May 4, 2024   8:06:54 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > Q-CON" ฟ้าปิด..ทางลำบาก
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 24/06/2006 @ 20:28:06
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

คิวคอน เริ่มพบหนทางลำบากในตลาด อิฐมวลเบา ภายหลังฐานลูกค้าหลักในเขตกรุงเทพฯ เริ่มชะลอคำสั่งซื้อ ทางออก คือ การรุกเข้าหาลูกค้าในต่างจังหวัด พร้อมตั้งความหวังครั้งใหม่กับ โรงงานแห่งที่ 4 ที่จะสร้างความได้เปรียบในสนามฝั่งตะวันออก



พยนต์ ศักดิ์เดชยนต์ กรรมการผู้จัดการ บมจ. ควอลิตี้คอนสตรัคชั่น โปรดัคส์ (Q-CON) อธิบายภาพรวมของวงการธุรกิจ อิฐมวลเบา ว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์กำลังชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งยอมรับว่าธุรกิจอิฐมวลเบาของบริษัทถือเป็นธุรกิจต่อเนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตลาดหลักของบริษัทมากกว่า 80% จะตั้งโครงการอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเน้นที่โครงการบ้านจัดสรรระดับบน

แต่ขณะนี้ตลาดบ้านระดับราคา 7-8 ล้านบาทที่เคยเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก...ยอดขายเริ่มชะลอตัว ทำให้ผู้ประกอบการเริ่มลงมาเล่นกับตลาดที่บ้านระดับราคา 3 ล้านบาทขึ้นไป

แต่ตลาดของเราในส่วนนี้...ค่อนข้างน้อย เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ของเราจะเป็น สตราทีจิก พาร์ทเนอร์ ไม่ว่าจะเป็นแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ หรือเอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ที่อยู่ในตลาดบ้านระดับบน (7-8 ล้านบาทขึ้นไป)

ยิ่งปัจจุบัน โครงการต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯและรอบๆ เริ่มชะลอแผนงานต่างๆ เอาไว้ เพราะไม่มั่นใจกับภาวะเศรษฐกิจที่กำลังส่งปัญหาถึง ต้นทุน ทำให้ตอนนี้บริษัทเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับตลาดในต่างจังหวัด...โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่ หรือเมืองท่องเที่ยว

โดยเราจะเน้นกลยุทธ์การขายหรือเปิดช่องทางขายผ่านทาง เอเย่นต์ มากขึ้น ซึ่งถือเป็นจิ๊กซอว์ที่ต้องวางให้แม่นยำที่สุด

แต่ทั้งนี้ สิ่งที่เป็นปัญหาของผู้ประกอบธุรกิจ อิฐมวลเบา โดยเฉพาะ คิวคอน ไม่ใช่มาจากการแข่งขันของคู่แข่งที่อยู่ในตลาดเดียวกัน เนื่องจากบริษัทเป็น รายใหญ่ ที่มีกำลังผลิตถึงปีละ 9 ล้านตารางเมตร (จากโรงงานทั้ง 3 แห่ง) โดยมีมาร์เก็ตแชร์ถึง 60-70% ของตลาดอิฐมวลเบา ซึ่งมีขนาดของตลาดเมื่อสิ้นปี 2548 ประมาณ 18 ล้านตารางเมตร โดยคาดว่าตลาดปีนี้จะขยายตัวเป็น 20 ล้านตารางเมตร

ตอนนี้เรายังใช้กำลังผลิตจากโรงงานทั้ง 3 แห่งไปเพียง 60% เท่านั้น ถ้าหากตลาดใหญ่ขึ้นอีก เราก็ยังสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีกเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดเอาไว้

พยนต์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้รายได้ของ คิวคอน ระหว่างการขายในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดอยู่ในสัดส่วน 80 ต่อ 20...แต่ในปี 2549 จะปรับให้เป็น 70 ต่อ 30 ซึ่งจำเป็นต้องรีบขยายสินค้าออกไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น

การเจาะตลาดต่างจังหวัดปัญหาใหญ่ที่พบ คือ พฤติกรรมของผู้บริโภค ยังมีความเชื่อเดิมๆ อยู่กับการใช้ อิฐมอญ เพราะฉะนั้น คู่แข่งของ คิวคอน ก็คือ อิฐมอญ ไม่ใช่ผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

เท่ากับว่า อนาคตของ คิวคอน จะอยู่กับความสามารถในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ไม่ใช่การแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่นๆ เพราะถ้าผู้ใช้หันมาใช้ อิฐมวลเบา แทนอิฐมอญ จะส่งผลให้ดีมานด์เพิ่มขึ้นอีกมหาศาล จึงยังไม่น่าจะเห็นการแข่งขันในเรื่องของสงครามราคา อย่างน้อยก็ในช่วงเวลา 1-2 ปีนี้

แต่ทั้งนี้ อีกอุปสรรคใหญ่ของคิวคอน ก็คือ ช่องทางจัดจำหน่าย ซึ่งหลังจากนี้บริษัทจะต้องเร่งขยายให้ครอบคลุมในทุกๆ จุดที่สำคัญ โดยเฉพาะหลังจากที่ ซิเมนต์ไทย โฮมมาร์ท ได้หันไปสนับสนุนสินค้าอิฐมวลเบาให้กับบริษัทแม่ (ปูนใหญ่) อย่างเต็มตัว

ขณะเดียวกันบริษัทเตรียมรุกตลาดภาคตะวันออกและตลาดส่งออกมากขึ้นผ่าน โรงงานแห่งที่ 4 (จ.ระยอง) ซึ่งมีกำลังผลิตรวมปีละ 3 ล้านตารางเมตร ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการทดสอบการผลิต จะผลิตเชิงพาณิชย์จริงๆประมาณไตรมาส 3 ปีนี้

เพราะฉะนั้น โรงงานแห่งใหม่จึงถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการแข่งขันของ คิวคอน ที่จะทำให้บริษัทแข่งขันได้ในเรื่องของต้นทุน (ค่าขนส่ง) ซึ่งภาคตะวันออกมีโครงการก่อสร้างจำนวนมาก

เราจะบุกโปรเจคต่างๆ ในภาคตะวันออก ซึ่งตรงนั้นจะสามารถสู้กับรายอื่นได้ เพราะต้นทุนต่างๆ ที่โรงงานแห่งนี้จะเซฟกว่าเดิม รวมถึงการขยายไปสู่ตลาดส่งออก (ทางเรือ) ที่จะสามารถส่งสินค้าผ่านต่อไปยังภาคใต้ได้ง่ายขึ้น

พยนต์ กล่าวถึงแผนการเจาะตลาดต่างประเทศว่า บริษัทจะเริ่มจากการส่งสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงทยอยส่งต่อไปยังประเทศที่อยู่ไกลขึ้น โดยคาดว่าในปี 2549 สัดส่วนการส่งออกของบริษัทจะมีอยู่ประมาณ 5-6%

ทั้งนี้ บริษัทมีเป้าหมายที่จะทำยอดขายให้ได้ 1,040 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนหน้าที่มียอดขาย 860 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาสแรก มีรายได้จากการขายรวม 215 ล้านบาท โดยคาดว่ายอดขายจากไตรมาสสอง มีแนวโน้มที่จะลดลงจากไตรมาสแรกเล็กน้อย เนื่องจากเป็นช่วงที่มีระยะเวลา(วันหยุด)ในการส่งมอบสินค้าลดลง

ทางด้านมุมมองของนักวิเคราะห์มองว่า โรงงานแห่งที่ 4 น่าจะเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ผลประกอบการปี 2549 ของ คิวคอน มีผล ขาดทุน เนื่องจากบริษัทลงทุนกับโรงงานแห่งนี้ไปถึง 800 ล้านบาท จึงต้องเริ่มตัดค่าเสื่อมราคาอีกปีละ 40 ล้านบาท

***************************************

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com