May 6, 2024   10:54:58 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > POWER หรือจะซ้ำรอย PICNI ????
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 15/03/2006 @ 10:59:13
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

จากคำชี้แจงกรณีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญรอบใหม่ ของ บริษัท เพาเวอร์-พีจำกัด(มหาชน)หรือPOWER จนทำให้ผลการดำเนินงานปี 2548 ขาดทุนนั้น ก็เปิดเผยออกมาแล้วว่า มีสาเหตุหลักๆ มาจากรายการทดรองจ่ายให้กับ บริษัท ยูเนี่ยน อินฟาร์เทค จำกัดจำนวน 48.1 ล้านบาท และการจ่ายล่วงหน้าค่าก่อสร้างให้แก่ บริษัท พี.ไพรส์ ซัพพลายส์แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด จำนวน 29.7 ล้านบาท[/color:d395c3a628">

สำหรับ 1 ใน 2 บริษัทนั้น เมื่อย้อนไปดูประวัติ บริษัท พี.ไพรส์ ซัพพลายส์ แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด พบว่าเคยมีความสัมพันธ์กับบริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)หรือPICNI ในฐานะผู้ได้รับการกู้ยืมเงิน และเงินจำนวนดังกล่าวกลับถูกนำเข้าบัญชีส่วนตัวของผู้บริหารPICNI จนถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกงบริษัทในช่วงที่ผ่านมา

สำหรับการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของ POWER ในครั้งนี้ จึงเกิดคำถามขึ้นว่า
1.ทำไมบมจ.เพาเวอร์-พี ถึงใจดีทดรองจ่ายให้กับบริษัท ยูเนี่ยน อินฟาร์เทค รวมถึงการจ่ายล่วงหน้าค่าก่อสร้างให้กับบริษัท พี. ไพรส์ ซัพพลายส์ฯ โดยทั้ง 2 ไม่ได้เป็นบริษัทในเครือเลย
2.อะไรคือความสมเหตุสมผลในแง่ธุรกิจที่ต้องให้ความช่วยเหลือกับบริษัทเหล่านี้
วิธีการแบบนี้ทำให้เกิดคำถามว่า จะเข้าข่ายการผ่องถ่ายเงินออกไปจากบริษัทหรือไม่ คำถามทั้ง 2 ข้อนี้ผู้บริหารPOWER ต้องตอบ


-เพาเวอร์แจงตัดหนี้สูญเพิ่ม
หลังจาก บมจ. เพาเวอร์-พี จำกัดได้นำส่งงบการเงิน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2548 ซึ่งผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัท ทำให้ตัวเลขผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทที่ปรากฏในงบการเงินอาจไม่แสดงค่าที่แท้จริงของกิจการ ทำให้บริษัทต้องชี้แจงประเด็น การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 82.5 ล้านบาท ซึ่งเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 จนทำให้ผลประกอบการในปี 2548 ของ บริษัทฯ ขาดทุน 50 ล้านบาท
โดยมีการชี้แจงเหตุผลการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากบริษัทดังนี้ คือ 1.รายการเงินทดรองจ่ายให้แก่ บริษัท ยูเนี่ยน อินฟาร์เทค จำกัด จำนวน 48.1 ล้านบาท เนื่องจากเห็นว่ายังปรากฏยอดคงเหลืออยู่ในบัญชี ซึ่งเป็นหนี้ค้างชำระที่เกินกว่า 1 ปีแล้ว
2. รายการเงินจ่ายล่วงหน้าค่าก่อสร้างให้แก่ บริษัท พี.ไพรส์ ซัพพลายส์ แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด จำนวน 29.7 ล้านบาท เนื่องจากเห็นว่าบริษัทฯยังมีความเสี่ยงที่คู่สัญญาอาจจะไม่ปฏิบัติตามสัญญาการจ่ายชำระคืนหนี้
โดยให้เหตุผลที่ต้องจ่ายเงินล่วงหน้าเป็นค่าก่อสร้างให้แก่ บริษัท พี.ไพรส์ ว่า บริษัทดังกล่าวประสบกับปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในระหว่างที่ปฏิบัติงานของโครงการเวิลด์แก๊สทำให้ความก้าวหน้าในงานก่อสร้างล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดมาก และบริษัทฯ ถูกต่อว่าจากผู้ว่าจ้าง บริษัท เวิลด์ แก๊ส ให้เร่งรัดงานมาโดยตลอด ในที่สุด
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2548 ลูกหนี้ พี.ไพรส์ ได้ทำหนังสือขอความเห็นใจในการขยายเวลาผ่อนผันการหักกลบลบหนี้สิน(offset)ที่ได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้วเมื่อไตรมาสที่ผ่านมา ฝ่ายจัดการของบมจ.เพาเวอร์-พี ได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วเห็นสมควรให้บรรเทาปัญหาดังกล่าวในช่วงเวลานั้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อทุกๆ ฝ่าย จึงอนุมัติให้มีการจ่ายเงินบางส่วนเป็นการชั่วคราวให้ พี.ไพรส์ นำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับโครงการเวิลด์แก๊สเท่านั้น
ทางฝ่ายจัดการได้ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินทุนผิดจากข้อตกลงโดยมีระยะเวลาประมาณ 75วันและลูกหนี้สัญญาว่าจะทยอยจ่ายชำระคืนเป็น 3 งวดและชำระเสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม 2549 (ทั้งนี้มียอดลูกหนี้ พี.ไพรส์ สุทธิ ณ วันที่ 31/12/48 จำนวน 2.99 ล้านบาท, ณ วันที่ 31/1/49 จำนวน 11.3 ล้านบาทและ ณ วันที่ 10/3/49 ยังคงปรากฎยอดเท่าเดิมคือ 11.3 ล้านบาท)
อย่างไรก็ตามผู้สอบบัญชีมีความเห็นว่ายอดลูกหนี้ดังกล่าวเกี่ยวพันและเป็นรายการเดียวกับยอดหนี้ที่ถูกหักกลบจำนวน29.7 ล้านบาทจึงเสนอให้ปรับปรุงตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเต็มจำนวนยอดค้างชำระทั้งหมดจากโครงการมงคลฮาร์เบอร์จำนวน 29.7ล้าน บาท ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นบริษัทฯ ได้ชำระค่าก่อสร้างสำหรับโครงการเวิลด์แก็สให้แก่ พี.ไพรส์ ไปทั้งสิ้น 11.3 ล้านบาท
3. รายการดอกเบี้ยค้างรับ ที่คำนวณเอาจากต้นเงินทดรองจ่ายตามข้อ 1. จำนวน4.7 ล้านบาทมีอัตราดอกเบี้ย MLR+ 1 % ต่อปี บริษัทได้แสดงรายการดังกล่าวในงบการเงินตั้งแต่ไตรมาสที่ 3/2548พร้อมทั้งคำนวณดอกเบี้ยที่เกี่ยวข้องและตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเรียบร้อยแล้ว
จากที่กล่าวไว้ข้างต้น ฝ่ายจัดการของบริษัทฯ ไม่มีความประสงค์ที่จะตั้งจำนวนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในรายการที่1 และ 2 ตั้งแต่แรกเนื่องจากเข้าใจในปัญหาของลูกหนี้เป็นอย่างดีและมั่นใจว่าลูกหนี้จะสามารถหาเงินมาชำระได้ครบถ้วนในที่สุด
ส่วนรายการที่ 3 เป็นเพียงรายการบันทึกตรงข้ามเพื่อหักล้างการบันทึกดอกเบี้ยรับตามหลักการบัญชีเท่านั้นซึ่งไม่มีผลกระทบต่อกำไรขาดทุนของบริษัทฯ
อย่างไรก็ตาม ในการนำเสนอรายงานของผู้สอบบัญชีซึ่งได้ยึดถือหลักความระมัดระวังอย่างเข้มงวดจึงเสนอรายการปรับปรุงให้มีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งจำนวนเนื่องจากเห็นว่ายังปรากฏยอดคงเหลืออยู่ในบัญชีซึ่งเป็นหนี้ค้างชำระที่เกินกว่า 1 ปีในรายการที่ 1และสำหรับรายการที่ 2 เห็นว่า บริษัท ฯ ยังมีความเสี่ยงที่คู่สัญญาจะไม่ปฏิบัติตามสัญญาการจ่ายชำระคืนหนี้

ทั้งนี้บริษัท ยูเนี่ยน อินฟาร์เทค จำกัด เป็นแค่เพียงบริษัททำกิจการร่วมค้า กับPOWERโดยผ่านกิจการร่วมค้าที่ชื่อว่า ยูบีซี เพาเวอร์ เท่านั้น...แล้วทำไมถึงต้องให้ความช่วยเหลือด้วยการทดรองจ่ายเงินให้กับ บริษัท ยูเนี่ยน อินฟาร์เทค จำกัด มากถึง 48.1 ล้านบาท ทั้งที่การกระทำดังกล่าวไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ถือหุ้นของPOWER แม้แต่นิดเดียวส่งผลให้งบการเงินของปี 2548 มีผลขาดทุน 50 ล้านบาท

ขณะที่กิจการร่วมค้า ยูบีซีเพาเวอร์เป็นการร่วมทุนทั้งหมด 4 บริษัท คือ บริษัทยูเนี่ยน อินฟาร์เทค จำกัด , บริษัท บางกอกมอเตอร์ อีควิปเมนท์ จำกัด, และไชน่า อินเตอร์เนชั่นแนล วอเตอร์ แอนด์ อีเล็คตริก คอร์ปอเรชั่น โดยบมจ.เพาเวอร์-พี ถือหุ้นอยู่เพียงแค่ 10 % เท่านั้น

-พี.ไพรส์โยงปิคนิคฯ
หากย้อนหลังไปเมื่อไตรมาสแรกของปี 2548 ข่าวในวงการตลาดหุ้นที่โด่งดังสุดในช่วงเวลานั้น คงหนีไม่พ้นกรณีของ บมจ.ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น(PICNI) จนถูกขึ้นเครื่องหมายSP เนื่องจากงบการเงินของบริษัทมีปัญหา และในเวลาต่อมาถูก ก.ล.ต.กล่าวโทษ นายธีรัชชานนท์ ลาภวิสุทธิสิน ผู้บริหารPICNI ในกรณีบริษัทให้กู้ยืมเงินแก่บริษัท 6 ราย
โดย ก.ล.ต.กล่าวโทษ 2 ราย ซึ่ง 1 ใน 2 ราย นั้น มีการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับบริษัท พี.ไพรส์ ซัพพลายฯโดยมีรายละเอียดดังนี้ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2547นายธีรัชชานนท์และ น.ส.สุภาพร ลาภวิสุทธิสิน ได้ทำสัญญาให้กู้ยืมเงินกับ บริษัท พี.ไพรส์ ซัพพลายฯ โดยนายพินิจ พุทธศาสตร์ เป็นผู้แทนนิติบุคคล ตามสัญญากู้ยืมเงินเลขที่LAW 13/2004 วงเงิน 389,286,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี โดยจ่ายเป็น7 งวด แต่ภายหลังปรากฏว่าเช็คสั่งจ่ายงวดที่ 7 ลงวันที่ 2 กันยายน 2547 จำนวน 25ล้านบาท ถูกนำเข้าบัญชีส่วนตัวของนายธีรัชชานนท์
ทั้งนี้ บริษัท พี.ไพรส์ ซัพพลายส์ฯ จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 ตั้งอยู่ที่ 25/11 ถนนริมคลองแสนแสบ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กทม. 10310 ทำธุรกิจติดตั้งท่อส่งแก๊ส-น้ำมัน มีนายพินิจ พุทธศาสตร์ (ถูก ก.ล.ต.กล่าวโทษว่าเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดของนายธีรัชชานนท์และ น.ส.สุภาพร) เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ
ในช่วงที่PICNI ให้เงินกู้แก่ บริษัท พี.ไพรส์ ซัพพลายส์ฯ เป็นจำนวน 386.2ล้านบาท ทั้งที่บริษัทแห่งนี้มีทุนจดทะเบียนแค่ 1 ล้านบาท และมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการเพียง 989,502 บาท ขณะที่ผลประกอบการในปี 2546 มีรายได้เพียง 1.498 ล้านบาทขาดทุน 75,000 บาท
หลังจากนั้นได้มีการเพิ่มทุนเป็น 20 ล้านบาท เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548(โดยช่วงนั้น ก.ล.ต.เริ่มเข้าตรวจสอบ) และมีนายพินิจ พุทธศาสตร์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวน 1,999,994 หุ้น จากทั้งหมด 2 ล้านหุ้น ส่วนที่เหลืออีก 6 คน ถือรายละ 1 หุ้นประกอบด้วย นางนุจนารถ พุทธศาสตร์, นายนิพนธ์ ละครวงษ์, นายนิวัติ วงษ์อู่ทอง, นายสำลี อินโสภา, นายสง่า ทองจันทร์ และนางทิตยาภรณ์ ทาบทอง
ขณะที่ก่อนหน้านี้บริษัท พี.ไพรส์ ซัพพลายส์ฯ เป็นของกลุ่มของนาย ไพบูลย์เฉลิมทรัพยากร เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยมีนายพินิจ พุทธศาสตร์เป็นผู้ถือหุ้นรองลงมา ซึ่งปัจจุบันนายไพบูลย์ เป็นทั้งประธานกรรมการและผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท ยูนิค ไมนิ่งเซอร์วิสเซส จำกัด (มหาชน)UMS และ บริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)UEC

อะไรเป็นสิ่งดลใจให้ POWER ต้องจ่ายล่วงหน้าค่าก่อสร้างให้ บริษัท พี.ไพรส์ ซัพพลายส์ฯทั้งที่ไม่ใช่บริษัทร่วมทุน หรือบริษัทในเครือเลย นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทที่พัวพันกับความผิดของอดีตผู้บริหารPICNI อีกด้วย

ที่มา ข่าวหุ้นธุรกิจ[/color:d395c3a628">

 กลับขึ้นบน
lookwa
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 397
#1 วันที่: 15/03/2006 @ 12:17:51 : re: POWER หรือจะซ้ำรอย PICNI ????
มารไปแย้ว...อาฟง .0002 .0002 [/color:112ac44d46">[/size:112ac44d46">
 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#2 วันที่: 20/03/2006 @ 19:57:40 : re: POWER หรือจะซ้ำรอย PICNI ????
เรียนคอม
http://comser.pantown.com
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com