May 5, 2024   10:09:14 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ปัญหา Stock Migration ทำไม-แค่ไหน-อย่างไร???
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 06/06/2006 @ 07:54:19
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ผลของการซื้อหุ้นไทยในตลาดต่างประเทศ(stock migration)ที่มีต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)

ตลาดทุนโลกมีความเชื่อมโยง กันในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะความพยายามชื่อมโยงการซื้อขายหลักทรัพย์ข้ามตลาด พบว่าปัจจุบันมีการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทต่าง ๆ ในตลาดทุนที่ไม่ใช่ตลาดทุนของประเทศแม่และมักเป็นตลาดทุนที่มีการพัฒนาสูงโดยอาจมีรูปแบบที่เป็นการจดทะเบียนหรือการออกใบแทนหลักทรัพย์(Depositary receipt-Dr)

ถึงแม้ว่าการที่หลักทรัพย์ของประเทศหนึ่งจะมีการซื้อขายในตลาดต่างประเทศมีข้อดีต่อบริษัทนั้น ๆ ในการเพิ่มชื่อเสียงระดับสากลและลดต้นทุนการระดมทุน แต่ในทางตรงกันข้ามตลาดทุนของประเทศแม่กลับได้รับผลกระทบในเชิงลบโดยมีผลทางตรงทันที คือเสียโอกาสในการเพิ่ม Market capitalization ของตลาดรายได้ค่าคอมมิสชั่นแก่บยริษัทนายหน้าที่สูญเสียไป
รวมถึงเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศที่ต้องการลงทุนในหลักทรัพย์นั้นหายไปและจะส่งผลต่อสภาพคล่องของตลาดทุนภายในประเทศ(migration of trading) ซึ่งเป็นผลในขั้นแรก จากสถิติพบว่ามูลค่าหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายในรูปแบบ DR ของประเทศแถบละตินอเมริกาที่ซื้อขายในตลาดอื่นโดยเฉลี่ยมีกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดและสูงกว่ามูลค่าการซื้อขายภายในตลาดบางประเทศอย่างเวเนซูเอลาและอาเจนตินาเป็นต้น อย่างไรก็ตามยังมีผลกระทบสืบเนื่องในขั้นต่อมาจากการที่สภาพคล่องตลาดทุนภายในลดลงแล้ว

ความน่าสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศต่อตลาดทุนนั้นก็จะยิ่งลดลงอีกจนเป็นเหตุให้มูลค่าการซื้อขายของหลักทรัพย์ตัวอื่น ๆในตลาดทุนภายในจนส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของตลาดทุนโดยรวมอีกเป็นรอบที่สอง(spillovers liquidity)

ในกรณีของประเทศไทยสำรวจพบว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ไทยในตลาดทุนต่างประเทศมากว่า 90 บริษัทในตลาดทุนหลักของโลกอย่างสหรัญอเมริกาและยุโรปในรูปแบบของDRโดยในปี 2548 แม้ในภาพรวมปริมาณการซื้อขายอาจจะไม่มากนักแต่ DRของหลักทรัพย์มีมูค่าการซื้อขายสูงถึงวร้อยละ 4 ของมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

โดยบางบริษัทมีมูลค่าการซื้อขายสูงกว่า7เท่าของมูลค่าการซื้อขายในกระดานต่างประเทศส่งผลต่อการสูญเสียสภาพคล่องจากการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดทุนไทยเพื่อแสดงผลของการที่หลักทรัพย์ไทยไปต่างประเทศในรายการฉบับนี้ได้ใช้กรณีศึกษาถึงผลกระทบต่อตลาดทุนไทยหากบริษัทไทยเบฟเวอเรจไปจดทะเบียนยังต่างประเทศที่ผ่านมามีหลักทรัพย์ใน local market ไประดมทุนและจดทะเบียนซื้อขายในต่างประเทศ(stockmigration) อยู่เป็นจำนวนมาก โดยกระทำผ่าน 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.Foreign listing 2. Dual listing และ 3. การออก DepositaryReceipt (DR) แต่จำนวนหลักทรัพย์ของไทยที่ไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดต่างประเทศยังมีไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น

กระแส stock migration ของบริษัทในประเทศที่มีตลาดทุนขนาดเล็กสู่ตลาดทุนที่พัฒนาแล้วโดยเฉพาะใน 5 ประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ญีปุ่น และเยอรมัน (จากการศึกษาของ (Levine และ Schmukler,2005) ในรูปแบบต่าง ๆ เช่นduel-listing และ DR ขยายตัวอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดที่พัฒนาแล้วเป็นตลาดที่มีต้นทุนด้าน information และ transaction ที่ต่ำ

การที่หลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดต่างประเทศหรือที่ออก DR/ADR เริ่มมีการซื้อขายและเป็นที่นิยมของนักลงทุนโดยมีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้สภาพคล่องหายไปจากตลาดทุนภายในในกรณีของประเทศไทยการทำ stock migration ส่วนใหญ่กระทำผ่านรูปแบบ DR

ทั้งนี้ปัจจุบันมีบริษัทไทยจำนวนไม่น้อยที่ออก DR เพื่อซื้อขายในตลาดทุนแถบยุโรป เช่นในประเทศเยอรมัน มีบริษัทไทยไม่ต่ำกว่า 80 บริษัทที่ออก DR เพื่อซื้อขาย โดยมีมูลค่าการซื้อขายประมาณร้อยละ 15 ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดในกระดานต่างประเทศของตลท.

นอกจากนี้มูลค่าการซื้อขาย DR ในประเทศเยอรมันของบางบริษัทมีสัดส่วนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทดังกล่าวในประเทศไทย(ในปี2005 มูลค่าการซื้อขาย DR ของบางบริษัทมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 4 ของมูลค่าการซื้อขายของบริษัทนั้นในตลาดหลักทรัพย์ฯและมูลค่าการซื้อขาย DR ของบางบริษัทมีมูลค่าสูงกว่า 7 เท่าของมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทนั้นในกระดานต่างประเทศ)

อย่างไรก็ตาม บทศึกษามุ่งเน้นกรณีของ ADR (ปัจจุบัน มีบริษัทไทยเพียง 15 บริษัทที่ออกตราสาร ADR ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้ในตารางที่ 1 ในขณะที่จำนวนบริษัทของไต้หวัน เกาหลี และแมกซิโกที่ออกตราสาร ADR มีจำนวนถึง 109 บริษัท และ 58 บริษัทตามลำดับนอกจากนั้นพบว่าในบางประเทศ เช่นประเทศทางแถบละตินอเมริกา(อาร์เจนตินา เวเนซูเอลา)มีสัดส่วนมูลค่าการซื้อขาย ADR ต่อมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดของตลาดภายในสูงกว่าร้อยละ 80

ถึงแม้ประเทศไทยและประเทศอื่นในแถบเอเชียจะยังมีการทำ stock migrationไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่ด้วยกระแสการเปลี่ยนไปของโลกและความต้องการจากตัวบริษัทเอง คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในอนาคตการทำ stock migration

จากประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นการทำ stock migration จะก่อให้เกิดแรงกดดันให้ผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ในตลาดทุนปรับตัวทั้งในด้านของการดำเนินงานภายใน การปรับปรุงมาตรฐานของการเปิดเผยข้อมูล การออกกฏระเบียบและการกำหนดบทลงโทษที่เหมาะสมเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเกิดความโปร่งใสมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในตลาดทุน ส่วนบริษัทที่ทำ stock migration จะได้ประโยชน์จากภาพลักษณ์ของบริษัทที่ดีขึ้น โดยเป็นการแสดงให้เห็นว่าบริษัทนั้นดีมีคุณภาพ จึงสามารถเข้าไปจดทะเบียนและ/หรือซื้อขายในตลาดต่างประเทศได้ซึ่งบริษัทดังกล่าวก็จะมีสภาพคล่องที่สูงขึ้น รวมทั้งมีฐานผู้ถือหุ้นที่ใหญ่ขึ้น ในขณะที่มีต้นทุนการระดมทุนที่ต่ำลง

อย่างไรก็ตามการศึกษาผลกระทบจาก stock migration ที่เกิดขึ้นต่อตลาดทุนภายในเป็นสิ่งจำเป็นเพราะการทำ migration จะส่งผลให้ตลาดทุนภายในสูญเสียโอกาสในการเติบโตเนื่องจาก Foregone market capitalization และยังก่อให้เกิดต้นทุนการเสียโอกาสอื่น ๆที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพคล่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์เหล่านั้น

โดยส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดการสูญเสียรายได้จากค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์นั้นอีกทั้งหากบริษัทภายในที่ระดมทุนเป็นบริษัทขนาดใหญ่มีชื่อเสียงและขนาดของการระดมทุนมีขนาดใหญ่จนมีผลต่อน้ำหนักดัชนีหลักทรัพย์ระหว่างประเทศแล้วอาจนำมาซึ่งการสูญเสียโอกาสในการดึงเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศเข้าสู่ตลาดทุนภายใน

นอกจากนั้น stock migration ยังส่งผลกระทบต่อหลักทรัพย์อื่น ๆ ในตลาดทุนโดยการตัดสินใจเข้าจดทะเบียนหลักทรัพย์ของบริษัทขนาดใหญ่ที่ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศแทนที่จะเข้าจดทะเบียนในประเทศมีส่วนทำให้ market capitalization หรือ GDP โดยรวมลดลงถึงสภาพคล่องของตลาดภายในลดลงในการศึกษาบทบาทของ GDP ในการพัฒนาตลาดทุนนั้น Karolyi (2003) ได้ทำการศึกษาด้วยวิธีการทางเศรษฐกิจมิติแบบ panel data

โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี 2519-2543 ในตลาดทุนเกิดใหม่12 ประเทศรวมถึงตลาดทุนไทยพบว่าหากสัดส่วนมูลค่าการซื้อขาย ADR เทียบกับมูลค่าการซื้อขายของตลาดภายในเพิ่มขึ้น 1เท่า จะส่ง ผลให้ market capitalization to GDP และ turnover ของตลาดภายในประเทศลดลงร้อยละ 0.5 และร้อยบละ 13 ตามลำดับ

ทั้งนี้งานศึกษาของ Levine และ Schmukler(2005) เกี่ยวกับผลกระทบของstock migration ต่อหลักทรัพย์อื่น ๆ ในตลาดทุนภายในโดยใช้ลักษณะ firm-specificapproach ซึ่งเก็บข้อมูลทางเศรษฐมิติแบบ panel database ของรายบริษัทกว่า 2,900บริษัทใน 45 ประเทศที่มีตลาดทุนเกิดใหม่เพื่อศึกษาผลของmigration ก็ยืนยันผลกระทบของ stock migration ต่อสภาพคล่องของตลาดทุนภายใน ไปในทางเดียวกันกับKarolyi ทั้งนี้งานศึกษาดังกล่าวได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ขั้นตอนเพื่ออธิบายช่องทางของผลกระทบที่เกิดขึ้น

การที่บริษัททำ stock migration ไปยังต่างประเทศมากขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติย้ายไปซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทนั้นในตลาดต่างประเทศแทนที่ซื้อขายหลักทรัพย์นั้นในตลาดภายใน ส่งผลให้สภาพคล่องของหลักทรัพย์นั้นในตลาดภายในประเทศลดลง ซึ่งผลดังกล่าวเรียกว่า migration of trading

Migration of trading ทำให้ตลาดทุนภายในดึงดูดนักลงทุนต่างชาติได้น้อยลงและส่งผลให้สภาพคล่องของหลักทรัพย์อื่น ๆ และตลาดทุนภายในโดยรวมลดลงในที่สุด หรือเรียกว่าเกิด spillovers in liquidity

กรณีของประเทศไทย หากบมจ.ไทยเบฟเวอเรจ เข้าจดทะเบียนในตลาดสิงคโปร์แล้ว อาจส่งผลให้ market cap และสภาพคล่องของตลาดทุนไทยลดลง และอาจมีผลต่อน้ำหนักของไทยในดัชนีระหว่างประเทศซึ่งอาจนำมาสู่การสูญเสียของเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ*1

*1ข้อมูลดังกล่าวเป็นผลงานของสายงานวิจัย และข้อมูลสารสนเทศ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดทำโดย จิรพัฒนา มนโนชนฤมล ,เมธินี ลีวราภากุล และอมรรัตน์ กริตโสภณ

ไทยเบฟเวอเรจ ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย
การโยกเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติไปสู่ตลาดที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ถือเป็นเรื่องปกติที่มีให้เห็นทั่วโลก โดยเฉพาะการไม่สามารถเข้าจดทะเบียนของบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน)หรือTHBEV นั้น ถือไม่ได้เป็นปัจจัยหลักเพียงด้านเดียวที่เป็นต้นเหตุของมูลค่าการซื้อขายของตลาดหุ้นไทยเบาบางอย่างที่เห็นและเป็นอยู่

ทั้งนี้ประเด็นการตัดสินใจเข้ามาลงทุนในตลาดเกิดใหม่(Emerging Market) ของต่างชาติไม่ได้อยู่แค่ขนาดของบริษัทจดทะเบียนเพียงอย่างเดียว หากอยู่ที่ปัจจัยด้านผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย ภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความไม่มั่นใจของภาพรวมที่ทำให้เกิดการชะลอตัวของนักลงทุนต่างชาติ

ทั้งนี้มุมมองดังกล่าวสอดคล้องกับนายไพบูลย์ นลินทรางกูร รองกรรมการผู้จัดการ บล.ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า ในช่วงอีก 3 เดือนข้างหน้า ยังคงไม่เห็นเม็ดเงินต่างชาติไหลกลับเข้ามา จนกว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จะมีสัญญาณหยุดขึ้นดอกเบี้ย

สิ่งนี้ทำให้เห็นอีกมุมหนึ่งของการจะกล่าวโทษว่าตลาดหุ้นไร้วอลุ่ม เพราะบมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยคงจะไม่ถนัดปาก

ที่มา ข่าวหุ้น[/color:0b80e271b8">

 กลับขึ้นบน
mr.w
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 490
#1 วันที่: 07/06/2006 @ 12:43:30 : re: ปัญหา Stock Migration ทำไม-แค่ไหน-อย่างไร???
ฟฟฟฟ3 ฟฟฟฟ3 ฟฟฟฟ3
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com