April 29, 2024   10:07:14 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > เสี่ยอ้วน" กับ "ครอบครัวชินวัตร"
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 22/04/2006 @ 10:44:32
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ภายหลังการปรากฏชื่อ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่จู่ๆก็เข้ามาถือหุ้นอยู่ในโรงพยาบาลวิภาวดี (VIBHA) แน่นอน ชัยสิทธิ์ วิริยะเมตตากุล หรือ เสี่ยอ้วน ในฐานะผู้บริหารสูงสุด และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ของโรงพยาบาลวิภาวดี หลีกไม่พ้นที่จะถูกมองว่าเขาคือผู้ที่ชักชวนให้ คุณหญิงอ้อ เข้ามาถือหุ้น VIBHA


ยอมรับว่าผมสนิทจริง และก็คุ้นเคยกับท่าน (คุณหญิงพจมาน ชินวัตร) ตั้งแต่ตอนที่ท่านยังไม่มีฐานะ แต่พอท่านก้าวขึ้นมา ผมก็ไม่เคยคิดที่จะไปรบกวน เพราะกลัวมากที่จะถูกมองว่าเราไปขออะไรจากท่าน...ถามใครได้เลย ผมเดือดร้อนก็ไม่เคยไปพึ่งพา ประเด็นนี้กล้าคุยได้ ชัยสิทธิ์ ชี้แจงพร้อมอธิบายเบื้องหลังการเข้ามาถือหุ้นของคุณหญิงอ้อว่า

ย้อนไปก่อนหน้านั้น โรงพยาบาลวิภาวดี เริ่มมีปัญหาด้านการลงทุน หลังจากไปลงทุนที่ บ.พัฒนาการเวชกิจ เจ้าของ โรงพยาบาลวิภาวดี 2 (ปัจจุบันชื่อ โรงพยาบาลวิภาราม) ตอนนั้นทุนจดทะเบียน 600 ล้านบาท ทาง VIBHA ถือหุ้นด้วย 16.5% หรือลงทุนไปประมาณ 100 ล้านบาท

ตั้งแต่ตอนนั้น คุณหญิงพจมาน ก็เข้ามาถือหุ้นอยู่ใน โรงพยาบาลวิภาวดี 2 ใส่เงินเข้ามากว่า 10 ล้านบาท ด้วยคำชักชวนของ นายแพทย์จเร ผลประเสริฐ ซึ่งถือเป็นแพทย์ประจำครอบครัวชินวัตร

หุ้นเริ่มแรกของที่นั่น (วิภาวดี 2) ตัวผมยังไม่ได้เข้าไปถือหุ้นเลยแม้แต่หุ้นเดียว

...แต่แล้วโครงการ โรงพยาบาลวิภาวดี 2 ก็เริ่ม เกิดปัญหา!!

ตอนนั้นรัฐบาล (ยุค พล.อ.ชวลิต) ไปสั่งปิด 56 ไฟแนนซ์ แล้วหนึ่งในไฟแนนซ์ดังกล่าวก็เป็น ผู้ให้กู้ แก่ โรงพยาบาลวิภาวดี 2 จึงส่งผลให้โปรเจค...เริ่มสะดุด และต้องการเงินทุนส่วนหนึ่งมาเยียวยา

โรงพยาบาลวิภาวดี 2 มีปัญหาด้านเงินทุน เพราะต้องใช้เงินลงทุน 600 ล้านบาท ขอกู้ไฟแนนซ์มา 400 ล้าน แต่เพิ่งจะเบิกเงินออกมาเพียง 180 ล้านบาท ยังเหลืออีก 220 ที่ยังไม่ได้เบิก ...แล้วไฟแนนซ์แห่งนั้นก็ ปิด สภาพคล่องก็หมด อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ก็ไม่รู้ว่าจะไปเอาเงินที่ไหนมาซื้อ

โรงพยาบาลวิภาวดี ในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้นหลัก โรงพยาบาลวิภาวดี 2 จึงยอมให้ยืมเงินไปอีก 100 ล้านบาท แต่ถือเป็นมูลค่าเงินที่ ชนเพดาน ของการให้กู้ยืม หรือการเกื้อหนุนบริษัทในเครือตามเงื่อนไขของ ก.ล.ต.

เพราะฉะนั้น ผู้ถือหุ้น VIBHA จะต้องมา โหวต ช่วยเพื่อลงมติอย่างใดอย่างหนึ่ง และขณะนั้น ชัยสิทธิ์ ถือหุ้น VIBHA อยู่ราวๆ 3-4% แต่ก็ถือว่าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด

จากวันนั้น คณะกรรมการจึงมาเชิญให้เขา เข้าไปช่วยแก้ปัญหาที่โรงพยาบาลวิภาวดี 2 เพราะเงินที่ให้ยืมไป 100 ล้านบาท มันไม่พอ

ชัยสิทธิ์ อธิบายต่อไปว่า ในเมื่อตัวเราไม่ได้ถือหุ้นอยู่ที่โรงพยาบาลวิภาวดี 2 ผมก็ถามเขาไปว่าเหตุผลอะไรที่ผมจะต้องไปช่วยเหลือที่นั่น...ก็ในเมื่อโครงการมันไม่ไหวก็จำเป็นต้องปล่อยไป

ทำไมต้องเข้าไปช่วยตั้ง 100 ล้าน แล้วนี่จะให้ใส่เงินเข้าไปอีก 80 กว่าล้านบาท ผมก็ไม่เห็นด้วย

แต่เหตุผลของคณะกรรมการก็น่ารับฟัง หากบริษัทแม่ไม่ช่วย...เงินที่ลงทุนไว้ตั้งแต่แรกก็จะหายไปกว่า 100 ล้านบาท ส่วนเงินที่ให้ยืมไปอีก 100 ล้านบาทก็จะสูญหายไปด้วย...เราขาดทุนทันที 200 ล้านบาท

ตอนนั้นคิดหนักเลย...จะทำไง? จะไม่ช่วยก็ไม่ได้ แต่เราก็ต้องการเซฟตัวเองที่สุด

จึงมีเงื่อนไขว่า ต้องมีสิ่งค้ำประกันให้กับบริษัทแม่ (โรงพยาบาลวิภาวดี) โดยเครื่องมือแพทย์ทุกๆชิ้น มูลค่ากว่า 80 ล้านบาท ต้องเซ็นจำนำไว้กับเรา...ทางนั้นก็โอเค

นับจากนั้น ชัยสิทธิ์ จึงเข้ามานั่งเป็น กรรมการ อยู่ที่ โรงพยาบาลวิภาวดี

ต่อมา โรงพยาบาลวิภาวดี ก็เริ่มมีปัญหากับหนี้ของ โรงพยาบาลวิภาวดี 2 อีกครั้ง ท่านประธาน (ในขณะนั้น) ก็ขอให้ผมไปเชิญ คุณหญิงพจมาน เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุน VIBHA เพื่อเราจะได้ไปรอด

ผมแย้งทันที ...เพราะก่อนที่เราจะไปขอความช่วยเหลือจากท่าน ทำไมเราไม่ช่วยกันเองก่อน แพทย์ทุกคน (ที่ถือหุ้น VIBHA) ต่างก็มีเงิน ถ้าคนที่ทำธุรกิจด้วยตัวเองยังไม่กล้าซื้อหุ้นเพิ่ม แล้วใครที่ไหนจะมากล้าซื้อ

ขณะเดียวกัน ชัยสิทธิ์ ก็ถูกร้องขอให้ใส่เงินเพิ่มทุนอีก 20 ล้านบาท

ผมบอกไปว่า...ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ เพราะที่นี่ต้องผ่าตัดใหญ่ ความหมายคือ ต้องเจ็บปวดแล้วถึงจะหาย

โรงพยาบาลวิภาวดี 2 ก็เริ่มปรับสภาพตัวเอง เพื่อให้คนที่จะเข้ามาเพิ่มทุน...ยอมรับได้ ด้วยการประเมินทรัพย์สินว่ามีอยู่เท่าไร หักหนี้เสร็จเป็นยังไง แล้วส่วนของผู้ถือหุ้นมีเท่าไร

จากนั้นจึงจัดการ ลดทุนจดทะเบียน แล้วเดินไปสู่จุดที่เป็นจริง เพื่อให้ผู้ถือหุ้นต้องรับการขาดทุนไปก่อน

ต่อจากนั้นจึงค่อยเพิ่มทุนเข้าไป และการเพิ่มทุนก็ต้องให้สิทธิอันดับแรกแก่ ผู้ถือหุ้นเดิม ถ้าหากเขาไม่ใช้สิทธิ หรือใช้สิทธิไม่ครบจำนวน จึงค่อยเชิญ คนนอก เข้ามาช่วยเพิ่มทุน

เราดำเนินการลดทุนจดทะเบียนโรงพยาบาลวิภาวดี 2 จาก 600 ล้านบาท เหลือ 280 ล้านบาท จากนั้นตัวผมเองจึงเพิ่มทุนในบริษัทแม่ (VIBHA) ไปอีก 120 ล้านบาท เพื่อให้มีเงินไปจ่ายหนี้ที่โรงพยาบาลวิภาวดี 2

ถัดมา (ปี 2545) จึงทำการ แปลงหุ้น ของ โรงพยาบาลวิภาวดี 2 เพื่อเอามาแลกกับ หุ้นแม่ (VIBHA) ในสัดส่วน 2 ต่อ 1

ตรงนี้เอง...คือที่มาที่ไปว่าทำไม คุณหญิงพจมาน จึงเข้ามาถือหุ้นอยู่ใน VIBHA มันเกิดขึ้นจากการ แลกหุ้น ตั้งแต่ครั้งนั้น

เขาลำดับเหตุการณ์ต่อไปว่า หลังเอาเงินไปชำระหนี้ให้แก่โรงพยาบาลวิภาวดี 2...หนี้ที่นั่นลดฮวบจาก 400 ล้านบาท เหลือเพียง 120 ล้านบาท แล้วก็โยกหนี้บางส่วนมาเป็นหุ้นที่ VIBHA ที่สัดส่วน 2 ต่อ 1

แค่ปีแรกโรงพยาบาลวิภาวดี 2 ก็สู้กับภาระหนี้ที่เหลือได้อย่างสบาย ล่วงเข้าปีที่สอง (2547) เราก็สามารถทำกำไรจากวิภาดี 2 ได้ทันที

ขั้นตอนถัดจากนั้น ชัยสิทธิ์ จึงเริ่มเปรียบเทียบหาโรงพยาบาลที่บริหารงานได้เก่งที่สุดในอุตสาหกรรม เพื่อเดินเป้าหมายถัดไป

ผมก็ไปชักชวน โรงพยาบาลรามคำแหง (RAM) ให้เข้ามาลงทุนใน โรงพยาบาลวิภาวดี 2 ซึ่งเรา (VIBHA) จะยอมตัด ขายหุ้น บางส่วนของโรงพยาบาลวิภาวดี 2 ให้เขาประมาณ 50% โดยที่เราจะยังคงเหลือหุ้นเดิมอยู่อีก 40%

ตรงนี้สำคัญ โรงพยาบาลวิภาวดี ได้เงินสดจากการขายหุ้นให้ RAM จำนวน 300 ล้านบาท เอาเงินก้อนนี้ไปคืนหนี้ให้แก่ธนาคาร จนปัจจุบันหนี้สิน โรงพยาบาลวิภาวดี ลดฮวบลงจาก 400 ล้าน เหลือเพียง 100 กว่าล้านบาทเท่านั้น ภาระดอกเบี้ยหายไปตั้งเกือบปีละ 30 ล้านบาท

เท่ากับว่า กำไร ที่เกิดขึ้นของ VIBHA ส่วนหลักๆก็เพราะ เราไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยหนักๆเหมือนในอดีต

 กลับขึ้นบน
จันทรา
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,898
#1 วันที่: 22/04/2006 @ 20:44:18 : re: เสี่ยอ้วน" กับ "ครอบครัวชินวัตร"
ถ้ากำไรที่เกิดขึ้น ส่วนหลักๆ ก็เพราะไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยหนักๆ เหมือนในอดีต...


.0004 .. ก็น่าคิดเหมือนกันค่ะ สงสัยต้องคิดให้หนักๆ .. .0004
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com