May 6, 2024   9:01:59 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ยังไม่ทิ้งKTB-สคิบ FIDFรอหุ้นขึ้นอีก
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 23/03/2006 @ 10:03:27
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

กองทุนฟื้นฟูยืนยันไม่ปล่อยหุ้น KTB SCIB ช่วงนี้ การเมืองไม่นิ่งภาวะไม่เอื้อ รอจังหวะดีก่อน แจงเหตุขายหวังเพิ่มสภาพคล่อง รับประกันจะค่อย ๆขายไม่ปล่อยรวดเดียว ทำหุ้นในกระดานกระทบ[/color:1af4df4bb6">

นายไพโรจน์ เฮงสกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายจัดการกองทุนและหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินหรือ FIDFมีมติอนุมัติให้พิจารณาขายหุ้นที่ถืออยู่ในธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTBและธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB เบื้องต้นจำนวน 300 ล้านหุ้น และ100ล้านหุ้น ตามลำดับ หรือลดสัดส่วนลงประมาณ 3-4%

อย่างไรก็ดีมติดังกล่าวเป็นการอนุมัติล่วงหน้า ซึ่งยืนยันว่ากองทุนจะยังไม่ขายหุ้นทั้ง 2ตัวออกมาในช่วงนี้อย่างแน่นอน เนื่องจากสถานการณ์การเมืองยังไม่นิ่ง และมีผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และมีผลทำให้ราคาหุ้นหลายตัวได้รับผลกระทบ ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มแบงก์

ภาวะตลาดช่วงนี้ไม่เอื้อ ถึงจะมีมติให้ขายแต่ไม่ใช่ทันทีทันใด เราต้องพิจารณาปัจจัยอื่นประกอบด้วย เพราะกองทุนฟื้นฟูต้องการผลตอบแทนที่ดีที่สุด ถึงแม้ราคาหุ้นของทั้ง 2แห่งปัจจุบันจะขึ้นมาสูงกว่าต้นทุนที่เข้าไปลงทุนแล้วก็ตาม แต่เชื่อว่าหลังการเมืองดีขึ้น ราคาอาจจะดีกว่านี้ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะพิจารณาเรื่องการขายอีกครั้งนายไพโรจน์ กล่าว
สำหรับการขายมีรูปแบบไม่เฉพาะเจาะจง ให้กับนักลงทุนรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลท.และไม่ขายให้กับนักลงทุนสถาบัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับตัวหุ้น

การขายให้รายย่อย โดยไม่ใช่รายใหญ่ ไม่ใช่เราตีกันต่างชาติไม่ให้เข้ามาถือหุ้นเหล่านี้ แต่ต้องการให้นักลงทุนรายย่อยมีโอกาสถือหุ้น และเพิ่มสภาพคล่องให้กับแบงก์นายไพโรจน์ กล่าว
นายไพโรจน์ กล่าวว่าการขายหุ้นของ 2 แบงก์ครั้งนี้เชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบกับแบงก์มากนัก เพราะจำนวนหุ้นกองทุนแบ่งขายออกมาไม่มากนัก และจะทยอยขายออกเป็นล็อตเล็กๆ เพื่อทดสอบตลาดว่าได้รับผลกระทบจากการขายหรือไม่ และได้รับความสนใจจากนักลงทุนแค่ไหน ซึ่งหากทั้งราคาหุ้นและตลาดไม่ได้รับผลกระทบก็จะพิจารณาแบ่งขายล็อตอื่นตามออกมาอีก

ภายหลังการขายหุ้นดังกล่าวแล้ว ทั้ง KTB และ SCIB ยังเป็นธนาคารของรัฐอยู่ดีเพราะกองทุนฟื้นฟูฯไม่ได้ลดสัดส่วนการถือหุ้นลงไปมากนักนายไพโรจน์ กล่าว

นายไพโรจน์ กล่าวว่าไม่อยากให้นักลงทุนตกใจเกี่ยวกับการลดสัดส่วนการถือหุ้นในแบงก์กรุงไทย และนครหลวงไทยของกองทุนฟื้นฟู เนื่องจากถือเป็นนโยบายตั้งแต่แรกเมื่อแบงก์เหล่านี้มีความแข็งแกร่งขึ้นก็หมดหน้าที่ของกองทุน จึงยอมรับว่ามีความเป็นไปได้ที่ในอนาคตกองทุนฟื้นฟูจะขายหุ้นออกมาทั้งหมด แต่จะพิจารณาแนวทางที่ดีที่สุด และไม่มีผลกระทบกับราคาหุ้นในกระดาน

ในส่วนของกรุงไทย อาจขายทั้งหมดให้คลังซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เช่นกัน การทำทุกอย่างคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น นักลงทุนจึงเชื่อได้ว่าหุ้นเหล่านี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากการลดสัดส่วนของกองทุนในอนาคตนายไพโรจน์ กล่าว

นายไพโรจน์ กล่าวว่าในส่วนของธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) หรือ BTซึ่งเป็นแบงก์อีกแห่งที่กองทุนฟื้นฟูฯถือหุ้นอยู่นั้น จะยังไม่มีการนำหุ้นออกมาขายในช่วงนี้เพราะอยู่ระหว่างพิจารณาชดเชยความเสียหายตามสัญญาจากการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินหรือ lostand gain sharing ให้กับแบงก์ โดยในเบื้องต้นได้พิจารณาจ่ายค่าชดเชยจำนวน 5.7 หมื่นล้านบาท

การจ่ายเงินชดเชยดังกล่าวเป็นไปตามสัญญาชดเชยความเสียหายเบื้องต้น ซึ่งถือว่าน้อยจากที่เคยประมาณการณ์ไว้ เนื่องจากแบงก์มีการบริหารหนี้ได้ดี รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมานายไพโรจน์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สิ้นสุด ณ วันที่ 8 เม.ย.2548 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นอยู่ในแบงก์กรุงไทยประมาณ 6.31 พันล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 56.41% ส่วนแบงก์นครหลวงไทยถืออยู่จำนวน 1.01 พันล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 47.58% เมื่อวันที่ 8ก.ย.2548 ขณะที่แบงก์ไทยถือหุ้นอยู่จำนวน 731.45 ล้านหุ้นคิดเป็นสัดส่วน 48.98%ของจำนวนหุ้นทั้งหมดเมื่อวันที่ 8 เม.ย.2548

นายระเฑียร ศรีมงคล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารนครหลวงไทย กล่าวว่าแบงก์คงไม่สามารถเข้าไปรับหุ้นในส่วนที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูขายออกมา เพราะถือเป็นการผิดหลักเกณฑ์ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าแม้กองทุนฟื้นฟูจะขายหุ้นออกมาจะไม่มีผลกระทบกับแบงก์มากนัก เนื่องจากพื้นฐานในการเติบโตทั้งด้านสินเชื่อ และการทำกำไรยังแข็งแกร่ง ซึ่งถือเป็นปัจจัยดีและมีผลต่อราคาหุ้น

นางสาวอังคณา สวัสดิ์พูน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่าเป็นสิทธิของกองทุนที่จะขายหุ้นออก แต่เรื่องดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบกับการดำเนินงาน เป้ากำไรของแบงก์ยังเป็นไปตามเดิม นอกจากนี้การลดสัดส่วนของกองทุนจากปัจจุบัน 47.5% ถ้าขายออก100 ล้านหุ้นจะเหลือสัดส่วนประมาณ 42.8% ถือว่าลดลงน้อยมาก

ที่มา นสพ.ข่าวหุ้น[/color:1af4df4bb6">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com