May 6, 2024   5:52:28 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > จับตา SHIN-UOBT เบนเข็มซบตลาดลอดช่อง
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 18/03/2006 @ 01:55:09
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

บอร์ด UOBT ลงมติฟ้าผ่า!!ขอถอนยวงจากตลาดหุ้นไทย ประกาศเทนเดอร์ 6.84 บ./หุ้น ทั้งที่ก่อนหน้ายังไม่มีนโยบาย ตอกย้ำกลุ่มทุนต่างชาติโดยเฉพาะสิงคโปร์ส่อแววโบกมือลาตลาดฯไทย หลังดีลขาย SHIN ให้เทมาเส็กถูกต่อต้านอย่างหนัก วงการแนะจับตา SHIN-UOBT เบนเข็มซบตลาดลอดช่อง เหตุอยู่ SET ไปก็ไม่มีประโยชน์ แถมตลาดเล็ก ไม่ดึงดูดดีดลูกคิดพบงานนี้มาร์เก็ตแคปหายวับเฉียด 2 แสนล้านบาท ด้าน มนตรี ออกโรงแจงมาร์เก็ตแชร์วูบ เหตุแนะลูกค้าชะลอเทรดหุ้นช่วงการเมืองผันผวนไม่เกี่ยวกระแสต่อต้านสิงคโปร์[/color:284ac75d4f">

หลังจากตระกูล ชินวัตร ตัดสินใจขายหุ้น บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น (SHIN) ทั้งหมดให้เทมาเส็ก กองทุนยักษ์ใหญ่แห่งสิงคโปร์ นอกจากจะทำให้ฝุ่นควันทางการเมืองตลบอบอวลขึ้นมาแล้ว ยังลุกลามออกไปถึงกระแสการต่อต้านสินค้าและบริการต่างๆที่เป็นของกลุ่มทุนสิงคโปร์อีกด้วยกระแสรุนแรงจนถึงมีความพยายามในการให้คนไทยถอนเงินจากธนาคารที่มีสิงคโปร์ถือหุ้น รวมทั้งมีความพยายามในการกดดันผ่านสถานทูตสิงคโปร์เพื่อให้ล้มเลิกการซื้อหุ้น SHIN แม้ว่าดีลดังกล่าวจะจบลงด้วยการจ่ายเงินกันอย่างสมบูรณ์แล้วก็ตาม

จนกระทั่งล่าสุด เทมาเส็กเองไม่สามารถฝืนกระแสได้ จนต้องตัดสินใจลดสัดส่วนการถือหุ้นใน SHIN โดยการขายหุ้นในบริษัทกุหลาบแก้วซึ่งเป็น 1 ในบริษัทที่เข้าร่วมซื้อหุ้น SHIN ให้กับ นายสุรินทร์ อุปพัทธกุล นักธุรกิจชาวมาเลเซีย ที่เกิดในไทย สัดส่วน 68% คิดเป็นเงินลงทุน 2,800ล้านบาท เพื่อคลี่คลายแรงกดดันจากการที่ต่างชาติเข้าถือหุ้นใหญ่ในกิจการที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐ

แม้ว่าคนในวงการการเงินต่างมองว่ากระแสการต่อต้านกลุ่มทุนและสินค้าของสิงคโปร์จะเป็นเหมือนไฟไหม้ฟางที่พร้อมจะจางหายไปหากความขัดแย้งทางการเมืองคลี่คลายไปในทางที่ดีแต่มาวันนี้เริ่มมีเหตุการณ์ที่ตอกย้ำว่าการต่อต้านที่เกิดขึ้นเริ่มจะส่งผลต่อการลงทุนในประเทศไทยทั้งโดยตรงและโดยอ้อมล่าสุดตลาดหลักทรัพย์กำลังจะต้องสูญเสียบริษัทจดทะเบียนอีกแห่งไปนั่นคือธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ (ไทย) จำกัด (มหาชน) (UOBT)ที่ประกาศเพิ่มเติมวาระการขอถอนหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์เข้าในการประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้นซึ่งถือเป็นมติคณะกรรมการที่ค่อนข้างเร่งด่วน เพราะเพิ่งประชุมเมื่อวันที่16 มี.ค. ก่อนจะแจ้งผลการประชุมต่อตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 17 มี.ค.จากก่อนหน้านี้ไม่มีวาระดังกล่าวที่เตรียมจะเสนอต่อผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด


**UOBT กำหนดราคาเทนเดอร์ 6.84 บ./หุ้น ก่อนถอนจาก ตลท.
ให้เหตุผลเดิมๆ ไม่จำเป็นต้องระดมทุน-ฟรีโฟลทไม่ครบตามเกณฑ์

นายหว่อง คิม ชุง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ (ไทย)จำกัด (มหาชน) (UOBT) เปิดเผยว่า ด้วยที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ (ไทย) จำกัด (มหาชน) (UOBT) เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2549ได้มีมติให้ขอถอนหุ้นสามัญของธนาคารออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) ธนาคารจึงได้กำหนดวันประชุมชี้แจง (Presentation) เพื่อเสนอแนะความเห็นเกี่ยวกับการขอถอนหุ้น ในวันที่ 12 เมษายน 2549 เวลา10.00 น. ณ ห้องรัตนา โรงแรมโฟร์ซีซันส์ ถนนราชดำริ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
กำหนดวันประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนครั้งที่14 ในวันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2549 เวลา 10.00 น. ณ ห้องบอลล์รูมโรงแรมสุโขทัย เลขที่ 13/3 ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพมหานครโดยกำหนดปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2549 เวลา12.00 น. จนกว่าการประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะแล้วเสร็จ
ทั้งนี้เหตุผลของการขอถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเนื่องจากUOBT ยังไม่มีแผนการที่จะเพิ่มทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจรวมทั้งด้วยจำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อยที่มีอยู่ในจำนวนที่จำกัดจะทำให้การจำหน่ายหุ้นสามัญของธนาคารไม่ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯดังนั้น ธนาคารจึงไม่สามารถที่จะดำรงคุณสมบัติให้ครบถ้วนตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯต้องมีผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่น้อยกว่า150 ราย และต้องถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของทุนชำระแล้ว
ดังนั้นธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ จำกัด (UOB) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของUOBT จำนวน 8,095,855,710 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 98.52 ของหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของ UOBT ณ วันที่ 31 มกราคม 2549จึงจะดำเนินการเสนอซื้อหุ้นและหลักทรัพย์อื่นที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นของบริษัทจากผู้ถือหุ้นและผู้ถือหลักทรัพย์เป็นการทั่วไปในราคา 6.84 บาท ต่อ 1 หุ้นสามัญ
โดยแต่งตั้งบริษัท เซจแคปปิตอล จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงินของผู้เสนอซื้อและบริษัทหลักทรัพย์ อินเทลวิชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ
ปัจจุบัน UOBT มีหุ้นสามัญจำนวน 8,217,062,166 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10.00 บาท รวม 82,170,621,660 บาท โดยเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 ราคาซื้อขายครั้งหลังสุด 5.20 บาท/หุ้น เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2549 และมีหุ้นกู้ด้อยสิทธิจำนวน 2,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 บาท รวม 2,000,000,000 บาท โดยมี ยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ ของประเทศสิงคโปร์ถือหุ้นใหญ่ 98.52%
ล่าสุดราคาหุ้น UOBT ปิดตลาดที่ 6.70 บาท เพิ่มขึ้น 1.35 บาท มูลค่าการซื้อขาย 32.77 ล้านบาท

**หาก SHIN-UOBT ถอนยวงมาร์เก็ตแคปวูบเกือบ 2 แสนลบ.
ผู้สื่อข่าว eFinanceThai.com คำนวณมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ที่จะหายไปหาก SHIN และ UOBT ขอถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์พบว่ามาร์เก็ตแคปจะหายไปประมาณ 1.8 แสนล้านบาท โดยเป็นมาร์เก็ตแคปของหุ้น SHIN ประมาณ 1.3 แสนล้านบาท และ UOBT ประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งเทียบกับบริษัทจดทะเบียนที่เข้าตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2548 จำนวน 35 บริษัท มีมาร์เก็ตแคปเพียงประมาณ 1.1 แสนล้านบาทเท่านั้น เท่ากับว่าหากทั้ง 2 บริษัทถอนออกไป การหาบริษัทจดทะเบียนใหม่เข้ามาเมื่อปีที่แล้วก็ไร้ความหมาย แถมยังติดลบกว่า 2 หมื่นล้านบาทอีกด้วย

ทั้งนี้แม้ว่าที่ผ่านมา SHIN จะยังคงยืนยันการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย แต่วงการหุ้นต่างฟันธงว่าเทมาเส็กต้องถอน SHIN ออกจากตลาดหุ้นอย่างแน่นอนในอนาคตอันไม่ไกลนี้


**วงการแนะจับตา SHIN-UOBT เบนเข็มซบตลาดลอดช่อง

แหล่งข่าวจากวงการการเงิน ให้ความเห็น กระแสการต่อต้านทุนสิงคโปร์ น่าจะเป็นเหตุผลรองของผู้ถือหุ้น UOBT ที่ต้องการถอนบริษัทออกจากตลาดหุ้นไทยส่วนประเด็นหลักน่าจะเป็นเพราะนโยบายของบริษัทแม่ที่เห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะต้องระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ จึงขอถอนออกไปเพื่อให้การทำธุรกิจสะดวกยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องคอยแจ้งการดำเนินงานต่างๆต่อตลาดหลักทรัพย์
ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าในสายตาของนักลงทุนต่างประเทศ ตลาดหุ้นไทยยังไม่มีแรงดึงดูดมากเท่าที่ควร เพราะยังมีขนาดเล็กและนักลงทุนส่วนใหญ่เป็นรายย่อยที่นิยมซื้อขายแบบเก็งกำไรในขณะที่ตลาดหุ้นต่างประเทศที่มีขนาดใหญ่อย่างฮ่องกงและสิงคโปร์ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ลงทุนที่เป็นสถาบัน ทำให้ตลาดฯค่อนข้างมีเสถียรภาพมากกว่าดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าทั้ง SHIN และ UOBT อาจจะไปจดทะเบียนในตลาดสิงคโปร์ในอนาคต เพราะมีความน่าสนใจมากกว่า และอาจจะสามารถระดมทุนได้เม็ดเงินที่มากกว่าตลาดหุ้นไทยด้วย


**บิ๊ก SYRUS มองหากกระแสต้านสิงคโปร์แรงขึ้นอาจกระทบการลงทุนโดยรวม
นายกัณฑรา ลดาวัลย์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ไซรัส จำกัด(มหาชน) หรือ SYRUS เปิดเผยกับ eFinanceThai.com ว่า การที่ UOBT ถอนหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์มองว่าอาจเป็นเพราะบริษัทมีฐานทุนเพียงพอในการดำเนินธุรกิจแล้ว และคงไม่เกี่ยวข้องกับกระแสการต่อต้านสิงคโปร์ เพราะกระแสดังกล่าวเกิดขึ้นกับกลุ่มบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น

หากกระแสการต่อต้านกลุ่มทุนสิงคโปร์มีความรุนแรงมากขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนโดยรวมได้ เพราะประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศนายกัณฑรากล่าว

อย่างไรก็ดี มองว่าการที่ UOBT ถอนการลงทุนออกไปอาจส่งผลกระทบต่อมาร์เก็ตแคปของตลาดหลักทรัพย์ โดยอาจจะทำให้มาร์เก็ตแคปของตลาดหายออกไปบางส่วนแต่มองว่าคงไม่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายมาร์เก็ตแคป 10 ล้านล้านบาทในอีก 5 ปีข้างหน้า เพราะยังมีบริษัทขนาดใหญ่อีกหลายแห่งที่เตรียมจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์


**มนตรี แจงมาร์เก็ตแชร์ KEST วูบ เหตุแนะนำลูกค้าชะลอลงทุน ยันไม่เกี่ยวกระแสต่อต้านสิงคโปร์

นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST เปิดเผยกับ eFinanceThai.com ว่า สาเหตุที่มาร์เก็ตแชร์ของ บริษัทลดลง เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทฯแนะนำให้ลูกค้าชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์การเมืองที่ยังมีความไม่แน่นอนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกระแสการต่อต้านสินค้าและบริษัทที่สิงคโปร์ถือหุ้นแต่อย่างใดและที่ผ่านมาก็ไม่มีลูกค้ารายใดของบริษัทหยุดเทรดหรือปิดบัญชีเพราะต่อต้านนักลงทุนสิงคโปร์

อย่างไรก็ดี แม้ว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมามาร์เก็ตแชร์ของบริษัทจะอยู่ที่ระดับประมาณ 9% แต่ยังมั่นใจว่าทั้งปีมาร์เก็ตแชร์ของ KEST จะเป็นไปตามเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ 11% เพราะเชื่อว่าหลังจากที่สถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายบรรยากาศการลงทุนในตลาดกลับเข้าสู่ภาวะปกตินักลงทุนก็จะกลับเข้ามาซื้อขายเช่นเดิม

ส่วนกรณีที่ UOBT ถอนหุ้นของจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้น นายมนตรีให้ความเห็นว่า น่าจะเป็นเหตุผลทางธุรกิจและนโยบายของบริษัทแม่มากกว่ากระแสการต่อต้านสินค้าและบริษัทที่นักลงทุนสิงคโปร์ถือหุ้นเพราะกระแสต่อต้านส่วนใหญ่จะเกิดกับบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองมากกว่า
นอกจากนี้ หุ้นของ UOBT ก็มีสภาพคล่องในการซื้อขายน้อยอยู่แล้วจึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้บริหารมีนโยบายให้ถอนตัวออกจากตลาดหลักทรัพย์


**ผู้บริหารบจ.ขัดใจ UOBT ถอนหุ้นจากตลท.ไม่โปร่งใส เชื่อไม่ได้เกิดจากกระแสต่อต้านสิงคโปร์

แหล่งข่าวจากผู้บริหารระดับสูงรายหนึ่งกล่าวว่า การที่ UOBT ถอนหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์ เพราะบริษัทไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนและไม่ต้องการเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์เนื่องจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะต้องรายงานข้อมูลและการเคลื่อนไหวทุกอย่างต่อสำนักงานก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์

การที่เค้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานก.ล.ต.นอกจากเหนือจากการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ของแบงก์ชาติซึ่งเค้าคงอึดอัดที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลทุกอย่างต่อสำนักงานก.ล.ต.และเค้าคงต้องการปิดตัวเองเพราะการถอนตัวจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนจะทำให้เค้าเป็นข่าวน้อยลงด้วยซึ่งผมไม่ถูกใจนักกับการกระทำของเค้า เพราะมันไม่โปร่งใส ต่อไปเค้าเคลื่อนไหวอย่างไรเราจะไม่รู้เลยแหล่งข่าวกล่าว

อย่างไรก็ดี มองว่าการถอนหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์ของ UOBTครั้งนี้ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับกระแสการต่อต้านสินค้าสิงคโปร์ เพราะนักลงทุนสิงคโปร์ไม่ได้แคร์กระแสการต่อต้านเท่าไหร่ส่วนใหญ่มองผลกำไรจากการลงทุนมากกว่าหากนักลงทุนสิงคโปร์จะถอนการลงทุนออกไปจริงจะต้องได้รับแรงกดดันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย


ที่มา efinancethai.com[/color:284ac75d4f">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com