริษัท สำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด
ปี 2545-2547 นายณรงค์ หลักฐาน บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด

นายทะเบียนหุ้น บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด

ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท เซจแคปปิตอล จำกัด

นโยบายการจ่ายเงินปันผล
บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 แต่ไม่เกินกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนเงิน
ที่สามารถจ่ายได้ภายหลังบริษัทมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน และได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ รวมถึงภาระผูกพัน
ต่างๆ ของบริษัทเป็นที่เรียบร้อยแล้วในแต่ละปี ยกเว้นบริษัทมีความจำเป็นในการนำเงินดังกล่าวไปลงทุนเพื่อหารายได้
เพิ่มขึ้น และห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่น นอกจากกำไร และในกรณีที่บริษัทยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่
ก็ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผล

บัตรส่งเสริมการลงทุน - ไม่มี -

จำนวนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2548 ปรากฏดังนี้
จำนวนราย จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1.ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น Strategic shareholders - - -
1.1 รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ
1.2 กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง 13 2,243,510 1.95
และบุคคลที่มีความสัมพันธ์
1.3 ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5 % โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย 10 84,850,320 73.78
1.4 ผู้มีอำนาจควบคุม - - -
1.5 ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้นภายในเวลาที่กำหนด 187 3,627,690 3.16
2.ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยที่ถือไม่ต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย 1,364 24,278,480 21.11
3.ผู้ถือหุ้นสามัญที่ถือต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย - - -
รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น 1,574 115,000,000 100.00

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2548
ชื่อ จำนวนหุ้น (หุ้น) ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1.กลุ่มคู* 73,281,440 63.72
2.กลุ่มธนาคารกรุงเทพ** 11,568,880 10.06
3.นายอำนวย วีรวรรณ 462,800 0.40
4.นางเหยียน หมิง หมิง 257,160 0.22
5.นางปฏิมา ชวลิต 251,400 0.22
6.นายฮวง หมิง ฟู 231,400 0.20
7.นายฮวง เชง หมิง 231,400 0.20
8.นายฟง ลอง เชน 231,400 0.20
9.นายเทียนทวี สระตันติ์ 189,400 0.17
10.นายโล จุน ลอง 180,050 0.16
รวม 86,885,330 75.55
* ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์
เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) นายชาตรี โสภณพนิช บริษัท เอเซียเสริมกิจ จำกัด นายชาติศิริ โสภณพนิช
และนายชาลี โสภณพนิช
**ประกอบด้วย บริษัท ไชลีส ไฟแนนซ์ จำกัด บริษัท เอเค เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด และนายคู จอห์น ลี ซึ่งรวมหุ้น
ที่ให้ยืมเพื่อการจัดสรรหุ้นส่วนเกินจำนวน 3.45 ล้านหุ้น

ผู้ถือหุ้นต่างด้าว
ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2548 บริษัทมีผู้ถือหุ้นต่างด้าว 20 ราย ถือหุ้นรวมกัน 42,882,970 หุ้น
คิดเป็นร้อยละ 37.29 ของทุนชำระแล้ว
หมายเหตุ บริษัทมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างด้าวตามข้อบังคับของบริษัทข้อ 6 ว่า หุ้นของบริษัท
สามารถโอนได้ไม่มีข้อจำกัด เว้นแต่การโอนหุ้นนั้นเป็นเหตุให้มีบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นในบริษัทจำนวนมากกว่า
ร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด การโอนหุ้นรายใดที่จะทำให้อัตราส่วนการถือหุ้นของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติ
ไทยของบริษัทเกินกว่าอัตราส่วนข้างต้น บริษัทมีสิทธิปฏิเสธการโอนหุ้นของบริษัทรายนั้นได้

คณะกรรมการ
รายชื่อ ตำแหน่ง วันที่ดำรงตำแหน่ง
1.นายอำนวย วีรวรรณ ประธานกรรมการ / ประธานกรรมการบริหาร 3 พ.ค.2542
2.นายโล จุน ลอง กรรมการบริหาร / กรรมการผู้จัดการ 3 พ.ค.2542
3.นายถัง ไล่ หวัง กรรมการบริหาร / รองกรรมการผู้จัดการ 16 มี.ค.2543
4.นายเทียนทวี สระตันติ์ กรรมการบริหาร / ผู้จัดการทั่วไป 18 มี.ค.2530
5.นายเจีย หมิง หยาง กรรมการ 7 มิ.ย.2548
6.นายฮวง เชง หมิง กรรมการ 18 มิ.ย.2547
7.นายฮวง หมิง ฟู กรรมการ 13 พ.ค.2545
8.นายฟง ลอง เชน กรรมการ 3 พ.ค.2542
9.นางปฏิมา ชวลิต กรรมการ 29 ก.ค.2536
10.นายประดิษฐ ศวัสตนานนท์ ประธานกรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ 18 มิ.ย.2547
11.นายอนันต์ ศวัสตนานนท์ กรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ 18 มิ.ย.2547
12.พลตำรวจโทพิชิต ควรเดชะคุปต์ กรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ 18 มิ.ย.2547

 กลับขึ้นบน
อาฟง
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
#1 วันที่: 25/08/2005 @ 09:49:51 : re: สรุปข้อสนเทศ : ASK เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง
คณะกรรมการตรวจสอบ
ที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่ 20/2547 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2547 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ
จำนวน 3 ท่าน ได้แก่
1.นายประดิษฐ ศวัตนานนท์ ประธานกรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ
2.นายอนันต์ ศวัตนานนท์ กรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ
3.พล.ต.ท.พิชิต ควรเดชะคุปต์ กรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ

ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ
1.สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยเพียงพอ โดยการประสานงานกับ
ผู้สอบบัญชีภายนอกและผู้บริหารที่รับผิดชอบ จัดทำรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาสและประจำปี คณะกรรมการ
ตรวจสอบอาจเสนอแนะให้ผู้สอบบัญชีสอบทานหรือตรวจสอบรายการใดๆ ที่เห็นว่าจำเป็นและเป็นเรื่องสำคัญใน
ระหว่างการตรวจสอบบัญชีของบริษัทได้
2.สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในและตรวจสอบภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล โดย
สอบทานร่วมกับผู้สอบบัญชีภายนอกและผู้ตรวจสอบภายใน
3.สอบทานการปฏิบัติงานของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนด
ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือกฎหมายที่
เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลัก
4.พิจารณาคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัท รวมถึงพิจารณาเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี
โดยคำนึงถึงความน่าเชื่อถือ ความเพียงพอของทรัพยากรและปริมาณงานตรวจสอบของสำนักงานตรวจสอบบัญชีนั้น
รวมถึงประสบการณ์ของบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ทำการตรวจสอบบัญชีของบริษัท
5.พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความ
ขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน
6.ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมาย และคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบด้วย
เช่น นโยบายการบริหารทางการเงินและการบริหารความเสี่ยง ทบทวนการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจของ
ผู้บริหาร ทบทวนร่วมกับผู้บริหารของบริษัท ให้รายงานสำคัญๆ ที่ต้องเสนอต่อสาธารณชนตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร เป็นต้น
7.จัดทำรายงานกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่ง
รายงานดังกล่าวลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ รายงานดังกล่าวควรประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้
- ความเห็นที่เกี่ยวกับกระบวนการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินของบริษัทถึง
ความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้
- ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัท
- เหตุผลที่เชื่อว่าผู้สอบบัญชีของบริษัทเหมาะสมที่จะได้รับการแต่งตั้งต่อไปอีกวาระหนึ่ง
- ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
- รายงานอื่นใดที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่
ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท

วาระการดำรงตำแหน่ง
1.ประธานกรรมการตรวจสอบ วาระการดำรงตำแหน่งครั้งละ 2
2000
ปี
2.กรรมการตรวจสอบ วาระการดำรงตำแหน่งครั้งละ 2 ปี

เงื่อนไขในการรับหลักทรัพย์ (ถ้ามี) - ไม่มี -

ระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้น
ผู้ถือหุ้นเดิมก่อนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนที่ถือหุ้นจำนวน 90,721,520 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 98.61 ของ
ทุนชำระแล้วก่อนเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ให้คำรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าจะไม่นำหุ้นจำนวนดังกล่าวออกจำหน่าย
เป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน นับแต่วันที่หลักทรัพย์ของบริษัทเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยเมื่อครบกำหนด
ระยะเวลาทุกๆ 6 เดือน ผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้ทยอยขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่ถูกสั่งห้ามขายได้ในจำนวน
ร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นหรือหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามขาย และเมื่อครบกำหนด 1 ปี 6 เดือนสามารถขายส่วน
ที่เหลือได้ทั้งหมด

การผ่อนผันของตลาดหลักทรัพย์ - ไม่มี -

อื่น ๆ ที่สำคัญ (ถ้ามี) - ไม่มี -

สถิติ
บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
|--------พันบาท --------|----------- บาท/หุ้น ----------|
ปี รายได้ กำไร(ขาดทุน) กำไร(ขาดทุน) เงินปันผล มูลค่าหุ้น เงินปันผล
จากการขาย * สุทธิ สุทธิ** ตามบัญชี* ต่อกำไร (%)
2545 375,538 90,077 0.98 - 2.62 -
(ตรวจสอบแล้ว)
2546 412,412 109,004 1.18 - 3.80 -
(ตรวจสอบแล้ว)
2547 464,139 137,655 1.50 - 6.59 -
(ตรวจสอบแล้ว)
ไตรมาสแรกของ 130,920 33,807 0.37 - 6.97 -
ปี 2548
(สอบทานแล้ว)
* ไม่รวมส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย
หมายเหตุ : มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ
กำไร(ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้นและมูลค่าหุ้นตามบัญชี คำนวณตามวิธี Fully Diluted Basis

บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
|--------พันบาท --------|----------- บาท/หุ้น ----------|
ปี รายได้ กำไร(ขาดทุน) กำไร(ขาดทุน) เงินปันผล มูลค่าหุ้น เงินปันผล
จากการขาย * สุทธิ สุทธิ** ตามบัญชี* ต่อกำไร (%)

2545 $ 455,919 98,197 1.69 - 5.36 -
(ตรวจสอบแล้ว)
2546 $ 516,067 127,914 2.20 - 7.56 -
(ตรวจสอบแล้ว)
2547 599,445 150,486 1.64 - 6.59 -
(ตรวจสอบแล้ว)
ไตรมาสแรกของปี 2548 167,893 33,807 0.37 - 6.97 -
(สอบทานแล้ว)

$ ใช้ตัวเลขจากงบการเงินรวมของบริษัท กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) สำหรับปี 2545-2546
ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี ซึ่งขณะนั้นถือหุ้นร้อยละ 99.99 ในบริษัทเอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) และ
มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ
ใช้ตัวเลขจากงบการเงินรวมของบริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) สิ้นสุด 31 มีนาคม 2548 และ
งบการเงินรวมเสมือนปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัทของบริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) สำหรับปี
2547 จัดทำโดยผู้บริหาร ซึ่งถือหุ้นในบริษัท กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 99.99 เพื่อ
แสดงภาพรวมของกลุ่มบริษัทและเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ และมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท
หมายเหตุ : กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้นและมูลค่าหุ้นตามบัญชี คำนวณตามวิธี Fully Diluted Basis

รายการที่สำคัญในงบการเงิน
บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
งบดุล
(หน่วย: พันบาท)
31 ธันวาคม 2545 31 ธันวาคม 2546 31 ธันวาคม 2547 31 มีนาคม 2548
(ตรวจสอบแล้ว) (ตรวจสอบแล้ว) (ตรวจสอบแล้ว) (สอบทานแล้ว)
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 10,049 6,424 15,748 17,739
เงินลงทุนชั่วคราว 55 813 895 977
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อที่ครบกำหนด
ชำระภายใน 1 ปี-สุทธิ 1,427,000 1,525,208 1,784,597 1,904,550
เงินให้กู้ยืมระยะสั้น-สุทธิ 10,266 18,019 17,806 17,342
เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 7,900 - - -
สินทรัพย์รอการขาย-สุทธิ 2,768 1,984 1,760 12,206
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น-สุทธิ 19,683 26,575 38,232 40,085
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 1,477,722 1,579,023 1,859,038 1,992,899
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ-สุทธิ 1,715,738 1,940,981 2,855,928 3,155,237
เงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสีย - - 534,417 546,451
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์-สุทธิ 16,192 27,853 40,177 40,111
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 2,610 1,977 1,997 2,060
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 1,734,540 1,970,811 3,432,519 3,743,859
รวมสินทรัพย์ 3,212,262 3,549,834 5,291,557 5,736,758

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้น
จากสถาบันการเงิน 1,084,322 2,223,498 3,663,601 3,895,560
เงินกู้ยืมระยะสั้นจากบุคคลและ
กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 1,822,619 5,298 - 120,000
เจ้าหนี้บุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - 4,983 3,530
เงินกู้ยืมระยะสั้นอื่น - - - 70,000
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 64,671 71,384 116,269 106,565
รวมหนี้สินหมุนเวียน 2,971,612 2,300,180 3,784,853 4,195,655
หนี้สินไม่หมุนเวียน
เงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลและ - 900,000 900,000 900,000
กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
รวมหนี้สิน 2,971,612 3,200,180 4,684,853 5,095,655
ส่วนของผู้ถือหุ้น
หุ้นสามัญ 460,000 460,000 460,000 460,000
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น - - 3,200 3,200
ผลต่างจากการปรับโครงสร้างของผู้ถือหุ้น - - 4,188 4,188
กำไรจากสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย - - 8 600
กำไรสะสม (219,350) (110,346) 139,308 173,115
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 240,650 349,654 606,704 641,103
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 3,212,262 3,549,834 5,291,557 5,736,758

รายการที่สำคัญในงบการเงิน
บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
งบกำไรขาดทุน
(หน่วย: พันบาท)
ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ไตรมาสแรกของปี 2548
(ตรวจสอบแล้ว) (ตรวจสอบแล้ว) (ตรวจสอบแล้ว) (สอบทานแล้ว)
รายได้
รายได้จากดอกผลเช่าซื้อ 328,119 339,972 373,000 106,611
รายได้จากค่าปรับล่าช้า 19,755 23,693 20,714 4,816
รายได้ค่าที่ปรึกษา 15,500 13,218 - -
รายได้จากการแนะนำลูกค้า - 15,916 39,284 12,467
เกี่ยวกับประกันภัย
รายได้อื่น 12,164 19,612 31,141 7,026
ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตาม - - 30,320 12,035
วิธีส่วนได้เสีย
รวมรายได้ 375,538 412,412 494,459 142,955
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 131,030 168,312 255,742 62,415
กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย 244,508 244,100 268,717 80,540
ดอกเบี้ยจ่าย (154,431) (135,096) (102,164) (35,110)
ภาษีเงินได้ - - (28,898) (11,623)
กำไรสุทธิ 90,077 109,004 137,655 33,807

รายการที่สำคัญในงบการเงิน
บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
งบกระแสเงินสด
(หน่วย: พันบาท)
ปี 2545
2000
ปี 2546 ปี 2547 ไตรมาสแรกของปี 2548
(ตรวจสอบแล้ว) (ตรวจสอบแล้ว) (ตรวจสอบแล้ว) (สอบทานแล้ว)
เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมดำเนินงาน (246,153) (217,926) (1,028,741) (418,213)
เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน (12,751) (7,251) (516,924) (1,755)
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน 253,446 221,552 1,554,989 421,959
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด (5,458) (3,625) 9,324 1,991
สุทธิเพิ่มขึ้น (ลดลง)
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 15,507 10,049 6,424 15,748
คงเหลือต้นงวด
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 10,049 6,424 15,748 17,739
คงเหลือสิ้นงวด

รายการที่สำคัญในงบการเงิน
บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
(หน่วย: พันบาท)
31 ธันวาคม 2545 31 ธันวาคม 2546 31 ธันวาคม 2547 31 มีนาคม 2548
(ตรวจสอบแล้ว) (ตรวจสอบแล้ว) (ตรวจสอบแล้ว) (สอบทานแล้ว)
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 24,457 46,546 16,225 25,237
เงินลงทุนชั่วคราว 55 813 895 977
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อที่ครบกำหนด 1,517,031 1,628,286 1,916,961 2,070,212
ชำระภายใน 1 ปี-สุทธิ
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงินที่ครบกำหนด 280,312 273,616 311,724 308,059
ชำระภายใน 1 ปี-สุทธิ
ลูกหนี้จากการซื้อสิทธิเรียกร้อง-สุทธิ 106,142 188,733 304,171 334,635
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 7,900 84 22 -
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นอื่น-สุทธิ 10,266 18,019 17,806 17,342
สินทรัพย์รอการขาย-สุทธิ 4,564 1,985 1,760 12,206
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 38,104 53,375 71,945 61,296
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 1,988,831 2,211,457 2,641,509 2,829,964
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ-สุทธิ 1,745,566 2,011,444 2,949,384 3,299,493
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน-สุทธิ 225,955 267,915 374,980 355,277
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์-สุทธิ 19,637 46,010 57,876 56,744
เงินลงทุนระยะยาวอื่น-สุทธิ 1,397 381 362 362
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน-ค่าความนิยม 21,350 19,215 - -
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 4,852 3,656 3,817 3,881
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 2,018,757 2,348,621 3,386,419 3,715,757
รวมสินทรัพย์ 4,007,588 4,560,078 6,027,928 6,545,721

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้น
จากสถาบันการเงิน 3,553,299 2,993,979 4,103,601 4,414,534
เงินกู้ยืมระยะสั้นจากบุคคลและ 31,548 112,572 36,162 150,000
กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
เจ้าหนี้บุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - - 5,133
เงินกู้ยืมระยะสั้นอื่น - - - 70,000
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 110,428 113,300 149,059 132,549
รวมหนี้สินหมุนเวียน 3,695,275 3,219,851 4,288,822 4,772,216
หนี้สินไม่หมุนเวียน
เงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลและ - 900,000 1,120,000 1,120,000
กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
เงินวางประกันการเช่า - - 12,402 12,402
รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน - 900,000 1,132,402 1,132,402
รวมหนี้สิน 3,695,275 4,119,851 5,421,224 5,904,618
ส่วนของผู้ถือหุ้น
หุ้นสามัญ 582,500 582,500 460,000 460,000
ผลต่างจากการปรับโครงสร้างของผู้ถือหุ้น - - 4,188 4,188
กำไรจากสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย - - 8 600
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 16,500 - 3,200 3,200
กำไรสะสม (286,687) (142,273) 139,308 173,115
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 312,313 440,227 606,704 641,103
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 4,007,588 4,560,078 6,027,928 6,545,721

หมายเหตุ - ตัวเลขฐานะการเงิน ณ 31 ธันวาคม 2545-2546 มาจากงบการเงินรวมของบริษัท กรุงเทพ
แกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี และตัวเลขฐานะการเงิน ณ 31
ธันวาคม 2547 และ ณ 31 มีนาคม 2548 มาจากงบการเงินรวมของบริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง
จำกัด (มหาชน) เพื่อแสดงภาพรวมในการดำเนินงานและเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ เนื่องจาก
ก่อน 20 พฤษภาคม 2547 บริษัท กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 99.99
ในบริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ต่อมามีการปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัท โดยบริษัท
เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) เข้าถือหุ้นร้อยละ 99.99 ของบริษัท กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิค
ลีส จำกัด (มหาชน) ทำให้บริษัทกรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) กลายเป็นบริษัทย่อยของ
บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
- จากงบการเงินรวม ณ 31 ธันวาคม 2545-2546 ข้างต้น บัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อยจะแสดงยอดเงิน
ลงทุนจากการซื้อหุ้นสามัญของบริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท กรุงเทพแกรนด์
แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) และบัญชีส่วนของผู้ถือหุ้นจะแสดงส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท กรุงเทพแกรนด์
แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่เป็นบริษัทแม่ของบริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)


รายการที่สำคัญในงบการเงิน
บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
งบกำไรขาดทุน
(หน่วย: พันบาท)
31 ธันวาคม 2545 31 ธันวาคม 2546 31 ธันวาคม 2547 31 มีนาคม 2548
(ตรวจสอบแล้ว) (ตรวจสอบแล้ว) (งบการเงินเสมือน (สอบทานแล้ว)
การปรับโครงสร้าง
กลุ่มบริษัท )
รายได้
รายได้จากดอกผลเช่าซื้อ 336,292 354,303 394,618 113,588
รายได้จากการซื้อสิทธิเรียกร้อง 14,718 14,503 21,450 5,610
รายได้ตามสัญญาเช่าการเงิน 51,183 56,490 63,914 17,945
รายได้ตามสัญญาเช่าดำเนินงาน 729 4,240 5,117 945
รายได้จากค่าปรับล่าช้า 21,315 24,483 21,581 4,979
รายได้จากการแนะนำลูกค้าเกี่ยวกับ - 16,884 40,837 12,960
ด้านประกันภัย
รายได้อื่น 31,682 45,164 51,928 11,866
รวมรายได้ 455,919 516,067 599,445 167,893
ค่าใช้จ่าย
ต้นทุนการให้เช่าตามสัญญาเช่าดำเนินงาน 377 2,127 3,472 849
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 212,522 263,098 292,775 80,784
กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย 243,020 250,842 303,198 86,260
ดอกเบี้ยจ่าย (144,823) (122,928) (123,814) (40,830)
ภาษีเงินได้ - - (28,898) (11,623)
กำไรสุทธิ 98,197 127,914 150,486 33,807
หมายเหตุ ตัวเลขผลการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อยมาจาก
- งบการเงินรวมของบริษัท กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) สำหรับปี 2545-2546 ตรวจสอบ
โดยผู้สอบบัญชี ซึ่งขณะนั้นถือหุ้นร้อยละ 99.99 ในบริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
- งบการเงินรวมเสมือนปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัทของบริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
สำหรับปี 2547 จัดทำโดยผู้บริหาร ซึ่งถือหุ้นในบริษัท กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน)
ร้อยละ 99.99 เพื่อแสดงภาพรวมของกลุ่มบริษัทและเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ
779

- งบการเงินรวมของบริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) สิ้นสุด 31 มีนาคม 2548 สอบทาน
โดยผู้สอบบัญชี

รายการที่สำคัญในงบการเงิน
บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
งบกระแสเงินสด
(หน่วย: พันบาท)
31 ธันวาคม 2545 31 ธันวาคม 2546 31 ธันวาคม 2547 31 มีนาคม 2548
(ตรวจสอบแล้ว) (ตรวจสอบแล้ว) (ตรวจสอบแล้ว) (สอบทานแล้ว)
เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมดำเนินงาน (274,402) (375,646) (1,238,381) (490,128)
เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน (12,940) (22,975) (517,948) (1,793)
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน 295,454 420,711 1,765,096 500,933
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 8,112 22,090 8,767 9,012
สุทธิเพิ่มขึ้น (ลดลง)
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 16,344 24,456 6,424 16,225
คงเหลือต้นงวด
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดในบริษัทย่อย - - 1,034 -
ณ วันซื้อหุ้น
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 24,456 46,546 16,225 25,237
คงเหลือสิ้นงวด
หมายเหตุ : ตัวเลขมาจาก
- งบการเงินรวมของบริษัท กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด (มหาชน) สำหรับปี 2545-2546 ตรวจสอบ
โดยผู้สอบบัญชี
- งบการเงินรวมของบริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) สำหรับปี 2547 ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี
และสิ้นสุด 31 มีนาคม 2548 สอบทานโดยผู้สอบบัญชี



จัดทำโดย บริษัท เซจแคปปิตอล จำกัด
 กลับขึ้นบน
อาฟง
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
#2 วันที่: 25/08/2005 @ 09:52:49 : re: สรุปข้อสนเทศ : ASK เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง
ASP เผยเก็บหุ้น ASK ส่วนเกินคืนไชลีส ไฟแนนซ์ 3.45 ล้านหุ้น ระหว่าง 25 ส.ค.-19 ก.ย.48

ตามที่บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) (ASK) ได้มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน
จำนวน 3,450,000 หุ้น โดยยืมหุ้นทั้งจำนวนจาก บริษัท ไชลีส ไฟแนนซ์ จำกัด เพื่อส่งมอบหุ้น
ให้แก่ผู้ได้รับการจัดสรร โดยผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน (Over Allotment Agent) ซึ่งได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์
เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) จะดำเนินการจัดหาหุ้นเพื่อส่งคืนให้แก่ผู้ให้ยืม โดยการซื้อหุ้นในตลาด
หลักทรัพย์ (Stabilization) ตามรายละเอียดดังนี้

ระยะเวลาซื้อเพื่อส่งมอบหุ้นที่จัดสรรเกิน : 25 สิงหาคม ถึง 19 กันยายน 2548

เงื่อนไขราคา : ราคาในการซื้อเพื่อส่งมอบหุ้นที่จัดสรรเกินต้องไม่สูงกว่าราคาจองซื้อหลักทรัพย์
(8.90 บาท) หรือ ไม่สูงกว่าราคาเสนอซื้อสูงสุดในขณะนั้น หรือ ไม่สูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย
ในขณะนั้น ทั้งนี้แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่ากัน [/color:13e6b2d2a6">

การขึ้นเครื่องหมาย : ตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเครื่องหมาย ST บนกระดานของหลักทรัพย์ที่มีการ
ซื้อเพื่อส่งมอบหุ้นที่จัดสรรเกินเพื่อแจ้งให้นักลงทุนทราบตลอดช่วงเวลาที่มีการซื้อเพื่อส่งมอบหุ้น
ที่จัดสรรเกิน

อย่างไรก็ตามระยะเวลาในการจัดหาหุ้นดังกล่าว อาจสิ้นสุดก่อนช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น หาก
ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้ครบจำนวนแล้วและ/หรือใช้สิทธิซื้อหุ้น (Exercise
Greenshoe Option) จากบริษัท ไชลีส ไฟแนนซ์ จำกัด
 กลับขึ้นบน
อาฟง
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
#3 วันที่: 25/08/2005 @ 09:54:27 : re: สรุปข้อสนเทศ : ASK เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง
รายงานพิเศษ...กลิ่นกลุ่มคูโชยที่ ASK ชัยชนะยั่งยืนหรือชั่วคราว[/color:df986a88a5">

อาจกล่าวได้ว่า หุ้นน้องใหม่ แนวธุรกิจลิสซิ่งครบวงจรอย่าง บมจ.เอเซียเสริมกิจ ลีสซิ่ง
(ASK)โลดแล่นบนสังเวียนหุ้นได้อย่างถูกจังหวะ เพราะบรรยากาศในตลาดหุ้นเต็มไปด้วยความ
คึกคัก งานนี้ ASK โหนรถไฟได้อย่างสบายอกสบายใจ เนื่องจากนักลงทุนรายย่อยกำลังอยู่ใน
อารมณ์พร้อมกล้าได้กล้าเสีย
ASK ได้เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไปจำนวน 23 ล้านหุ้น รวมกรีนชู
3.5 ล้านหุ้น รวมทั้งหมด 26.5 ล้านหุ้น ราคาจองซื้อ 8.90 บาท พาร์ 5 บาท รวมมูลค่าระดมทุน
204.70 ล้านบาท ส่งผลให้ทุนจดทะเบียนชำระแล้วเพิ่มเป็น 575 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียน
ชำระแล้วเดิมที่ 460 ล้านบาท
งานนี้ราคาหุ้นไอพีโอ ASK จะพุ่งสูงแค่ไหน คงต้องถามหัวใจของบล.เคจีไอ จำกัด(มหาชน)
(KGI)ที่มีกลุ่มคู ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเกมนี้เป็นการเดิมพันที่แวดวงอันเดอร์ไรท์ล้วนเฝ้า
จับตามอง เนื่องจากหากประสบสำเร็จตั้งแต่วันแรกเข้าซื้อขายในตลาดฯ จากนั้นราคาหุ้นASK
สามารถรักษาระดับเพดานบินได้อย่างคงเส้นคงวา แม้สภาวะตลาดหุ้นผันผวนได้เพียงใด
เชื่อว่า อนาคตอันเดอร์ไรท์หุ้นไอพีโอคงจะสดใส ในทางกลับกันหากราคาหุ้น ASK ทำให้นัก
ลงทุนบาดเจ็บ อนาคตอันเดอร์ไรท์หุ้นไอพีโอสุดแสนจะคาดเดา เพราะ ASK มีกลุ่มคู ถือหุ้น
ใหญ่ ซึ่งถือมากถึง 63.72% ตามด้วยกลุ่มธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)ถือหุ้น 10.06%
วันพรุ่งนี้(25ส.ค.) คือ วันตัดสินอนาคตของASK-KGI ท่ามกลางสักขีพยาน โดยทุกสายตา
แวดวงค้าหุ้น ล้วนจับตาว่า หุ้นน้องใหม่เข้าซื้อขายวันแรก จะมีทีเด็ดที่แฝงไปด้วยความร้อนแรง
เพียงใด
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นแรงกดดันต่อบล.เคจีไอ ภายใต้การบริหารของกลุ่มคู มิใช่น้อย...
ฟากเหล่าเซียนหุ้นจากบริษัทหลักทรัพย์จำนวน 5 แห่ง ทำการประเมินราคาพื้นฐานของ
ASK ให้ราคาสูงสุด 14.5 บาทจากราคาจองซื้อที่ 8.90 บาท โดยบริษัทหลักทรัพย์บริษัทหลัก
ทรัพย์บัวหลวง ผู้ร่วมจัดจำหน่ายให้ราคาที่เหมาะสมหุ้น ASK ระหว่าง 11.50-14.50 บาท โดย
คิดเทียบจากอัตราราคาต่อกำไรต่อหุ้น(พีอี) ในปีนี้ที่ 8-10 เท่า และมีอัตราราคาต่อกำไรต่อหุ้น
(EPS) ที่ 1.44 บาทต่อหุ้น จากประสบการณ์ในธุรกิจกว่า 20 ปี และทีมผู้บริหารที่มีความเชี่ยว
ชาญ กลุ่มเอเซียเสริมกิจลีสซิ่งถือเป็นหนึ่งในผู้นำด้าน ธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ แฟคตอริ่ง ลีสซิ่ง
ทั้งรถยนต์และเครื่องจักรในอุตสาหกรรม
โดยบริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) ผู้ร่วมจัดจำหน่ายหุ้นประเมินมูลค่าพื้นฐานของ
หุ้น ASK อยู่ในช่วง 12.1-13.4 บาท อิงค่าพีอีที่ 9-10 เท่า โดยมองว่าการประกอบธุรกิจที่หลาก
หลายของ ASK ซึ่งมีทั้งบริการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ เครื่องจักร สินเชื่อลีสซิ่ง และสินเชื่อแฟคตอ
ริ่ง ทำให้บริษัทสามารถกระจายความสี่ยงและลดความผันผวนของธุรกิจได้ระดับหนึ่ง และคาด
การณ์ว่าพอร์ตสินเชื่อรวมของ ASK เติบโตเฉลี่ยปีละ 16% ต่อปี ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากยอด
ขายรถยนต์ในประเทศ โดยเฉพาะตลาดรถกระบะ และภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่คาดว่าจะยังมี
การขยายตัวอยู่นั่นเอง
บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) แกนนำในการจัดจำหน่ายหุ้นได้ให้
ราคาเหมาะสมที่ 11.70 บาท ค่าพีอีปีนี้ที่ 8.5 เท่า ซึ่งถือว่าไม่แพงเมื่อเทียบกับบริษัทใน
อุตสาหกรรมเดียวกัน โดยเชื่อว่า ASK มีความสามารถในระยะยาวในการรักษาระดับอัตราผล
ตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ 15.6% และเมื่อเทียบราคาต่อมูลค่าทางบัญชีปันี้ที่ 1.45 เท่า
ราคาตามมูลค่าบัญชีที่ 8.10 บาท
ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) ผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัด
จำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ ASK กล่าวว่า นอกจาก ASK จะมีธุรกิจที่หลากหลาย การที่
ASK มีกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 รายคือ กลุ่มคู และกลุ่มธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุน
ด้านเงินทุนและเครือข่ายฐานลูกค้ากับ ASK มีความได้เปรียบเมื่อเทียบกับผู้ประกอบการรายอื่น
นอกจากนั้น ในการประกอบธุรกิจ ASK สามารถรักษาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) ไว้ได้
มากกว่า 6% มาตลอด และสูงสุดที่สุดในจำนวนผู้ประกอบการที่ให้สินเชื่อรถยนต์ใหม่ที่จด
ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2547 ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยจะลดลงมาอย่างต่อเนื่อง และอยู่ใน
ระดับต่ำมาเป็นเวลานานช่วงก่อนหน้านี้ก็ตาม โดยมูลค่าพื้นฐานของ ASKในปี 2548 พีอีควรอยู่
ที่ระดับ 8.0-8.5 เท่า และราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (PBV) ควรอยู่ที่ระดับ 1.30-1.35 เท่า
ด้านบริษัทหลักทรัพย์ฟินันซ่า จำกัด ผู้ร่วมจัดจำหน่าย ให้ราคาที่เหมาะสมของ ASK ระหว่าง
8.10-10.50 บาท โดยมองว่า ASK เป็นบริษัทที่มีโครงสร้างด้านเงินทุนที่แข็งแกร่งภายหลังการ
ขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจะทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (ดีอี) ลดลงจาก 8.6 เท่า เหลือ 6.2 เท่า ใน
สิ้นปีนี้
สิ่งเหล่านี้ คือ มุมมองของนักวิเคราะห์...ขณะที่ราคาตลาดของหุ้น ASK จะอยู่กี่บาท นักลงทุน
หรือผู้เล่น คือ ผู้กำหนดว่าราคาหุ้นที่เหมาะสมจะอยู่กี่บาทและสอดคล้องกับความเป็นจริง เนื่อง
จากบริษัทที่ทำธุรกิจลิสซิ่งอยู่ในตลาดก็มีอยู่หลายกิจการ แถมยังมีค่าพีอีอยู่ระดับใกล้เคียงASK
ก็มีอยู่มิใช่น้อย เช่น SPLและธุรกิจลิสซิ่งก็มีการแข่งขันเล่นสงครามกันอย่างถึงพริกถึงขิง ก่อน
เข้าตลาดหุ้น ทุกแห่ง งบการเงินล้วนเต็มไปด้วยโลกสีชมพู แต่หลังจากนั้น เส้นทางของงบการ
เงินล้วนเต็มไปด้วยอุปสรรคที่เฝ้ารออยู่ข้างหน้า พร้อมที่จะจู่โจมทุกกิจการชนิดไม่ให้ทันตั้งตัว
เอาเถอะกลิ่น กลุ่มคู โชยที่ASK ชัยชนะยั่งยืนหรือชั่วคราว มิใช่อยู่แค่ 25 สิงหาคมวัน
เดียว

ที่มา...จักรภพ efinancthai.com
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com