May 3, 2024   10:57:48 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > โมเดล (รุก) "ไอที ซิตี้" ตกกระไดพลอยโจน
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 15/07/2006 @ 15:55:46
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

เจาะลึกแผนโต ไอที ซิตี้ 3 ปี (2549-2551) ขยาย 12 สาขา กับอีก 6 เมกะสโตร์ ดันหุ้นค้างดอย วันไหนถอย..วันนั้น หุ้นร่วง จับตาธุรกิจใหม่ขายเครื่องใช้ไฟฟ้าแข่งกับ โมเดิร์นเทรด ทางโต หรือ ทางตัน



งานหนักของหุ้น บมจ. ไอที ซิตี้ (IT) วันนี้ คือ การต่อสู้กับเป้าหมายการเติบโตของตัวเอง

ที่ผ่านมาบริษัทไปสร้างความคาดหวังไว้กับนักลงทุน กระทั่งหุ้นได้รับความนิยม ขึ้นมาเทรดกันที่ พี/อี เรโช สูงถึงเกือบ 19 เท่า ราคาหุ้นซื้อขายสูงกว่ามูลค่าทางบัญชี 3.61 เท่า ขณะที่บริษัทมี Net Profit Margin ค่อนข้างต่ำ เพียง 3-3.2%

เห็นได้ชัดว่าการที่นักลงทุนยอมจ่ายแพง เพื่อวางเดิมพัน (ซื้ออนาคต) ของหุ้น IT ส่งผลให้ ผู้บริหาร ต้อง(เหนื่อย)คิดขยายการลงทุนอยู่ตลอดเวลา

...เพราะวันไหนที่หยุดโต หรือ มีกำไรสุทธิลดลง วันนั้น คือ วันที่อันตรายที่สุดสำหรับหุ้นตัวนี้

สิ่งเดียวที่สอดรับกับราคาหุ้นที่สูงของ IT ก็คือ แผนปูพรมขยายสาขาอย่างก้าวกระโดดของบริษัท

...เริ่มจากปีนี้ (2549) ที่บริษัทประกาศว่าจะขยายสาขา ไอที ซิตี้ เพิ่มอีก 7 สาขา ในขนาดพื้นที่มาตรฐาน 1,200 ตารางเมตร ต้นทุนสาขาละ 8 ล้านบาท จะทำให้ ณ สิ้นปี 2549 บริษัทจะมีสาขาทั้งสิ้น 30 สาขา และพื้นที่ขายรวมจะเพิ่มขึ้นเป็น 37,686 ตารางเมตร โตกว่าปีที่ผ่านมา 28%

บวกกับความฮือฮาในการเตรียมเปิด เมกะสโตร์ ด้วยโมเดลธุรกิจใหม่ คือ จะนำ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า มาวางขายร่วมกับ สินค้าไอที ในสัดส่วน 70:30

เอกชัย ศิริจิระพัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.ไอที ซิตี้ กล่าวว่าที่ผ่านมาบริษัทได้ขยายสาขาแล้ว 2 แห่ง ที่ จ.ราชบุรี และ จ.ภูเก็ต ช่วงกลางเดือน กรกฎาคม เปิดอีก 1 สาขาที่ จ.ขอนแก่น ปลายเดือนลุ้นเปิด 2 สาขา ที่ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต และ พันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน และที่เหลืออีก 2 สาขา จะเปิดครบอย่างช้าในเดือน ตุลาคม

เอกชัย ยังเปิดเผยถึงแนวโน้มการขยายสาขาว่า ในปี 2550 จะขยายสาขา ไอที ซิตี้ เพิ่มอีก 5 แห่ง แต่จะเพิ่มขนาดเป็น 2,000-3,000 ตารางเมตร (จากเดิม 1,200 ตารางเมตร) เพื่อจะวางสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าร่วมด้วย

และจะเปิด เมกะสโตร์ ขนาด 6,000 ตารางเมตร ขึ้นอีก 2 แห่ง ขณะที่ ปี 2551 จะเปิด เมกะสโตร์ ขนาด 5,000-6,000 ตารางเมตร อีก 3 แห่ง

ทั้งนี้การลงทุนของ ไอที ซิตี้ เฉลี่ยตารางเมตรละ 6,666 บาท , เมกะสโตร์ เฉลี่ยตารางเมตรละ 8,125 บาท ภายใน 3 ปี (2549-2551) บริษัทจะใช้เงินลงทุนเฉพาะเปิดสาขารวม 286-344 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมเงินค่าปรับปรุงสาขาเก่า โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่จะมาจากกระแสเงินสดที่มีอยู่มากกว่า 300 ล้านบาท

ในปี 2549 และปีต่อๆ ไป เราพร้อมที่จะรุก และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ ปีนี้เราคาดว่าจะใช้เงินลงทุน ประมาณ 150 ล้านบาท ปี 2550 จะลงอีกประมาณ 200 ล้าน

เอกชัย บอกว่า ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป จะเน้นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ามาขายร่วมกับสินค้า ไอที เนื่องจากต้องการให้ยอดขายมีเสถียรภาพมากขึ้น สินค้า ไอที จะมีฤดูกาลขาย ดีที่สุดเรียงตามลำดับ คือ ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ไตรมาส 2 ขณะที่ไตรมาส 1 คือ ช่วงโลว์ซีซัน ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ฤดูกาลขายดีที่สุดใน คือ ไตรมาส 1 ไตรมาส 4 ไตรมาส 3 และไตรมาส 2 (แย่ที่สุด)

การขายเครื่องใช้ไฟฟ้าจึงเหมือนกับการ กลบจุดอ่อน ทางด้านฤดูกาลขาย

เขาบอกอีกว่า การนำเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ามาช่วย จะทำให้ยอดขายสาขาต่างจังหวัดดีขึ้น เนื่องจาก เครื่องใช้ไฟฟ้า ในพื้นที่ต่างจังหวัดจะขายดีกว่า สินค้าไอที และบริหารสต็อกสินค้าง่ายกว่าด้วย เพราะสินค้าตกรุ่นช้ากว่า

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าไอที มีการแข่งขันสูง และมีการตัดราคากันสูง ฉะนั้น การขยายสาขาจำนวนมาก ในภาพรวมเศรษฐกิจ ขาลง ของ ไอที ซิตี้ อาจไม่ใช่ทางโตที่จะคาดหวังผลตอบแทนไว้อย่างสวยหรูได้

เพราะค่าเช่าพื้นที่ และ ค่าสาธารณูปโภคไฟ เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ ยิ่งขยายสาขามากค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็ยิ่งสูง ขณะที่เงินเดือนพนักงานบางส่วนอาจจะคงที่ และบางส่วนอาจจะผันแปรตามยอดขาย

ถ้าสินค้ามี มาร์จินต่ำ แล้วมีการ ตัดราคา กันอย่างรุนแรงในตลาด จะกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทได้ง่าย

อย่างไรก็ตาม เอกชัย มองเห็นโอกาสว่า ผลการสำรวจตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า กระจายผ่านศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เพียง 14% ที่เหลือจะกระจายตามท้องถิ่น ดังนั้นคู่แข่งจะเป็นบริษัทขนาดเล็ก ซึ่งบริษัทก็ไม่ได้เน้นการแข่งขันกับห้างขนาดใหญ่อยู่แล้ว แต่ก็เชื่อว่า ในระยะ 5-15 ปีข้างหน้า คนจะหันมาซื้อสินค้าในศูนย์การค้าขนาดใหญ่มากขึ้น

ดังนั้นพวกนี้จะไม่แข่งกันเอง แต่จะไปดึงตลาดท้องถิ่น คนจะเดินเข้าไปห้างใหญ่มากกว่า นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้น เพราะห้างใหญ่มีข้อดี คือ 1. ต้นทุนถูกกว่าร้านค้าทั่วไป มีความสามารถทางด้านการเงินมากกว่า และ 2. สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่

ทั้งนี้หากดูตามสถิติการลงทุนของบริษัทที่ผ่านมา พื้นที่ขนาด 1,200 ตารางเมตร จะสามารถคุ้มค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน ภายใน 3-6 เดือน และจะคุ้มทุนกับเงินลงทุนทั้งหมดภายใน 2 ปี

เอกชัย กล่าวว่า หากบริษัทขาดทุน ก็มีมาตรการที่ดำเนินการ คือ จะลดขนาดพื้นที่ เพื่อทำให้ยอดขายต่อพื้นที่ดีขึ้น เพราะสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนของ ค่าเช่า บุคลากร และ ค่าเสื่อมราคา จากนั้นก็จะต้องมาตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งจะใช้โมเดลธุรกิจนี้กับทุกๆ สาขาที่เกิดการขาดทุน

กรุงเทพธุรกิจ BizWeek [/color:0a55780983">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com