April 29, 2024   4:52:58 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ปูมหลัง "เอกรัฐวิศวกรรม" เบื้องลึกที่หลายคนไม่รู้
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 15/06/2006 @ 07:53:10
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

การตรวจสอบมาตรฐานความโปร่งใสของบริษัทมหาชน ที่กำลังจดทะเบียนเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์คงไม่ง่ายนักสำหรับนักลงทุน เนื่องจากแหล่งข้อมูลที่เป็นประวัติย้อนหลังมีอยู่ไม่มากนัก ซึ่งข้อมูลแบบแสดงรายการ(ไฟลิ่ง) ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่พิ่งพาได้มากที่สุด

สำหรับนักลงทุนที่สนใจจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน(ไอพีโอ) บริษัท เอกรัฐวิศวกรรมจำกัด(มหาชน)หรือ AKR ควรใช้วิจารญาณตรวจสอบข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนเข้าลงทุนเพราะมีข้อมูลหลายจุดที่ทำให้เกิดข้อสงสัยเรื่องของความโปร่งใส และในบางกรณีดูเหมือนว่าอาจเป็นการเอารัดเอาเปรียบนักลงทุนรายย่อยที่จะจองซื้อหุ้นของบริษัทในราคาไอพีโอหุ้นละ 3บาท(พาร์ 1 บาท)

ข้อสงสัยดังกล่าวมีอยู่ว่า 1.ทำไมกลุ่มน้อยใจบุญ ถึงยอมให้กลุ่มบริษัท วี แอนด์ เอโฮลดิ้ง จำกัด(กลุ่มรักศรีอักษร)เพิ่มทุนในปี 2547 โดยเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 272,584,341 หุ้น ในราคาหุ้นละ 0.01 บาท(พาร์ 10 บาท)

2.อะไรคือเหตุผลที่ทำให้กลุ่มรักศรีอักษร ยอมโอนหุ้นบริษัท เควี แอสเซ็ท จำกัด ที่กลุ่มตนก่อตั้งขึ้นมา และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บมจ.เอกรัฐฯ ให้กับกลุ่มน้อยใจบุญทั้งหมด โดยไม่มีการแจ้งการทำธุรกรรมดังกล่าวว่า เป็นการโอนให้ด้วยความพิศวาสหรือไม่
ผลประโยชน์ทับซ้อนที่เกิดขึ้นมากมายก่ายกอง ทำให้ผู้คนไม่อยากคาดเดาว่า หลังเข้าเทรดในตลาดหุ้นเรียบร้อยแล้ว อะไรจะเกิดขึ้นกับหุ้นตัวนี้...????


-ต้นทุนต่ำกว่า1สตางค์

การเลื่อนจองหุ้นไอพีโอบมจ. เอกรัฐวิศวกรรม หรือ AKR ออกไปอย่างไม่มีกำหนดถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับบริษัทมหาชนแห่งนี้ และถือเป็นเวลาที่นานกว่า 9 ปี เต็มที่มีการเลื่อนขายหุ้น นับตั้งแต่ปี 2540

แม้หลังวิกฤติเศรษฐกิจผ่านมาแล้ว 6-7 ปี ตลาดหุ้นจะบูมสุดขีด แต่บริษัทก็ยังไม่สามารถเข้าตลาดหุ้นได้ เพราะยังติดอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการ และมีภาระต้องเคลียร์กับเจ้าหนี้ทั้งหมด 36 ราย โดยมีจำนวนหนี้สินมากถึง 2,143.54 ล้านบาท

โดยหลังจากเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ บริษัทได้ชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ตามแผนฟื้นฟูกิจการเป็นจำนวน 330 ล้านบาท โดยบริษัทได้กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ 1,433.46 ล้านบาท ซึ่งบริษัท เอเชียน อินเตอร์เนชั่นแนล แพลนเนอร์ส จำกัด ( บมจ. เอแคป แอ๊ดไวเซอรี่ หรือACAP )เป็นผู้บริหารแผน การที่บริษัทสามารถออกจากการแผนฟื้นฟูได้สำเร็จ เนื่องจากมีกลุ่มรักศรีอักษร ใส่เงินเพิ่มทุนเข้ามา จนเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ในทันที และผู้บริหารแผน(ACAP) ยังได้ดำเนินการลดทุนจดทะเบียนจากเดิม 1,252.87 บาท เหลือ 302.87 ล้านบาท

จากนั้นได้เพิ่มทุนอีก 2,725.84 ล้านบาท ทำให้ทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นเป็น 3,028.71ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 272,584,341 หุ้น(พาร์ 10 บาท) ให้แก่บริษัท วี แอนด์ เอ โฮลดิ้ง จำกัด (กลุ่มรักศรีอักษร)และพรรคพวก ในราคาหุ้นละ 0.01บาท

ต่อมาผู้บริหารแผนได้สั่งการให้มีการลดทุนจดทะเบียน 3,028.714 ล้านบาท ให้เหลือทุนจดทะเบียน 508.17 ล้านบาท หลังจากนั้นไม่นานบริษัทก็ทำการแตกพาร์ จาก 10บาทเป็น 1 บาท

การลดทุนจดทะเบียนดังกล่าว ถือเป็นผลดีต่องบการเงินของบริษัท เพราะสามารถล้างขาดทุนสะสมทางบัญชีได้ แต่จะไม่มีนัยสำคัญต่อจำนวนหุ้น เนื่องจากเป็นการกระทำตามแผนฟื้นฟูกิจการ เพียงแต่ความน่าสนใจอยู่จำนวนหุ้นที่กลุ่มทุนใหม่ที่ได้กลับคืนไปต่างหาก

ประเด็นการเพิ่มทุนในราคา 0.01 บาท ทำให้บริษัทได้รับเงินจากการเพิ่มทุนครั้งนี้เพียง 2.72 ล้านบาทเท่านั้น ขณะที่ผลตอบแทนของกลุ่มรักศรีอักษรได้กลับคืนไปนั้น คิดเป็นจำนวนหุ้น 188.99 ล้านหุ้น(พาร์ 1 บาท) ขณะที่กลุ่มกำเหนิดงาม ได้ไป 101.01ล้านหุ้น , ภากร มกรานนท์ 33.03 ล้านหุ้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้มีต้นทุนหุ้น AKR อยู่ที่ 0.01 บาทเท่านั้น


-ผลประโยชน์ร่วมกัน

สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ คือสิ่งที่ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างกลุ่มน้อยใจบุญ และกลุ่มรักศรีอักษร ว่ามีความสัมพันธ์แนบแน่นขนาดไหน และ อะไรคือเหตุผลที่ทำให้กลุ่มน้อยใจบุญ ยินยอมให้กลุ่มรักศรีอักษรใส่เงินเพิ่มทุนเข้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

รายละเอียดดังกล่าวถูกเริ่มต้นภายหลังจาก ณ วันที่ 11 พ.ย. 2547 กลุ่มรักศรีอักษรได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ AKR แล้ว โดยมีกลุ่มที่ถือเป็นกลุ่มเดียวกัน ดังนี้ บริษัท เควีแอสเซ็ท จำกัด ถือหุ้นอยู่ 127,038,410 หุ้น ,บริษัท วี แอนด์ เอ โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้น 21,959,190 หุ้น , นายนิรุตติ์ และนายนิพนธ์ รักศรีอักษร ถือหุ้นคนละ 20 ล้านหุ้น รวมทั้งสิ้น 188,997,600 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 37.20 %.

ทั้งนี้ภายหลังการปรากฎชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 15 ต.ค. 2548 หุ้นAKR ที่ถือโดยบริษัทเควี แอสเซ็ท จำกัด ได้หายไป โดยหุ้นที่หายไปทั้งหมด 127.03 ล้านหุ้นนั้น มีการสันนิษฐานว่า หุ้นจำนวน 100 ล้านหุ้น ถูกย้ายไปอยู่ในกลุ่มน้อยใจบุญ

เหตุที่มีการตั้งสมมุติฐานเช่นนั้น เพราะ ณ วันที่ 15 ต.ค. 2548 บริษัท เควีแอสเซ็ท จำกัด ได้มีการเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้น โดยหุ้นของบริษัท เควี แอสเซ็ททั้งหมดถูกเปลี่ยนมือไปเป็นของกลุ่มน้อยใจบุญเรียบร้อยแล้ว จากเดิมที่เป็นของกลุ่มรักศรีอักษร

โดยการเปลี่ยนมือการถือหุ้นในบริษัท เควี แอสเซ็ท จำกัด ส่งผลให้กลุ่มน้อยใจบุญกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ AKR (อีกครั้ง)ทันที เพราะการถือหุ้นใหญ่ในบริษัท เควี แอสเซ็ทจำกัด ก็เท่ากับว่าได้สิทธิในการถือครองหุ้นAKR ทั้งหมดโดยปริยาย

ประเด็นคำถามจึงเกิดขึ้นว่า ทำไมกลุ่มรักศรีอักษร จึงยอมโอนบริษัท เควี แอสเซ็ทซึ่งเป็นของกลุ่มตนเอง โดยยังมีกรรมสิทธิ์ในการถือครองหุ้น AKR จำนวน 100 ล้านหุ้นให้กับกลุ่มน้อยใจบุญ รวมทั้งธุรกรรมการเปลี่ยนมือดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยข้อมูลในหนังสือชี้ชวนว่า กลุ่มน้อยใจบุญ ใช้เงินเท่าไหร่ในการซื้อหุ้นบริษัท เควี แอสเซ็ท จำกัด

ส่วนจะเป็นการตบรางวัลของกลุ่มรักศรีอักษรที่ตอบแทนให้กับกลุ่มน้อยใจบุญ หลังจากที่ก่อนหน้านี้กลุ่มน้อยใจบุญได้มีการยอมรับการเพิ่มทุนราคาต่ำไปแล้วหรือไม่ ยังไม่ได้รับการยืนยันจากปากผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ฝ่าย

ทั้งนี้การกระทำดังกล่าว ทำให้กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมจำนวน 50 ราย ที่เป็นเพื่อนฝูงของนายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ ที่ร่วมหัวจมท้ายมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทก่อนปี 2540 มีสัดส่วนการถือหุ้นที่ไดลูทลง ตามการเพิ่มทุน และลดทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการ

อีกทั้งมีความเป็นไปได้เพียงใดที่กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมด 50 ราย จะมาเรียกร้องความชอบธรรม หลังจากที่หุ้นตนเองได้ถูกปรับลดลง และไม่มีสิทธิได้หุ้นใหม่เหมือนอย่างที่นายเกียรติพงศ์ และกลุ่มน้อยใจบุญได้รับ


-แจกหุ้นราคาถูกให้เพื่อนฝูง

หลังจากที่บริษัท วี แอนด์ เอ โฮลดิ้ง จำกัด ของกลุ่มรักศรีอักษร ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และมีหุ้นอยู่ในมือจำนวนมาก ได้ทำการขายหุ้นคืนให้กับบมจ. เอกรัฐวิศวกรรมทั้งหมด 2 ล็อต คือ ล็อตแรกขายให้ 46.50 ล้านหุ้น ขณะที่ล็อตหลัง มีเพิ่มมาอีก 100ล้านหุ้น ซึ่งจำนวน 146.50 ล้านหุ้น มีต้นทุนอยู่ที่ราคาหุ้นละ 0.01 บาท

ต่อมาได้ขายหุ้นให้กับ จุลจิตต์ บุณยเกตุ (ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการ บมจ.เอกรัฐวิศวกรรม)จำนวน 46.50 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 0.30 บาท จะว่าไปแล้วความสัมพันธ์ของกลุ่มรักศรีอักษรกับ จุลจิตต์ ถือว่ามีความสัมพันธ์ที่มาจากการร่วมงาน

หลังจาก จุลจิตต์ ลาออกจากผู้บริหารในบริษัท ไทยออยล์ จำกัด เมื่อ 3-4 ปีก่อนก็ได้มาลงมาร่วมงานกับคิงส์พาวเวอร์ ของ วิชัย รักศรีอักษร อย่างเต็มตัว แต่ปัจจุบันจุลจิตต์ กินตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหาร ของคิงส์พาวเวอร์

ความสัมพันธ์ระหว่างจุลจิตต์ กับ วิชัย ถือว่าแน่นแฟ้นพอสมควร ถ้าไม่เช่นนั้น เราคงไม่เห็น นิพนธ์ รักศรีอักษร ลูกชายของวิชัย ขายหุ้นที่ถืออยู่ใน AKR ให้กับจุลจิตต์ จำนวน 20ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 0.32 บาทเท่านั้น

นอกจากนี้ยังมี โอภาส รางชัยกุล เพื่อนสนิทอีกรายหนึ่งของวิชัย ซึ่งดูเหมือนว่าจะสนิทสนมมากกว่าจุลจิตต์เสียอีก เพราะดูได้จากการที่บริษัท เควี แอสเซ็ท จำกัด หนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่AKR ได้ขายหุ้นให้กับ โอภาส จำนวน 27.03 ล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ 0.02บาทเท่านั้น นับว่าถูกยิ่งกว่าอะไรดี

สำหรับผู้ที่ตัดสินใจจะเข้าไปจองหุ้นไอพีโอ(หลังจากที่ล่าสุดมีการเลื่อนขายหุ้นไอพีโอออกไปอย่างไม่มีกำหนด)ของ บมจ. เอกรัฐวิศวกรรม (AKR) หลังจากเคาะราคาขายที่ 3บาทต่อหุ้น ก็ควรพึงสังวรไว้ว่าหุ้นที่ถือผ่าน กลุ่มรักศรีอักษร กลุ่มกำเหนิดงาม และบุคคลอื่นๆที่ได้กล่าวมานั้น มีต้นทุนที่ต่ำกว่าราคาหุ้นไอพีโออย่างเห็นได้ชัด

การตั้งราคาขายแบบเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคเช่นนี้ กระทรวงพาณิชย์มีสิทธิที่จะเข้ามาดูแลหรือไม่ เพราะ ก.ล.ต. และ ตลท. คงออกมาอ้างว่าไม่มีสิทธิเข้าไปยุ่งเกี่ยวอีกตามเคย

ที่มา ข่าวหุ้น[/color:4cd8c551d5">

 กลับขึ้นบน
mr.w
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 490
#1 วันที่: 16/06/2006 @ 18:22:14 : re: ปูมหลัง "เอกรัฐวิศวกรรม" เบื้องลึกที่หลายคนไม่
อย่างนี้ นี่เอง

ฟฟฟฟ3 ฟฟฟฟ3 ฟฟฟฟ3
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com