March 28, 2024   8:46:33 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องสาระน่ารู้ > กลยุทธ์.... Arbitrage (2)
 

??????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,898
วันที่: 02/05/2006 @ 21:24:10
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

กรณีที่สอง : การที่มีหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในสองประเทศ
ที่มีค่า P/E ของตลาดที่แตกต่างกันและมีสภาพคล่อง (Liquidity) ต่างกัน เช่น

มีหุ้นตัวหนึ่งทำธุรกิจโทรคมนาคมจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย
แต่บริษัทลูก (associates) ของบริษัทนี้ได้จดทะเบียนในตลาดสิงคโปร์

โดยทางทฤษฎีแล้ว ราคาหุ้นทั้งสองบริษัทนี้จะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน
เนื่องจากการเพิ่มขึ้นหรือลดลงในบริษัทลูก (Associates) จะส่งผลต่อราคาของบริษัทแม่ทันที

กล่าวคือ ถ้าบริษัทหนึ่งปรับตัวขึ้นก็มักจะดึงให้บริษัทหนึ่งซึ่งมักเป็นบริษัทแม่ปรับตัวขึ้นตาม
แต่มีบ่อยครั้งเสมอว่า ราคาเคลื่อนไหวของหุ้นทั้งสองบริษัทนี้อาจจะไปทิศทางตรงกันข้ามกัน
นักลงทุนประเภท Hedge Funds จะเลือกซื้อ (long) ในบริษัทที่มีสภาพคล่องน้อยกว่า (Illiquidity) เนื่องจากใช้เงินจำนวนน้อยกว่า
แต่จะขาย Short selling ในบริษัทที่มีสภาพคล่องสูงกว่าทันที เนื่องจากทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ
ในบางกรณีที่ค่อนข้างบ่อยเราเห็นการ Switching ไปมาทั้งของหุ้นกระดานต่างประเทศ (Foreign board) กับกระดานหลัก (Main board)
การ Switching แบบนี้จะเกิดในช่วงที่ Premium หรือส่วนต่างราคาของทั้งสองกระดานลดลง หรือเพิ่มขึ้นอย่างผิดธรรมดา

กรณีที่สาม : การทำ Pair Trading โดยปกติหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน มักจะมีแนวโน้มเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน
เม็ดเงินจะไหลไปที่บริษัทมีโครงสร้างธุรกิจและการเงินที่ได้เปรียบสุดก่อนที่จะไหลเข้าบริษัทที่รองกว่า
เช่น เมื่อเร็วๆ นี้ เราเห็นธนาคาร (K) ที่มี Return on equity (ROE) และ Net interest margin สูงสุด ปรับตัวขึ้นก่อน
หลังจากนั้นเงินก็ไหลสู่ธนาคารรองลงมา หรือในช่วงรุ่งเรืองของกลุ่มเดินเรือ (Shipping)

เราได้เห็นราคาหุ้นของบริษัทในกลุ่มจะปรับตัวขึ้นด้วยที่มีความแข็งแกร่งความเร็วไม่เท่ากัน
ในช่วงเวลานั้นดอกเบี้ยเป็นขาลงด้วย เพราะฉะนั้นบริษัทที่มีเงินกู้ (Loans) สูง (High financial leverage)
จะได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลงในช่วงนั้น เราจึงเห็นว่าหุ้นกลุ่มเดินเรือที่ขึ้นต้นว่า P จะให้ผลตอบแทนสูงสุดในช่วงนั้น
เนื่องจากมีเงินกู้สูงและได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง และอุตสาหกรรมเป็นขาขึ้นด้วย
การกู้เงินมาซื้อเรือเพิ่มสามารถทำรายได้ให้บริษัททันที

ในขณะที่บริษัทที่ไม่มีเงินกู้เลย เช่น บริษัท T จะขยายตัวได้ต่ำกว่า ทำให้รายได้และกำไรได้ต่ำกว่า
แต่กลยุทธ์นี้จะกลับกันทันทีในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น หรือในอีกหนึ่งกรณี เราเห็น Arbitrage เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
หุ้นบางบริษัทมีทั้งธุรกิจปิโตรเคมีและปูนซีเมนต์ ในขณะที่บางบริษัทมีแต่ธุรกิจปูนซีเมนต์เท่านั้น
นักลงทุนบางท่านอาจจะไม่ชอบความผันผวนของธุรกิจปิโตรเคมี
อาจเลือกทำการ Short หุ้นปูนซีเมนต์+ปิโตรเคมี และเลือกซื้อหุ้นปูนอย่างเดียวก่อนก็ได้

เพราะฉะนั้นการนำ Pair Trading จะต้องเลือกบริษัทที่แข็งที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นก่อน
จากนั้นเงินจะไหลเข้าสู่หุ้นตัวรองเป็นอันดับถัดไป ซึ่งกลยุทธ์แบบนี้จะเพิ่มความมั่งคั่ง (Wealth) ให้กับนักลงทุนในกรณีเม็ดเงินมีจำกัด

กรณีที่สี่ : Risk arbitrage เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในกรณีมีการควบรวมกิจการ (M&A)
โดยเลือกซื้อ (Long) หุ้นตัวที่เป็นบริษัทที่ถูกครอบงำ (Take over target) แทน ในขณะเดียวกันจะขายหุ้นในบริษัทผู้เข้าครอบงำแทน
ข้อมูลทางสถิติพบว่าบริษัทผู้เข้าครอบงำให้อัตราผลตอบแทนเกินปกติ ตั้งแต่ติดลบถึง +10%
แต่บริษัทผู้ถูกครอบงำจะให้อัตราผลตอบแทนเกินปกติ สูงถึง 30 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

และมีข้อสังเกตสองข้อ คือ ข้อแรก อัตราผลตอบแทนเกินปกติของบริษัทผู้ถูกรวม (target)
จะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนเกินปกติของบริษัทผู้ทำการรวมมาก (acquirer)

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในการรวมกิจการครั้งหนึ่งๆ บริษัทที่เป็นเป้าหมายของการรวมนั้นมีเพียงบริษัทเดียว
ในขณะที่บริษัทผู้จะทำการรวมมีหลายบริษัทการแข่งขันระหว่างบริษัทผู้จะทำการรวมจึงอาจสูงมาก กรณีนี้อาจตีความได้ว่า

การรวมกิจการ เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่จะทำให้การดำเนินงานของผู้ถูกควบรวมดีขึ้น
ราคาหุ้นของทั้งสองบริษัทจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ และสะท้อนออกมาเป็นอัตราผลตอบแทนเกินปกติ (Excess returns)

นอกจากนี้ การควบรวมกิจการที่เกิดจาก Swap หุ้นอาจจะทำให้เกิด arbitrage ได้
เช่น การ Swap หุ้นระหว่างบริษัทไทยโอเลฟินส์ และบริษัทปิโตรเคมี
: ซึ่งอัตราส่วนการแลกหุ้น หรือ Swap Ratio ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อหุ้นบางตัวได้

กรณีที่ห้า : บริษัทมีการออกหุ้นที่มีการออกหุ้นสามัญและหุ้นกู้แปลงสภาพ
เมื่อไรก็ตามที่บริษัทมีความสามารถในการชำระหนี้แย่หรือดีขึ้น การ Short หรือ Long ของหุ้นกู้แปลงสภาพจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ



โปรดติดตาม ตอนต่อไป.... .0005 .0005 .0005

 กลับขึ้นบน
ch
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 10
#1 วันที่: 02/05/2006 @ 22:44:07 : re: กลยุทธ์.... Arbitrage (2)
ขอบคุณพี่จัน มากเลยครับ.... .0005 .0005
 กลับขึ้นบน
suddum
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 91
#2 วันที่: 03/05/2006 @ 02:24:47 : re: กลยุทธ์.... Arbitrage (2)
อ่านกี่รอบก้อยังไม่เข้าใจ
เอางี้........... พี่จันหา มัน มาเลยดีฝ่า
(เด๋วจะมีคนมาไล่ให้เลิกเล่นหุ้นป่าวเนี่ย)
ฮ่าๆๆๆๆๆๆ กู๋ๆก๋าๆ[/color:ce53ebd357">[/size:ce53ebd357">
 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#3 วันที่: 03/05/2006 @ 13:18:10 : re: กลยุทธ์.... Arbitrage (2)
แล้ว ccet อะครับ พี่จันทรา
 กลับขึ้นบน
จันทรา
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,898
#4 วันที่: 03/05/2006 @ 20:24:08 : re: กลยุทธ์.... Arbitrage (2)
ถ้ามองทางธุรกิจ CCET ก็ไม่โดดเด่นเท่าที่ควร....
ถ้ามองทางเทคนิค ก็ยังไม่ค่อยสวย....ราคาแค่ขึ้นมาตอบรับลูกนิดหน่อยเท่านั้น.....

อัตราการขึ้น น่าจะช้ากว่าตัวอื่นๆ อีกหลายตัวค่ะ .0001

สรุปว่า ไม่ใช่ Arbitrage แน่นอนค่ะ..... ฟฟฟฟ3 ฟฟฟฟ3 ฟฟฟฟ3[/color:b29a864cc8">
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com