May 6, 2024   9:24:34 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > "คดีฆาตกรรม" (รายย่อย) ในตลาดหุ้น
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 12/03/2006 @ 11:38:54
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

เกมสืบสวน คดีฆาตกรรม (รายย่อย) ในตลาดหุ้น เกิดขึ้นภายหลังบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ประกาศงบการเงินประจำปี 2548 เสร็จสิ้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) นำโดย สุทธิชัย จิตรวาณิช รองผู้จัดการตลท. หัวหน้าสายงานกำกับตลาด ก็เปิดเกม แมว ไล่จับ หนู ตามล่า หุ้นร้อน...ย้อนศร หุ้นแสบ ทันที


โดยพุ่งประเด็นไปยังหุ้นที่ ผู้สอบบัญชีไม่รับรองงบการเงิน และหุ้นที่เข้าข่ายการทำ นิติกรรมอำพราง

นัยลึกๆ ไม่ต่างอะไรกับการ ประจาน-พฤติกรรม การดำเนินงานที่ไม่โปร่งใสของ ผู้บริหารบริษัท

เริ่มจาก บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น (PICNI) ซึ่งผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัท เนื่องจากมีหนี้สินหมุนเวียนสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน จำนวน 1,725 ล้านบาท โดย ปิคนิค จ้อง เพิ่มทุน (ราคา 1 บาท) เอาเงินรายย่อยไปใช้หนี้...ต่อลมหายใจอีกเฮือก

เป้าของ ตลท. อยู่ที่กรณี บริษัทผิดนัดชำระหนี้ ตั๋วแลกเงิน ค้างจ่ายจำนวน 510 ล้านบาท กับ บลจ. 3 แห่ง ซึ่งถูกดำเนินการทางกฎหมายไปแล้วในมูลหนี้ 156.6 ล้านบาท โดย ตลท.ขอให้ PICNI ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม ผลกระทบต่อฐานะทางการเงิน และภาระดอกเบี้ยจ่ายของบริษัท แนวทางในการดำเนินการชำระหนี้ รวมทั้งตั๋วแลกเงินค้างจ่ายที่ยังไม่ถูกฟ้องอีก 283.80 ล้านบาท

วิถีแห่งเกม มุ่งไปที่การ เคลื่อนไหว-สะกัดกั้น เพื่อไม่ให้ รายย่อย ตกเป็นเหยื่อซ้ำซาก

ส่วนกรณีของ บริษัท สยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง (SGF) งุบงิบกู้ยืมเงินจาก บริษัท อีสเทิร์นไวร์ (EWC) ผ่านการออก ตั๋วสัญญาใช้เงิน 2 ฉบับ จำนวน 500 ล้านบาท (ดอกเบี้ย 6% ต่อปี) ก็เป็นอีกเคสที่มีไส้ในที่ ไม่โปร่งใส และถูก ตลท. ขุดคุ้ยอย่างถึงพริกถึงขิง ราวกับ เชอร์ล็อคโฮม กำลังสืบสวนคดีฆาตกรรมที่สลับซับซ้อน-ซ่อนเงื่อน

ในเกมนี้มีการ ชิงไหว-ชิงพริบ เชิง จับผิด กับคำชี้แจงของ SGF และ EWC ที่ขัดแย้งกันเอง

ความผิดปกติของดีลนี้ อยู่ตรงที่การให้กู้ยืมเงิน จำนวน 500 ล้านบาท ไม่ใช่การดำเนินธุรกิจปกติ ของ EWC และให้กู้แก่นิติบุคคลเพียงรายเดียว ซึ่งเป็นรายการที่มีนัยสำคัญ คิดเป็น 30% ของส่วนของผู้ถือหุ้น ณ 31 ธันวาคม 2548 และ ขั้นตอนการพิจารณาเพื่อให้กู้ อาจไม่มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอ ซึ่งจะเห็นได้จาก มีการอนุมัติโดยกรรมการบริษัทเพียง 2 คน แล้วจึงแจ้งคณะกรรมการบริษัทรับทราบ

ในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทวันที่ 15 ธันวาคม 2548 ประธานกรรมการตรวจสอบ (สมโภชน์ อินทรานุกูล) ไม่เห็นด้วยในการให้กู้ยืมดังกล่าว และ ให้ EWC หาวิธีการเพื่อลดความเสี่ยง แต่ EWC ยังคงทำรายการต่อในวันที่ 16 ธันวาคม 2548

ที่น่าสนใจ ก็คือ บริษัท สาวิณ คอนซัลแต้นท์ ที่ปรึกษาการเงินในการจัดหาเงินกู้ 500 ล้านบาทให้กับ SGF ซึ่งเป็นของ สาวิณ เลาเศรษฐกุล เป็นเพียง บริษัทเฉพาะกิจ ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2548 หลังจากนั้นเพียงแค่ 2 เดือน คือ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2548 ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินของ SGF ทันที หลังจากได้เงินกู้ไปแล้วเมื่อกลางเดือน ธันวาคม 2548 บริษัทก็นำไปชำระหนี้ (270 ล้านบาท) และให้สินเชื่อแก่ลูกค้า (230 ล้านบาท) หมดไปอย่างรวดเร็ว

ส่วนกรณีของ บริษัท เพาเวอร์-พี (POWER) ตลท. พบประเด็น ขยะทางบัญชี ที่ถูกซ่อนอยู่ใต้พรม บริษัทมีการตั้งค่า เผื่อหนี้สงสัยจะสูญ จำนวน 82.5 ล้านบาท ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นใน ไตรมาส 4 ปี 2548 และทำให้ผลประกอบการในปี 2548 ของ POWER ขาดทุน 50 ล้านบาท และมีการจ่ายเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างให้แก่บริษัท เมิจ เอ็นจิเนียริ่ง จำนวน 12 ล้านบาท

รวมไปถึง POWER ตกเป็นจำเลยในคดีฟ้องร้องเกี่ยวกับการทำผิดสัญญา นิติกรรมอำพราง และถูกเรียกค่าเสียหาย จำนวน 192 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีประเด็น การทำสัญญาซื้อขายหุ้นบริษัท แอล.วี.ซี.ดี ดีเวลล็อปเม้นท์ (LVCD) รวม 119.9 ล้านบาท และ ความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารจำนวน 320 ล้านบาท ประเด็นเหล่านี้ ถูก ซุกซ่อน ไว้ในงบการเงิน

จากนั้นก็มาพบความผิดปกติกับ บริษัท ฟินันซ่า (FNS) กรณีการขาย หุ้นกู้ด้อยสิทธิแปลงสภาพ ของ บล.บีฟิท (BSEC) จำนวน 298.5 ล้านบาท ให้แก่กลุ่มลูกค้า (นักเล่นหุ้น) รายใหญ่ของ บล.ฟินันซ่า และ บล.บีฟิท จำนวน 4 คน คือ ยืนยง พันธุ์วงศ์กล่อม สมเกียรติ วงศ์คุณทรัพย์ ยุพา การชฎิล และ ชาตรี มหัทธนาดุลย์

FNS ซื้อ หุ้นกู้ด้อยสิทธิแปลงสภาพ ของ BSEC ในวันที่ 4 ตุลาคม 2547 ในวันเดียวกันนั่นเอง ก็ขายทั้งหมดไปให้กับกลุ่มลูกค้า 4 รายของตัวเอง

ทั้งๆที่บริษัทอยู่ในช่วงของการยื่นคำขอจัดตั้งเป็น ธนาคารพาณิชย์ โดยควบรวมกิจการระหว่าง บง.ฟินันซ่า และ บง.กรุงเทพธนาทร (BFIT) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบล.บีฟิท ที่สำคัญ ก็คือ บล.บีฟิท อยู่ระหว่างยื่น ก.ล.ต. ขอกระจายหุ้น IPO

ประเด็นอยู่ตรงที่ เมื่อผู้ซื้อ หุ้นกู้ด้อยสิทธิแปลงสภาพ ทั้ง 4 ราย ไปใช้สิทธิแปลงสภาพเป็น หุ้นสามัญ ก็จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบล.บีฟิท รวมกันถึง 25% (หลัง IPO) ทันที

นี่จึงไม่ต่างจากการ เอื้อประโยชน์ (ตอบแทน) ให้กับลูกค้าของตัวเองหรือไม่ โดยใช้วิธีการที่ซับซ้อนเพื่อทำให้ผู้ถือหุ้น...ตามเกมไม่ทัน

ปิดท้ายด้วย หุ้นร้อน ที่ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินอีกแห่ง ก็คือ บริษัท บีเอ็นที เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (BNT) ที่งัดทุกแผน เพื่อพยายาม ปั้นหุ้น ของตัวเอง

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ[/color:7db3e5e394">

 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#1 วันที่: 13/03/2006 @ 19:43:05 : re: "คดีฆาตกรรม" (รายย่อย) ในตลาดหุ้น
กรณีปิคนิค สมคิดต้องรับผิดชอบเคยออกมาพูดมาเขามีเงินจ่ายหนี้ ออกมารับผิดชอบคำพูด....บ้างดิไ ......
 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#2 วันที่: 14/03/2006 @ 20:06:47 : re: "คดีฆาตกรรม" (รายย่อย) ในตลาดหุ้น
.000c .000c .000c
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com