May 5, 2024   8:01:59 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ข่าวเศรษฐกิจ...
 

??????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,898
วันที่: 06/06/2006 @ 22:30:18
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ตลท.พร้อมปรับทีพีไอออกจากหมวดฟื้นฟูกิจการ

6 มิถุนายน 2549 18:20 น.
ตลท.พร้อมยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของทีพีไอภายใน 1 สัปดาห์ หลังปลด ?ประชัย? พ้นบอร์ด
ส่วนต้นเดือนกรกฎาคมนี้ จะยุบกลุ่มรีแฮปโก้ลง
โดยทีพีไอจะกลับไปอยู่ในหมวดปิโตรเคมี แต่จะขึ้นเครื่องหมาย C เอาไว้ก่อน

นายสุทธิชัย จิตรวาณิช รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า
ตลท.จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อพิจารณาให้บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน)
หรือ ทีพีไอ พ้นจากการเป็นบริษัทที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ

และย้ายออกจากหมวดฟื้นฟูกิจการ (รีแฮปโก้) กลับไปยังหมวดปกติได้
หลังจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของทีพีไอ มีมติปลดนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ออกจากการเป็นกรรมการแล้ว
โดยทีพีไอ มีกำหนดการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาวาระดังกล่าวในวันที่ 20 กรกฎาคม นี้

?ตลท.จะไม่พิจารณาให้ทีพีไอย้ายกลับมาซื้อขายในหมวดปกติหากบริษัทยังไม่ปลดนายประชัย
ซึ่งเป็นกรรมการที่ขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับของ ตลท. ออกจากการเป็นกรรมการของบริษัทก่อน
ซึ่งที่ผ่านมา คณะกรรมการของทีพีไอได้ส่งหนังสือเพื่อขอกลับมาซื้อขายในกลุ่มปกติ
แต่ ตลท.ได้แจ้งกลับไปว่า บริษัทต้องดำเนินการกับกรรมการที่ขาดคุณสมบัติก่อน?

อย่างไรก็ตาม ในต้นเดือนกรกฎาคมนี้ ตลท. จะยุบกลุ่มรีแฮปโก้ลง
ซึ่งระหว่างนั้น ทีพีไอจะกลับไปอยู่ในหมวดปิโตรเคมี แต่จะขึ้นเครื่องหมาย C เอาไว้
เพื่อให้นักลงทุนทราบว่า บริษัทยังไม่หลุดจากการเป็นบริษัทที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ตามข้อบังคับของ ตลท.

นายสุภกิจ จิระประดิษฐกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลท. กล่าวว่า ตามเกณฑ์ของ ตลท.
หากหลักทรัพย์ใดมีจำนวนหุ้นหมุนเวียน (ฟรีโฟลท) ต่ำกว่าร้อยละ 20 จะถูกถอนชื่อจากดัชนีเซ็ท 50
และหากบริษัทนั้น ต้องการกลับมาอยู่ในการคำนวณดัชนีเซ็ท 50 อีกครั้ง
ก็ต้องหาวิธีการแก้ไขฟรีโฟลทให้กลับมาสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ
ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทุน หรือการที่ผู้ถือหุ้นเดิมนำหุ้นออกมาขายในตลาด เป็นต้น

สำหรับในกรณีของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ที่ปัจจุบันมีกลุ่มเทมาเส็กถือหุ้นอยู่เกือบทั้งหมดนั้น
ตลท.ยังต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะต้องถอดออกจากการคำนวณดัชนีเซ็ท 50 หรือไม่
โดยคาดว่าจะทราบข้อสรุปในกลางเดือนนี้.



ที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ [/color:8de5d4a63d">

 กลับขึ้นบน
จันทรา
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,898
#1 วันที่: 06/06/2006 @ 22:36:51 : re: ข่าวเศรษฐกิจ...
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :[/color:f10ac0961d">

ตลท.ปรับเกณฑ์คำสั่งซื้อ-ขาย เริ่มต้น 3 ก.ค.นี้
6 มิถุนายน 2549 14:52 น.

ตลท. ปรับเกณฑ์คำสั่งซื้อขาย ณ ราคาเปิดและราคาปิด
พร้อมเปิดรับคำสั่ง Basket Order และ VWAP เริ่ม 3 ก.ค. 49
นายสุทธิชัย จิตรวาณิช รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
เปิดเผยว่า ตลท.ได้ปรับปรุง หลักเกณฑ์การซื้อขายหลักทรัพย์เกี่ยวกับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนและเพิ่มความน่าสนใจให้ตลาดหุ้นไทย
โดยจะทำให้มีเครื่องมือที่จะช่วยบริหารจัดการการลงทุนของผู้ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ลงทุน โดยการปรับปรุงเกณฑ์การซื้อขายหลักทรัพย์
ที่จะเริ่มมีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2549 นี้ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงลำดับในการจับคู่คำสั่งซื้อขาย
ณ ราคาเปิด (At-the-Open: ATO) และคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาปิด (At-the-Close: ATC)
การอนุญาตให้ส่งคำสั่งแบบ Basket Order หรือคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายประเภทกลุ่มหลักทรัพย์
ที่ประกอบด้วย คำสั่งย่อยหลายหลักทรัพย์ในคราวเดียวกัน
และการอนุญาตให้ส่งคำสั่งซื้อขายที่เป็นราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก VWAP
ในลักษณะทยอยส่งคำสั่งโดยอัตโนมัติ (Volume Weighted Average Price of Program Trading)
?การเปลี่ยนแปลงลำดับในการจับคู่ของคำสั่ง ATO และ ATC
ให้มีสิทธิได้รับการจับคู่ก่อนคำสั่งประเภทระบุราคาจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน
เนื่องจากจะช่วยให้ผู้ลงทุนที่ต้องการซื้อขายหลักทรัพย์ ณ ราคาเปิด หรือราคาปิด
สามารถใช้คำสั่งซื้อขายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยผู้ลงทุนไม่ต้องส่งคำสั่งประเภทระบุราคาซึ่งอาจสูงหรือต่ำกว่าภาวะตลาด
และการได้รับสิทธิจับคู่ซื้อขายก่อนยังสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงของผู้ลงทุน
ที่ยอมรับที่จะซื้อขาย ณ ระดับราคาเปิด หรือราคาปิดใด ๆ ที่เกิดขึ้น? นายสุทธิชัย กล่าว

นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังสามารถส่งคำสั่งซื้อขายประเภท ATO และ ATC ผ่านอินเทอร์เน็ตได้
โดยคำสั่งประเภทนี้จะมีระบบคัดกรองคำสั่ง (Order Screening System)
เช่นเดียวกับคำสั่งซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ เพื่อป้องกันปัญหาการส่งคำสั่งไม่เหมาะสม
?ในขณะที่คำสั่งแบบ Basket Order และ VWAP
จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่บริษัทสมาชิกในการจัดการคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า
และยังเป็นเครื่องมือที่จะช่วยบริหารความเสี่ยงของผู้ลงทุน
นอกจากนี้ ยังเป็นการยกระดับตลาดหุ้นไทยให้มีความเป็นสากลยิ่งขึ้น
เนื่องจากจะเป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุน
ไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนในประเทศ ผู้ลงทุนต่างประเทศ และผู้ลงทุนสถาบัน? นายสุทธิชัย กล่าว
 กลับขึ้นบน
จันทรา
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,898
#2 วันที่: 06/06/2006 @ 22:40:16 : re: ข่าวเศรษฐกิจ...
ผู้ค้าน้ำมันเตรียมปรับขึ้นราคาน้ำมันอีก 40-50 สต./ลิตร สัปดาห์นี้

6 มิถุนายน 2549 17:53 น.
ผู้ค้าน้ำมันหลายรายเตรียม ปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน และดีเซล อีกลิตรละ 40-50 สตางค์ภายใน สัปดาห์นี้

เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากปัจจัยเดิมคือสถานการณ์ความขัดแย้งเรื่องโครงการนิวเคลียร์ในประเทศอิหร่าน รวมถึงความไม่สงบในประเทศไนจีเรีย

ส่วนน้ำมันสำเร็จรูปนั้น ปริมาณความต้องการน้ำมันในภูมิภาคเอเชีย เพิ่มสูงขึ้น
เนื่องจากอุปสงค์และอุปทานน้ำมันสำเร็จรูป
โดยเกิดภาวะตึงตัวจากกรณีที่โรงกลั่นไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการ

ปัจจุบันราคาน้ำมันของผู้ค้ารายอื่นในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็น ดังนี้
เบนซิน 95 ลิตรละ 29.89 บาท, เบนซิน 91 ลิตรละ 29.09 บาท,
แก๊สโซฮอล์ 95 ลิตรละ 28.39 บาท และน้ำมันดีเซล ลิตรละ 27.24 บาท
ขณะที่ราคาน้ำมันของ ปตท.ถูกกว่าผู้ค้ารายอื่นอยู่ชนิดละ 10 สตางค์
 กลับขึ้นบน
จันทรา
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,898
#3 วันที่: 06/06/2006 @ 22:49:37 : re: ข่าวเศรษฐกิจ...
ฐานเศรษฐกิจ

ฟันธงธปท.ขึ้นดบ.สกัดเงินเฟ้อ

นักเศรษฐศาสตร์สะกิดเตือนแบงก์ชาติให้น้ำหนักต่อปัญหาเงินเฟ้อ
ฟันธงแบงก์ชาติต้องตัดสินขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 7 มิ.ย.นี้
วิตกหากปรับตัวไม่ทันอาจถึงจุดวิกฤติ เพราะแรงกดดันต่อเงินเฟ้อรออยู่อีก 2-3 ไตรมาสข้างหน้า
ด้านนายแบงก์ฟันธงอัตราดอกเบี้ยถึงจุดสูงสุดกลางปีนี้ เชื่อหากกนง.ปรับดอกเบี้ยอีก 0.25%
ธนาคารทั้งระบบเตรียมพิจารณาปรับขึ้นเงินฝากและเงินกู้ตามอีกรอบ


หวั่นคลังทำศก.ช็อก
เศรษฐกิจไทยติดกับดักปัญหาการเมือง และนโยบายดอกเบี้ยจะเป็นชนวนความเสี่ยงใหม่
พร้อมทั้งให้จับตาอัตราเงินเฟ้อของเดือนพฤษภาคม 2549
ที่จะมีผลต่อการตัดสินใจต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ในวันที่ 7 มิถุนายนนี้
และได้เสนอข่าว ทนงฉก 3 แสนล.โด๊ปศก.ในฉบับ 2,118 โดยมีเนื้อหาว่า
กระทรวงการคลังเตรียมมาตรการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจอีกรอบหนึ่ง
โดยกระทรวงการคลังย้ำถึงนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยว่า
เป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจ ในขณะที่ก่อนหน้านี้ทั้งกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย
ยังมีแนวคิดต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แตกต่างกัน


ต่อกรณีดังกล่าว ได้สำรวจความคิดเห็นจากนายธนาคารและนักเศรษฐศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง
หลังจากที่มีตัวแปรต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น
หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคม 2549
ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ 6.2% สูงกว่าเดือนเมษายน ซึ่งอยู่ที่ระดับ 6.0%
และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.7% ลดลงจากเดือนเม.ย. ซึ่งอยู่ที่ 2.9 %
 กลับขึ้นบน
จันทรา
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,898
#4 วันที่: 06/06/2006 @ 22:52:48 : re: ข่าวเศรษฐกิจ...
****นายแบงก์ชี้ดบ.ถึงจุดสูงสุดกลางปี

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า
เป็นที่คาดหมายว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะถึงจุดสูงสุดกลางปีหรือเขยิบไปเล็กน้อยและทรงๆในครึ่งปีหลัง
โดยมีเหตุผลประกอบหลายประการ
โดยในส่วนของปัจจัยภายในประเทศนั้น แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในครึ่งหลังของปีไม่น่าจะมีแรงกดดันมาก
เพราะเชื่อว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อน่าจะชะลอตัวลง
ส่วนปัจจัยภายนอกอัตราดอกเบี้ยสหรัฐน่าจะสูงสุดที่ 5-5.25% ซึ่งเป็นปัจจัยที่ต้องเฝ้าติดตาม


อย่างไรก็ตาม ในระยะ 4เดือนข้างหน้าอาจจะมีปัจจัยไปกดดันให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นได้อีก 0.25-0.50%
แต่ระยะสั้นในวันที่ 7มิถุนายนนั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการนโยบายการเงินจะพิจารณา
ซึ่งต้องนำข้อมูลเศรษฐกิจหลายด้านมาประกอบกัน
โดยหากกนง.จะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก 0.25% นั้น
ก็ไม่มากหากเทียบกับในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาซึ่งปรับขึ้นมาแล้ว 2.4 %
แต่เนื่องจากในขณะนี้มีประเด็นเรื่องของความเชื่อมั่นเข้ามาเป็นส่วนประกอบ
ทำให้ธปท.ต้องชั่งน้ำหนักมากขึ้น
ขณะที่ผลกระทบต่อผู้ประกอบการหรือผู้ลงทุนนั้นไม่ได้มีผลในระดับที่รุนแรง


กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวเพิ่มเตมว่า หากกนง.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25%
ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปคงดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับภาวะกลไกตลาด
เพราะถ้าดอกเบี้ยนโยบายขึ้นก็จะเห็นดอกเบี้ยผลตอบแทนจากตลาดเงินเพิ่มขึ้น
เป็นช่องทางให้ธนาคารพาณิชย์ที่ลงทุนในตลาดเงินได้ผลตอบแทนสูงขึ้น

ขณะเดียวกันธนาคารที่ต้องหาแหล่งเงินจากตลาดเงินก็จะมีต้นทุนสูงขึ้น
และอัตราดอกเบี้ยฝากขึ้นก็จะมีผลต่อด้านดอกเบี้ยเงินกู้ด้วย
และเป็นไปได้ที่ธนาคารพาณิชย์ในระบบจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นตามกัน
ส่วนจะปรับขึ้นตามเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับภาวะการแข่งขัน
 กลับขึ้นบน
จันทรา
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,898
#5 วันที่: 06/06/2006 @ 22:55:35 : re: ข่าวเศรษฐกิจ...
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ให้ความเห็นว่า

การตัดสินใจของ กนง.ในวันที่ 7มิถุนายนนั้น เป็นการชี้นำแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย
แต่ไม่มีผลต่อการตัดสินใจให้ธนาคารต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตาม
เพราะธนาคารพาณิชย์จะพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยจากปัจจัยของสภาพคล่อง
ซึ่งขณะนี้ธนาคารกรุงไทยยังมีสภาพคล่องเหลืออยู่
แต่ในขณะเดียวกันขึ้นอยู่กับอีกปัจจัยหนึ่งคือ การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์คู่แข่งในระบบว่า
จะมีธนาคารใดปรับอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ หากธนาคารพาณิชย์อื่นมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยธนาคารกรุงไทยก็ต้องปรับด้วย
ทั้งนี้ในการพิจารณาเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นเรื่องที่ต้องทำให้เกิดสมดุลระหว่างภาครัฐและธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
โดยจะต้องพิจารณาภาวะโดยรวม ไม่ใช่ทำแค่จุดใดจุดหนึ่ง


ก่อนหน้านี้ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูง
เพราะเป็นห้วงเวลาที่ไม่มีรัฐบาลเนื่องจากรัฐบาลยุบสภา
จึงเห็นว่าธปท.ไม่ควรไปผลักอัตราดอกเบี้ยขึ้นมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิดความไม่สมดุล
แต่การประชุม กนง.ในครั้งนี้ ธปท.ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างเศรษฐกิจส่วนรวมกับการคุมอัตราเงินเฟ้อ
ซึ่งเงินเฟ้อก็ไม่ได้มาจากการใช้จ่าย แต่เป็นผลจากภาระของต้นทุนที่เพิ่ม แต่ตอนนี้รัฐบาลเริ่มขยับแล้ว


กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ธปท.อาจจะต้องพิจารณาถึงภาวะเศรษฐกิจต่อไปข้างหน้าว่า
จะมีการชะลอตัวลงหรือไม่ หากประเมินว่าเศรษฐกิจจะปรับลดลงมากธปท.ก็จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
แต่ถ้าธปท.ประเมินเศรษฐกิจข้างหน้าว่าอยู่ในภาวะทรงๆ ก็อาจจะปรับอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาเสถียรภาพ
แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้นอีก 0.25%
แต่ขณะนี้การลงทุนและการบริโภคน้อยลงอยู่แล้ว
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกก็ต้องทำให้การลงทุนและการใช้จ่ายหดลงไปอีก


ถามว่าเศรษฐกิจส่วนรวมรับได้หรือเปล่า?ถ้าอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นอีก
ถ้ารับได้โดยคิดว่าจะมีส่วนอื่นมาเติมให้ก็โอเค ทุกอย่างจบ
แต่ถ้าเศรษฐกิจส่วนรวมรับไม่ได้ก็ต้องหยุด จริงๆ แบงก์ชาติมีทางเลือกน้อย
ไม่เหมือนภาครัฐที่มีโอกาสทำได้มากกว่า แต่ผมเองก็ไม่รู้ว่าแบงก์ชาติอาจจะมีก๊อก 2 ก๊อก 3 นายอภิศักดิ์กล่าว
 กลับขึ้นบน
จันทรา
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,898
#6 วันที่: 06/06/2006 @ 22:59:57 : re: ข่าวเศรษฐกิจ...
ดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า

โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่ามีน้ำหนักค่อนข้างมากที่กนง.จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ในวันที่ 7 มิ.ย.นี้
เพราะหากกนง.ไม่รีบตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ แรงกดดันจากเงินเฟ้อจะมากขึ้น
เนื่องจากยังมีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อในส่วนที่ยังไม่ส่งผล จากราคาน้ำมันที่ปรับราคาขึ้นตั้งแต่ต้นปี
ดังนั้นการไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ อาจทำให้สถานการณ์ถึงจุดวิกฤติ
เพราะราคาผู้ผลิตและราคาผู้บริโภคในอีก 2-3 ไตรมาสต่อจากนี้ไปจะค่อยๆขยับขึ้นเรื่อยๆ


ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)กล่าวว่า
ถ้ากนง.ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ตลาดหลักทรัพย์และภาคธุรกิจจะดีขึ้นเพียงระยะสั้น
แต่ระยะยาวกนง.ก็ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพราะไม่เช่นนั้นจะเป็นอันตราย
เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังสูง โดยส่วนตัวคิดว่าโอกาสปรับเพิ่มดอกเบี้ยมีมากถึง 90%
เพราะตลาดได้รับรู้ไปก่อนหน้าแล้วว่ากนง.จะปรับดอกเบี้ยขึ้น

นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตรอาวุโส ธนาคารสแตนดารด์ชาร์เตอร์ด(ไทย)กล่าวว่า
หากกนง.ไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ จะสร้างแรงกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าในระยะสั้น เพราะตลาดรับรู้ไปแล้วก่อนหน้า
โดยต่างประเทศนั้นได้มีการคาดการณ์ว่ากนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ทำให้ดอกเบี้ยตลาดพันธบัตรปรับขึ้นไป และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นไปรอ
ทั้งนี้ ในส่วนของธนาคารคาดว่าแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อจะผ่อนคลายลงในครึ่งปีหลังของปีนี้
ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปน่าจะปรับเป็น 4-5%ไ ด้จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 6.2%
โดยรับอานิสงส์จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าช่วงที่ผ่านมาทำ ให้ราคาสินค้านำเข้าถูกลง
ประกอบกับแนวโน้มราคาน้ำมันที่เริ่มปรับตัวลดเชื่อว่าจะอ่อนตัวต่อเนื่อง
แต่ในขณะเดียวกันธนาคารก็ไม่แปลกใจถ้ากนง.จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
เพราะกระแสเศรษฐกิจชะลอตัวมากขึ้น ทำให้ธปท.ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างเป้าหมายดูแลเงินเฟ้อกับเศรษฐกิจ


รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย กล่าวว่า
หากประเมินแนวโน้มธนาคารกลาง(เฟด)ยังมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อนั้น
การที่กนง.ไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ก็จะไม่เป็นผลดีต่อการบริหารเงินทุนหมุนเวียน
โดยเฉพาะช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยนโยบายของไทยกับเฟดถ้าแตกต่างกัน 0.25-0.50%
จะเป็นปัญหาบั่นทอนเงินออมในระบบ เพราะอัตราเงินเฟ้อยังสูง 6.2%ขณะที่อัตราดอกเบี้ยแท้จริงยังติดลบ
และระยะต่อไปหากกนง.จะต้องปรับอัตราดอกเบี้ยตามแนวโน้มก็อาจจะช็อคเศรษฐกิจได้
 กลับขึ้นบน
จันทรา
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,898
#7 วันที่: 06/06/2006 @ 23:04:00 : re: ข่าวเศรษฐกิจ...
****ครม.พิเศษเคาะมาตรการ

ทั้งนี้ ในการประชุมคณะรัฐมนตรีพิเศษ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน
โดยมีรัฐมนตรีของกระทรวงต่างๆเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย
แรงงาน ข้าราชการ พนักงานเอกชน ที่มีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาท โดยมี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธาน

นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า
มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานที่มีรายได้ต่ำกว่า 6,000-7,000 บาทต่อเดือนนั้น
รัฐบาลจะหามาตรการเข้ามาช่วยเหลือใน 2 แนวทาง คือ
แนวทางที่เกี่ยวข้องกับเงินกองทุนประกันสังคม และการปรับปรุงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
กระทรวงการคลัง กับกองทุนประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ร่วมทำการสำรวจกลุ่มลูกจ้างต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ว่าควรจะปรับอัตราค่าจ้างให้เหมาะสมเป็นเท่าไรแล้วจะไม่มีผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจอย่างไร
และให้ไปดูในเรื่องกฎหมายการนำเงินกองทุนประกันสังคมมาใช้กับผู้ใช้แรงงานว่ากฎหมายเปิดให้ใช้มากน้อยเพียงใด
โดยข้อสรุปนี้จะนำมาเสนอต่อที่ประชุมอีกครั้งในอีก 2สัปดาห์

ทางด้าน นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า
มาตรการลดรายจ่ายให้แก่เกษตรกร 3 มาตรการ ประกอบด้วย
1.การลดอัตราดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรรายย่อย ที่เป็นหนี้ไม่เกิน 1 แสนบาท
โดยจะลดอัตราดอกเบี้ยให้ 1% ต่อปี ซึ่งทำร่วมกับ (ธ.ก.ส.)
2.การลดค่าไฟฟ้าของภาคเกษตรให้อยู่ในอัตราเดียวกับอัตราที่เก็บจากนิคมอุตสาหกรรมที่ปัจจุบันต่ำกว่าทั่วไปอยู่ประมาณ 20%
และ3. เร่งแก้ปัญหาการผูกขาดราคาปุ๋ยและสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร
รวมทั้งดำเนินการผลิตปุ๋ยชีวภาพออกแจกจ่ายให้กับประชาชนควบคู่ไปด้วย


นอกจากนั้นนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้เร่งดำเนินการ 2 มาตรการหลัก
เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในระยะเร่วด่วน ประกอบด้วย
1.การดูแลราคาสินค้าเกษตรไม่ให้ตกต่ำ
2.การลดค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมันแพง ใน พืช3 กลุ่มหลัก
คือ 1.ผลไม้ที่มีผลผลิตออกตามฤดูกาล 2.พืชพลังงาน อาทิ ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง เป็นต้น
ให้กระทรวงการคลัง โดยกรมศุลกากรไปแกฎระเบียบการนำเข้าพืชผลผลิตดังกล่าวจากต่างประเทศ
 กลับขึ้นบน
mr.w
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 490
#8 วันที่: 07/06/2006 @ 13:12:21 : re: ข่าวเศรษฐกิจ...
เหนื่อย จิง จิง อยากรุจัง สิ้นปีนี้ npl จะเป้นยังไงอะ

เฮ้อออออออออออออออ เศร้า .0002 .0002 .0002
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com